สงคราม คืออะไร


“สงคราม”  คืออะไร ?

   “สงคราม” (อังกฤษ: war; สันสกฤต: संग्राम) คือ สถานะความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างหน่วยทางการเมืองที่ดำรงอยู่เป็นอิสระ (เช่น รัฐชาติ รัฐบาลและตัวแสดงที่มิใช่รัฐ) หรือแนวร่วมขององค์การดังกล่าว. โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นการรุกรานที่มีการใช้ความรุนแรง การทำลายล้างและมีอัตราเสียชีวิตที่อยู่ในระดับสูง หรือในระดับอุกฉกรรจ์ โดยใช้กำลังทหารทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ (irregular armies). การสงคราม (warfare) หมายถึง กิจกรรมทั่วไป หรือลักษณะที่พบเห็นได้ในสงครามประเภทนั้น ๆ. ภาวะปลอดสงคราม ปกติเรียก สันติภาพ. คำว่า สงคราม ในภาษาไทยมีที่มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า संग्राम (sangraam) แปลว่าการรบพุ่ง หรือความขัดแย้ง (struggle).

  -นักวิชาการบางส่วนมองว่าการสงครามเป็นสากลและเป็นส่วนที่สืบมาแต่บรรพชนของธรรมชาติมนุษย์ แต่บางส่วนก็แย้งว่าสงครามเป็นเพียงผลลัพธ์แห่งกรณีแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมหรือระบบนิเวศเฉพาะ

  -ใน ค.ศ. 2003 ริชาร์ด สมอลลีย์ (Richard Smalley) ระบุว่าสงครามเป็นปัญหาใหญ่สุดอันดับหก (จากสิบ) ที่มนุษยชาติจะเผชิญในอีกห้าสิบปีข้างหน้า ปกติสงครามมีผลให้โครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศเสื่อมลงอย่างสำคัญ รายจ่ายสังคม (social spending) ลดลง ทุพภิกขภัย การอพยพออกขนานใหญ่จากพื้นที่สงคราม และบ่อยครั้ง ทารุณกรรมต่อพลเรือน

*รายชื่อสงครามที่สำคัญในประวัติศาสตร์

-สงครามครูเสด

-สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง

-สงครามโลก

-สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

-สงครามโลกครั้งที่สอง

-สงครามเย็น

-สงครามเกาหลี

-สงครามเวียดนาม

-สงครามอ่าว

-สงครามต่อต้านการก่อการร้าย

-สงครามอิรัก

-สงครามรัสเซีย–ยูเครน

-ประวัติศาสตร์

(รูปสลักของฟาโรห์รามเสสที่สอง ขณะรบในสงครามคาเดช)

  -ก่อนหน้าที่จะมีความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ สงครามประกอบไปด้วยการจู่โจมอย่างรวดเร็วขนาดเล็ก ๆ เท่านั้น พบว่าชาวนูเบียประมาณ 12,000 ปีที่แล้ว ครึ่งหนึ่งเสียชีวิตเพราะความรุนแรง จนกระทั่งเมื่อถึงยุคการปกครองแบบรัฐเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว กิจการทหารได้แพร่ขยายไปทั่วโลก การคิดค้นดินปืนและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้นำไปสู่การรบสมัยใหม่ในที่สุด

  -ในหนังสือเรื่อง Why Nations Go to War โดย จอห์น จี. สโทสซิงเกอร์ ได้กล่าวว่า ฝ่ายคู่สงครามทั้งสองฝ่ายจะกล่าวอ้างว่าตนเป็นฝ่ายที่ต่อสู้เพื่อคุณธรรม เขายังกล่าวอีกว่าสาเหตุเพื่อจะจุดชนวนสงครามขึ้นอยู่กับการประเมินในแง่ดีที่คาดว่าจะเป็นผลที่ได้รับจากความเป็นปรปักษ์นั้น (อันได้แก่มูลค่าและความสูญเสีย)

  *ทฤษฎีแรงจูงใจ

    -ไม่มีข้อตกลงทางวิชาการว่าอะไรเป็นแรงจูงใจสำหรับสงครามที่พบมากที่สุด แรงจูงใจอาจต่างกันระหว่างของผู้สั่งสงครามกับผู้เข้าร่วมสงคราม ตัวอย่างเช่น ในสงครามพิวนิกครั้งที่สาม ผู้นำกรุงโรมอาจปรารถนาก่อสงครามกับคาร์เธจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดปรปักษ์ซึ่งฟื้นกำลังใหม่ ขณะทหารแต่ละนายอาจถูกจูงใจด้วยความปรารถนาทำเงิน เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก สงครามจึงอาจมีขึ้นได้จากการรวมแรงจูงใจต่าง ๆ กันจำนวนมาก การตีความการต่อสู้ระหว่างคาอินกับอะเบล (Cain and Abel) ในปฐมกาล 4 (Parashot BeReshit XXII:7) ของคำวิจารณ์ยิวโบราณ (BeReshit Rabbah) ระบุว่า มีเหตุผลสากลสำหรับสงครามสามอย่าง คือ เศรษฐศาสตร์ อำนาจ และศาสนา

*การสงคราม

    -การสงคราม (อังกฤษ: warfare) หมายถึง การจัดการความขัดแย้งระหว่างฝ่ายตรงข้าม และปกติเกี่ยวข้องกับการยกระดับการรุกรานจาก "สงครามน้ำลาย" ระหว่างนักการเมืองและนักการทูตสู่ความขัดแย้งด้วยอาวูธเต็มขั้น ซึ่งดำเนินไปจนกว่าฝ่ายหนึ่งยอมรับความพ่ายแพ้หรือข้อสันติภาพตามที่ตกลงกัน

  - การสงครามระหว่างกลุ่มและองค์การทหารต้องอาศัยการวางแผนและการใช้ยุทธศาสตร์การทหารระดับหนึ่งเพื่อให้การจัดการเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพในการบรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

*ทำไมโลกนี้ถึงต้องมี สงคราม เกิดขึ้น?

  -สงคราม คือบริบทสุดท้ายที่มนุษย์ พึงมีแก่กันครับ
  -หาทางออกได้---------->ได้ผลประโยชน์ร่วม  
  -ผลประโยชน์--->ทับซ้อนผลประโยชน์--->เจรจา--->หาทางออก
  - หาทางออกไม่ได้------->สงคราม!!!  

*จุดเริ่มต้นของสงคราม ทำไมมนุษย์ถึงต้องรบกัน สงครามโลกและ ..

 

คำสำคัญ (Tags): #"สงคราม"
หมายเลขบันทึก: 710715เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2022 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2022 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท