สถานการณ์แก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5


สถานการณ์แก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5

18 ธันวาคม 2565

: ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น)

กทม. คือ “แชมป์มลพิษ”

กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) (ข่าว 14 พฤศจิกายน 2565) เผยว่า กทม. ถูกร้องเรียนมากที่สุด รองลงมา คือ สมุทรปราการ-สมุทรสาคร 

ในปีงบประมาณ 2565 คพ. ได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนด้านมลพิษ 718 เรื่อง น้อยลงจากปีงบประมาณ 2564 ที่มีจำนวน 766 เรื่อง ซึ่งพื้นที่ที่มีปัญหาได้รับการแจ้งเรื่องร้องเรียนสูงสุด คือ กรุงเทพฯ 189 เรื่อง รองลงมา คือ จ.สมุทรปราการ 54 เรื่อง จ.สมุทรสาคร 44 เรื่อง

ปัญหากลิ่นเหม็นยังครองอันดับมีการร้องเรียนมากที่สุด 527 เรื่อง (ร้อยละ 41) รองลงมา คือ ฝุ่นละออง/เขม่าควัน 315 เรื่อง (ร้อยละ 24) และเสียงดัง/เสียงรบกวน 215 เรื่อง (ร้อยละ 17) เมื่อพิจารณาแหล่งที่มาของปัญหามลพิษที่ได้รับการแจ้งเรื่องร้องเรียน พบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม ร้อยละ 41 รองลงมา คือ สถานประกอบการ ร้อยละ 33

ปัญหาวิกฤต PM2.5

ปัญหาเรื่องฝุ่น-หมอกควันประเทศไทยมีมานานร่วมสิบปีแล้ว สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาวิกฤตที่ต้องมีมาตรการป้องกันและควบคุมที่เหมาะสม เกิดสภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (มลพิษ) อากาศพิษ เป็น "วาระแห่งชาติ" (National Agenda) ตามมีมติ คสช.เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2558 เพราะต้องมีการใช้อำนาจแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการ (Integrated) ร่วมกันหลายหน่วยงาน รัฐบาลได้มอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นเจ้าภาพบูรณาวางแก้ไข “ปัญหาหมอกควัน” อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะใน 9 จังหวัดภาคเหนือ(ตอนบน) โดยมีกฎหมายเกี่ยวข้องหลายฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 และกฎหมายเฉพาะเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องอากาศ ได้แก่ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 นอกจากนั้นยังกระจัดกระจายอยู่ในกฎหมายอื่นๆ อีกหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522

นอกจากนี้ ถือเป็นมิติใหม่ในแนวนโยบายการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ของผู้สมัครหลายคน ใน 3 ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมือง คือเรื่อง "ฝุ่น-ขยะ-พื้นที่สีเขียว" ตาม  “กระแสสิ่งแวดล้อม” (Green Policy) เช่น นโยบายการส่งเสริมการคมนาคมขนส่งทางระบบรางให้มากขึ้น จะสามารถแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ได้ เป็นต้น ทั้งนี้ ตามผลการสำรวจข้อมูลสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) พบว่า ประชาชนมองว่าปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพฯ เรื่องที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ควรเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 มลพิษทางอากาศ (PM 2.5) 39.2% อันดับที่ 2 ขยะ 34.2% และ อันดับที่ 3 พื้นที่สีเขียว 8.1%

ด้วยแนวคิด "Bangkok Goals" เศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy หรือเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว) ซึ่งเป็นวาระ สำคัญของการประชุม APEC 2022 (Asia-Pacific Economic Cooperation) หรือ การประชุมสุดยอดผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่ไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565

การฟ้องคดีปกครองสิ่งแวดล้อม PM2.5

จับความตั้งแต่ปี 2564 ที่คดีได้ลากยาวมานานถึงสองปีแล้ว คดีที่น่าสนใจ คือนาย ภูมิ วชร เจริญผลิตผล ชาวบ้านจ.เชียงใหม่ ยื่นฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) โดย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ผู้รับมอบอำนาจ กรณีละเลยล่าช้าเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ตามคำพิพากษาศาลปกครองเชียงใหม่ คดีหมายเลขดำที่ 1/2564 คดีหมายเลขแดงที่ 1/2564 (8 เมษายน 2564) โดยศาลชั้นต้นสั่งให้ กก.วล.ประกาศเขตควบคุมมลพิษ ตามมาตรา 59 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 คดียังอยู่ระหว่างการอุทธรณ์ศาลสูง

นอกจากนี้ยังมีคดีอื่นๆ ที่ต่อเนื่องสืบเนื่องกันอีก ที่มีเนื้อหาแห่งคดีเป็นเรื่องเดียวกันคล้ายกัน ได้แก่ องค์กรรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ยื่นฟ้องรัฐเช่นกัน คือ “กรีนพีซ-หมอชนบท” ฟ้องศาลปกครอง (22 มีนาคม 2565) กรณีการแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5

แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 มีประกาศ กก.วล. ปรับปรุงเปลี่ยนค่ามาตรฐาน PM2.5(ใหม่) ใช้วิธีตรวจวัดอ้างอิง ด้วยวิธีกราวิเมตริก

(1) เดิม ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม. มีผลจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ปรับใหม่เป็น ไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม. มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565

(2) เดิม ค่าเฉลี่ยราย 1 ปี ไม่เกิน 25 มคก./ลบ.ม. ปรับใหม่เป็น ไม่เกิน 15 มคก./ลบ.ม. มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป

ที่ทำให้มีผลกระทบต่อคำสั่งของศาลปกครองเชียงใหม่ เพราะในเนื้อหาแห่งคดีคือเรื่องเดียวกันกับที่ชาวบ้านจ.เชียงใหม่ และองค์กรรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ยื่นฟ้องคดีดังกล่าวเช่นกัน

ย้อนเท้าความข้อมูลเก่า

ผู้เขียนได้นำเสนอข้อมูลมาอย่างต่อเนื่องในปัญหาฝุ่นพิษ ฝุ่นจิ๋ว  PM2.5 (อนุภาคขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนหรือ Particulate Matter : PM2.5 ) ซึ่งเป็น "คาร์บอนไดออกไซด์" ในสถานะหนึ่ง ลองย้อนหลังดูข้อมูล/บทความ คือ

(1) ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นวาระแห่งชาติ, 5 สิงหาคม 2565

บทความนี้เผยแพร่ใน สยามรัฐออนไลน์, 5 สิงหาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/370918 

(2) วาระแห่งชาติในการแก้ไขปัญหาวิกฤตสถานการณ์ฝุ่น PM2.5, 29 กรกฎาคม 2565

(3) การเมืองกรุงเทพมหานคร : มุมมองในการหาเสียงของผู้สมัครผู้ว่าฯ ฝุ่น PM2.5, 18 พฤษภาคม 2565

(4) ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ปัญหาท้าทายรัฐบาล , 15 เมษายน 2565

บทความนี้เผยแพร่ใน สยามรัฐออนไลน์, 22 เมษายน 2565, https://siamrath.co.th/n/341592 

(5) กรณีศึกษาการฟ้องคดีปกครองคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละออง PM2.5, 14 เมษายน 2565

(6) สถานการณ์ฝุ่นPM2.5ในประเทศไทย, 4 เมษายน 2565

ไทยติดอันดับโลกท็อปเทนเมืองอากาศแย่

ข้อมูลรายงานแบบเรียลไทม์ เมืองเชียงใหม่ติดอันดับ 9 เมืองอากาศแย่สุดในโลก "แม่ฮ่องสอน-นครพนม" ฝุ่นพิษติดโซนแดงอันตราย (18 มีนาคม 2565)

ข้อมูลรายงานแบบเรียลไทม์ วันที่ 9 เมษายน 2565 เวลา 08.45 น. พบว่า เมืองเชียงใหม่อยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก โดยดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 166 US AQI ส่วน กทม.ติดอันดับ 6 ของโลก โดยดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 163 US AQI

ข้อมูลวันที่ 12 เมษายน 2565 พบว่า ทั่วไทยโซนสีแดงฝุ่นพิษคลุ้งใน 8 พื้นที่ เชียงใหม่ติดอันดับ 7 โลก กทม. อันดับ 8 โลก

นโยบายการเก็บภาษีปล่อยคาร์บอน (Carbon Tax)

ข่าวเมื่อ 12 กันยายน 2565 กรมสรรพสามิตลุยศึกษาเล็งเป้าเก็บภาษีในอุตสาหกรรม 5 ประเภท คือ 1.ปูน 2.เหล็ก 3.อลูมิเนียม 4.ปุ๋ย และ 5.ไฟฟ้า ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานโลก และการจัดเก็บก็ทำได้ 2 รูปแบบ คือ 1.คำนวณจากสินค้าหน้าโรงงาน ใครผลิตออกมาเยอะ เก็บเยอะ ใครไม่ปล่อยคาร์บอนก็ไม่เก็บ และ 2. คำนวณจากกระบวนการผลิต ต้นน้ำ ปลายน้ำ ซึ่งจะต้องร่วมมือกับองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก ว่าจะมีแนวปฏิบัติอย่างไร ซึ่งการศึกษาจะได้เห็นผลในงบประมาณ 2566 โดยในปี 2566 กรมสรรพสามิตตั้งเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ที่ 5.67 แสนล้านบาท

เป็นการสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยในการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี 2065 โดยเบื้องต้น กรมมีแนวทางในการสนับสนุนการนำเอทานอลบริสุทธิมาใช้ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ (Bio Plastic) เชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยาน (Bio Jet) ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในขั้นตอนการผลิตสินค้า และช่วยส่งเสริมให้มีการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์คือที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 ที่สำคัญ

Greenpeace ประเทศไทยเห็นว่า รัฐต้องเอาผิดอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 และการทำลายป่า เพราะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาฝุ่นควันภาคเหนือ มลพิษข้ามพรมแดน และการสูญเสียป่าไม้เพื่อเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารสัตว์เพราะมีราคาถูกกว่า

ข้ออ้างว่าปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 โดยเฉพาะในภาคเหนือเกิดจาก “การเผาไร่” ของเกษตรกรทำให้คนชี้นิ้วไปที่เกษตรกรว่าเป็นตัวการ ทว่าสาเหตุของการเผามันซับซ้อนกว่าที่หลายคนคิด เกษตรกรมักต้องเป็นจำเลยของสังคม แต่แท้จริงแล้วยังมี “ระบบ” ที่ผลักให้เกษตรกรต้องตกอยู่ในวังวนเกษตรพันธสัญญา

 

อ้างอิง

กฎหมาย

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้เตาเผาศพเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย ออกสู่สิ่งแวดล้อม พ.ศ.2565 (ตามความในมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535) ดู ราชกิจจาฯ ประกาศกำหนด ‘เตาเผาศพ’ เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ ต้องควบคุมทิ้งอากาศเสีย, สยามรัฐออนไลน์, 22 มิถุนายน 2565, https://siamrath.co.th/n/358966 

บทความ

ความรู้ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการเผาหญ้า ขยะ และสิ่งไม่พึงประสงค์ในที่โล่งแจ้ง หนึ่งในสาเหตุของปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 โดยกองปราบปราม, 31 มกราคม 2562, https://csd.go.th/4341

ข่าว

หลายพื้นที่ในประเทศรวมถึง กทม. อุณหภูมิสูงขึ้น ฝุ่น-หมอกควันหนาตา ภาคใต้ยังมีฝนปกคลุม, สยามรัฐออนไลน์, 2 กุมภาพันธ์ 2564, https://siamrath.co.th/n/216632

"เชียงใหม่" ไต่อันดับ 9 เมืองอากาศแย่สุดในโลก "แม่ฮ่องสอน-นครพนม" ฝุ่นพิษติดโซนแดงอันตราย, สยามรัฐออนไลน์, 18 มีนาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/332093

เช้านี้ทั่วไทย "ฝุ่นพิษ" ทิศทางเพิ่มขึ้น เหนือหนัก! ไต่อันดับ 5 "กทม." ตามติดอันดับ 6 เมืองมลพิษโลก, ​สยามรัฐออนไลน์, 9 เมษายน 2565, https://siamrath.co.th/n/338584

ฝุ่นพิษคลุ้ง! 8 พื้นที่โซนสีแดง กรุงเทพฯอ่วมติดอันดับ8โลก, สยามรัฐออนไลน์, 12 เมษายน 2565, 00:15 น., https://siamrath.co.th/n/339273

ส่องนโยบายชิงผู้ว่าฯ กทม. 'ฝุ่น-ขยะ-พื้นที่สีเขียว' 3 ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมืองกรุง, สำนักข่าวอิศรา, 14 พฤษภาคม 2565, https://isranews.org/article/isranews-scoop/108801-isranews-bkk-enviroment.html 

เช็กเลย! ปริมาณฝนใน กทม. รอบ 24 ชม. ค่าฝุ่น PM2.5 รายพื้นที่, ไทยโพสต์, 18 กรกฎาคม 2565, https://www.thaipost.net/general-news/182818/

เช็กเลย! ปริมาณฝน กทม. 24 ชม. ค่าฝุ่น PM2.5 รายพื้นที่, ไทยโพสต์, 29 กรกฎาคม 2565, 9:54 น., https://www.thaipost.net/general-news/190116/

ปลูก’ไม้ยืนต้น’ สร้างกำแพงกรองฝุ่น กทม., ไทยโพสต์, 4 กันยายน 2565, https://www.thaipost.net/environment-news/213991/

สรรพสามิตลุยศึกษารีดภาษีปล่อยคาร์บอน เล็งเป้า 5 อุตสาหกรรมหลัก, ไทยโพสต์, 12 กันยายน 2565, https://www.thaipost.net/economy-news/219737/ 

"ชัชชาติ' รณรงค์งดการเผาซังตอข้าว ลดปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5, สยามรัฐออนไลน์, 21 กันยายน 2565, 23:00 น., https://siamrath.co.th/n/384578

ยังโล่ง!! กทม.ไม่พบกลุ่มฝน ฝุ่น PM 2.5 ไม่เกินเกณฑ์ทุกจุด, สยามรัฐออนไลน์, 14 ตุลาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/390999

กทม.เตือนภัยฝุ่นพิษคลุ้ง4พื้นที่อันตราย, สยามรัฐออนไลน์, 18 ตุลาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/392059

เช้านี้กทม.ติดท็อป10เมืองมลพิษโลก"หนองคาย-นครพนม"ติดโซนส้มเริ่มกระทบสุขภาพ, สยามรัฐออนไลน์, 19 ตุลาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/392080 

กทม.พร้อมรับมือฝุ่น PM2.5 เตรียมออกมาตรการผนึกกำลังทุกภาคส่วน, สยามรัฐออนไลน์, 19 ตุลาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/392130

“ชัชชาติ” ชี้อย่าตระหนก ฝุ่นกทม.ยังไม่วิกฤต พร้อมเรียกถกศุกร์นี้, สยามรัฐออนไลน์, 20 ตุลาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/392463

PM2.5ไทยยังเกินติด"โซนส้ม"ขณะที่ "กทม." เกิน11 จุด"สระบุรี"อ่วมเจอทั้ง PM2.5 และ PM10, สยามรัฐออนไลน์, 20 ตุลาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/392390

'หมอดื้อ' ชี้ 'ฝุ่นจิ๋วพิษ' เจอไม่นานหัวใจวาย, สยามรัฐออนไลน์, 24 ตุลาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/393477

"ฝุ่นพิษ"จ่อกระทบสุขภาพ! "กทม."เผยพบ 3 จุด PM 2.5 ใกล้เข้า "โซนส้ม", สยามรัฐออนไลน์, 24 ตุลาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/393521

กทม.พร้อมรับมือค่าฝุ่นเพิ่มสูงขึ้น ชี้สถานการณ์ปีนี้ยังไม่หนักแต่ไม่วางใจ, สยามรัฐออนไลน์, 25 ตุลาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/393880

"กทม.-ปริมณฑล" PM2.5 เกินเกณฑ์ติด "โซนส้ม" 18 จุด ยังไม่พบกลุ่มฝน, สยามรัฐออนไลน์, 25 ตุลาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/393664

ศรีสุวรรณ โวย ชัชชาติ ตั้งวอร์รูม PM 2.5 สร้างภาพ เห็นปัญหาแต่ไม่บังคับใช้กม., NATIONTV, 27 ตุลาคม 2565, https://www.nationtv.tv/news/social/378890826

กทม.เปิดตัว Line Alert จุดไหนPM2.5 เกิน 90มคก./ลบ.ม.คนกรุงรู้ทันฝุ่นทันที, สยามรัฐออนไลน์, 3 พฤศจิกายน 2565, https://siamrath.co.th/n/396363

ข่าวดี!!วันนี้คนกรุงยังหายใจโล่งเหตุฝุ่นละอองไม่เกินค่ามาตรฐานทุกพื้นที่, สยามรัฐออนไลน์, 3 พฤศจิกายน 2565, https://siamrath.co.th/n/396233

ก.อุตสาหกรรมเตรียมมาตรการแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้-ส่งเสริมตัดอ้อยสด ลดมลพิษฝุ่น PM 2.5, สยามรัฐออนไลน์, 7 พฤศจิกายน 2565, https://siamrath.co.th/n/397267

น่ากลัว! เชียงใหม่ 'ป่วยมะเร็งปอด' ติดอันดับหนึ่ง PM 2.5 ตัวจุดชนวน, สยามรัฐออนไลน์, 12 พฤศจิกายน 2565, https://siamrath.co.th/n/398876

"กทม."แชมป์มลพิษ! "คพ."เผยถูกร้องเรียนมากที่สุด รองลงมา" สมุทรปราการ-สมุทรสาคร", สยามรัฐออนไลน์, 14 พฤศจิกายน 2565, https://siamrath.co.th/n/399205 

กทม.แชมป์ฝุ่นพิษคลุ้ง!ทั่วกรุง เข้มโรงงาน-พิทักษ์สิ่งแวดล้อม, สยามรัฐออนไลน์, 15 พฤศจิกายน 2565, https://siamrath.co.th/n/399480

"กทม." ไม่พบ "ฝุ่นพิษ" เกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น, สยามรัฐออนไลน์, 19 พฤศจิกายน 2565, https://siamrath.co.th/n/400786

นายกฯ กำชับแก้ "ไฟป่า-หมอกควัน-ฝุ่น PM2.5" ให้กระทบ ปชช.น้อยที่สุด, สยามรัฐออนไลน์, 23 พฤศจิกายน 2565, https://siamrath.co.th/n/401696 

ฝนช่วย ทำฝุ่นกทม.ไม่เกินเกณฑ์ทุกจุด พยากรณ์ 7 วัน ฝุ่นยังไม่รุนแรง, สยามรัฐออนไลน์, 24 พฤศจิกายน 2565, https://siamrath.co.th/n/401989

รัฐต้องเอาผิดอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 และการทำลายป่า, จากเฟซบุ๊ก Greenpeace Thailand, 15 ธันวาคม 2565, https://act.gp/foodrevo 

 

NB : 

บทความนี้เผยแพร่ใน FB เพจสิทธิมนุษยชนและการแรงงาน, 12 ธันวาคม 2565, https://www.facebook.com/laborphachern/posts/pfbid02AucwTevVs2GoMGuL6cAGEmAJ9ZYRSHRADEmwASoTeogE1i1dE3AYDz4FxaFs11sHl



ความเห็น (1)

“…Greenpeace ประเทศไทยเห็นว่า รัฐต้องเอาผิดอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 และการทำลายป่า เพราะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาฝุ่นควันภาคเหนือ มลพิษข้ามพรมแดน และการสูญเสียป่าไม้เพื่อเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์…”

CP is very active and instrumental in promoting corn growing. Lot of native forests are lost during their campaign. Now they are exporting corns to China (in place of USA).

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท