การจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส


  1. หากที่ดินเป็นสินสมรส ไม่ว่าจะมีชื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินก็ตาม ตามกฎหมายก็ต้องถือว่าที่ดินเป็นของ คู่สมรสแต่ละฝ่ายเท่า ๆ กัน 
  2. การจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ถ้าเป็นการแบ่งสินสมรสที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งแต่ละฝ่ายเท่ากัน ไม่ถือว่าเป็นการ “ขาย” จึงไม่มีกรณีต้องเสียภาษีเงินได้ แต่หากฝ่ายใดได้ไปเกินกว่าส่วนของตนตามกฎหมาย ส่วนที่เกินถือว่าเป็นการ “ขาย” ให้เรียกเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ต้องเสีย แต่หากไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะให้เรียกเก็บอากรแสตมป์ โดยคิดจากส่วนที่เกินในที่ดินแปลงนั้น ๆ เป็นรายแปลงหรือแต่ละรายอสังหาริมทรัพย์นั้น 
  3. ดังนั้น กรณีการจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสให้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว จึงต้องถือว่าส่วนที่เกินกว่าส่วนของตนตามกฎหมาย หมายถึงส่วนของคู่สมรสที่ไม่ประสงค์จะมีชื่อในโฉนดที่ดิน เมื่อตามกฎหมายถือว่าที่ดินเป็นของคู่สมรสแต่ละฝ่ายเท่า ๆ กัน แล้ว ส่วนที่เกินจึงหมายถึงครึ่งหนึ่งของที่ดินตามโฉนดที่ดิน แต่หากคู่สมรสประสงค์จดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส โดยตกลงให้คู่สมรสฝ่ายหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินร้อยละ 70 ของที่ดินตามโฉนดที่ดิน ส่วนคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินร้อยละ 30 ของที่ดินตามโฉนดที่ดิน ส่วนที่เกินจึงหมายถึงจำนวนร้อยละ 20 ของที่ดินตามโฉนดที่ดิน
หมายเลขบันทึก: 710280เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2022 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2022 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท