Work life balance & พยาบาลและการส่งเสริมสุขภาพ


Work life balance & พยาบาลและการส่งเสริมสุขภาพ

Naive practice

Recall ความรู้ที่มีอยู่ : 

Work life balance - แนวคิดเกี่ยวกับการปรับสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว เพื่อลดผลกระทบจากการทำงานหนักเกินไป

พยาบาลและการส่งเสริมสุขภาพ - ปกติแล้วพยาบาลปฎิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้จากศาสตร์ทั้งทางด้านการพยาบาลและความรู้ที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สาขาอื่นๆ ตัดสินใจวางแผนเพื่อให้การดูแลผู้เจ็บป่วย ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ช่วยฟื้นฟูและสร้างเสริมสุขภาพ อย่างเป็นอิสระภายใต้ขอบเขตของการพยาบาล

Recap ความรู้ใหม่ที่ได้รับ : 

Work life balance - ทุกคนล้วนต้องการเวลามากขึ้นในแต่ละวันเพื่อทำสิ่งที่ตนเองชอบ ดังนั้น Work Life Balance ที่ดีขึ้นจึงเป็นเพียงความคิดที่ผู้คนพึงปรารถนาใช่หรือไม่ อันที่จริงแล้ว Work Life Balance ที่ดีขึ้นเป็นอะไรมากกว่านั้น แนวคิด Work Life Balance ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพจิตและแม้แต่สุขภาพกาย ทั้งสำหรับคนทำงานออฟฟิศและคนทำอาชีพอิสระ การขาดสมดุลอาจนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “ภาวะหมดไฟในการทำงาน” ที่องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้

“…อาการที่เป็นภาวะทางจิตใจอันเกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงานซึ่งไม่ได้รับการจัดการให้เรียบร้อย..ความรู้สึกสูญเสียพลังงานหรือมีภาวะอ่อนเพลีย มีความนึกคิดที่เหินห่างจากงานมากขึ้น หรือรู้สึกถึงงานของตนเองในทางลบ หรือต่อต้านงาน และมีความเป็นมืออาชีพลดลง”

ภาวะหมดไฟในการทำงานกำลังเพิ่มมากขึ้น ทำให้คนทำงานสูญเสียแรงจูงใจและความสามารถในการทำงาน อีกทั้งยังมีความเชื่อมโยงกับโรคหัวใจ ความดันโลหิต และโรคเบาหวานชนิดต่างๆ พูดง่ายๆ คือ การอยู่ในสภาวะเครียดต่อเนื่องไม่ดีต่อสุขภาพของทุกคนและทุกระบบงาน

แน่นอนว่าแต่ละคนย่อมมีเงื่อนไขของชีวิต ความต้องการ ความคิด และปัจจัยอื่นๆ ที่แตกต่างกันออกไป และยิ่งกว่านั้น คนๆ เดียวกัน ก็มีเงื่อนไขที่ต่างกันไปในแต่ละช่วงของชีวิต ดังนั้น จึงไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวสำหรับการสร้าง Work-Life Balance มีแต่สูตรที่ต้องปรับปรุงตลอดเวลาและค้นหาอยู่เสมอเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เราเห็นแล้วว่าการสร้าง Work-Life Balance เราจะต้องจัดการกับงานของเราด้วย การสร้างสมดุลของชีวิตจึงไม่ได้เป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคลอย่างเดียว เพราะการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการทำงานเราต้องตกลงบริษัท การสร้าง Work-Life Balance ในแง่หนึ่งจึงเป็นภาระหน้าที่ของบริษัทเช่นกัน

พยาบาลและการส่งเสริมสุขภาพ - พยาบาลไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่การดูแลผู้ป่วยยังต้องต่อเนื่องไปที่บ้านหรือในชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ หน้าที่ของพยาบาลส่วนนี้คือการดูแลให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ควบคุมโรคไม่ให้กำเริบ ด้วยการดูแลวิธีปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย และพฤติกรรมสุขภาพเพื่อให้สอดคล้องกับอาการและความเจ็บป่วยป่วยที่เป็นอยู่ ตลอดจนการรักษาโรคเบื้องต้น เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ของการรักษาพยาบาลที่ดี หรือหายจากโรค เช่น การจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ 

 

เมื่อนำทั้งสองหัวข้อมาเชื่อมโยงกัน จะเห็นได้ว่า การอยู่ในสภาวะเครียดต่อเนื่อง อันเกิดจาก work life balance ที่ไม่ดี จะนำไปสู่ โรคหัวใจ ความดันโลหิต เบาหวาน หรือโรคเกี่ยวกับความเครียดอื่นๆได้ ซึ่งพยาบาลและการส่งเสริมสุขภาพ นักกิจกรรมบำบัด และทีมสหวิชาชีพก็สามารถมาเป็นส่วนหนึ่งในการ ช่วยจัดการหรือยรรเทาปัญหาเหล่านี้ได้ โดยอาจจะมีการแนะนำวิธีวางแผนและจัดการกับความคาดหวังให้แก่พนักงานในบริษัท

โดยการวางแผนงานในสัปดาห์หน้าจะช่วยให้คุณกำหนดเวลาที่คุณสามารถใช้เพื่อชีวิตส่วนตัวของคุณได้ ยกตัวอย่างเช่น การวางแผนที่จะใช้ชีวิตเต็มที่ทุกสัปดาห์อาจทำให้เกิดความล้มเหลว ผิดหวัง และหมดไฟได้ กำหนดความคาดหวังที่เป็นจริงมากขึ้นสำหรับตัวคุณเอง เพื่อให้คุณมีพลังงานที่สมดุลมากขึ้นสำหรับทั้งเรื่องงานและชีวิตส่วนตัวของคุณ

กำหนดช่วงหยุดพักให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้คุณจะคิดว่าไม่จำเป็นก็ตาม ให้พักเป็นประจำ แทนที่จะพักแค่เพียงช่วงโอกาสพิเศษอย่างการลาพักผ่อนหรือวันหยุดเทศกาล โดยเลือกวันและการพักซ้ำตามใจชอบ และอย่าคาดหวังสิ่งที่เป็นไปไม่ได้จากสมาชิกในทีมของคุณ ลองจัดการโครงการโดยตระหนักว่าทุกอย่างอาจผิดพลาดได้ และพิจารณาถึงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น และที่สำคัญหัวใจของ Work Life Balance คือการทำให้แน่ใจว่าคุณและทีมของคุณมีส่วนร่วมในชีวิตส่วนตัวและครอบครัวของแต่ละบุคคล ซึ่งไม่ได้หมายความว่าทุกคนควรมองข้ามชีวิตการทำงาน แต่ทุกคนควรจำไว้ว่าสุขภาพและชีวิตนอกเหนือจากงานก็มีความสำคัญเท่าเทียมกัน เพื่อนร่วมงานของคุณไม่ได้เป็นเพียงคนที่มาพร้อมกับคอมพิวเตอร์และเอกสารเป็นเวลาแปดชั่วโมงต่อวัน แต่เป็นมนุษย์เหมือนกัน โดยมีภาระหน้าที่อันมีค่าหลายร้อยอย่างนอกเหนือจากงานเหมือนกัน ทุกคนสามารถสร้าง Work Life Balanceและมีสุขภาวะที่ดีและมีคุณภาพร่วมกันได้ถ้าหากรู้วิธีวางแผนและจัดการกับความคาดหวังที่ดี

6423002 ชัญญานุช ขุนนุ้ย นักศึกษาสาขากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง : https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/บทบาทหน้าที่ของพยาบาล

https://brandinside.asia/work-life-balance-disillusion/

https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2270

https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/work-life-balance%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/best-new-normal-work-life-balance/

หมายเลขบันทึก: 710508เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2022 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2022 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท