การมีสุขภาพที่ดี (Phytonutrients)


เก็บความ จาก เว็บ การมีสุขภาพที่ดี

 

ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) 

คือสารพฤกษเคมี หรือสารอาหารที่พบได้ เฉพาะในพืช 

ชนิดที่ได้ยินบ่อย คือCarotenoids ที่แยกย่อยได้ มากกว่า 600 ชนิด

ที่คุ้นคือ กลุ่มBeta-Carotene -  Lycopene - Lutein และZeaxanthin 

พบใน 

ฟักทอง แครอท ส้ม มะเขือเทศ แตงโม มันเทศ ผักใบเขียว อย่างผักปวยเล้ง ผักเคล และกะหล่ำใบ 

 

สารไฟโตนิวเทรียนท์ชนิด Flavonoids

แบ่งย่อยได้ หก ชนิด คือ

Isoflavones – Flavonols -Flavones – Flavanones -Flavan-3-ols) และAnthocyanin 

 

เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยปรับสมดุล ระหว่างสารอนุมูลอิสระ

และสารต้านอนุมูลอิสระให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 

ลดความเสี่ยง โรคเรื้อรังที่เกี่ยวกับการอักเสบ

 

สารไฟโตนิวเทรียนท์ชนิด Phytoestrogens

มีโครงสร้างพิเศษคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) 

ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศที่มีส่วนสำคัญต่อสุขภาพผู้หญิง  บรรเทา อาการ วัยทอง

 

พบได้ในถั่วเหลือง - บร็อคโคลี่ - แครอท - กาแฟ - พืชตระกูลถั่ว- Flax Seed และงา 

 

Ellagic Acid กรดเอลลาจิกเป็นสารไฟโตนิวเทรียนท์ที่เป็น 

สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกมะเร็ง 

มีฤทธิ์ต้านการอักเสบของผิวหนังจากรังสียูวี 

พบได้ในพืชหลายชนิด 

ทั้งฝรั่ง ทับทิม วอลนัท ถั่วพีแคน 

และพบมากในพืชตระกูลเบอร์รี อย่างสตรอว์เบอร์รี องุ่น เชอร์รี และราสพ์เบอร์รี  


 

Resveratrol

เรสเวอราทรอลมักพบในรูปของอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ

พบมากใน องุ่น แดง และผลิตภัณฑ์จากองุ่นแดง อย่างน้ำองุ่นและไวน์แดง 

ส่วนพืชอื่น จะเป็นถั่วลิสง ถั่วพิตาชิโอ สตรอว์เบอร์รี บลูเบอร์รี 

และช็อกโกแลตก็มีสารไฟโตนิวเทรียนท์ชนิดดังกล่าวเช่นเดียวกัน  


 

Glucosinolates

สารไฟโตนิวเทรียนท์ในกลุ่มกลูโคซิโนเลตส์พบได้ในผักตระกูลกะหล่ำ อย่างกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ Bok Choyและมัสตาร์ด

เป็นไปได้ที่กลูโคซิโนเลตส์ 

อาจช่วยลดระดับไขมันไม่ดีชนิด LDL (Low-Density Lipids) 

ในเลือดและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้  

ด้วยสรรพคุณในการต้านอักเสบ กลูโคซิโนเลตส์อาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้หลายชนิด 


 

การได้รับสารไฟโตนิวเทรียนท์อย่างปลอดภัย

ประโยชน์ส่วนใหญ่ของสารไฟโตนิวเทรียนท์ยังไม่ได้รับการยืนยันที่แน่ชัด 

ไม่ควรกินอาหารที่มีสารไฟโตนิวเทรียนท์เป็นส่วนประกอบทีละมาก ๆ 

หรือกินติดต่อกันเป็นเวลานาน

เพื่อหวังผลในการป้องกันและการรักษาโรค  

 

การได้รับสารไฟโตนิวเทรียนท์ผ่านการกินผักผลไม้นั้นปลอดภัยต่อคนส่วนใหญ่ 

และช่วยสร้างสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรง 

หมายเลขบันทึก: 714114เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2023 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2023 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท