วิวาทะประเด็นปลดล็อกท้องถิ่น


วิวาทะประเด็นปลดล็อกท้องถิ่น

10 ธันวาคม 2565
: ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น)

สุดฮอตกล้าท้าทายระบอบอำนาจนิยม (Authoritarianism, Autocrat = Totalitarianism) โดยเฉพาะ ระบอบ "รัฐราชการรวมศูนย์" ของไทยเป็นอย่างมาก
เพราะเป็นที่ทราบดีว่า ไม่ว่าประเทศใดที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญมิใช่เรื่องง่าย มันมีกระบวนการตรวจสอบที่ค่อนข้างเข้มงวด สรุปคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้ยาก โดยเฉพาะการใช้องค์กรตุลาการ ในการพิทักษ์ปกป้องรัฐธรรมนูญ ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า "ตุลาการภิวัตน์" (Judicial Review, Judicial Activism)

เท้าความกว่าจะประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560
ย้อนไปเมื่อครั้งสมัย สปช. และ สปท. (2557-2559) หลังจากการยึดอำนาจของ คสช.เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 มีการร่างร้ฐธรรมโดยคณะกรรมการร่างถึง 2 ชุด ชุดแรก ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ไม่ผ่าน ด้วยวาทะ "เขาต้องการอยู่ยาว" ชุดที่สอง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ผ่านออกมาด้วยหน้าตาตามที่เห็น แต่เชื่อหรือไม่ กว่าจะออกมาได้มีกระบวนการปรับแก้ภายหลังก่อนการจะประชามติ (7 สิงหาคม 2559) ด้วยคำถามพ่วงว่า เห็นชอบให้ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้ง ร่วมกับ ส.ส.เลือกนายกฯ หรือไม่ คือ คำถามว่า
“ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี” มีความหมายว่า ให้ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. ร่วมกันเลือกนายกรัฐมนตรี ในช่วง 5 ปีแรกนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งและมีรัฐสภาชุดแรก โดยไม่จำกัดว่าจะให้เลือกนายกรัฐมนตรีกี่คน (อ้างจาก iLaw, 2559)
และหลังจากผ่านประชามติแล้ว ได้ปรับแก้ไขเพิ่มเติมตามข้อสังเกตพระราชทานในบทบัญญัติหมวดพระมหากษัตริย์ คือ มาตรา 5 (การวินิจฉัยกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกล่าวไว้), มาตรา 17 (การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) และ มาตรา 182 (การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ)
จากข้อสังเกตข้างต้น จะเห็นได้ว่าการร่างรัฐธรรมนูญได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบ (Recheck) หลายรอบ โดยมีระยะเวลาจนถึงวันประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 นานถึงเกือบ 3 ปี แต่กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน (People Participation) กลับถูกปิดกั้น ปิดล็อก ไม่เปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นในหลายๆ ประการ (ตามมาตรา 77 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560) โดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (Free speech)

 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560
ว่ากันว่าเป็นความจงใจของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เริ่มจากการแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
หลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 พบว่า มีข้อขัดข้องมากมายเกี่ยวกับบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่ต้องตีความ เช่น การคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จนเปิด ส.ส.ปัดเศษขึ้น เป็นต้น จากประเด็นนี้นำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 83 และมาตรา 91

ก้าวต่อไปการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  พ.ศ.2560

หมวด 14 การปกครองท้องถิ่น ตั้งแต่มาตรา 249-254
คือการ "ปลดล็อกท้องถิ่น"
เป็นร่างแก้ไขที่รณรงค์โดยคณะก้าวกน้า มีประชาชนร่วมลงชื่อที่ตรวจสอบความถูกต้องแล้วจำนวนไม่น้อยกว่า 7 หมื่นเศษ
แต่ไปไม่ถึงฝ้น เพราะไม่ผ่านวาระแรก ในการประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565

ร่าง "ปลดล็อกท้องถิ่น" ของ คณะก้าวหน้า
(7 ธันวาคม 2565)
เหตุผลสำคัญที่ผู้เสนอร่างฯ นำเสนอ มีเรื่องหลักๆ อยู่ 4-5 ประเด็น
(1) ภารกิจส่วนใหญ่ยังอยู่ที่การปกครองส่วนกลาง
(2) การถ่ายโอนภารกิจให้แก่ท้องถิ่นไม่มีสภาพบังคับ
(3) องค์กรที่มีอำนาจตรวจสอบมีแนวโน้มตีความจำกัดอำนาจส่วนท้องถิ่น
(4)การดำเนินงานท้องถิ่นเป็นไปอย่างยากลำบากทั้งในด้านอำนาจหน้าที่ การบริหารจัดการ และ
(5) งบประมาณที่จำกัดของท้องถิ่นอันมาจากข้อจำกัดในการจัดเก็บภาษีและจัดการเงินอุดหนุน เป็นต้น

ปัญหาการดองเค็มท้องถิ่น 
การรวมศูนย์ ก็เท่ากับต้นไม้กลวงใน หาแก่นสารได้น้อย คือ ผู้มีอำนาจประเทศนี้กลัวอย่างถึงที่สุดว่าท้องถิ่นจะเจริญ ผูกขาดอำนาจไว้คนเดียวและคิดว่าบ้านเมืองเป็นของตนที่จะสั่งไปทางไหนก็ได้ ซึ่งคนท้องถิ่นเขาก็คิดว่าบ้านเมืองเป็นของเขาเช่นกัน
ที่ส่วนกลางกลัวอีกอย่างคือ การเติบโตของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ในเมื่อมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ฝืนไม่ได้) จึงมีแนวคิดให้ส่วนภูมิภาค มาเป็นหูเป็นตาดูแลคอยสอดส่องแทนส่วนกลาง จึงมีคำว่า "การกำกับดูแล"(Tutelle) ขึ้น ซึ่งมิใช่ "การควบคุมบังคับบัญชา" (Hierachy of Control) แต่สาระสำคัญของการกระจายอำนาจ คือ "การปกครองตนเอง" (Local Government) ที่อาจแยกได้ในหลายๆ ระดับ ได้แก่ (1) Local self Government (2) Devolution (3) Privatization เป็นต้น

รัฐต้องจัดสรรรายได้ให้ท้องถิ่นตามกฎหมาย 35%
การจัดสรรงบประมาณให้แก่ อปท.นั้น เป็นเรื่องการจัดสรรทรัพยากร (Resources Allocation) ตามหลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) กรณีเงินอุดหนุนจากภาครัฐ (subsidy) แบบให้เปล่า มีหลายวิธี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชดเชยรายได้ให้แก่ท้องถิ่น ที่มีรายได้น้อย ที่ไม่เพียงพอ มีขนาดพื้นที่ และสภาพพื้นที่ที่แตกต่างกัน โดยมีฐานวิธีคิด ด้วยอัตราการจัดสรรที่เท่ากันทั้งหมด จากฐานภาษึที่จัดเก็บได้ เช่น ปัจจุบันใช้ฐานรายได้ต่อหัวประชากร
ปัจจุบันรัฐจัดสรรงบประมาณให้แก่ อปท. ได้สัดส่วนเพียง 29.58% (ข้อมูลปี 2565) แต่ตามกฎหมายมาตรา 35 แห่ง พรบ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 บัญญัติล็อกว่า "ในการจ่ายเงินเดือน ประโยชน์ตอบแทนอื่นและเงินค่าจ้างของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น และลูกจ้างที่นำมาจากเงินรายได้ที่ไ่ม่รวมเงินอุดหนุนและเงินกู้หรือเงินอื่นใดนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งจะกําหนดสูงกว่าร้อยละสี่สิบของเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปี ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่ได้"
ซึ่ง ตามมาตรา 30(4) แห่ง พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ.2542 แก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 บัญญัติว่า "กำหนดการจัดสรรภาษีและอากร เงินอุดหนุน และรายได้อื่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2550 เป็นต้นไป ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้คิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า และโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีรายได้เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วน
ต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบห้า โดยการจัดสรรสัดส่วนที่เป็นธรรมแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคำนึงถึงรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นด้วย"
ถึงปัจจุบันรัฐยังไม่มีการแก้ไขมาตรา 30 (4) เพิ่มสัดส่วนให้สูงกว่า 35% แต่อย่างใด และยัวไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่จะให้งบ 35% ท้องถิ่นว่าในปีใด เช่น รัฐควรแก้ไขว่าภายในปี 2568 (35%) เป็นต้น
นับแต่ปี 2549 เป็นต้นมารัฐได้โยกโย้หลีกเลี่ยงและได้แก้ไขบทบัญญัติตามกฎหมายนี้มาตลอดถึงปัจจุยัน รวมกว่า 16 ปีแล้ว

ความเหลื่อมล้ำในหลายๆ มิติ โดยเฉพาะรายได้ต่อหัวของประชากร
สถิติรายได้จังหวัดปี 2552-2562 (10 ปี) พบว่า จังหวัดที่มีงบประมาณต่อหัวเฉลี่ยสูงสุด คือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับงบประมาณลงพื้นที่จังหวัด 84,275 บาทต่อประชากร 1 คน ในขณะที่จังหวัดที่ได้รับงบประมาณต่อหัวเฉลี่ยต่ำสุด คือ สมุทรปราการ ได้รับเพียง 2,134 บาทต่อประชากร 1 คน
ที่สะท้อนให้เห็นว่ารายได้ของท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ย่อมแตกต่างกันไปตามบริบทแห่งความหลากหลาย เช่น เขตพื้นที่ชุมชนเมือง ชุมชนเมืองใหญ่ ชุมชนชนบท เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของพื้นที่และรายได้
ขนาดพื้นที่ประเทศ จังหวัดไม่เกี่ยว แผ่นดินใหญ่หรือเกาะแก่ง ไม่เกี่ยวกับรายได้ประเทศ ว่าจะมีรายได้น้อยหรือรายได้มากกว่า 
หากมีการบริหารดี (Good Governance) บริหารเก่ง การบริหารบ้านเมืองสมัยใหม่ ต้องอาศัยการออกแบบองค์กรที่ทันสมัยและสามารถสนับสนุนส่งเสริมการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic management) ต้องมี authority มี single command system  สร้างการแข่งขัน เพื่อนำไปสู่บริการสาธารณะ (public service) ที่ดี 
ประเทศ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็พัฒนาเจริญก้าวหน้าได้ 

พรรคก้าวไกลเปิดนโยบายปฏิรูปราชการและตำรวจ
ที่จริงการปฏิรูปหลักสำคัญเร่งด่วนในลำดับแรกตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 คือ (1) การปฏิรูปการศึกษา และ (2) การปฏิรูปตำรวจ โดยไม่มีการปฏิรูปทัองถิ่นแต่อย่างใด และนอกจากนี้ แผนการปฏิรูปประเทศทั้งหมด รวม 13 ด้าน ยังไปผูกขาดรวมไว้ที่ "ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี" ซึ่งเป็นแผนระยะยาวเกินกว่าห้วงบริหารของคณะรัฐบาลในรอบ 4 ปี และหัวหน้ารัฐบาล (นายกรัฐมนตรี) มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรวมกันได้เพียงไม่เกิน 8 ปี
พรรคก้าวไกลเสนอการจะเอาชนะการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องยาก พรรคก้าวไกลได้เปิดนโยบายต่อต้านการทุจริตเพื่อสร้างความโปร่งใส เอาชนะการทุจริตด้วยระบบโปร่งใส ในนโยบายปฏิรูประบบราชการด้านประสิทธิภาพ 
สำหรับชุดนโยบาย “ราชการไทยไทยก้าวหน้า” ของพรรคก้าวไกล แบ่งเป็น 3 ด้าน มีทั้งหมด 23 นโยบาย นำด้วยสโลแกน
(1) รัฐโปร่งใส ไร้กลโกง ทุกคนตรวจสอบได้
(2) ข้าราชการทำงานฉับไว คุ้มค่าภาษีประชาชน
(3) ตำรวจของประชาชน พิทักษ์สันติราษฎร์

อ้างอิง
บทความ/เอกสารวิชาการ
แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)(รวม 13 ด้าน), โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : NSCR, 2563, 
http://nscr.nesdc.go.th/nesdc_uat/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/ 
ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดย ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ(Panuwat Panduprasert), ระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน, พฤศจิกายน 2556, https://www.academia.edu/10378507/ระบบการปกครองท_องถิ_นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน_สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 

ข่าว
ควบรวมอบต.รายได้น้อยกรรมการกระจายอำนาจเตรียมเสนอสปช. หวังลดแรงต้านไม่แตะกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน, โพสต์ทูเดย์, 30 ตุลาคม 2557
คำถามพ่วง: เห็นชอบให้ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้ง ร่วมกับ ส.ส.เลือกนายกฯ หรือไม่?, iLaw, 14 กรกฎาคม 2559, https://ilaw.or.th/node/4195 
จับกระแส "แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ" ตามที่พระมหากษัตริย์พระราชทานข้อสังเกต, iLaw, 
6 เมษายน 2560, https://ilaw.or.th/node/4472 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก วันที่ 6 เมษายน 2560 หน้า 1-90, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF 
แก้ไขรัฐธรรมนูญ: รัฐสภาผ่านวาระ 2 ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ รื้อจำนวน ส.ส. ใหม่, BBC Thai, 24 สิงหาคม 2564, https://www.bbc.com/thai/thailand-58320259 
สถานการณ์การปฏิรูปท้องถิ่นยังไม่เปลี่ยนแปลง, สยามรัฐออนไลน์, 14 มกราคม 2565, https://siamrath.co.th/n/313484 
การล้วงลูกเข้ามาคิดนโยบายบริหารเทศบาล อบต.แทน อ้างจากเฟซบุ๊ก บรรณ แก้วฉ่ำ นักวิชาการท้องถิ่น, 24 พฤศจิกายน 2565
พิธาลั่นก้าวไกลได้ตั้ง รบ.จะยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค จัดเลือกตั้งนายกจังหวัด, มติชน, 27 พฤศจิกายน 2565 - 07:57 น., https://www.matichon.co.th/politics/news_3696377 
“ช่อ พรรณิการ์” ชวนจับตาร่างแก้ไข รธน.ปลดล็อกท้องถิ่น จ่อเข้าสภา 29-30 พ.ย.นี้, สยามรัฐออนไลน์, 28 พฤศจิกายน 2565, https://siamrath.co.th/n/403041 
เครือข่ายนักวิชาการฯหนุนร่างแก้รธน. มุ่งกระจายอำนาจ ที่รัฐสภากำลังจะพิจารณา, ประชาไท / ข่าว, 28 พฤศจิกายน 2565, 18:14 น., https://prachatai.com/journal/2022/11/101635 
ปิยบุตร วอน ส.ว.รับร่างฯ 'ปลดล็อกท้องถิ่น' เพื่อแสดงว่า ส.ว.ก็เอาด้วยกับกฎหมายที่ประชาชนได้ประโยชน์, VOICE TV, 30 พฤศจิกายน 2565. https://youtu.be/O4kgLSvPL68 
ร่างปลดล็อกท้องถิ่นไม่ได้ลอกมา ไม่ได้ขัด รธน. ไม่ได้กระทบความเป็นรัฐเดี่ยว ไม่ได้เพิ่งคิดเมื่อเช้า, คณะก้าวหน้า, 30 พฤศจิกายน 2565,
https://twitter.com/progressivethai/status/1597986729712984072?s=53&t=upYIuV51H8A47hbdpOtQBQ 
ชี้แจงสรุปร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ, 30 พฤศจิกายน 2565, https://youtu.be/RilsY1OBQnc 
ชำแหละปมทุจริต เปิดช่องโหว่ "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" ปัญหาการทุจริตภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, Thai PBS, 4 ธันวาคม 2565, https://youtu.be/JZhehYwbREg 
ข้อเสียของผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง' แค่เกริ่นก็น่าอ่านเสียแล้ว เราตัดมาบางส่วน โดย ชำนาญ จันทร์เรือง, จากปาฐกถาและเสวนาในโครงการสัมมนาปัญหาการเมืองไทย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อ กันยายน 2565, ใน The Voters, 6 ธันวาคม 2565, https://thevotersthai.com/chamnan-chanruang-04/ 
“ธนาธร” ยันปลดล็อกท้องถิ่นไม่ทำให้ประเทศถูกแบ่งแยก ฝาก “พิธา” สานต่อภารกิจ หลังร่างฯถูกคว่ำ, สยามรัฐออนไลน์, 7 ธันวาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/405542 
รัฐสภา โหวตคว่ำ "ร่างปลดล็อคท้องถิ่น" ดับฝัน "คณะก้าวหน้า", สยามรัฐออนไลน์, 7 ธันวาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/405503 
เถียงให้รู้เรื่อง/06-สิงหาคม-2557-ปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น-ถึงเวลายุบ-อบจ.หรือยัง/?/ : ยุบ "อบจ." ลดกระจายอำนาจ, รายการ คมชัดลึก THE STANDARD, 8 ธันวาคม 2565, https://www.facebook.com/1683658098593742/posts/3216772711948932/?sfnsn=mo 
ราชการเพื่อราษฎร รับใช้ประชาชน มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ, พรรคก้าวไกล : Move Forward Party, @MFPThailand, 
เปิดชุดนโยบาย ต้องก้าวไกล เพื่อราชการไทยก้าวหน้า, ขอเชิญประชาชนรับฟังการเปิดนโยบายปฏิรูประบบราชการของพรรคก้าวไกล ที่จะเปลี่ยนระบบราชการ, 9 ธันวาคม 2565, https://twitter.com/mfpthailand 
ก้าวไกล เปิด 23 นโยบาย "ราชการไทยก้าวหน้า" ปฏิรูปทั้งระบบ, infoquest, 9 ธันวาคม 2565, https://www.infoquest.co.th/2022/257768 
“ก้าวไกล” เปิดนโยบายปฏิรูปราชการ-ตร. “พิธา” ชี้ชนะทุจริตด้วยระบบโปร่งใส, กรุงเทพธุรกิจ, 9 ธันวาคม 2565, 14:59 น., https://www.bangkokbiznews.com/politics/1042188 

หมายเลขบันทึก: 710834เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2022 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2022 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท