ลองโควิด (Long Covid)


ลองโควิด (Long Covid)

8 กันยายน 2565

 

โควิด-19 ระบาดมาแล้ว 5 ระลอก ตอนนี้เรียกว่า "ลองโควิด" คือ ติดแล้วติดอีก โดยเฉพาะคนที่เคยติดมาแล้วก็ติดอีกได้ จากเริ่มระบาด (สายพันธุ์ดั้งเดิม) ต้นปี 2563 มาระลอกสอง (D614G) ปลายปี 2563 สู่ระลอกสาม (อัลฟ่าและเดลต้า) ตั้งแต่กลางปีก่อน 2564 เข้าสู่ระลอกสี่ (Omicron BA.1/BA.2) ต้นปี 2565 นี้ และปัจจุบัน ระลอกห้า (Omicron BA.5) 

 

ลองโควิด (Long Covid) คืออะไร

Long COVID หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ในระยะยาว เนื่องจากในขณะที่ป่วยโควิด-19 ร่างกายมีการสร้างแอนติบอดีบางอย่างขึ้นมา และไปจับกับโปรตีนเซลล์ของอวัยวะบางส่วนในร่างกาย และไปทำลายอวัยวะส่วนต่างๆ 

 

Long COVID ในไทย

คาดไทยเจอภาวะ 'ลองโควิด' มีจำนวนคนที่ประสบปัญหาอาจมีจำนวนมากหลายแสนคนถึงหลักล้านคนได้ จากข้อมูล Worldometer เมื่อ 5 กันยายน 2565 พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และอันดับ 6 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

มีคนที่ติดเชื้อจำนวนมากหลายล้านคน ตัวเลขทางการจาก RT-PCR ในระบบ 4,658,542 คน แต่หากรวม ATK และที่ตรวจเองและไม่รายงาน อาจพุ่งไปสูงถึง 10 ล้านคนหรือมากกว่า มีทั้งที่ติดเชื้อแบบไม่มีอาการ อาการน้อย และอาการรุนแรง สัดส่วนของคนที่มีโอกาสประสบปัญหา Long COVID จากงานวิจัยทั่วโลกมีตั้งแต่ 5%-30%

สถานการณ์ของโรคโควิด-19ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจเมื่อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนเข้ามาแพร่ระบาดในปัจจุบันทำให้มีการติดเชื้อและมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้นถึงแม้อาการจะไม่หนักถึงขั้นเสียชีวิตก็ตามแต่ก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามองและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ศ.นพ.ธีระวัฒน์เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยได้ให้ความรู้และคำแนะนำเพื่อระมัดระวังการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ที่เราทุกคนต้องตระหนักและอยู่กับโรคนี้ให้ได้วัคซีนโควิด-19 (ข่าว 19 กรกฎาคม 2565)

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก (25 สิงหาคม 2565) ชี้ยอดสังเวยโควิดไทยติดอันดับ 14 ของโลก ยกผลวิจัยเมืองสวิสฯ Long COVID ในเด็ก ระบุช่วงวัยรุ่นจะเจอปัญหามากกว่าเด็กเล็ก 

ข้อมูลเมื่อ 24 สิงหาคม 2565 ทั่วโลกติดเพิ่ม 656,108 คน ตายเพิ่ม 1,746 คน รวมแล้วติดไป 602,985,345 คน เสียชีวิตรวม 6,478,268 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และไต้หวัน

หมอธีระเผยแนวโน้มโควิดโลก คาดสิ้นเดือนสิงหาคม 2565 นี้ทะลุ 600 ล้านรายแน่ พร้อมอัพเดตความรู้ตอกย้ำผู้สูงอายุระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอเมื่อเจอโควิด ฝรั่งเร่งศึกษาภาวะ Long COVID ซึ่งผลวิจัยออสเตรเลียชี้ Long COVID มีความสูญเสียไม่ต่างโรคสมองเสื่อม-ปัญหาติดยา

 

ภาวะ MIS-C (มิสซี) และ Long COVID (ลองโควิด) ในเด็ก

Multisystem Inflammatory Syndrome in Children (MIS-C) คือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังเด็กหายจากการติดเชื้อโควิด-19 เริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ระยะหายจากโรคจนถึงหลังติดเชื้อ 2 – 6 สัปดาห์ สาเหตุเชื่อว่าเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้มากเกินไป

ผลวิจัยพบลองโควิดในเด็ก เสี่ยงปัญหาทางหัวใจ-ไตวาย (ข้อมูลวิจัยล่าสุดจากทีมงานของ US CDC เผยแพร่ใน MMWR วันที่ 5 สิงหาคม 2565)

ภาวะ Long COVID อ้างอิงจากนิยามองค์การอนามัยโลก ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ระบุว่า เป็นอาการผิดปกติเกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือนนับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน โดยอาการเกิดขึ้นได้หลายระบบอย่างต่อเนื่อง หลังได้รับติดเชื้อโควิดนานกว่า 4-12 สัปดาห์และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถ อธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยสาเหตุอื่นๆ ในเด็กพบภาวะนี้เพียงร้อยละ 25-45 ซึ่งระบบที่พบ ได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ภาวะเหล่านี้มักไม่รุนแรงแต่เรื้อรัง อาการจะเป็นๆ หายๆ ได้ การรักษาโรคนี้มักเป็นการแยกโรคที่รุนแรงอื่นและรักษาตามอาการ รวมถึงการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

 

อาการ Long COVID

เป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่มีลักษณะตายตัว อาจเหมือนหรือต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งผลกระทบของ Long COVID สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ, ระบบประสาท,ระบบทางเดินอาหาร,หัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเดิม ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว

 

กลุ่มเสี่ยงที่อาจจะพบอาการ Long COVID ได้แก่ 

(1) ผู้สูงอายุ (2) ผู้ทีมีภาวะอ้วน (3) ผู้ที่มีโรคประจำตัว (4) ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้มีในขณะติดเชื้อโควิด-19 มีอาการรุนแรง กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการเกิด Long COVID ได้มากกว่ากลุ่มที่ติดเชื้อและไม่มีอาการ แต่ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนักหรือผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ ก็สามารถมีโอกาสที่จะเกิดอาการ Long COVID ได้เช่นเดียวกัน แต่จะไม่พบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันที่ได้จากการรับวัคซีน

 

สรุปอาการลองโควิด

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ในเฟซบุ๊กเมื่อ 1 สิงหาคม 2565 ว่า ลองโควิดเป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นหลังจากที่การติดเชื้อได้จบสิ้น (เชื้อไม่พบแล้ว)

1.อาการของลองโควิด ไม่ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของอาการที่เป็นตอนแรก

2.เกิดได้ทุกอายุ ได้ทุกเพศ แต่แนวโน้มในต่างประเทศ อาจเจอในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อายุ 18 ถึง 30 ปี และทุกอายุที่สูบบุหรี่ อ้วน และแน่นอนมีโรคประจำตัวต่างๆ

3.เกิดอาการได้ตั้งแต่หัวจดเท้า หลายระบบหรืออวัยวะพร้อมกัน และทางความรู้สึกทางเพศ ลด หรือหายไป ทั้งชาย หญิง และประจำเดือนผิดปกติ ร่วมเพศมีอาการเจ็บปวด

4.เป็นอาการเดิมขณะติดเชื้อที่สามารถทอดยาวนานกว่าสามเดือน หรืออาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการใหม่

5.กลุ่มอาการเป็นลักษณะที่เรารู้จักกันดีมานานแล้ว เกือบ 80-90 ปีในรูปของ chronic fatique syndrome หรือ Myalgia encephalomyelitis ในไวรัสต่างๆ แต่โควิดเกิดได้รุนแรง และยาวนานกว่าไวรัสตัวอื่นๆ มาก

6.กลุ่มอาการทางสมองและจิตอารมณ์พบได้ 30% หรือมากกว่า และส่งผลทำให้เฉื่อยชา คิดช้า ความจำสั้น สมองเสื่อมและอารมณ์แปรปรวน โดยเฉพาะคนที่เป็นอยู่แล้วหรือกำลังจะเป็น โรคสมองเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์ หรือพาร์กินสัน

7.หลักในการบำบัด ต้องทำการยับยั้งการอักเสบ โดยคำนึงถึงผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาด้วย และยังต้องประกอบด้วยการหลีกเลี่ยงที่จะทำให้มีการกระตุ้น

การอักเสบในร่างกายเพิ่มขึ้น ได้แก่ หลีกเลี่ยงอาหารร้อนแรงที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น เนื้อแดง ระวังพืชผักผลไม้ที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมีฆ่าหญ้าฆ่าแมลง รวมกระทั่งถึงมลพิษพีเอ็ม 2.5 เป็นต้น

8.จากปรากฏการณ์นี้อาจเป็นเครื่องเตือนใจว่าไม่ควรปล่อยตัวให้ติด เพราะอาจเคราะห์ร้ายระยะยาว และยิ่งติดซ้ำ ลองโควิดจะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

9.วิธีที่ “อาจ” ป้องกัน การเกิดลองโควิด ได้คือการให้การรักษาเร็วที่สุดเมื่อรู้ว่าติด เพื่อให้ระยะของการติดเชื้อสั้นที่สุด

10.ตากแดด เดินหมื่น อบร้อน เข้าใกล้มังสวิรัติ ลดแป้ง

เพียงขยันเท่านั้น ไม่เสียสตางค์ ลดการอักเสบ อัตโนมัติ กินผักผลไม้กากไยให้มาก เท่านี้เอง

ถูกแดดเช้า หรือบ่าย เย็น และอากาศร้อน อาบน้ำร้อน มีหลักฐานแล้ว ลด mitochondrial stress ลดอนุมูลอิสระ จนเพิ่ม innate immunity เดินวันละ 10,000 ก้าว

ถึงเวลาสร้างความแข็งแกร่ง ทุกระบบ ของภูมิคุ้มกัน ต่อสู้ การติดเชื้อ เพราะวัคซีนตามไวรัสไม่ทัน และแม้พลาดท่า ติดแล้ว มีลองโควิด ก็เอาอยู่

 

Post Covid Condition 

คือ อาการหลังจากติดเชื้อ Covid โดยผู้ป่วยยังมีอาการผิดปกติยาวนานกว่า 4 สัปดาห์ แม้จะหายจากเชื้อโควิดแล้ว

 

อาการที่พบบ่อยหลังการติดเชื้อโควิด-19

รายงานการวิจัยพบว่า 80% ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการใดอาการหนึ่ง โดยอาการที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ 

(1) ปวดศีรษะ 44% (2) ความจำแย่ลง 16% (3) สมาธิสั้นลง 27% (4) ผมร่วง 25% (5) จมูกไม่ได้กลิ่น 21% (6) สูญเสียการรับรส 23% (7) แน่นหน้าอก 16% (8) หายใจลำบาก หายใจผิดปกติ 24% (9) ใจสั่น 11% (10) ไอ 19% (11)ตาแดง 6% (12) ปวดข้อ 19% 

 

ผลวิจัย 8 อาการ "ลองโควิด" มากที่สุดนานนับปีอาจไม่หายขาด (เฟซบุ๊ก รศ.นพ. ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 18 กรกฎาคม 2565)

8 อาการเหล่านี้เป็นบ่อย และเป็นเยอะมากที่สุด หลัง ติดโควิด แล้วพบภาวะคงค้างนานถึง 6-12 เดือน ดังนี้

1. Long COVID ในอเมริกา

US CDC ได้ระบุในเว็บไซต์เมื่อ 11 กรกฎาคม 2565 ว่า ผู้ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 โดยรวมนั้นพบว่ามีปัญหา Long COVID ยาวนานตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไปราว 13.3% ในขณะที่ผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนั้น จะประสบภาวะ Long COVID ได้มากกว่า 30% เมื่อประเมิน ณ 6 เดือน

2. อาการ "ลองโควิด" หรือ Long COVID ในเยอรมัน

Bahmer T และคณะ เผยแพร่ผลการวิจัยในวารสารการแพทย์สากล eClinicalMedicine วันที่ 15 กรกฎาคม 2565 ทำการศึกษาในกลุ่มผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ในเยอรมัน ตั้งแต่พฤศจิกายน 2563 ถึงกันยายน 2564 จำนวนกว่าพันคนจาก Kiel และ Würzburg/Berlin โดยใช้แบบประเมินระดับอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังการติดเชื้อ (PCS score) พบว่าอาการคงค้างที่พบบ่อยนาน 6-12 เดือนหลังจากติดเชื้อในกลุ่มผู้ป่วยที่ประสบปัญหา Long COVID ได้แก่ อาการผิดปกติทางระบบประสาท (เช่น ปวดหัว เวียนหัว มึนงง มีปัญหาด้านสมาธิหรือความจำ) (61.5%) อาการเหนื่อยล้า/อ่อนเพลีย (57.1%) และปัญหาในการนอนหลับ (57%) 

ผลวิจัยบราซิลพบ 'ลองโควิด' ทำสมองฝ่อแล้ว ยังทำลายเซลล์ประสาทได้อีก (ผลการวิจัยในวารสารวิทยาศาสตร์ระดับสากล PNAS เมื่อวานนี้ 11 สิงหาคม 2565)

ผลการวิจัยของเยอรมันนี้ อย่างน้อยก็จะมีประโยชน์ให้เราใช้สังเกตอาการที่พบบ่อยเหล่านี้ ใช้ประเมินตนเองหรือคนใกล้ชิด หากประสบปัญหาติดเชื้อมาก่อน และไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา

อย่างไรก็ตาม การใส่หน้ากากระหว่างตะลอนนอกบ้าน พยายามเว้นระยะห่างจากคู่สนทนา เลี่ยงที่แออัดหรืออับลม และการปรับสภาพแวดล้อมให้มีการระบายถ่ายเทอากาศให้ดีขึ้น เช่น เปิดพัดลม เปิดประตูและหน้าต่าง เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราลดความเสี่ยงระหว่างดำเนินชีวิตประจำวัน ทำมาค้าขาย และศึกษาเล่าเรียนได้ เพราะไวรัสจะเปลี่ยนแปลงสมรรถนะของมันไปเรื่อยๆ โดยยังไม่สามารถทำนายการเปลี่ยนแปลงได้แม่นยำ สถานการณ์ระบาดของไทยยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง การป้องกันตัวให้ดีและสม่ำเสมอ จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง

 

อ้างอิง

บทความ

รู้จักลองโควิด “Long COVID” อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19, โดย รพ.วิชัยเวช, https://vichaivej-nongkhaem.com/health-info/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94/ 

 

ข่าว

Post Covid-19 Condition อาการที่พบได้หลังหายจากโควิด-19, รพ.ศิครินทร์, 15 ตุลาคม 2564, https://www.sikarin.com/health/post-covid-19-condition-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2 

ภาวะ MIS-C (มิสซี) และ Long COVID (ลองโควิด) ในเด็ก, รพ.เด็ก, 25 กุมภาพันธ์ 2565, https://www.childrenhospital.go.th/15293/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0-mis-c-%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%8B%E0%B8%B5-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-long-covid-%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81/

“หมอธีระ” หวั่นคนไทย 6 แสน - 1.2 ล้าน ป่วย “ลองโควิด” จี้รัฐวางระบบรองรับ, สยามรัฐออนไลน์, 13 พฤษภาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/347852

'หมอธีระวัฒน์' เผยข้อมูลติดเชื้อซ้ำ ยิ่งมีอาการหนัก ลองโควิดยืดยาวขึ้น แม้วัคซีนเต็มแขน, ไทยโพสต์, 16 กรกฎาคม 2565, https://www.thaipost.net/covid-19-news/181976/ 

หมอธีระเผยผลวิจัยพบ ลองโควิดอาจยาวนานถึง 1 ปี ทั้งอาการทางระบบประสาท-อ่อนเพลีย, มติชน, 17 กรกฎาคม 2565, https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3458387

อาการ "ลองโควิด" เจอ 8 อาการเหล่านี้มากที่สุด เป็นนานนับปีอาจไม่หายขาด, คมชัดลึก, 18 กรกฎาคม 2565, https://www.komchadluek.net/covid-19/522736 

‘หมอธีระ’ เปิดผลวิจัย ‘ลองโควิด’ ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง, ไทยโพสต์, 18 กรกฎาคม 2565, https://www.thaipost.net/covid-19-news/182786/ 

‘หมอธีระวัฒน์’ไขข้อข้องใจโควิด -19 เชื้อโอโมครอนและอาการ Long Covid, ไทยโพสต์, 19 กรกฎาคม 2565, 8:42 น.,  https://www.thaipost.net/covid-19-news/183433/ 

'หมอธีระวัฒน์' ไล่เรียง 'ลองโควิด', ไทยโพสต์, 20 กรกฎาคม 2565, https://www.thaipost.net/covid-19-news/184176/ 

'หมอธีระวัฒน์' เผยสามประสาน 'วินัย-ยารักษาเร็ว-วัคซีน' ยุติแพร่เชื้อ ลดอาการลองโควิด, ไทยโพสต์, 28 กรกฎาคม 2565, https://www.thaipost.net/all-news/189484/ 

‘หมอนิธิพัฒน์’ บอกข่าวดี!! ฉีดวัคซีน รักษาตัวเองที่บ้าน ช่วยลดอาการลองโควิด, The Bangkok Insight, 29 กรกฎาคม 2565, https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/covid-19/917322/ 

เช็กอาการ ‘ลองโควิด’ ที่พบได้ในทุกสายพันธุ์, มติชน, 1 สิงหาคม 2565, https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3483212 

ผลวิจัยพบอาการ 'ลองโควิด' แตกต่างตามสายพันธุ์ไวรัส, ไทยโพสต์, 1 สิงหาคม 2565, https://www.thaipost.net/covid-19-news/191383/ 

ลองโควิด “ความจำสั้น-ความต้องการทางเพศลด” หมอธีระวัฒน์ เปิดวิธีป้องกัน-รักษาลองโควิด, มติชน, 1 สิงหาคม 2565 - 09:46 น., https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3482975 

'หมอธีระวัฒน์' แจงวิธีป้องกันและรักษา 'ลองโควิด', ไทยโพสต์, 1 สิงหาคม 2565, https://www.thaipost.net/covid-19-news/191378/ 

'หมอธีระ' ยกผลวิจัยออสเตรเลียชี้ Long COVID มีความสูญเสียไม่ต่างโรคสมองเสื่อม-ปัญหาติดยา, ไทยโพสต์, 4 สิงหาคม 2565, https://www.thaipost.net/covid-19-news/193462/ 

หมอธีระ เปิดผลวิจัยลองโควิดในเด็ก เสี่ยงปัญหาทางหัวใจ-ไตวาย, มติชน, 5 สิงหาคม 2565, https://www.matichon.co.th/covid19/news_3492165 

'นพ.ธีระ' ชี้ต่างชาติกำลังเร่งศึกษาภาวะ Long COVID, ไทยโพสต์, 10 สิงหาคม 2565, 7:39 น., https://www.thaipost.net/covid-19-news/197368/ 

ผลวิจัยบราซิลพบ 'ลองโควิด' ทำสมองฝ่อแล้ว ยังทำลายเซลล์ประสาทได้อีก, ไทยโพสต์, 15 สิงหาคม 2565, https://www.thaipost.net/covid-19-news/199069/ 

ห่วงผู้หายป่วยเจอ 'ลองโควิด' สั่ง สธ. ให้ความรู้ ปชช. ยันรักษาฟรีตามสิทธิ, ไทยโพสต์, 15 สิงหาคม 2565, https://www.thaipost.net/covid-19-news/200650/ 

อย่าตระหนกเกินเหตุ! ‘หมอยง’ ไขข้อข้องใจ ‘ลองโควิด’, ไทยโพสต์, 15 สิงหาคม 2565, https://www.thaipost.net/covid-19-news/200593/ 

บี้สธ.เฝ้าระวังลองโควิด ผู้หญิงติดฝีดาษลิงราย5!, ไทยโพสต์, 16 สิงหาคม 2565, 

https://www.thaipost.net/?p=201098&preview=true 

'นพ.ธีระ' ยกผลวิจัยชี้โอมิครอนเสี่ยงต่อ 'ลองโควิด' ไม่ต่างจากสายพันธุ์อื่นๆ, ไทยโพสต์, 18 สิงหาคม 2565, 

https://www.thaipost.net/covid-19-news/202825/ 

ผู้ปกครองระวัง! ผลวิจัยชี้ Long COVID วัยรุ่นหนักกว่าเด็กเล็ก, ไทยโพสต์, 25 สิงหาคม 2565, https://www.thaipost.net/covid-19-news/207364/ 

'เชียงใหม่' พบผู้ป่วยอาการลองโควิดเพิ่มสูงขึ้น ส่วนใหญ่อ่อนเพลีย หายใจลำบาก ไอ, ไทยโพสต์, 2 กันยายน 2565, https://www.thaipost.net/district-news/213239/ 

คาดไทยเจอภาวะ 'ลองโควิด' หลายแสนคน บี้รัฐเร่งให้ความรู้ประชาชน, ไทยโพสต์, 5 กันยายน 2565, https://www.thaipost.net/covid-19-news/214435/ 

'นพ.ธีระ' ยกผลศึกษาเยลตอกย้ำปัญหา Long COVID, ไทยโพสต์, 8 กันยายน 2565, https://www.thaipost.net/covid-19-news/198287/ 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท