วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

สรุปประเด็นการจัดการความรู้ (KM) งานวิจัย ปีการศึกษา 2565 ประเด็น”กลยุทธ์มั่นใจเขียนอย่างไรให้ได้รับทุนวิจัยภายนอกและ จะเขียนขอ IRB ได้รวดเร็วต้องมีเทคนิคเขียนดีชัดเจนตรงประเด็นใช่หรือไม่”


กล่าวเปิดและบรรยายพิเศษ “ทิศทางการเสนองานวิจัยเพื่อรับทุนภายในและภายนอก”

โดย ดร.อัศนี วันชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

ทิศทางการเสนองานวิจัยเพื่อรับทุนภายในและภายนอก ทิศทางการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอกจะแตกต่างจากการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายใน กล่าวคือ นโยบายของคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก มีเป้าหมายที่สำคัญเพื่อให้คณาจารย์ของคณะพยาบาลศาสตร์ ในทุกวิทยาลัยฯ ได้พัฒนางานวิจัยเพื่อขอทุนจากภายนอกและเขียนบทความวิจัยให้ มีคุณภาพตามมาตรฐานในระดับสากล มุ่งเน้นการตีพิมพ์ในระดับ Quartile score (Q1-Q2) และนำมาสู่การการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณาจารย์ ( Performance Agreement :PA) และการใช้เป็นผลงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ เบื้องต้นสถาบันพระบรมราชชนก ขอเชิญชวนให้คณาจารย์ของคณะพยาบาลศาสตร์ ในทุกวิทยาลัยเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอรับทุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ที่กำลังจะเปิดรับประจำปีงบประมาณ 2568 ในช่วงเดือนเมษายน 2566 โดยขอให้คณาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพุทธชินราช ที่สนใจร่วมกันส่งโครงร่างวิจัยเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจาก ววน. ประจำปีงบประมาณ 2568 ให้มากเพื่อวิทยาลัยฯ จะได้มีงานวิจัยที่มีคุณภาพและได้รับการพัฒนาให้เป็นงานวิจัยในระดับสากลต่อไป

ประเด็นที่ 1 “กลยุทธ์มั่นใจเขียนอย่างไรให้ได้รับทุนวิจัยภายนอก”

ดำเนินการอภิปรายโดย ดร.เกศกาญจน์ ทันประภัสสร อาจารย์ประจำสาขาวิชา สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช

ผู้บันทึกผลการอภิปรายแลกเปลี่ยน/เสวนา อ.จิตติพร ศรีษะเกตุ อาจารย์ประจำสาขาวิชา บริหารและพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล

วิทยากรผู้ร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยน/เสวนา

1.ดร.อัศนี วันชัย ตัวแทนอาจารย์ประจำสาขาวิชา บริหารและพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล

2.ดร.วิภาพร สิทธิศาสตร์ ตัวแทนอาจารย์ประจำสาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน

3.อ.ดวงใจ พรหมพยัคฆ์ ตัวแทนอาจารย์ประจำสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

4.อ.สุรีรัตน์ ณ วิเชียร ตัวแทนอาจารย์ประจำสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

5.ดร.เบญจมาภรณ์ นาคามดี ตัวแทนอาจารย์ประจำสาขาวิชา การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์

6.ดร.วิสิฏฐ์ศรี เพ็งนุ่ม ตัวแทนอาจารย์ประจำสาขาวิชา การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น

7.อ.วิลาวัณย์ สายสุวรรณ ตัวแทนอาจารย์ประจำสาขาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช

1.แรงจูงใจในการเขียนโครงร่างวิจัยขอทุนภายนอก

แรงจูงใจมาจาก 2 ส่วนดังนี้

1.1 ตัวผู้วิจัย(แรงจูงใจภายใน)

- ความชอบส่วนตัว ชอบสนใจที่จะเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอกเพราะทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ

- ความท้าทาย การเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอรับทุนภายนอกเป็นความท้าทายอย่างมาก เพราะไม่ใช่จะได้รับการพิจารณาง่ายๆ

- ความฝันใฝ่ ในการทำงานวิจัยเป็นความใฝ่ฝันว่าถ้าการเขียนโครงร่างวิจัยแล้วได้รับทุนภายนอกถือเป็นความภาคภูมิใจ (self-esteem) ในการทำงานวิจัย

- ความรับผิดชอบ การเขียนโครงร่างวิจัยต้องมีความรับผิดชอบส่งตามกำหนดเวลาที่หน่วยงานภายนอกที่ให้ทุนกำหนดจึงต้องรับผิดชอบมาก

- ความต้องการมีประสบการณ์ ทำให้อยากเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอรับทุนภายนอกเมื่อมีประสบการณ์แล้วสามารถนำไปชักชวนผู้อื่นต่อได้ หรือหากทำหน้าที่คณะกรรมการประเมินโครงร่างวิจัยจะได้มีประสบการณ์เพื่อนำไปชี้แนะนักวิจัยที่เขียนขอทุนภายนอกได้

- ความภาคภูมิใจ หากนักวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากภายนอก ทำให้นักวิจัยเกิดความภาคภูมิใจและช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับหน่วยงานให้เป็นที่ยอมรับด้านการทำวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนให้ทุนภายนอก

1.2 สิ่งสนับสนุนอื่นๆ(แรงจูงใจภายนอก)

- กลุ่มเพื่อนที่มีความสนใจเหมือนกัน เมื่อมีกลุ่มเพื่อนที่สนใจที่จะเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอกก็จะเกิดการพูดคุย ชักนำให้สนใจศึกษาค้นคว้าหาปัญหาหรือประเด็นการวิจัยใหม่ ๆ ที่จะนำมาเขียนขอทุนวิจัยภายนอกร่วมกัน ทำให้มีกำลังใจ และได้รับคำแนะนำดีๆจากเพื่อนที่มีประสบการณ์

- นโยบายขององค์กร/หน่วยงาน การทำงานที่ตอบสนองตามนโยบายของคณะพยาบาลศาสตร์ หรือสถาบันพระบรมราชชนก ทำให้เป็นแรงผลักดันให้นักวิจัยสนใจที่จะเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก เพื่อให้องค์กร/หน่วยงานได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานที่สอดคล้องตามนโยบายของหน่วยงานที่กำกับติดตาม

- การสนับสนุนจากผู้บริหาร/หัวหน้าสาขาวิชา/อาจารย์ในสาขาวิชา เพื่อให้ผู้วิจัยหน้าใหม่มีโอกาสในการเรียนรู้และสร้างเครือในการทำงานร่วมกันจากการขอทุนวิจัยภายนอก ทำให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร/สถาบันเป็นอย่างมาก

- การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิจัยอาจได้รับการร้องขอจากผู้รับผิดชอบโดยตรง เช่น ผู้รับผิดชอบงานวิจัยของวิทยาลัยฯขอให้นักวิจัยให้ความร่วมมือในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอกเพื่อให้องค์กรผ่านตัวชี้วัดขององค์กรตามที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด

 

2.การเลือกทีมผู้ร่วมทำวิจัยมีหลักอย่างไร

การเลือกทีมผู้ร่วมวิจัย จะแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้

2.1 ทีมวิจัยที่ผู้วิจัยเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย

- ผู้วิจัยจะวิเคราะห์จุดอ่อนของตนเอง จากนั้นจะหาทีมหรือชักชวนผู้ร่วมวิจัยที่มีข้อดี/จุดเด่น/ศักยภาพ มีความเก่งในด้านต่างๆ ที่หัวหน้าโครงการวิจัยไม่มี เข้าร่วมทำงานวิจัย ทั้งนี้เพื่อให้งานสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น โดยจะการคุยกันเรื่องการทำงานให้ชัดเจน เรียนรู้คุณลักษณะของแต่ละคนเพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน เกิดการยอมรับความเป็นตัวตนของแต่ละบุคคลได้ มีการแสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งเพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ แต่มีความสามัคคีในการทำงาน

- การหาทีมผู้วิจัยที่อยู่ในพื้นที่ที่ทำงานวิจัย เพื่อสามารถทำงานได้ราบรื่น เช่น การติดต่อประสานงาน การเก็บข้อมูล เป็นต้น และการทำงานยังจะต้องสามารถระบุคนที่สามารถนำผลการวิจัยของเราไปใช้ได้ เพราะเวลาเขียนงานจะต้องบอกได้ว่างานนี้เกิดประโยชน์กับใครบ้าง ดังนั้นคนในพื้นที่ที่ทำวิจัยจึงมีความสำคัญในการที่จะคัดเลือกและเชิญชวนให้มาเป็นผู้ร่วมโครงการวิจัย

- กรณีที่เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยที่เขียนขอทุนวิจัยภายนอกครั้งแรก ควรเลือกทีมผู้ร่วมวิจัยที่เคย มีประสบการณ์ในการเขียนขอทุนวิจัยภายนอกมาก่อน เพราะบุคคลดังกล่าวจะช่วยแนะนำทิศทางและแนวทางการเขียนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่หัวหน้าโครงการวิจัยกำลังจะศึกษาวิจัย

นอกจากนี้การนำทีมผู้วิจัยหน้าใหม่ๆเข้ามาร่วมทำงานเพื่อสร้างพลังในการทำงาน และมีความสนใจตรงกัน คุยกันได้ ใส่ใจในงาน เติมเต็มในส่วนที่ขาด มีความรับผิดชอบสูง และยิ่งผู้ร่วมทีมวิจัยมีประวัติ (CV) ที่ตรงหรือสอดคล้องกับหัวข้อการศึกษาวิจัยที่จะเขียนขอทุนภายนอกด้วยจะเป็นประโยชน์และได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการมากยิ่งขึ้น

2.2 ทีมวิจัยที่ผู้วิจัยเป็นผู้ร่วมโครงการวิจัย

ผู้วิจัยควรพิจารณาว่าตนเองจะเข้าร่วมเป็นผู้ร่วมโครงการวิจัยใดๆนั้น ต้องคำนึงถึงการนำศักยภาพของตนไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ทีมผู้วิจัย ที่นักวิจัยจะเข้าร่วมเป็นผู้ร่วมโครงการวิจัยเป็นอันดับแรก ทั้งนี้เพื่อช่วยให้การเขียนขอทุนวิจัยภายนอกจะเกิดประโยชน์และตอบโจทย์ของแหล่งทุนมากที่สุด

3. การเลือกหัวข้อการวิจัย (Theme) ที่หลากหลายมาเขียนโครงร่างวิจัยสามารถทำได้อย่างไร การเลือกหัวข้อการวิจัย (Theme) ที่จะนำมาเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนวิจัยภายนอกสามารถทำได้ดังนี้

3.1. ผู้วิจัยควรศึกษาเกณฑ์การพิจารณาการให้ทุนของหน่วยงานให้ทุนวิจัยภายนอก จะทำให้ผู้วิจัยสามารถเลือกหัวข้อวิจัยที่จะนำไปการเขียนโครงร่างวิจัยได้ตรงกับเกณฑ์การพิจารณาให้ทุนภายนอกได้

3.2 ผู้วิจัยควรมีการทบทวนวรรณกรรมโดยรอบด้านเพื่อหาช่องว่างของความความรู้/ปัญหาในการวิจัย/ประเด็นการวิจัยที่ชัดเจน เพื่อทำให้สามารถนำมาเขียนที่มาของปัญหาการวิจัยและเลือกหัวข้อการวิจัยเพื่อเขียนโครงร่างวิจัยได้ตรงกับเกณฑ์การพิจารณาให้ทุนภายนอก

3.3 ผู้วิจัยควรเลือกหัวข้อวิจัยของแหล่งทุนภายนอกที่ตัวเองมีความรู้และประสบการณ์มาก่อน เพื่อทำให้สามารถเขียนโครงร่างวิจัยขอทุนภายนอกที่มีประเด็นน่าสนใจ และเป็นการทบทวนความรู้เดิมเพิ่มเติมความรู้ใหม่ได้ดียิ่งขึ้น

 

4. เขียนโครงร่างวิจัยอย่างไรให้ตอบโจทย์เจ้าของทุน

การเขียนโครงร่างวิจัยให้ตอบโจทย์เจ้าของทุนภายนอก สามารถทำได้ดังนี้

4.1 ผู้วิจัยควรศึกษาเป้าหมายของแหล่งทุนภายนอก เพื่อให้เขียนโครงร่างวิจัยได้ตรงกับเป้าหมายของแหล่งทุนภายนอกจึงจะถือว่าตอบโจทย์ของแหล่งทุนภายนอก

4.2 ผู้วิจัยต้องเขียนโครงร่างวิจัยให้ชัดเจน ระเบียบวิธีการวิจัยถูกต้อง (strong) มากที่สุด และไม่ทำให้คณะกรรมการผู้พิจารณาทุนวิจัยภายนอกเกิดข้อสงสัยหรือเกิดคำถามในโครงร่างวิจัยที่ส่งขอรับทุนภายนอก

4.3 ผู้วิจัยควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้าในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก เพื่อมีเวลาในการตรวจทานและสร้างความเข้าใจโครงร่างวิจัยของตัวเอง และมีเวลาให้ทีมผู้วิจัยสามารถช่วยดูและแก้ไขโครงร่างวิจัยเพื่อให้เป็นโครงร่างวิจัยมีคุณภาพสมควรได้รับการพิจารณาให้ทุน

4.4 ผู้วิจัยไม่ควรเขียนโครงร่างวิจัยที่มีระดับใหญ่มากและมีแนวโน้มที่จะทำวิจัยไม่สำเร็จภายในระยะเวลา 1 ปี หรือหากต้องเขียนโครงร่างวิจัยระดับใหญ่มากให้ปรับโครงร่างวิจัยเป็นงานวิจัยย่อยๆ ดังนั้นการเขียนโครงร่างวิจัยอาจเขียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมที่เป็นการพัฒนาต้นแบบ หรืองานวิจัยเชิงพรรณนาได้

4.5 ผู้วิจัยควรศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงร่างวิจัยที่ผู้วิจัยต้องการเขียนขอทุนภายนอก โดยศึกษาประเด็นใหม่ๆ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับโครงร่างวิจัยให้มากที่สุด หรือ พูดคุยกับทีมผู้วิจัยที่เป็นผู้ร่วมวิจัยหลายๆครั้ง เพื่อนำประสบการณ์ที่ได้รับมาเขียนโครงร่างวิจัยให้ตอบโจทย์ของแหล่งทุนภายนอกมากที่สุด

 

5. เขียนของบประมาณอย่างไรให้ได้ตามขนาด S-M-L

การเขียนของบประมาณในโครงร่างวิจัย จะน้อยหรือมากต้องพิจารณาเกี่ยวกับ

5.1 วัตถุประสงค์ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง แหล่งพื้นที่ที่จะศึกษาวิจัย และระเบียบวิธีการวิจัยที่ผู้วิจัยได้ออกแบบไว้ ซึ่งจะมีรายละเอียดที่บอกถึงการใช้งบประมาณในแต่ละขั้นตอน ทำให้ผู้วิจัยสามารถระบุจำนวนงบประมาณของโครงร่างวิจัยได้อย่างครอบคลุม

5.2 ระเบียบการเบิกจ่ายเงินทุนวิจัยตามระเบียบที่แหล่งทุนภายนอกกำหนดไว้ ซึ่งผู้วิจัยต้องติดตามอย่างต่อเนื่องเพราะมีการปรับเปลี่ยนบ่อย ๆ (update) หากไม่เข้าใจให้ผู้วิจัยสอบถามจากผู้รับผิดชอบหรือเจ้าของแหล่งทุนภายนอกโดยตรง ทั้งนี้ผู้วิจัยไม่ควรเขียนของบประมาณแบบกว้างๆหรือระบุเพียงยอดเงินแต่ไม่เขียนรายละเอียด เช่น เขียนค่าวัสดุ 10,000 บาท โดยไม่ระบุว่ามีค่าวัสดุอะไรบ้าง ที่สำคัญควรให้ทีมผู้ร่วมวิจัยช่วยตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง และผู้วิจัยสามารถเขียนโครงการวิจัยย่อย ๆ เพิ่มได้เพื่อให้สามารถปรับรายละเอียดการของบประมาณให้เพิ่มขึ้นได้

 

6. สร้างกำลังใจอย่างไรในการปรับแก้โครงร่างวิจัยตามมติของคณะกรรมการฯเสนอแนะให้ปรับแก้

ผู้วิจัยสามารถสร้างกำลังใจในการปรับแก้โครงร่างวิจัยตามมติของคณะกรรมการฯ ดังนี้

6.1 ผู้วิจัยควรเปิดใจกว้างเป็นน้ำไม่เต็มแก้ว ยอมรับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ เพื่อให้มีความมุ่งมั่นในการปรับแก้โครงร่างวิจัย

6.2 ผู้วิจัยควรมีมุมมองเชิงบวก จากการอ่านข้อเสนอแนะให้ปรับแก้โครงร่างวิจัยของคณะกรรมการฯ หากไม่เข้าใจให้ผู้วิจัยสอบถามผู้รับผิดชอบ/ผู้ประสานของแหล่งทุนภายนอก เพื่อทำความเข้าใจข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯพิจารณาโครงร่างวิจัยของผู้วิจัย โดยเป็นการสะท้อนว่าผู้วิจัยยังเขียนโครงร่างวิจัยได้ไม่ชัดเจนในประเด็นใดบ้าง โครงร่างวิจัยยังมีจุดอ่อนอะไรบ้าง ที่ผู้วิจัยจะต้องพัฒนาโดยหาทางปิดจุดอ่อนเหล่านั้นให้ได้

6.3 ผู้วิจัยต้องจัดสรรเวลาในการแก้โครงร่างวิจัยให้เสร็จทันเวลา และผู้วิจัยต้องติดต่อกับผู้ประสานงานของแหล่งทุนภายนอกอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา (update)

 

ประเด็นที่ 2 “จะเขียนขอ IRB ได้รวดเร็วต้องมีเทคนิคเขียนดีชัดเจนตรงประเด็นใช่หรือไม่”

1. ทราบได้อย่างไรว่าต้องเขียนขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากหน่วยงานใด หรือสามารถเลือกหน่วยงานได้หรือไม่ ผู้วิจัยจะต้องเขียนขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากหน่วยงานใด ขึ้นอยู่กับ

1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งใด ระเบียบหรือข้อกำหนดของเจ้าของสถานที่ที่ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง เช่น การเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างในรพ.พุทธชินราช จะต้องขอ IRB จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของโรงพยาบาลพุทธชินราชเท่านั้น

1.2 การทำสัญญาข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ระหว่างหน่วยงานที่ผู้วิจัยต้องเก็บรวบรวมข้อมูลและทำหนังสือขออนุญาตในการเก็บข้อมูล เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลกมีการทำ MOU กับคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่ายภูมิภาค มหาวิทยาลัยนเรศวร ดังนั้นผู้ทำวิจัยสามารถเขียนขอ IRB จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่ายภูมิภาค มหาวิทยาลัยนเรศวรได้

1.3 ข้อกำหนดของศูนย์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราชกำหนดให้โครงร่างวิจัยแบบยกเว้น(Exemption)และแบบเร่งรัด(Expedited) ผู้วิจัยสามารถเขียนขอ IRB จากศูนย์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราชได้ ส่วนโครงร่างวิจัยแบบเต็มรูปบบ(Fallboard) ต้องเขียนขอ IRB จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่ายภูมิภาค มหาวิทยาลัยนเรศวร

 

2. ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าต้องเขียนขอจริยธรรม แบบยกเว้น (Exemption) เร่งรัด (Expedited) และ แบบเต็มรูปแบบ (Full board) ผู้วิจัยต้องเขียนขอจริยธรรม แบบยกเว้น (Exemption) เร่งรัด (Expedited) และแบบเต็มรูปแบบ (Full board) ขึ้นอยู่กับ

2.1 ผู้วิจัยต้องศึกษานิยามของโครงการวิจัยแบบยกเว้น (Exemption) เร่งรัด (Expedited) และแบบเต็มรูปแบบ(Full board) ที่กำหนดไว้ในวิธีดำเนินการมาตรฐาน (Standard Operating Procedures : SOPs) ของคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยในมนุษย์แต่ละหน่วยงาน โดยผู้วิจัยต้องศึกษาว่าโครงร่างวิจัยของตนตรงกับโครงการวิจัยแบบใดตามที่กำหนดไว้ใน SOPs

2.2 ผู้วิจัยต้องพิจารณาว่านวัตกรรมหรือโครงร่างวิจัยที่ทำมีผลกระทบกับใครบ้าง หากกระทบกับกลุ่มเปราะบางก็จะเป็นโครงการวิจัยแบบเต็มรูปแบบ(full board) ซึ่งโครงการวิจัยแบบเต็มรูปแบบจะต้องใช้เวลาในการพิจารณาจากคณะกรรมการเป็นเวลานาน ดังนั้นผู้วิจัยต้องพยายามเขียน protocol ให้ชัดเจน โดยศึกษาแบบฟอร์มให้ชัดเจน และหากได้รับการแจ้งผลให้ปรับแก้ต้องพยายามแก้ไขให้ผ่านในครั้งแรกเพื่อให้ได้รับIRB ได้รวดเร็วขึ้น

 

3. ควรเริ่มเขียนอย่างไรให้ชัดเจนตรงประเด็น

ผู้วิจัยควรเริ่มเขียนขอ IRB ให้ชัดเจนตรงประเด็นด้วยการ

3.1 ผู้วิจัยและทีมผู้เข้าร่วมวิจัยต้องมีวุฒิบัตรผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ทุกคน โดยต้องศึกษาว่าหน่วยงานที่พิจารณา IRB กำหนดให้ผู้วิจัยต้องมีวุฒิบัตรอะไรบ้าง เช่น IRB ของรพ.พุทธชินราช กำหนดให้ผู้วิจัยต้องมีวุฒิบัตร GCP ส่วน NU-NREC กำหนดให้ผู้วิจัยต้องมีวุฒิบัตร HSP กรณีที่โครงการวิจัยเป็นแบบยกเว้น(Exemption) หรือเร่งรัด (Expedited) และกำหนดให้ผู้วิจัยต้องมีวุฒิบัตร GCP กรณีที่โครงการวิจัยแบบเต็มรูปแบบ(Full board)

3.2 ผู้วิจัยควรเขียนโครงร่างวิจัยที่มีรายละเอียดชัดเจน เช่น ความสำคัญของปัญหา การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล รายละเอียดเครื่องมือวิจัย

3.3 เมื่อผู้วิจัยทราบว่าได้รับทุนวิจัยภายนอกแล้ว ให้เตรียมเขียนขอ IRB ทันทีเพื่อให้สามารถบริหารเวลาได้ทันโดยเฉพาะเมื่อทราบตารางการประชุมของคณะกรรมการพิจารณา IRB จากหน่วยงานที่ผู้วิจัยต้องการขอ IRB ผู้วิจัยควรรีบดำเนินการเขียนขอ IRB ให้ทันตารางการประชุมของคณะกรรมการพิจารณา IRB

 

4. เมื่อต้องปรับแก้โครงร่างวิจัยเพื่อขอรับ IRB ต้องทำอย่างไรให้ปรับแก้ภายในรอบเดียว

ผู้วิจัยควรดำเนินการดังนี้

4.1 ผู้วิจัยควรอ่านมติของคณะกรรมการฯให้เข้าใจว่าต้องการให้ผู้วิจัยแก้ไขหรือเพิ่มเติมอะไรบ้าง หากไม่เข้าใจ

4.2 ให้ผู้วิจัยติดต่อผู้ประสานงานเพื่อสอบถามให้เข้าใจว่าต้องแก้ไขอะไรเพิ่มเติม หากผู้วิจัยไม่ต้องการแก้ไขเพิ่มเติมตามมติของคณะกรรมการฯ ผู้วิจัยต้องเขียนอธิบายเหตุผลการไม่แก้ไขให้ชัดเจน

 

5.เขียนอย่างไรทำให้ไม่ต้องปรับแก้

เพื่อให้เกิดการปรับแก้โครงร่างวิจัยน้อยที่สุด ผู้วิจัยควรเขียนขอ IRB ดังนี้

5.1 ผู้วิจัยควรศึกษาว่าคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมจะตรวจสอบอะไรบ้าง ดังนั้นผู้วิจัยควรเขียนให้ชัดเจนมากที่สุด โดยเฉพาะระเบียบวิธีการวิจัย

5.2 ผู้วิจัยต้องเขียนโครงร่างวิจัยโดยคำนึงถึงอาสาสมัครในการวิจัยเป็นหลัก โดยครอบคลุมในหลัก จริยธรรมที่แสดงถึงการเคารพอาสาสมัคร การคาดการณ์ความเสี่ยง ประโยชน์ที่อาสมัครจะได้รับและหลักความยุติธรรมในการเข้าร่วมวิจัยครั้งนี้

5.3 ผู้วิจัยต้องเขียนเกณฑ์การคัดเข้า เกณฑ์คัดออกของกลุ่มตัวอย่างให้ชัดเจนโดยเฉพาะด้าน เพศ อายุ

5.4 ผู้วิจัยต้องเขียนเอกสารชี้แจงโดยสรุปสั้นๆให้ชัดเจน โดยแสดงให้เห็นว่าข้อมูลของอาสาสมัครจะได้รับการเก็บรักษาอย่างปลอดภัย โดยการกำหนดการเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ที่มีผู้เข้าถึงข้อมูลได้โดยใช้รหัสผ่านที่ไม่มีใครทราบ กำหนดระยะเวลาและวิธีการทำลายข้อมูลโดยใช้เครื่องทำลายข้อมูลให้ชัดเจน

5.5 ผู้วิจัยควรเขียนเอกสารยินยอมของอาสาสมัครโดยใช้ภาษาที่อาสาสมัครอ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย สั้นกระชับตรงประเด็น และผู้วิจัยควรสังเกตว่าอาสาสมัครสามารถเขียนลายมือชื่อได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ผู้วิจัยควรมีวิธีการอื่นที่เหมาะสม เช่น การลงลายนิ้วมือแทนการเขียนลายมือชื่อ

 

6. จะแนะนำสำหรับคนที่ไม่เคยเขียนขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์อย่างไร

สำหรับผู้วิจัยที่ยังไม่เคยเขียนขอ IRB ควรปฏิบัติดังนี้

6.1 ผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนโครงร่างวิจัยให้มีความชัดเจน มีเครื่องมือวิจัยครบถ้วน มีการตรวจคุณภาพของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญเรียบร้อยแล้ว และที่สำคัญผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยทุกคนต้องมีวุฒิบัตรผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ทุกคน

6.2 ผู้วิจัยควรศึกษาว่าต้องขอ IRB จากหน่วยงานใด จากนั้นให้เริ่มศึกษาเอกสารต่างๆที่หน่วยงานพิจารณา IRB นั้นๆกำหนดให้ผู้วิจัยจัดเตรียมเอกสารใดบ้างเพื่อยื่นขอ IRB ให้ครบถ้วน หากผู้วิจัยไม่เคยเตรียมเอกสารมาก่อน และมีข้อสงสัยให้ปรึกษาผู้ที่มีประสบการณ์ในการเคยเขียนขอ IRB มาก่อนเพื่อได้รับคำแนะนำทำให้ผู้วิจัยนำมาปฏิบัติได้ง่ายขึ้น

 

7. การอบรมเพื่อให้ได้ใบรับรองการผ่านการอบรมการวิจัยในมนุษย์ต้องทำอย่างไรบ้าง

ผู้วิจัยควรเข้ารับการอบรมเพื่อให้ได้ใบรับรองการผ่านการอบรมการวิจัยในมนุษย์ ดังนี้

7.1 ผู้วิจัยสามารถเข้ารับการอบรมแบบ onsite จากหน่วยงานพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่จัดอบรมให้กับนักวิจัยโดยไม่เสียค่าลงทะเบียน หรือแบบเสียค่าลงทะเบียนได้ โดยติดตามข้อมูลการอบรมจากwebsite ของหน่วยงานดังกล่าวได้

7.2 ผู้วิจัยสามารถอบรมแบบออนไลน์ เช่น วุฒิบัตร HSP กรณีที่โครงการวิจัยเป็นแบบยกเว้น (Exemption) หรือเร่งรัด (Expedited) หรือวุฒิบัตร GCP กรณีที่โครงการวิจัยเป็นแบบเต็มรูปแบบ (Full board) โดยสมัครเข้าอบรมจากwebsiteของหน่วยงานต่างๆ เช่น วช. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น

7.3 ผู้วิจัยควรสนับสนุนให้ผู้ร่วมวิจัยในพื้นที่ได้รับการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยแนะนำวิธีการอบรม เช่น การอบรมแบบออนไลน์เพื่อขอวุฒิบัตร HSP หรือ วุฒิบัตร GCP

**************************************************

หมายเลขบันทึก: 711193เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2023 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2023 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (47)

เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ของนักวิจัยที่มีประสบการณ์ตรงในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก และการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอIRBจากศูนย์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่หลากหลาย ทำให้ได้แนวทางที่เป็นรูปธรรมในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก และแนวทางการเขียนขอIRBจากหน่วยงานต่างๆ ภายใต้บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เป็นกัลยาณมิตรสนับสนุนให้เกิดการผลิตผลงานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาสุขภาวะของชุมชนหรือสังคมต่อไป

การแลกเปลี่ยนแนวทางการขอทุนวิจัยภายนอกและการขอรับรองจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มีประโยชน์มาก เพราะได้เรียนรู้ประสบการณ์จากผู้ที่ประสบการณ์โดยตรง ทำให้นำมาปรับใช้ในการขอทุนภายนอก และการขอรับรองจริยธรรมวิจัยได้มาก ขอขอบคุณทุกท่านที่แลกเปลี่ยนร่วมกันค่ะ

ได้รับความรู้และประสบการณ์ที่ดีในการพัฒนาตนเองด้านการเขียนขอทุนวิจัย ขอบคุณผู้จัดและวิทยากรทุกๆท่านคะ

ได้เรียนรู้ประสบการณ์จากผู้ที่ประสบการณ์โดยตรง ทำให้นำมาปรับใช้ในการขอทุนภายนอก และการขอรับรองจริยธรรมวิจัยได้มาก ขอขอบคุณทุกท่านที่แลกเปลี่ยนร่วมกันค่ะ

เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องยากให้เข้าใจง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามภายหลังรับฟังสิ่งที่เป็นแนวทางแล้ว นักวิจัยต้องลงมือทำดูก่อนเพราะการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ต้องลองลงมือทำ…ขอบคุณผู้จัดและผู้ร่วมแลกเปลี่ยนในเวทีนี้คะ

ได้เรียนรู้แนวทางการทำวิจัย​ และเทคนิคประสบการณ์ตรงจากผู้ทำวิจัย​ มาแลกเปลี่ยนและให้ข้อคิดเห็นการทำวิจัย​ ทำให้สามารถนำมาปรับใช้ในการทำวิจัยของตนเองให้สำเร็จได้มากขึ้นค่ะ

ได้ประสบการณ์การเขียนโครงขอทุนสนับสนุนภายนอกได้อย่างชัดเจนตลอดจนการเขียนขอIRB อย่างเป็นรูปธรรม โดยการนำแรงจูงใจภายในและภายนอกมาเป็นพลังในการทำงานให้สำเร็จ ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีให้แก่กัน

วิลาวัณย์ สายสุวรรณ

ได้ความรู้เรื่องแนวทางการเขียนขอทุนภายนอกจากอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ และได้มีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องการเขียนขอ IRB เทคนิคการเขียนและได้ข้อเสนอเเนะที่ดีจากอาจารย์ ทำให้เห็นแนวทางการขอ IRB ที่ชัดเจนมากขึ้นคะ

ป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องยากให้เข้าใจง่าย เพราะวิทยากรเป็นผู้มีประสบการณ์สูงกันหมด แต่ก็ยังรู้สึกว่าถ้าลงมือทำจริงมันคงยากสำหรับตัวเอง เพราะการเขียนโครงร่างขอทุนทุ้งภายนอกและภายใน ตัองเขียนให้มัน touch ใจคนพิจารณาทุนจริง

ได้ทราบแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้นในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อการเสนอจริยธรรมวิจัยและการขอทุนจากภายนอกซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ององค์กรและวงการศึกษา ขอบคุณผู้จัดและผู้ร่วมแลกเปลี่ยนทุกท่านที่ได้ให้ข้อคิดเห็นดีๆค่ะ

เป็นการแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์สามารถนำไปใช้ในการทำงานได้จริง

เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของอาจารย์ในวิทยาลัย ซึ่งมีนักวิจัยภายในที่มีประสบการณ์ตรงในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอกและเพื่อขอIRBจากศูนย์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่หลากหลาย ทำให้ได้แนวทางที่เป็นรูปธรรมช่วยให้เกิดการพัฒนาผลิตผลงานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาสุขภาวะของชุมชนหรือสังคมต่อไป

เป็นการแลกเปลี่ยนที่นำอาจารย์ที่มีประสบการณ์ตรงมาพูดคุย ทำให้ได้ความรู้ที่เป็นรูปธรรม ทำได้จริง ได้มีส่วนในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่าในการทำนวัตกรรมถ้าต้องการจะขอจริยธรรมต้องทำเป็นโครงร่างวิจัย ให้ครบตามรูปแบบของงานวิจัย เพื่อใช้ในการพิจารณา เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณา ควรศึกษาและเขียนหัวข้อตามแบบฟอร์ม และระบุรายละเอียดให้ชัดเจนตรงประเด็นที่แบบฟอร์มระบุมาก

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้เป็นการสร้างแรงกระตุ้น แรงบันดาลใจในการส่งขอทุนภายนอก ขอบคุณทุกคนที่มอบแรงผลักดันค่ะ

ได้รับความรู้และแนวทางปฏิบัติที่มีประโยชน์ เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติต่อไป

ได้รับฟังการถ่ายทอดประสบการณ์ของอาจารย์ที่ได้รับทุนภายนอก ขอชื่นชม ทำให้ได้เรียนรู้และเป็นประโยชน์ในการที่จะทำวิจัยต่อไป

ทราบแนวทาง มีประโยชน์มาก

ได้รับฟังการถ่ายทอดจากประสบการณ์ของอาจารย์ที่ได้รับทุนภายนอก ทำให้ได้เรียนรู้และเป็นประโยชน์ในการที่จะทำงานวิจัยต่อไป

ขอชื่นชมอาจารย์วิทยากรทุกท่านที่มาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ค่ะ ทำให้รู้ว่าสิ่งสำคัญของการเขียวิจัยเพื่อขอทุนภายนอกควรมีทีมที่ดี ทีมที่มีประสบการณ์ มีแรงบันดาลใจที่จะทำจริงๆ และเขียนให้ตรงตามความต้องการของแหล่งทุนก็จะสามารถช่วยให้มีโอกาสที่จะได้รับทุนวิจัยจากภายนอกมากขึ้น

ได้รับประสบการณ์ดีๆ และมุมมองดีๆที่จะนำไปปรับใช้เพื่อขอทุนภายนอกเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งแนวทางการการเขียนขอจริยธรรมฯ ที่มีความจำเป็นในการทำวิจัยค่ะ..ขอชื่นชมทุกๆท่านที่แบ่งปันข้อมูล ประสบการณ์ดีๆ ให้ทำวิจัยต่อไปค่ะ และเป็นกำลังใจให้อาจารย์วิทยาลัยของเรา ขอทุนภายนอกมากขึ้นมากขึ้นทุกปีค่ะ

ได้รัยความรู้ กระยสนการ/ วิธีการเจียนขอทุนภายนอกรวมทั้ง จธม.ด้วยค่ะ ขอบพระคุณวิทยากรทุกท่านนะคะ

ได้รับความรู้ และมุมมองดีๆที่จะนำไปใช้ในการขอทุนภายนอกเพิ่มมากขึ้น ขอชื่นชมทุกๆท่านที่แบ่งปันข้อมูลที่มีประโยชน์ในการพัฒนางานวิจัยต่อไปค่ะ

ได้รับความรุ้ในการขอทุนภายนอกขัดเจน ขอบคุณทุกท่านที่มาแบ่งปันแนวทางการปฏิบัติ ซึ่งช่วยให้ได้ขยายงานวิจัยต่างๆและสร้างองค์ความรู้ต่อไปได้อีกมากมาย

จินดาวรรณ เงารัศมี

ได้รับความรู้และแนวทางปฏิบัติที่มีประโยชน์สำหรับการนำไปใช้ปฏิบัติต่อไปค่ะ

สุรีรัตน์ ณ วิเชียร

การแลกเปลี่ยนแนวทางการขอทุนวิจัยภายนอกและการขอรับรองจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มีประโยชน์มาก เพราะได้เรียนรู้ประสบการณ์จากผู้ที่ประสบการณ์โดยตรง ทำให้นำมาปรับใช้ในการขอทุนภายนอก และการขอรับรองจริยธรรมวิจัยได้มาก

นางสาวสุดาวรรณ สันหมอยา

ได้เรียนรู้เทคนิคดีๆที่จะทำให้เราสามารถขอทุนภายในและภายนอก จะนำมาปรับใช้เพื่อพัฒนาให้มีผลงานทางงวิชาการในทุกๆปีค่ะ

กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์

มีประโยชน์มากๆ ได้รับความรู้จากมุมมองที่หลากหลายและขอชื่นชมวิทยากรทุกท่านที่ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ดี

จิตตระการ ศุกร์ดี

ได้รับความรู้ แนวทางที่ประโยชน์มากๆ จากมุมมองหลากหลายภาควิชา ขอบคุณวิทยากรทุกท่านค่ะ

ชื่นชมวิทยากรที่มาแลกเปลี่ยน และให้แนวปฏิบัติที่เป็นรุปธรรม สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ในการวางแผนการทำวิจัยและขอทุน

มีประโยชน์มากค่ะ ทำให้ได้รับความรู้ กลวิธีในการขอทุนวิจัยภายนอก การขอขริยธรรมวิจัยและความรู้อื่นๆที่จะนำไปใช้ในการพัฒนางานวิจัยต่อไปได้ค่ะ

เป็นการแลกเปลี่ยนที่สร้างแรงจูงใจ ช่วยบอกแนวทางที่ทำได้จริง รวมถึงวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจนมากๆครับ มันดีมากสำหรับนักวิจัยหน้าใหม่ที่จะเริ่มก้าวสู่ทุนวิจัยภายนอกอย่างผมครับ ขอบคุณครับ

ดร.ศุภาณ์นาฏ สุวรรณกิจ

ได้รับความรู้มากมายและประสบการณ์ที่ดีจากวิทยากรเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองด้านการเขียนขอทุนวิจัย ขอบคุณผู้จัดและวิทยากรทุกๆท่านค่ะ

ได้รับแรงบันดาลใจในการเขียนผลงานวิจัย การขอ IRB และการขอจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ค่ะ

ดร.สุภาณี คลังฤทธิ์

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยให้เกิดความเข้าใจของแนวทางการขอทุนภายนอก เกร็ดความรู้ของการเขียนขอพิจารณา IRB ทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติมากขึ้น ถึงแม้ว่าการดำเนินการดังกล่าวจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ผ่านประสบการณ์ ช่วยให้เห็นแนวทางที่ชัดเจนขึ้น…

จุฑามาศ รัตนอัมภา

ได้รับความรู้ และและเทคการเขียนขอทุนภายในและภายนอก ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้จริง และยังกระตุ้นให้เกิดกำลังใจในการเขียนผลงานวิจัย

ได้แนวทางไปปฏิบัติได้อย่างชัดเจน สามารถนำไปใช้ได้เกิดประโยชน์ในทุกขั้นตอน

สามารถนำไปใช้ได้จริง เช่น การขอ IRB ผู้วิจัยต้องได้รับการอบรมแบบออนไลน์ เช่น วุฒิบัตร HSP กรณีที่โครงการวิจัยเป็นแบบยกเว้น (Exemption) หรือเร่งรัด (Expedited) หรือวุฒิบัตร GCP กรณีที่โครงการวิจัยเป็นแบบเต็มรูปแบบ (Full board) โดยสมัครเข้าอบรมจาก website ของ วช. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งดีมาก การเขียนขอทุนวิจัย เป้าหมายต้องชัดเจน PI และทีมต้องดีและต้องไปอ่านแหล่งทุนบ่อยๆ

วิสิฏฐ์ศรี เพ็งนุ่ม

ผลสืบเนื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำให้ตอนนี้สาขาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นกำลังดำเนินการขอทุนภายนอก ตอนนี้ได้ส่งโครงร่างเพื่อขอทุนวิจัย Meta-Analysis แล้วค่ะ ขอบคุณสำหรับแรงบันดาลใจนะคะ

ได้รับความรู้และแนวทางในการเขียนขอทุนวิจัยภายนอก ขอบคุณค่ะ

ได้รับความรู้และแนวทางในการเขียนวิจัย ทำให้เข้าใจเพิ่มมากขึ้นค่ะ

อักษรศิลป์ สุขสวัสดิ์

เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ดีมากๆเลยะ ทำให้มองเห็นภาพและแนวทางในการเขียนวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนที่ชัดเจนขึ้น และยังสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้ด้วยค่ะ

อภิเชษฐ์ พูลทรัพย์

ได้รับความรู้และแนวทางในการเขียนขอทุนวิจัยภายนอก เป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ

ได้ความรู้และแรงบันดาลใจในการเขียนขอทุนวิจัยทั้งภายในและภายนอก อีกทั้งยังได้แนวทางไปปฏิบัติได้อย่างชัดเจน สามารถนำไปใช้ได้เกิดประโยชน์ได้จริง

สาวิตรี ลิ้มกมลทิพย์

ได้ความรู้และเทคนิคที่ดีในการเขียนขอทุนภายนอก วิทยากรเก่งมากค่ะ

ได้เรียนรู้แนวทางการทำวิจัย​ และเทคนิค-ของผู้วิจัย​ ข้อคิดเห็นการทำวิจัย​ ทำให้สามารถนำมาปรับใช้ในการทำวิจัยของตนเองให้สำเร็จได้มากขึ้นค่ะ

ทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติมากขึ้น ถึงแม้ว่าการดำเนินการดังกล่าวจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ผ่านประสบการณ์ ช่วยให้เห็นแนวทางที่ชัดเจนขึ้น…

อวินนท์ บัวประชุม

เป็นเวทีที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

ได้เรียนรู้มุมมองที่หลากหลาย เกี่ยวกับงานวิจัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท