เครื่องมือในการศึกษาวิชาจริยศาสตร์


เครื่องมือในการศึกษาวิชาจริยศาสตร์

          เครื่องมือในการศึกษาวิชาจริยศาสตร์ ไม่เหมือนกับทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้อุปกรณ์ทดลอง พิสูจน์ทดสอบข้อเท็จจริงในห้องแลบ (Lab) และไม่เหมือนกับวิชาทหาร ที่ต้องใช้แผนที่ เข็มทิศ มีด ปืน ระเบิด ฯลฯ สำหรับไว้ฝึกซ้อม เป็นต้น 

          การศึกษาถึงทฤษฎีและปัญหาทางจริยศาสตร์ในครั้งนี้ จะศึกษาโดยการใช้ปรัชญาบริสุทธิ์มาตีความผลสรุปของวิชาจริยศาสตร์ หรือที่เรียกว่า “จริยปรัชญา” เพราะฉะนั้น เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับศึกษาวิชาจริยศาสตร์ จึงได้แก่ วิธีการทางปรัชญาและวิจารณญาณ

 

1. วิธีการทางปรัชญา

 

          วิธีการทางปรัชญาที่ใช้สำหรับศึกษาวิชาจริยศาสตร์ ได้แก่ วิภาษวิธี และวิธีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

          วิภาษวิธี (dialectic) คือ การตั้งคำถามที่อาจตอบได้หลายคำตอบที่เป็นไปได้ 

          การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น/การถกปัญหา (discursive) คือ การรับฟังเหตุผลที่สนับสนุนแต่ละคำตอบ เพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุด จากการประนีประนอมทุกฝ่ายเท่าที่จะทำได้ และมีเหตุผลเหนือกว่าทุกฝ่าย

 

2. วิธีคิดอย่างมีจารณญาณ

 

          วิจารณญาณ (critical mind) เป็นศักยภาพที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน เพราะมนุษย์เป็นผู้มีสมรรถนะคิด (thinking) หากรู้จักฝึกฝนให้มีวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) แล้วย่อมจะช่วยให้ผู้ใช้มีสรรถนะในการตัดสินใจ (will) และสมรรถนะใช้ (using) ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพราะคิด ตัดสินใจ และประยุกต์ใช้ด้วยวิจารณญาณ

          กีรติ  บุญเจือ (2545) อธิบายไว้ว่า วิจารณญาณ ประกอบด้วยกระบวนการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 

          1) วิเคราะห์ (analytic) แจกแจงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาตรงประเด็น

          2) วิจักษ์ (appreciative) คือ ประเมินค่าแต่ละประเด็นที่แจกแจงออกมา

          3) วิธาน (applicative) คือ ลงมือทำการอย่างมีวิธี คือ เลือกเอาเฉพาะที่เห็นว่าจะเป็นคุณมาใช้ตามเป้าหมาย 

 

ในปัจจุบัน มีเครื่องมือมากมายสำหรับศึกษาวิชาจริยศาสตร์ อาทิ

    - DEEP LISTENING

    - SELF-AWARENESS 

    - SOCIAL-AWARENESS 

    - VOICE DIALOGUE

    - INTERNAL FAMIRY SYSTEM

    - MINDFUL TEAM    

    - DIALOGUE IN PURE LEARNING PROCESS

    - AFTER ACTION REVIEW  เป็นต้น

 

แหล่งอ้างอิง

เมธา หริมเทพาธิป. (2565). ผศ. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์สมัยใหม่ (PHE 8107). สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. หน้า 46-49

 

หมายเลขบันทึก: 710639เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2022 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2022 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท