“ในท้องทะเลกว้างใหญ่สุดจะประมาณ
มีเต่าตาบอดทั้งสองข้างอยู่ตัวหนึ่ง
ทุกๆ หนึ่งร้อยปี จะโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำ ๑ ครั้ง
และในท้องทะเลนี้มีห่วงที่พอดีกับหัวเต่าลอยอยู่อันหนึ่ง
โอกาสที่เต่าตาบอดจะโผล่หัวขึ้นมา
แล้วเอาหัวสอดเข้าไปในห่วงพอดี มีความยากเพียงใด
โอกาสที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นมีความยากยิ่งกว่า”
บนเส้นทางชีวิตของมนุษย์เรา จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย
ถ้าเราหลงขาดสติ สมาธิ ปัญญา ชีวิตคงไม่ง่ายนัก
แต่ถ้าเรามีปัญญารู้ความเป็นจริงของกายและใจตามจริง
https://www.youtube.com/live/TKmYz4beYJk?feature=share

การอบรมพัฒนาจิตหลักสูตรระยะยาว (Retreat Course) : จิตวิทยาวิปัสสนา
ระหว่างวันที่ 19-24 เมษายน 2566
ณ ศูนย์การเรียนรู้มหานคร สถาบันพัฒนาข้าราชการ กทม.

โดยวันที่ 1 จะเป็นการฝึกปฏิบัติสมาธิ
วันที่ 2-4 ฝึกปฏิบัติสติ
และวันที่ 5 ฝึกปฏิบัติสมาธิ/สติในชีวิตประจำวัน
โครงสร้างกิจกรรมแต่ละวัน
- ในแต่ละวันการปฏิบติ ครึ่งชั่วโมง โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วันละ 5 รอบ รวมระยะเวลารอบละ 1 ชั่วโมง ซึ่งจะให้ทุกคนได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ฝึก
- การปฏิบัติยาว 1 ชม. วันละ 4 รอบ
- การสนทนาหลักการและวิธีปฏิบัติธรรม วันละ 4 ครั้ง ๆ ละ 1 ชม.ครึ่ง

AAR วันแรก 19 เมษายน 2566
- วันแรกเป็นวันฝึกสมาธิ ดูผิวเผินผมน่าจะฝึกได้อย่างสบาย เพราะว่าเป็นครูสมาธิอยู่แล้ว
แต่ผมกับมีปัญหาในการฝึกมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้เพราะว่า ในหลักสูตรครูสมาธิของเรานั้น จะขึ้นฌานสองได้ต้องละวิตก วิจาร รวมถึงลมหายใจซึ่งเป็นกายหยาบด้วย แต่ในหลักสูตรนี้เป็นการฝึกสมาธิแบบรู้ลมหายไปไปตลอด
- เมื่อต้องพ่วงลมหายใจเพื่อไต่ฌานลึกไปด้วย ก็เกิดปัญหาสิครับ 555 เพราะความไม่คุ้นชิน นิวรณ์ก็ยิ้มได้ใจเลย เรียกพวกมาเต็มเลย ทางสองแพร่งเกิดขึ้นแล้วว่า จะกลับไปใช้วงสวิงเดิม หรือ จะเดินทางสายใหม่พ่วงลมหายใจไปด้วย
- ช่วงแรกผมตัดสินใจยอมแพ้ โดยเริ่มต้นฝึกเน้นรู้ลมหายใจ แต่พอนิวรณ์เริ่มเข้ามา ผมก็กลับไปใช้วิธีการแบบเดิม คือ ทิ้งลมหายใจเพื่อเข้าไปอยู่ในฌาน
- แต่ในการฝึกช่วงค่ำ ผมทดลองฝึกแบบใหม่โดยไม่ทิ้งลมหายใจ แต่ก็มีเป้าหมายเพื่อเดินสมาธิฌาน บังเอิญผมโชคดีมากที่สามารถเข้าสู่ฌาน 4 ด้วยการพ่วงลมหายใจไปด้วยตลอด
- ผมได้ความรู้ใหม่ว่า เราสามารถเข้าฌาน 4 ด้วยอานาปานสติได้ จบวันแรกอย่างมีความสุข 555
AAR การฝึกวันที่สอง (20 เมษายน 2566)
- วันแรก ช่วงกลางวันติดขัดบ้าง เพราะวิธีการปฏิบัติแบยเดิมไม่เข้ากัน กับวิธีการปฏิบัติใหม่ แต่โชคดี ช่วงค่ำ สามารถปรับตัว บูรณาการเข้ากับวิธีการฝึกแบบใหม่ได้
- ในวันที่สอง นึกว่า รอดตัวผ่านแล้ว ทุกอย่างน่าจะไปได้ด้วยดี น่าจะไม่มีอุปสรรคใด ๆ แล้ว แต่กลับเกิดอาการง่วงมากผิดปกติ ด้วยมีพยาธิสภาพเคยเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่เอว ห่วงว่า ถ้าอักเสบขึ้นมาระหว่างฝึกจะแย่เอา ช่วงเช้าจึงตัดสินใจผ่อนสั้นผ่อนยาว ด้วยการสลับไปนั่งเก้าอี้แทน วิเคราะห์สาเหตุการง่วงเบื้องต้นว่า น่าจะเกิดจากความสบายของการนั่งเก้าอี้ ช่วงบ่ายจึงกลับมานั่งกับพื้น แต่ก็ยังง่วงหนักเหมือนเดิม
- กว่าจะถอดรหัสได้ก็เป็นช่วงเย็นอีกเหมือนเดิม กล่าวคือ ที่ผ่านมาผมเข้าใจไม่ชัดมาโดยตลอด โดยยังเข้าใจผิดว่า การฝึกสติกับการฝึกสมาธิเหมือนกัน
- ตอนนั้นแม้ผมจะใช้วิธีการฝึกสติ ด้วยการ Scanbody แต่เป้าหมายของผมยังมุ่งไปที่ "สมาธิ" อยู่เหมือนเดิม
- การสอนของอาจารย์หมอ ที่ว่า อุเบกขาจากสมาธิ กับ อุเบกขาจากสตินั้น แตกต่างกัน
ทำให้ผม เอ๊ะ! ขึ้นมาได้ว่า ผมปฏิบัติยังไม่ถูกต้อง ผมจึงเปลี่ยนเป้าหมายการปฏิบัติ จากเพื่อสมาธิ
เปลี่ยนเป็นเพื่อพัฒนาสติแทน จึงสามารถก้าวข้ามอาการง่วงได้ สาธุครับ