แนวทางการควบคุมออกซิเจน ในกระบวนการเผาถ่านด้วย "เตาอับ"


สวัสดีครับ พี่ เพื่อน น้อง  “คนเผาถ่าน” ทุกท่าน  ….  ผมขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวทางการควบคุมออกซิเจนในกระบวนการเผาถ่านด้วย “เตาอับ” เพื่อให้ได้ถ่านที่ต้องการ  ดังภาพครับ ….   หากท่านเข้าใจได้โดยไม่ต้องอ่านคำอธิบาย … ก็แสดงว่าท่านคือคนระดับ “ครูเผาถ่าน" … เก่งกว่าผมแล้วครับ 

คำอธิบายภาพ 

  • แกนตั้งคือ ปริมาณการหรี่หน้าเตา เพื่อควบคุมการไหลเข้าเตาของอากาศ …  ในที่นี้ก็คือ การควบคุมออกซิเจน ซึ่งเป็น ปัจจัยให้เกิดการกระบวนการเผาไหม้ภายในเตา 
  • แกนนอน คืออุณหภูมิเฉลี่ยในเตา ที่ค่อย ๆ ร้อนขึ้น … จนเปลี่ยนไม้กลายเป็นถ่านตามคุณภาพที่ต้องการ … ขึ้นกับจุด(เวลา) ที่เราปิดเตา
  • เริ่มเต้นด้วยการ เปิดหน้าเตาเต็มที่ …. จนกว่าควันบ้าจะปรากฎ …. ควันสีขาวอมเหลือง กลิ่นฉุนเป็นบ้าเป็นหลัง… เป็นสัญญาณว่า ไม้ในเตาเริ่มคายก๊าซติดไฟ ออกมาปนกับอากาศเกิดเป็นไฟไหม้ใกล้เพดานเตา … อุณหภูมิควันจะอยู่ที่ ๘๐ องศาเซลเซียส….  รอสักครูจนมั่นใจว่าใช่…. จึงปิดหน้าเตาลงครึ่งหนึ่ง … ประมาณ ๓๐ นาที…. หรี่เตาให้เหลือ ๑/๔ …รอประมาณ ๑๕ นาที อุณหภูมิเกิน ๘๕ องศา… จึงหรี่ลงให้ช่องเล็กที่สุดที่อุณหภูมิคงที่ที่ ๘๕ องศา … เริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้ ….    (เราสามารถเริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้ตั้งแต่ควันบ้าเริ่มออก … เริ่มที่อุณหภูมิควัน ๘๐ องศา…. ถือว่าอยู่ในมาตรฐานเช่นกัน)
  • หยุดเก็บน้ำส้มควันไม้ ที่อุณหภูมิควัน ๑๕๐ องศา …. ภายในจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ ๔๐๐ องศา  ต่ำกว่าจุดที่น้ำมันดินสลายตัวกลายเป็นสารก่อมะเร็ง …. ซึ่งถ้าเก็บน้ำส้มฯ ต่อไป น้ำส้มควันไม้ จะปะปนไปด้วยสารอันตรายนั้น …. ย้ำว่า ต้องหยุดเก็บน้ำส้มควันไม้ที่อุณหภูมิควัน ๑๕๐ องศา
  • เมื่อหยุดเก็บน้ำส้มควันไม้ ให้ค่อย ๆ เปิดช่องหรี่เป็นระยะ ๆ  เปิดทีละน้อย ๆ … อุณหภูมิในเตาจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ถ้ามีหัววัดอุณหภูมิจะทราบว่า หลังจากเปิดช่องหรี่แต่ละครั้ง อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นและค่อย ๆ คงที่  จึงต้องหรี่เพิ่มเป็นระยะ จนกว่าจะเปิดช่องหรี่เต็มที่ …..  ทำแบบนี้จะได้อุณหภูมิสูงสุดที่เตาของเราทำได้ …. ถ้าอยากจะให้อุณหภูมิสูงกว่านั้น ต้องต่อปล่องให้สูงขึ้นอีก เพื่อเพิ่มอัตราการไหลเข้าเตาของอากาศ 
  • อย่างไรก็ตาม … การเผาโดยทั่วไป เราจะใช้การสังเกตสีควันว่า ควรจะปิดเมื่อใด … และกะประมาณเอาว่าควรจะเพิ่มขนาดช่องหรี่มากแค่ใด … ขึ้นกับประสบการณ์ของผู้ “คนเผาถ่าน” 

ขอจบเท่านี้นะครับ …  เพราะ การเผาถ่านแต่ละครั้ง ไม่เหมือนกัน  แต่ละเตา ไม่เหมือกันทีเดียว … จึงต้องชวนให้ไปลองสังเกตหน้าเตาเอาเอง …  

หมายเลขบันทึก: 711459เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2023 02:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2023 02:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท