เพศและสุขภาวะทางเพศในเด็กวัยประถมศึกษาตอนต้นนั้น...สำคัญไฉน


       “ลูกสาว 6 ขวบถูกล่วงละเมิดทางเพศในโรงเรียน” “ช็อคเด็ก 5 ขวบไปกับเพื่อนบ้านถูกล่วงละเมิดเลือดท่วมกางเกง” ทุกท่านคงเคยได้ยิน หรือเคยเห็นข่าวเช่นนี้ กันมานับต่อนับไม่ถ้วน โดยจากสถิติของการล่วงละเมิดเด็ก ปี 2563 ของมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี มีสถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ทั้งสิ้น 10,147 ราย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสะเทือนใจอย่างยิ่ง

      จากสถิติดังที่กล่าวไปข้างต้น สาเหตุอาจมาจากเรื่องของสังคม สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก นอกจากนี้สาเหตุที่สำคัญอีกหนึ่งสาเหตุคือ เด็กในช่วงวัยดังกล่าวขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศและการป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ทำให้ผู้จัดทำและเพื่อน ๆ  ภายในกลุ่มได้จัดทำ โครงการเพศและการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ให้แก่เด็กชั้นประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-ป.3) ช่วงอายุประมาณ 6-10 ปี 

    สิ่งที่ท้าทายสำหรับการโครงการที่พวกเราจะจัดทำขึ้นนั้น คงเป็นสื่อหรือตัวกลางที่จะนำทำให้เกิดความรู้ และวิธีการให้ความรู้ความเข้าใจ รวมถึงเนื้อหาที่คุณครูผู้สอนนำมาสอนและการให้ความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองแก่เด็กชั้นประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-ป.3) ช่วงอายุประมาณ 6-10 ปี ที่เป็นพื้นฐานและเหมาะสมในเรื่องเพศและการป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ 

        โดยจากกระบวนการค้นหา(Search) ออกแบบ(Design) การดำเนินการ(Implementation) ของพวกเรานั้นทำให้ได้เป็นนวัตกรรมที่เป็นชิ้นงานออกมา ซึ่งเป็นการจัดทำสื่อชุดความรู้ในรูปแบบกล่องความรู้ ที่มีชื่อว่า “กล่องเพศน่ารู้” ที่จะมีเนื้อหาในหัวข้อ ดังนี้

         1.หนูเกิดมายังไงกันนะ

         2.อย่านะอย่ามาจับหนูไม่ชอบ

         3.สะอาด ๆ รักษามันไว้

         4.หนูเป็นใครกันนะ

และจะมีกิจกรรมเพื่อทดสอบ(รูปแบบเกม) ความรู้ความเข้าใจในแต่ละหัวข้อ โดยจะทั้งเนื้อหาการสอน แบบทดสอบ(รูปแบบเกม) รวมถึงคู่มือการใช้งานของคุณครูและผู้ปกครอง จะบรรจุอยู่ในกล่องเพศน่ารู้ โดยจะนำกล่องความรู้เข้าไปใช้ภายในโรงเรียน โดยนักกิจกรรมบำบัดที่เข้าไปส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก(Create) และความเข้าใจของครูผู้สอนภายในโรงเรียน ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสร้างเสริมความรู้พื้นฐานในการเข้าใจเรื่องเพศและการถูกล่วงละเมิดทางเพศแก่เด็กชั้นประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-ป.3) ช่วงอายุประมาณ 6-10 ปี 

         ทุกท่านอาจมีข้อสงสัยในกลุ่มเป้าหมายโครงการของเรา “ทำไมต้องเด็กชั้นประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-ป.3) ?” นั่นเนื่องมาจากหลักสูตรการสอนเพศศึกษาของเด็กในประเทศไทยจะมีการเริ่มสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4-ป.6) ช่วงอายุประมาณ 10-12 ปี นอกจากนี้เนื้อหาในกล่องความรู้นั้นมีการอ้างอิงมาจากหลักสูตรเพศศึกษาในประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการ ที่เริ่มสอนตั้งแต่ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4-ป.6) ช่วงอายุประมาณ 10-12 ปี  กลุ่มของพวกเราที่จัดทำจึงมีความต้องการที่จะส่งเสริมเด็ก ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-ป.3) เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศและการถูกล่วงละเมิดทางเพศที่ถูกต้องเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้จริง และเนื่องจากจากสถิติต่าง ๆ นั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากสังคมหรือสิ่งแวดล้อม แต่นั่นดูเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะแก้ไขได้ยาก กลุ่มของพวกเราจึงเริ่มต้นแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเริ่มจากตัวเด็กในช่วงประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-ป.3) ช่วงอายุประมาณ 6-10 ปี 

         ในการดำเนินงานของพวกเรานั้นมีการนำหลัก Model PEO ซึ่งเป็น Model ในการรักษาของวิชาชีพกิจกรรมบำบัด มาวิเคราะห์ให้เห็นถึงปัญหาที่ชัดขึ้น ชี้ชัดให้เห็นสิ่งที่เกี่ยวข้องและกระทบต่อการเรียนรู้ในเรื่องเพศและการถูกล่วงละเมิดทางเพศทั้งในวงแคบ (การเรียนรู้และความรู้ความเข้าใจในตัวเด็กเอง) และวงกว้าง (คุณครู,ผู้ปกครอง,สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัวเด็ก) เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศและการถูกล่วงละเมิดทางเพศ และนำไปสู่การมีชีวิตทางเพศที่เป็นสุขและปลอดภัย (Sexual-well being) 

                                                 ภาพตัวอย่าง การวิเคราะห์ปัญหาด้วย Model PEO

        นอกจากนี้การทำโครงการดังกล่าวที่ทำให้ได้เป็นนวัตกรรมที่เป็นผลงานหรือชิ้นงาน เพื่อทำให้เกิดการมีชีวิตทางเพศที่เป็นสุขและปลอดภัยของเด็กชั้นประถมศึกษา และนอกจากนี้ยังได้วิธีการเรียนรู้กระบวนการในการทำงาน ได้เรียนรู้คิดและวิเคราะห์ปัญหา ได้แลกเปลี่ยนวิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ  ทั้งภายในกลุ่มตนเอง และกลุ่มอื่น ๆ ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ได้จนออกมาเป็นผลงานที่ดีที่สุดของโครงการ

         สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอาจารย์ที่ทุกท่านและ เพื่อนทุกคนที่ได้ให้คำแนะนำ ชี้แนะแนว และให้ความคิดเห็นทางในการจัดทำโครงการ

อ้างอิง

ข่าวช่อง 8. (2565). เปิดสถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ของมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ประจำปี 2563. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2565. จาก. https://www.thaich8.com/news_detail/93732

เพศศึกษาเพื่อเยาวชน. (2565). แผนการเรียนรู้เพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2561). สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2565. จาก. https://www.teenpath.net/content.asp?ID=21507#.Y0F1yHZBxPY

เพศศึกษาเพื่อเยาวชน. (2565). แผนการเรียนรู้เพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2561). สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2565. จาก. https://www.teenpath.net/content.asp?ID=21508#.Y0F1tHZBxPY

                                                                                                                 พัชรพร ผ่องผล  6423008

หมายเลขบันทึก: 708201เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2022 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2022 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท