การวิเคราะห์ วิจัย การค้า การขาย สู่ การเงิน รักษาสมดุลเพื่อความอยู่รอด


ประเด็นเรียนรู้ การค้าขาย การตลาด แนวใหม่ เพื่อความอยู่รอด มาถึงจุดพิสูจน์…

      ๕ ปีกับ การทดลองเศรษฐกิจอยู่-เหลือ ที่ชนบท แห่งนี้   ๓ ปีที่ผู้เขียน ได้สัมผัสกับเด็กๆ ในรูปแบบการเรียนรู้ ผ่าน ของเล่น เชิงพัฒนาการ ของใช้น่ารักฯ การพูดคุยแลกเปลี่ยนฯ ปีนี้ เด็กน้อย ต่างเติบโตเจริญวัย เป็นเด็กโต  เด็กโต ก็กลายเป็นหนุ่มสาววัยรุ่น แต่พวกเขา ก็จะแวะทักทาย คุณน้า หรือคุณป้า ถ้าผ่านมาที่ร้านฯ

      สำหรับลูกค้าวัยผู้ใหญ่ จนถึงชรา ก็พูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้ทุกประเด็น  โดยเฉพาะสุขภาพ  ช่วงโควิดระบาดใหม่ มีการฉีดวัคซีน และเริ่มมีคนล้มป่วย ล้มตาย เป็นใบไม้ร่วง เป็นปัจจัยหนึ่งในการแปรเปลี่ยน ภาวะตลาดฯแห่งนี้    ผู้เขียนแปลกใจที่คนไทย เห็นกับตา ประสบกับตนและครอบครัว แต่ก็ตัดสินใจทำตามกระแสฯ  มาบัดนี้ อสม วัยชรา กล่าวกับผู้เขียนว่า “ไม่เอาอีกแล้ว วัคซีนโควิด ในวงเล็บกลัววัคซีนอื่นด้วย เพราะไม่มีใครมารับผิดชอบกับตัวเรา หรือครอบครัวเรา” แสดงว่า คนใช้เวลาในการเรียนรู้ ด้วยการไตร่ตรอง ให้โอกาส แต่การเล่นกับชีวิตมนุษย์ ย่อมเป็นความหดหู่จริงๆ  ปัจจุบันก็มีการทยอยตาย จากไป แบบสังเกตได้

      ประเด็นเรียนรู้ การค้าขาย การตลาด แนวใหม่ เพื่อความอยู่รอด มาถึงจุดพิสูจน์…  ในปีนี้ ทุกวัน  จะมี แม่ค้า ลูกค้า ไม่ซ้ำหน้า เดินมาบ่น ที่ร้านฯผู้เขียนว่า “ตลาดเงียบ ไม่มีคน”  ธนาคารฯในตลาด เริ่มจัดวันหยุด ๒ วัน ต่อสัปดาห์   หยุด ๑ สัปดาห์ และคงปิดตลอดกาล ให้ไปใช้ที่สาขาอื่น น่าเห็นใจผู้เฒ่าฯทั้งหลาย ที่ต้องรับภาระการเดินทางเพิ่มขึ้น ในการติดต่อธุรกรรมทางการเงิน    คุณตามาซื้อกระเป๋าสตางค์กับผู้เขียน เล่าว่า “ร้านค้าเก่า ก็รับไม่ไหว ร้านค้าใหม่ก็ไม่มีทุนต่อธุรกิจ จึงพากันเลิกขายฯ”   ปัจจุบันผู้เขียน ต้องสำรองเงินทอน เผื่อผู้ค้าแลกด้วย โดยเฉพาะธนบัตรฉบับ ๑๐๐๐บาท และผู้เขียนก็ต้องรับแลกเหรียญ ๑, ๕, ๑๐ บาท ให้กับเพื่อนผู้ค้าขนม ฯลฯ    การขาดสภาพคล่องในภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ผู้เขียน ต้องกลายเป็นธนาคารฯจำเป็นอีกด้วย   ผู้ที่มีสถานภาพ ตามชื่อ ตามครื่องทรงฯ พากันหนีความรับผิดชอบ เอาตัวรอด ด้วยคำว่า “ต้นทุน”      สัปดาห์นี้ ร้านค้าที่เคยได้รับผลกระทบน้อย เริ่มไม่มีเงินซื้อสินค้า มาหมุนเวียนขาย     พ่อค้าแม่ค้า ก็ยังคงดำเนินชีวิตต่อไป แบบไม่รู้จะทำอะไรไปกว่านี้      ตั้งแต่ฝนแล้ง ผู้เขียนยุ่งกับหน้าร้าน แทบไม่ได้นั่ง   อาจเพราะ เราแตกต่างตรงที่ ต้องรับผิดชอบกับทุกเรื่องแบบสมดุล ทั้งสุขและทุกข์  ทั้งได้และเสีย ทั้งกำไรและขาดทุน ทั้งสวมหมวกและไร้หมวก

      การทำลายสมดุลของสรรพสิ่ง ย่อมนำไปสู่ การพังทลาย ล่มสลาย เพื่อก่อเกิด การจัดสมดุลใหม่…

หมายเลขบันทึก: 714523เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2023 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2023 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หายไปนาน บางทีในเมืองแทบไม่ได้ใช้เหรียญเลยเขาใช้โอน

สวัสดีค่ะ อาจารย์ขจิต

ขอบคุณค่ะ นี่คือ ความแตกต่าง (อาจมีสุดขั้ว) ของสังคมไทยค่ะที่หายไป อาจเรียกว่า ลงหลุมหลบภัยค่ะ

ขอแสดงความนับถือ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท