ปรากฏการณ์ใหม่การเมืองไทย : ไสยศาสตร์ในการเมืองการเลือกตั้งไทย


ปรากฏการณ์ใหม่การเมืองไทย : ไสยศาสตร์ในการเมืองการเลือกตั้งไทย

30 มิถุนายน 2566

: ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น) [1]

 

ย้อนไปความตอนที่แล้วในเรื่องอุดมการณ์ความคิดทางการเมืองไทยมันสับสน คนวิตกจริต ขุดคุ้ยหาเรื่องไร้สาระมาด้อยค่า ดิสเครดิต บูลลี่กันอย่างสนุกปากกันมาก ที่ค่อนข้างขาดหลักการและเหตุผล (logical fallacy)โดยเฉพาะบรรดานักวิชาการ และติ่งด้อมทั้งหลาย ด้วยเหตุจากปัจจัยชี้นำใดๆ ก็ตามไม่ว่าจะเป็น fakenews, IO, polling (โดยเฉพาะโพลจัดตั้ง), conspiracy theory, bullying, slapp (Strategic Lawsuit Against Public Participation : การฟ้องคดีปิดปาก) จนถึงขั้น lawfare ก็ตาม ทำให้หลายเรื่องที่ง่ายกลับกลายเป็นเรื่องยาก ซับซ้อนซ่อนเงื่อน มีปมปัญหาวุ่นวายไปหมด รวมทั้งก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนในเชิงสถิติหลายๆ อย่าง เช่น การอ้างอิง การเทียบเคียงที่ผิดๆ ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งก็คือ Mindset ของกลุ่มคนที่เริ่มบิดเบี้ยวแปลกๆ เป็นตรรกะที่ย้อนแย้ง (It's contradictory) ที่หาเหตุผลมาอธิบายไม่ได้มากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาว่า พวกเขาเหล่านั้นมีกรอบแนวคิด (mindset) แบบนี้ได้อย่างไร มันถูกต้องเพียงใดหรือไม่ มึ่อีกฝ่ายแย้งว่า มันถูกแล้ว เพราะ มันเป็นสิทธิเสรีภาพในการกระทำใดๆ โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่านในโลกโซเชียลปัจจุบัน (transitional period) ที่ทุกฝ่ายต้องกันมายอมรับในความเห็นต่างนั้นๆ นอกจากนี้คนยังต้องรู้จักยืดหยุ่น (resilience) ปรับตัวให้ได้ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง (disrupt) นี้ และฝ่ายประชาธิปไตยก้าวหน้า[2]เห็นว่าการยึดอำนาจ การรัฐประหาร เพื่อการดำรงไว้ในอำนาจนิยม และการสืบทอดอำนาจมิอาจให้มีได้อีกต่อไป มีการเสนอข้อเรียกร้องให้มีการแก้ไขปฏิรูปโครงสร้างแห่งอำนาจเสียใหม่ ซึ่งในขณะเดียวกัน ฝ่ายอนุรักษ์และฝ่ายขวานิยมเห็นว่า จะเป็นการล้มล้างการปกครอง เพราะไปคิดแก้ไขโครงสร้างแห่งอำนาจ มันเลยคิดกันไปคนละทาง แนวทางการปรองดอง สมานฉันท์ ยอมรับในความเห็นต่างย่อมไม่เกิด ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยต่อไป

แน่นอน จากประเด็นปัญหาต่างๆ ข้างต้น มันนำไปสู่ปัญหาในพรรคการเมืองไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะ นักการเมืองและพรรคการเมืองต้องผูกโยงยึดโยงกับประชาชน[3] มีประชาชนเป็นฐาน ตามที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ได้เปิดมิติใหม่ในทางการเมืองเรื่องเหล่านี้ไว้ อาทิ เรื่องเป็นรัฐธรรมนูญ “ฉบับประชาชน”[4] เพราะมาจาก สสร.99 คน, เรื่องการสร้างความเข้มแข็งให้แก่พรรคการเมือง, เรื่องบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ, เรื่อง ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง เป็นต้น

ฉะนั้น นโยบายที่พรรคการเมืองได้หาเสียงไว้ จึงถือเป็นสัญญาประชาคมอันสำคัญ ที่พรรคการเมืองต้องใส่ใจถือเป็นสรณะที่ต้องรับผิดชอบในคำพูดนั้นๆ เพราะมันจะส่งผลถึงความนิยม (popular vote) ในการเลือกตั้งใหม่อีก 4 ปีในสมัยหน้า

 

Resilience Mindset ที่คนยุคใหม่ต้องคิด

Resilience[5]คือความสามารถในการเด้งกลับ หรือคืนสภาพนั่นเอง คำนี้ถูกเอามาใช้ในเชิงจิตวิทยาหมายถึง ความสามารถที่จะรับมือกับความล้มเหลว ความผิดหวัง ที่จะทำให้กลับมาสู่สภาวะปกติ ซึ่งปัจจุบันคำนี้ถูกนำมาใช้ในกับแนวคิดคนทำงาน ทีม และองค์กรด้วย

ต้องเลิกกรอบความคิดย้อนยุค เพราะโลกมัน disrupt ไปไกลเกินแล้ว ต้องมี resilience mindset อย่างมีสำนึก มีตรรกะ ใจเย็น มีความยืดหยุ่นทางจิตใจ ต่อสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ประเทศไทยมีคนที่คิดแปลกๆ นอกกรอบหลายประการ เช่น ผิดหลักสากล เพี้ยน ขาดเหตุผล แบบตรรกะวิบัติ

จากระบบการเมืองสากลสี่ปีเจอกันอีกหน ระบอบประชาธิปไตยมีล็อกห้วงเวลาของ “นักเลือกตั้ง” ไว้แล้ว มิใช่การดึงเกมอยู่ยาวๆ 8-9 ปี หรือการล้มกระดาน หรือการล้มมติมหาชนเพราะนั่นคือ “เผด็จการ อำนาจนิยม” และต้องไม่ไปอ้างอิงอำนาจเหนือ มือที่มองไม่เห็น หรือ ไม่เสนอแนวคิด “รัฐบาลแห่งชาติ” (National unity government) [6]พร่ำเพรื่อ หรือการไม่วิตกจริตจนเกินไป เช่น ไทยจะถูกอเมริกายึดครอง ไทยจะกลายเป็นคอมมิวนิสต์ มันคิดบ้าเลยเถิดไปโดยไม่มีเหตุผลที่ย้อนไปยุคสงครามเย็น (cold war) [7] ยิ่งเป็นการส่งเสริมอำนาจ “รัฐซ้อนรัฐ” หรือ “รัฐพันลึก” (Deep State) [8]ที่เป็น “อำนาจนิยมขนานแท้ๆ” ให้กลับเข้ามาใช้อำนาจเหมือนดังเช่น ม็อบพันธมิตร ม็อบ กปปส.

 

ต้องยอมรับในความเห็นต่าง

ทุกฝ่ายทุกขั้วย่อมมีจุดดีจุดอ่อน ในขณะเดียวกันต้องมองมุมกลับอีกด้าน เอาใจเขามาใส่ใจเรา ที่สำคัญมากก็คือ “การยอมรับในความเห็นต่าง”[9] ที่ต้องยอมรับเสียงข้างน้อย เสียงของคนที่เสียเปรียบ เสียงของคนรุ่นใหม่ คนหัวก้าวหน้า คนมีภาวะพึ่งพิง (shelter) คนข้ามเพศ (transgender, LGTBQ) คนยากจน คนรากหญ้า ไม่แยกทุกชนชั้นวรรณะ เพศ วัย

การประนีประนอม (compromise) การสมานฉันท์ปรองดอง (reconciliation) ใฝ่สันติ (peace) การ “ก้าวข้ามความขัดแย้ง” (conflict) [10]เพื่อแก้ไขปัญหาในมิติต่างๆ ตามระบอบประชาธิปไตยไทย (Solution for Diversity) อย่าเพียงพูดแต่ปาก ความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน (agreement, conformity) และฉันทามติ (consensus) ของสังคม ยังเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมที่ต้องเคารพ มิเช่นนั้น สังคมจะปั่นป่วน วุ่นวาย ยุ่งเหยิง สับสนอลหม่าน ไร้ระเบียบ (chaos, disorder) ที่ไม่รู้จบสิ้น

รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงฉับพลันอย่างคาดไม่ถึงด้วย อันเป็นเหตุนำคนในสังคมไปสู่ความเก็บกด (stress) ความคับข้องใจ (frustration) ความขัดแย้ง (conflict) ความรุนแรง (violence) และสงคราม (war) ในที่สุดได้ เพราะ “ความสมานฉันท์ คือการสร้างความสัมพันธ์ นำไปสู่ความเป็นอยู่อย่างสันติ”

ปมเงื่อนที่จะเกิด “ทางตัน” (dead lock, dead ends) [11] ที่มีผู้ทักท้วง เช่น การแก้กฎหมาย การปลดล็อกปมปัญหาต่างๆ มิได้ง่ายดาย เอาแค่ติดแก้ยุทธศาสตร์ชาติก็ไม่ได้แล้ว เพราะห้วงเวลาที่ยาวถึง 20 ปี การแก้รัฐธรรมนูญก็ต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ถึง 3/4 และระยะเวลาที่เร็วที่สุดในกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือ เวลาต้องไม่น้อยกว่าสองปีครึ่ง เป็นต้น

ฉะนั้น การดักทาง การดองเค็ม การแช่แข็ง (freezing) การใช้ตุลาการภิวัตน์ (Judicial Review, Judicial Activism) การใช้ไอโอ (IO : Information Operation) การปั่นกระแสการสร้างทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theory) ด้วยวาทกรรม (discourse) ข่าวปลอม (faked news) ด้วยอาการหิวแสงอยากดัง (การทำตัวโดดเด่นในทางที่ผิด : Spotlight effect, attention seeker, hungry for attention) รวมทั้งการรัฐประหารยึดอำนาจ ของฝ่ายอำนาจนิยม ที่ผ่านมาจึงเป็นการกระทำที่ชอบ เพราะไม่มีผู้โต้แย้ง ทักท้วง ต่อต้าน ด้วยเสียง 3/4 เพราะ มีสถาบันพรรคการเมืองที่อ่อนแอ ถูกทำลาย รัฐสร้างสังคมที่เหลื่อมล้ำ แตกต่าง ไม่ยอมรับในความเห็นต่าง เป็นต้น

 

พรรคการเมืองที่เข้มแข็ง

ขออ้างอิงเรื่องความเข้มแข็งของระบบพรรคการเมืองที่รัฐธรรมนูญ “ฉบับประชาชน” พ.ศ.2540 ได้ริเริ่มสร้างไว้ แล้วมาต่อด้วย รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เพื่อการต่อยอดความคิดมาถึงรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 และ ร่างรัฐธรรมนูญที่หลายฝ่ายต่างเห็นพ้องร่วมกันว่าต้องแก้ไขด้วยการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ดร.สติธร (สถาบันพระปกเกล้า, 2555) [12] ศึกษาวิเคราะห์ตัวบทกฎหมายจาก พรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 ใน 4 ประการ ได้แก่ (1) หลักเกณฑ์เรื่องโครงสร้างของ พรรคการเมือง (2) หลักเกณฑ์เรื่องการรักษาวินัยของพรรค (party discipline) (3) หลักเกณฑ์เรื่อง การทำให้สาขาพรรคการเมืองเป็นกลไกเชื่อมโยงกับประชาชน และ (4) หลักเกณฑ์เรื่องการ สนับสนุนทางการเงินให้กับพรรคการเมือง

ผลการศึกษาพบว่า พรรคการเมืองไทยยังมีความไม่เข้มแข็งอย่าง น้อย 4 ประการ คือ (1) โครงสร้างของพรรคการเมืองไทยยังเป็นแบบ “รวมศูนย์อำนาจ” (2) พรรคการเมืองไทยยังมีปัญหาเรื่องการรักษาวินัยของพรรค (3) สาขาพรรคการเมืองยังไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะทากิจกรรมทางการเมือง และ (4) ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จากการสนับสนุนทางการเงินโดยรัฐตกอยู่กับพรรค การเมืองใหญ่เพียงสองพรรค (ขั้วอำนาจ)

 

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ในการควบคุมดูแลและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ ตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม ด้วยสโลแกนปัจจุบัน (2566) ว่า “สุจริต เที่ยงธรรม และชอบด้วยกฎหมาย”[13] โดยตัดเดิมคำว่า “โปร่งใส” ออกไปแล้วโดยไม่ทราบว่ามีนัยยะเหตุผลใดหรือไม่ เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ[14] สำนักงาน กกต.ตั้งเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2541 ก่อนหน้านั้น การเลือกตั้ง สส. สว. และท้องถิ่น อยู่ในหน้าที่ของ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งสถาปนาจัดตั้งขั้นเพื่อเป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดการเลือกตั้งทุกระดับ การออกเสียงประชามติที่สังคมยอมรับ

ย้อนประวัติวิบากกรรมของ กกต.ที่ผ่านมาในรอบ 25 ปี ที่ผ่านมา ที่ทำให้ความศรัทธาในองค์กร กกต.ยืดๆ หดๆ ถูกต้องแล้วที่ให้การเลือกตั้งออกจากสังกัดกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งตำรวจ และครูประชาบาลด้วย ปัจจุบัน อปท.ยังคิดดิ้นรนหนีออกจากมหาดไทยอยู่เช่นกัน เพราะคน อปท.ถูกรวบอำนาจ ครอบงำ ถูกบังคับบัญชาจาก ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ กระทรวงมหาดไทย ทำให้ไม่มีอำนาจอิสระ ไม่มีการกระจายอำนาจที่แท้จริง แม้จะมีคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) สังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ก็ไม่มีอำนาจ กกต.มาถูกทางแล้ว แต่อาจหลงทางไปบ้าง กกต.ต้องวิพากษ์ได้ ปรับแก้ได้ กกต.ต้องเป็นกลาง (impartiality) ไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง หรือราชการหน่วยงานใดๆ

จากข้อมูลพบว่า ในยุคแรกสมัยนายยุวรัตน์ กมลเวชช กกต.ชุดที่ 1 ดำรงตำแหน่งระหว่าง 27 พฤศจิกายน 2540-26 พฤษภาคม 2544 ผลงาน กกต.เป็นไปด้วยดี เพราะเป็นของใหม่

สมัยนายปริญญา นาคฉัตรีย์ (2544-2549) กกต.รุ่นแรกที่โดนคดีอาญา สมัยทักษิณ ในคดีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ พรรค ปชป.ฟ้อง ประธาน กกต.พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ (2545-2549), นายปริญญา นาคฉัตรีย์ (2544-2549) และนายวีระชัย แนวบุญเนียร (เสียชีวิต) เพราะไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ในการเลือกตั้งปี 2549 คือ

คดีที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นคุณแก่ผู้สมัครพรรคไทยรักไทยและเป็นโทษแก่ผู้สมัครพรรคการเมืองอื่น (คดีเอื้อพรรคไทยรักไทย) [15] กกต.ทำเพื่อช่วยพรรคไทยรักไทย จนชนะเลือกตั้ง เช่น จัดคูหาเลือกตั้ง หันหน้าไปทางผนังและหันด้านหลังออก ทำให้การลงคะแนนไม่เป็นไปโดยลับ (คดีคูหาหันออกทำให้ไม่เป็นความลับ) ศาลอาญา (2549) พิพากษาให้ตัดสิทธิการเลือกตั้งและจำคุก แต่ศาลฎีกา (2556) เห็นว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่มีอำนาจในการฟ้อง จึงมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง

คดีที่ 2 คดี “พรรคไทยรักไทยว่าจ้างพรรคเล็ก”[16] ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 มีถึง 40 เขต ที่ผู้สมัครพรรคไทยรักไทย ลงสมัครเพียงคนเดียวและฝ่าด่าน 20% ไปไม่ได้ โดย 38 เขตอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ท้ายสุดเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2559 กกต. 2 คน คือ พล.ต.อ.วาสนา และนายปริญญา ต้องคำพิพากษาศาลฎีกา ให้จำคุก 2 ปี ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยไม่รอลงอาญา หลังนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ยื่นฟ้อง กรณีพรรคไทยรักไทย จ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้ง แต่ 2 กกต. ก็จำคุกจริงๆ จากความผิดนี้เพียง 1 ปี 6 เดือน และพ้นจากเรือนจำมาวันที่ 12 ธันวาคม 2560

กล่าวโดยสรุปมองได้ในมิติ การทำเกินหน้าที่ การเหลิงอำนาจ หรือ การทำตามใบสั่งของ กกต.

กกต.ชุดก่อนนี้สมัยนางสดศรี สัตยธรรม (2549-2556) และ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร (2556-2561) อาจถือว่าเป็น กกต.ที่สามารถประคับประคองตัวรอด วางตัวอยู่ในจุดที่เชื่อถือได้ ไม่เพลี่ยงพล้ำ รอดบ่วงคดีอาญาไปได้ แต่ กกต.นายสมชัย ก็ถูก คสช.ปลด แต่เป็น ชุดนี้เป็น กกต.ที่มีผลงานจัดการเลือกตั้งน้อยที่สุด ท่ามกลางกระแสพรรคการเมือง และนักปฏิวัติที่กระหายอำนาจอย่างเชี่ยวกราก เพราะอยู่ในช่วงอำนาจของรัฐบาล คสช.

 

ดวงเมืองดวงผู้นำไทยต่างทำคุณไสย สายมู (mutelu)

ข่าวนี้น่าสนใจ ไพศาล พืชมงคล (2565) [17]ชี้ว่า “ลัทธิไสยศาสตร์ทางกฎหมาย” กำลังทำให้ขื่อแปบ้านเมืองวินาศสันตะโร บรรดาสารพัดกฎหมายเกิดเป็นปัญหาถกเถียงและอ้างว่าจะต้องตีตามกันตามลัทธิไสยศาสตร์ทางกฎหมาย ที่โด่งดังมากคือการตีความวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ที่ลามเข้าไปถึงวงการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งของประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่ไทยมีหลักรัฐธรรมนูญ 2560 อยู่แล้ว

กล่าวโดยสรุป ปัจจุบันการเมืองไทยคงมีการใช้หลักไสยศาสตร์ (อภินิหาร) ทางกฎหมายอย่างไม่มีขอบเขต ที่หมายรวมถึง “ตุลาการภิวัตน์” (Judicial Activism)[18]ด้วย ที่เป็นเงื่อนไขที่ไม่ชอบ ตามหลักนิติธรรม (The Rule of Law) และหลักสากลประชาธิปไตย มีการอ้างใช้วาทกรรมที่น่าอับอาย เกินเลย ไม่ make sense ตาลปัตรกลับหัวกลับหาง[19] “อ้างอำนาจพิเศษ” ต่อสู้กันแบบสาดโคลน ใส่ร้าย ป้ายสี แต่งสรรสร้างข่าวบิดเบือน เขย่าข่าว ตีข่าว สร้างกระแสทั้งทางบวกทางลบ ที่มิใช่การต่อสู้กันในวิถีทางระบอบประชาธิปไตย ครั้นจะต่อว่าเป็นแนวคิดที่แปลกก็คงไม่ได้ เพราะทุกคนต้องยอมรับในความเห็นต่างได้ เพียงแต่ระดับของการยอมรับอาจมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และแต่ละกลุ่มคนไป การไม่ยอมรับในวามเห็นต่างเลย โดยไม่มีเหตุผลรองรับจึงใช้ไม่ได้

 

นี่ขอกล่าววิพากษ์พาดพิงเพียงความเห็นด้วยสุจริตใจ หากเป็นเชิงลบบ้างก็เป็นการติเพื่อก่อ ในฐานะที่เป็นเรื่องสาธารณะ กรณีศึกษาที่ประชาชนทุกคนควรรู้


 

[1]Phachern Thammasarangkoon & Watcharin Unarine, ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น), บทความพิเศษ, สยามรัฐออนไลน์, 30 มิถุนายน 2566, https://siamrath.co.th/n/458671 

[2]คำว่า “ฝ่ายประชาธิปไตยก้าวหน้า” โดยเนื้อแท้ก็คือ ฝ่ายประชาธิปไตยเสรีนิยม (liberal) ที่มีแนวโน้มหัวก้าวหน้า (progressive) มิใช่ฝ่ายอนุรักษ์นิยม (conservative) ดูได้จากนิยามฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาประกอบด้วย เพราะฝ่ายอำนาจนิยม(ฝ่ายอนุรักษ์นิยม/ฝ่ายขวา) จะตีความหมายฝ่ายประชาธิปไตยหัวก้าวหน้า เป็นพวกฝ่ายซ้าย (the left, leftist)

ดู ฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาในทางการเมืองกับรัฐธรรมนูญไทยฉบับใหม่, ประชาไท, 13 กุมภาพันธ์ 2563, https://prachatai.com/journal/2020/02/86328 & ฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวาการเมืองไทย, Reformvoice, 27 ธันวาคม 2563, https://reformvoice.com/2020/12/27/ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวาการเมือ/ & เตรียมตัวเลือกตั้ง 66: ส่องอุดมการณ์พรรคไหน ใครอยู่ซ้ายใครอยู่ขวา โดย ภูริภัทร์ เครือนพรัตน์, สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า, 12 เมษายน 2566, https://democracyxinnovation.com/2023/04/12/left-right-election66/ & ประจักษ์ อ่านผลเลือกตั้ง 66 'ก้าวไกล-เพื่อไทย' กับการช่วงชิงการเป็นผู้มีอำนาจนำ, มติชน, 22 มิถุนายน 2566, https://www.matichon.co.th/politics/news_4041870 

[3]“คำว่า “ยึดโยงกับประชาชน” ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ เกรงใจประชาชนบ้าง ตามหลักว่าอำนาจที่คุณใช้อยู่เป็นของประชาชน สถานะต่างๆ ที่คุณมีอยู่ มาจากประชาชน นี่คือความยึดโยงกับประชาชน”

ดู “คำว่า “ยึดโยงกับประชาชน”, สนทนากับ รองศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ วรัญญู อดีตหัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มธ., โดย The101.world, Facebook, 18 มีนาคม 2563, https://www.facebook.com/the101.world/posts/2253763861599512/ 

[4]อะไรทำให้รัฐธรรมนูญ 2540 ได้ชื่อว่า ‘รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน’, Thairath Plus, 9 ธันวาคม 2565, https://plus.thairath.co.th/topic/speak/102513 

[5]Resilience คือ ทักษะในการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ผ่านทักษะการแก้ปัญหาและการบริหารจัดการความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่คนทำงานทุกคนควรมี เป็นความสามารถในการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส จากความยืดหยุ่นทางอารมณ์และความเข้มแข็งทางจิตใจในการอดทนต่อสถานการณ์ที่กดดันและตึงเครียดได้

Resilient mindsetคือ มุมมองของเราต่อการฟื้นฟูสภาพจิตใจในสถานการณ์ที่กดดันและตึงเครียด โดยมีรากฐานสำคัญจากความเข้าใจในจุดแข็งและข้อจำกัดของตัวเอง ทำให้สามารถบริหารจัดการความเครียดได้ในสถานการณ์วิกฤต

ดู Resilience Mindset คนทำงานยุคใหม่ต้องล้มให้เป็น ลุกให้ไว, True Digital Academy, 8 พฤศจิกายน 2564, https://www.truedigitalacademy.com/blog/resilience-mindset 

[6]รัฐบาลแห่งชาติ (national unity government) เป็นรัฐบาลผสมที่ประกอบด้วยพรรคการเมืองทุกพรรค (หรือพรรคการเมืองใหญ่ทุกพรรค) ในสภานิติบัญญัติ ซึ่งปกติตั้งในยามสงครามหรือภัยพิบัติของชาติอย่างอื่น (วิกิพีเดีย) หลวงพ่อพระพยอมก็พูด สว.จเด็จออกมาเสนอ รัฐบาลแห่งชาติ (National Unity Government) แต่ไม่มีใครขานรับ แม้แต่นักวิชาการ วิษณุ ก็ไม่ขานรับ เพราะวิษณุบอกหากตนขานรับตนเองก็จะเป็นขลุ่ย

วินสตัน เชอร์ชิลล์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่ใช่นายกฯ จากรัฐบาลแห่งชาติคนแรก เพราะก่อนหน้าเขา อังกฤษก็ปกครองโดยรัฐบาลแห่งชาติมานานหลายช่วงหลายตอน ไม่เพียงแต่ในช่วงสงครามเท่านั้น

ดู วินสตัน เชอร์ชิลล์ จาก ส.ส.สอบตก สู่เก้าอี้นายกฯ รัฐบาลแห่งชาติ, The People, Facebook, 3 มกราคม 2564, https://m.facebook.com/thepeoplecoofficial/photos/a.1040280776144446/1687937384712112/?type=3 

& “สว.จเด็จ” เสนอตั้ง “รัฐบาลแห่งชาติ” ดึง “พปชร.-รทสช.” ร่วมทำงาน งดใช้รธน.บางมาตรา, สยามรัฐออนไลน์, 31 พฤษภาคม 2566, https://siamrath.co.th/n/451065 

& ส.ว.ชูแนวคิดรัฐบาลแห่งชาติ ความหวังผ่าทางตันการเมืองไทย (นายจเด็จ อินสว่าง), infoquest, 31 พฤษภาคม 2566, 16:36 น., https://www.infoquest.co.th/2023/305785 

& บทเรียน “รัฐบาลแห่งชาติ” จากทั่วโลก ช่วยประเทศปรองดองได้จริงหรือไม่, BBC Thai, 1 มิถุนายน 2566, https://www.bbc.com/thai/articles/c4n6q9q9x09o 

& ย้อนดูข้อเสนอรัฐบาลแห่งชาติ 18 ปี ชงตั้ง 8 ครั้ง ไม่เคยสำเร็จ, BBC News ไทย, 

1 มิถุนายน 2566, https://www.bbc.com/thai/articles/cd1kzkxgepmo 

& เลือกตั้งมาตั้งรัฐบาลแห่งชาติ จะเลือกตั้งไปทำไม? ให้ ส.ส.อดทน, YouTube, รายการโลกวันนี้, กัลยาโณโอเค, 2 มิถุนายน 2566, https://m.youtube.com/watch?v=S99Q5D_i3Ak 

& “วิษณุ” ชี้ประเทศไทยไม่เคยมี “รัฐบาลแห่งชาติ” ถ้าสังคมไม่ยอมรับก็จบ ชี้ รัฐธรรมนูญไม่สามารถยกเว้นให้ทำได้, สยามรัฐออนไลน์, 2 มิถุนายน 2566, https://siamrath.co.th/n/451622 

[7]สงครามเย็น (cold war)คือลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ช่วง ค.ศ.1945-1991 ที่ กลุ่มประเทศโลกเสรีและกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ ต่างพยายามต่อสู้โดยวิธีการต่างๆ ยกเว้นการทำสงครามกันโดยเปิดเผย เพื่อขัดขวางการขยายอำนาจของกันและกันสงครามเย็นมีผลสืบเนื่องมาจากสภาพบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ ทั้งประเทศผู้ชนะและแพ้สงคราม ได้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ทวีปยุโรปซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาพทรุด โทรมอย่างยิ่ง ต้องสูญเสียอำนาจและอิทธิพลในสังคมโลกให้กับสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีฐานะเศรษฐกิจมั่นคงจนเป็นหลักในการบูรณะฟื้นฟูประเทศอื่นๆ (digitalschool.club)

[8]วาทกรรม “รัฐพันลึก สังคมพันลึก ทุนพันลึก” เพิ่งมีการกล่าวถึงและบัญญัติคำศัพท์ขึ้นมาเมื่อปี 2559

“รัฐพันลึก” จากข้อเขียนของ อ. ผาสุก พงษ์ไพจิตร, อ. นิธิ เอียวศรีวงศ์, อ. เกษียร เตชะพีระ ว่าแปลจากคำว่า “Deep State” ในบทความชื่อ Thailand’s Deep State, Royal Power and Constitutional Court (1997-2015) ของ เออเจนี เมริโอ นักศึกษาปริญญาเอก และอาจารย์ประจำของสถาบันแห่งหนึ่งในปารีส

“รัฐเร้นลึก” จากคำแปลใหม่ของกองบรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2559) แล้วแปลบทความของ เออเจนี เมริโอ เป็นภาษาไทย ชื่อ รัฐเร้นลึกในไทย พระราชอำนาจ และศาลรัฐธรรมนูญ (พ.ศ.2540-2558)

“...Deep State เป็นการปกครองลับรูปแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายอำนาจที่ดำเนินการอย่างเป็นอิสระจากคณะผู้นำทางการเมืองของประเทศ เพื่อผลักดันระเบียบวาระหรือเป้าหมายของตนเอง...”

แนวคิดเรื่อง Deep State หรือ “รัฐพันลึก” ที่อาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร เรียกเป็นภาษาไทย หรือเราจะเรียกกันง่ายๆ ว่า “รัฐบาลเงา” ก็ได้นั้น ทาง วิกิพีเดีย บันทึกไว้ว่า 

“Deep State เป็นการปกครองลับรูปแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายอำนาจที่ดำเนินการอย่างเป็นอิสระจากคณะผู้นำทางการเมืองของประเทศ เพื่อผลักดันระเบียบวาระหรือเป้าหมายของตนเอง

ตัวอย่างของ Deep State คือองค์กรของรัฐ เป็นต้นว่ากองทัพ หรือเจ้าหน้าที่พลเรือน (เช่น หน่วยข่าวกรอง ตำรวจ ตำรวจลับ หน่วยงานทางปกครอง หรือกลุ่มข้าราชการประจำ)

Deep State ยังอาจปรากฏตัวในรูปแบบกลุ่มข้าราชการพลเรือนที่ตั้งมั่นปฏิบัติหน้าที่แบบต่างคนต่างทำเพื่อส่งเสริมประโยชน์ของตน หรือรัฐวิสาหกิจที่ทำหน้าที่โดยไม่ขึ้นต่อการควบคุมของรัฐหรือหน่วยงานใด

ดู รัฐเร้นพันลึกลับ โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ, มติชนรายวัน, 4 กรกฎาคม 2559, 13:45 น., https://www.matichon.co.th/columnists/news_199294 

& ผาสุก พงษ์ไพจิตร : 'ทุนพันลึก' บทวิเคราะห์ประชารัฐผลพวงจากความสัมพันธ์ 'รัฐ-ทุน', ทัศมา ประทุมวัน รายงาน, ประชาไท, 18 มิถุนายน 2561, 18:23 น., https://prachatai.com/journal/2018/06/77470 

& 'ทุนพันลึก' โดย ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร, กองบรรณาธิการ ท้าความจริงให้ปรากฎ ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง : tcijthai, 7 มกราคม 2562, https://www.tcijthai.com/news/2019/1/channel/8653

& Deep State รัฐบาลเงา ตอนที่ 1/4 หมาจิ้งจอกเจ้าเล่ห์, โดยวรวรรณ ธาราภูมิ, isranews, 28 กันยายน 2562, 08:15 น., https://www.isranews.org/content-page/item/80942-deep.html 

[9]ปัจจุบันมีคำวาทกรรมใกล้เคียงที่นำมากล่าวขานกันมากคือคำว่า “ฉันทานุมัติ” (ความเห็นพ้อง : consensus) และ “มติมหาชน” (public opinion) ไม่ฝืนมติมหาชน เช่น วาทกรรมว่า การจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย ตามกฎหมายเปิดช่องให้ทำได้แต่ความจริงเป็นไปได้ยาก สุดท้ายฝืนมติมหาชนไม่ได้ ซึ่ง รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ (2566) กล่าวว่า บิดมติมหาชน อันตราย เมื่อคนไทยตื่นตัว เป็นต้น

มีข้อเขียนของ ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนไว้ในบทบรรณาธิการ ฉบับวันที่ 16 สิงหาคม 2493 เนื้อความส่วนหนึ่งว่า “มติมหาชนนั้นเป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงเจตนาสาธารณะ และในระบอบประชาธิปไตยนั้น เจตนาสาธารณะเป็นเจตนาอันเดียวที่กำหนดการกระทำทั้งหลายทั้งปวง อันเกี่ยวกับสาธารณประโยชน์ เจตนาสาธารณะนั้นมีได้แต่เพียงอย่างเดียว คือเพื่อประโยชน์ของสังคม เพราะเจตนาสาธารณะเป็นเจตนาของสังคมส่วนรวม...
มติใดๆ อันจะแสดงออกซึ่งเจตนาสาธารณะนั้น จึงจะต้องดูผลนั้นเป็นบรรทัดฐาน ถ้าหากผลแห่งมตินั้นเป็นผลดีแก่สังคมเป็นส่วนรวม มตินั้นก็เรียกได้ว่าเป็นมติมหาชน แต่ถ้าผลนั้นบังเกิดเป็นผลร้าย มตินั้นจะเป็นมติมหาชนก็หามิได้ ไม่ว่ามตินั้นจะมาจากคนข้างมากทั่วประเทศ หรือเสียงข้างมากของรัฐสภา หรือของคณะรัฐมนตรีด็ตาม..."

คำว่า “ความเห็นต่าง หรือ การเห็นต่าง” เกี่ยวข้องกับคำศัพท์ว่า Confirmation Bias(ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความคิดฝ่ายตน) เป็นศัพท์ทางจิตวิทยา หมายถึงการแสวงหา รับฟัง และตีความข้อมูลที่ได้มา เพื่อยืนยันความเชื่อหรือความคิดเดิมที่มีอยู่ ให้ยิ่งเชื่อมากขึ้นและคิดว่าความเชื่อที่ตนเองยึดถืออยู่นั้น ถูกต้องแล้ว เพราะมีข้อมูลเพิ่มเติมมาสนับสนุนและช่วยยืนยัน

Confirmation Bias เป็นความลำเอียงในข้อมูลที่ยืนยันความคิดหรือทฤษฎีหรือสมมติฐานฝ่ายตน เรียกว่ามีความลำเอียงนี้เมื่อสะสมหรือกำหนดจดจำข้อมูลที่เลือกเฟ้น หรือว่าเมื่อมีการตีความหมายข้อมูลอย่างลำเอียง (วิกิพีเดีย) ใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ รวมทั้ง

(1) ความเห็นที่สุดโต่งเพิ่มขึ้น (attitude polarization) คือเมื่อข้อขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้นแม้ว่าทุกๆ ฝ่ายจะได้หลักฐานเดียวกัน

(2) ความยึดมั่นอยู่กับความเชื่อ (belief perseverance) แม้ว่าหลักฐานจะแสดงว่าเป็นความเชื่อผิดๆ

(3) การให้น้ำหนักกับหลักฐานที่ได้ตอนต้นๆ ที่ไร้เหตุผล (irrational primacy effect) เป็นการให้น้ำหนักกับหลักฐานที่ได้ในตอนต้นและตอนอื่นๆ ที่ไม่เท่ากัน

(4) สหสัมพันธ์ลวง (illusory correlation) คือมีการเชื่อมเหตุการณ์หรือสถานการณ์สองอย่างเข้าด้วยกัน โดยสร้างความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นจริง

“confirmation bias” ใช้อธิบายว่าทำไมคนเราจึงได้มีความเห็นที่ต่างกันมากขนาดนี้ ทั้งที่อยู่ในสังคมเดียวกัน หรือแม้แต่คนบ้านเดียวกัน ก็ยังมีความคิดต่างกันคนละขั้วเลยก็มี ลักษณะของ “confirmation bias” นี้ เป็นตัวผลักดันให้เรามีพฤติกรรมแสวงหาแต่ข้อมูลที่สนใจจะเสพ มากกว่าจะไปเสพข้อมูลที่ขัดแย้งกับความชอบของตัวเอง (คือต้องเปิดใจและวางจากอคติจริงๆ ถึงจะยอมทนเสพได้) ซึ่งเหมือนกับการทำงานของ AI ของระบบคอมพิวเตอร์ คือ สมองคนเราจะเลือกเสพเฉพาะข้อมูลที่เราสนใจ มีพื้นฐานความเชื่ออยู่เดิม

จะอยู่อย่างไรให้เป็นสุขเมื่อเราเห็นต่างกัน เพราะความเห็นต่างถือเป็นเรื่องปกติ คนที่เห็นต่างจากเราไม่ใช่ศัตรู เพราะแต่ละคนมีความแตกต่างทางความคิด ทุกคนมีความคิดเห็นเป็นของตัวเอง การจัดการ conflict ให้มุ่งเน้นไปที่ตัวปัญหา ไม่ใช่เรื่องของตัวบุคคล

ความเห็นต่าง ไม่ใช่ความขัดแย้ง เพียงแต่หากไม่ยอมกัน หรือมีอคติ ถือทิฐิ ไม้รับฟังอาจก่อให้เกิด “ความขัดแย้ง” ได้ ข้อดีของความเห็นต่างคือ จะได้ความคิดที่ดีที่สุด และความเห็นที่แตกต่างไม่ใช่ความเห็นที่ผิด นักจิตวิทยาแนะนำว่า สิ่งที่ควรปิด คือ “ปาก” สิ่งที่ควรเปิด คือ “หู ตา และใจ”

การอยู่ร่วมกับคนที่คิดต่างอยู่กับคนที่เห็นต่างทาง การเมือง ให้สบายใจที่สุด เพราะอะไรเราถึงไม่สามารถปรองดองกันได้คือเราไม่ยอมรับในความแตกต่างของกันและกันนั่นเอง

ดู อยู่อย่างไรให้เป็นสุขเมื่อเราเห็นต่างกัน โดย แพทย์หญิงปรานี ปวีณชนา, จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์, https://www.manarom.com/blog/deal_with_people_who_think_differently.html & มติมหาชนคืออย่างไรแน่, บทบรรณาธิการ, สยามรัฐ, 29 สิงหาคม 2560, https://siamrath.co.th/c/22264 & จิตวิทยาว่าด้วย “การเห็นต่าง” ทำอย่างไรถึงจะอยู่ร่วมกันได้, Sanook, 26 ตุลาคม 2563, https://www.sanook.com/health/25759/  & ประจักษ์ อ่านผลเลือกตั้ง 66 'ก้าวไกล-เพื่อไทย' กับการช่วงชิงการเป็นผู้มีอำนาจนำ, มติชน, 22 มิถุนายน 2566, อ้างแล้ว

[10]มีวาทกรรมว่า “ก้าวข้ามความขัดแย้ง เดินหน้าประเทศไทย” เพราะ 'ก้าวข้ามความขัดแย้ง’ เป็นจุดเชื่อมประสานระหว่าง ‘อนุรักษนิยม’ และ ‘เสรีนิยม’ เมื่อคราวการเลือกตั้งปี 2566 “ก้าวข้ามความขัดแย้ง” เป็นสโลแกนหาเสียงของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พรรคฝ่ายรัฐบาล หรือพรรคฝ่ายอำนาจ ด้วยความเชื่อว่าเป็นหนทางที่จะพาประเทศสู่การพัฒนา ที่สร้างโอกาสแห่งความสุขให้ประชาชนอย่างเท่าเทียมได้ ว่า “เราจะตั้งรัฐบาลที่เป็นความหวังของประเทศอย่างดีที่สุดได้”

ดู รับผิดชอบทุกตัวอักษร! ‘ลุงป้อม’ ร่ายยาวเปิดใจ ‘ทำไมต้องก้าวข้ามความขัดแย้ง’, spacebar, 27 กุมภาพันธ์ 2566, 11:20 น., https://www.spacebar.th/politics/Prawit-released-the-3-rd-letter-Why-do-we-need-to-overcome-the-conflict 

& 'ก้าวข้ามความขัดแย้ง’ เป็นจุดเชื่อมประสานระหว่าง ‘อนุรักษนิยม’ และ ‘เสรีนิยม’

ดู คุยข่าวนอกสคริปต์ EP.69 : ก้าวข้ามความขัดแย้ง…ยังไง?, โดยกองบรรณาธิการ, the101world, 16 มีนาคม 2566, https://www.the101.world/101-postscript-ep-69/ 

& คุยกับรังสิมันต์ โรม พรรคก้าวไกล และไพบูลย์ นิติตะวัน พรรคพลังประชารัฐ ดู “ก้าวไกล” หรือ “ก้าวข้ามความขัดแย้ง” ใครมาแรงกว่ากัน ? : ช็อตเด็ด ถกไม่เถียง, YouTube, TERO Digital, 5 พฤษภาคม 2566, https://m.youtube.com/watch?v=UwYhEOZFD5Q 

[11]เมื่อเกิดทางตันทางการเมืองขึ้นมา จึงมักมีคนอ้าง “รัฐบาลแห่งชาติ” หรือ “ความปรองดองแห่งชาติ” ขึ้นมา ว่าจะแก้ไขปัญหานี้ลงได้ ในอดีตรัฐบาลเชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักรใช้มาแล้วในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

[12]การสร้างความเข้มแข็งให้แก่พรรคการเมืองไทย (Strengthening Political Party in Thailand) โดย ดร.สติธร ธนานิธิโชติ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า, เอกสารวิชาการชุดปฏิรูปสถาบันการเมือง ลำดับที่ 2555-1, https://image.makewebeasy.net/makeweb/0/aefC7RLgX/Document/การสร้างเข้มแข็งให้แก่พรรคการเมืองไทย.pdf & ปฏิรูปพรรคการเมือง: การบังคับให้สังกัดพรรค การยุบพรรค และการทำให้พรรคต้องตอบสนองความต้องการของปวงชน (Political Party Reform: Forced to belong to the Party, Party Dissolution, and Mass-based Party) โดย รองศาสตราจารย์ ยุทธพร อิสรชัย, สถาบันพระปกเกล้า, 2555, https://kpi-lib.com/multim/kpiebook/Research/b18442.pdf & พ.ร.ป.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561, https://www.ect.go.th/ect_th/download/article/article_20180913155522.pdf 

[13]กกต. รีแบรนด์ เปลี่ยนสโลแกนใหม่ ปรับวรรคสุดท้ายเป็น ‘ชอบด้วยกฎหมาย’ จากเดิม “สุจริต โปร่งใส เที่ยงธรรม “ เป็น “สุจริต เที่ยงธรรมและชอบด้วยกฎหมาย” ซึ่งให้เหตุผลว่า เป็นการแก้ไขให้สอดคล้องตามกฎหมายใหม่ที่ได้กำหนดไว้ ดู สโลแกน กกต.เปลี่ยนไป ตัด “โปร่งใส” ทิ้ง!, ซัดทุกความจริง, สำนักข่าววันนิวส์, ช่องวัน31, 9 มิถุนายน 2566, https://www.youtube.com/watch?v=Kam7XaWiusA#:~:text=กกต.%20รีแบรนด์%20เปลี่ยน,ไว้%20%23สโลแกน%20%23กกต%20

[14]กกต.(คณะกรรมการการเลือกตั้ง) เป็นองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญโดยตรง ที่แม้รัฐธรรมนูญจะไม่ได้เรียกชื่อโดยตรงว่า “องค์กรอิสระ” แต่ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรอิสระ เนื่องจากมีการระบุลงไปในรัฐธรรมนูญเลยว่าองค์กรใดบ้างที่จะให้มีสถานะเป็น “องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ” ซึ่งจะทำให้องค์กรเหล่านั้นมีสถานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญไปในตัวด้วย ประกอบด้วย 5 องค์กร อันได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (มาตรา 222-227) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, อ้างจาก องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, สถาบันพระปกเกล้า

[15]กกต.ควรติดคุก พาย้อน คดี กกต. ปี 2549 เคยถูกจำคุกหลังการเลือกตั้งมาแล้ว, springnews, 10 พฤษภาคม 2566, https://www.springnews.co.th/blogs/program/spring-conclude/838655

[16]กกต.ควรติดคุก พาย้อน คดี กกต. ปี 2549 เคยถูกจำคุกหลังการเลือกตั้งมาแล้ว, springnews, 10 พฤษภาคม 2566, อ้างแล้ว

[17]'กูรูไพศาล'ชี้เปรี้ยงลัทธิไสยศาสตร์กฎหมายทำบ้านเมืองวินาศสันตะโร!, เดลินิวส์, 24 กุมภาพันธ์ 2565, https://www.dailynews.co.th/news/794402/ 

[18]ตุลาการภิวัตน์ (Judicial Activism หรือ Judicialization of Politic) ใช้เรียกกรณีที่อำนาจตุลาการต้องสงสัยว่าบังคับใช้กฎหมายตามความเชื่อส่วนบุคคลหรือการเมือง แทนที่จะอิงตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ พจนานุกรมกฎหมายของแบล็ค ให้คำจำกัดความไว้ว่า “แนวคิดที่ตุลาการให้ความเชื่อส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน นอกเหนือไปจากปัจจัยอื่นๆ มาชี้นำการตัดสินของตน”, วิกิพีเดีย

ทั่วโลกยอมรับว่า ตุลาการภิวัตน์ คือ การที่ศาลมีบทบาททำให้เรื่องที่เป็นเรื่อง ในทางการเมือง กลายเป็นเรื่องที่จะต้องตัดสินกันในศาล โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการระงับข้อโต้แย้งในทางการเมืองนั้น (ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ)

ดู ปาฐกถาเรื่อง ศาลกับปัญหาตุลาการภิวัตน์ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2556 โดยสถาบันพระปกเกล้า, สรุปโดยเพลินตา ตันรังสรรค์, ในวารสารจุลนิติ ฉบับเดือนมีนาคม-เมษายน 2556, http://web.senate.go.th/lawdatacenter/includes/FCKeditor/upload/Image/b/s51%20jun_10_2.pdf

[19]อ้างจาก พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์, ยามไทม์ HBD นายกปู, voicetv, 21 มิถุนายน 2566 

+++

บทความนี้เผยแพรใน FB เพจสิทธิมนุษยชนและการแรงงาน, 13 มิถุนายน 2566, https://www.facebook.com/laborphachern/posts/pfbid02UxVxL3spd8MGo7E54HtpHYmxneig6W4txdJT8XQ4NBPboTroB6fmEUnLdbRydLNul

หมายเลขบันทึก: 713357เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2023 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2023 01:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมขอร่วมขบวนการไสยศาสตร์ด้วยคนครับ เพื่อปัดเป่าบ้านเมือง …. ….ถ้าเขาทำไม่สำเร็จ ลูกช้าง จะแก้บนด้วยหัวหมู บายศรี สุราก้าวหน้า 1 ขวด และตุ๊กตาเสียกบาล 2 ตัว(หมายเหตุ: สุราก้าวหน้า เป็นของหาง่ายในยุคนี้ ส่วนตุ๊กตาเสียกบาลเป็นเครื่องประกอบพิธีทางไสยศาสตร์ หายากหน่อย เพราะเป็นของแต่โบราณ)….วิโรจน์ ครับ

Thank you for this expansive dissertation! A springboard for deep thinking ;-)

And may I say? All are ‘māyā’ - a tragic comedy show the sin of taking the measure to be the goal.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท