ชีวิตที่พอเพียง  4296. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  ๑๕๘. โอกาสสู่โรงเรียนพัฒนาตนเองอย่างแท้จริง


 

วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕   ทีม มรภ. ภูเก็ต นำเสนอแผนงานของโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (รุ่นที่ ๒) ปีที่ ๓    ทำให้ผมนึกถึงชื่อบันทึกนี้   

เพราะทีม มรภ. ภูเก็ตเล่าวิธีทำงาน ที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นปัจจัยหนุนความเป็นโรงเรียนพัฒนาตนเองของโรงเรียนในเครือข่าย ๓ ประเด็น คือ

  1. มี “โรงเรียนร่วมพัฒนา”   ที่อยู่นอกโครงการ   แต่เห็นคุณค่าของการดำเนินการของ มรภ. ภูเก็ต จึงขอเข้าร่วมด้วย    โดยที่ต้นสังกัดสนับสนุน
  2. ในปีที่ ๒ ของโครงการ (พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๕) ได้หนุนให้ ศน. ของ ศธจ. และ สพป. ทำหน้าที่โค้ช    ซึ่งจะมีผลให้หน่วยงานต้นสังกัดในพื้นที่คุ้นเคยกับระบบนิเวศการเรียนรู้ และวิธีจัดประสบการณ์การเรียนรู้แนวใหม่ 
  3. หนุนให้ครูในโรงเรียนที่มีความถนัดบางเรื่อง เป็นโค้ชแก่ครูโรงเรียนอื่น   เช่นมีครูในโรงเรียนไทยรัฐวิทยา เก่งด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ได้จัดให้โค้ชครูโรงเรียนอื่นในเครือข่ายด้วย   เกิดเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน         

ทีมมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ เล่าเรื่องผลการที่โรงเรียนนำเครื่องมือประเมินตนเองไปใช้ประเมินตนเองในหลากหลายมิติ    เพื่อนำผลการประเมินตนเองเป็นข้อมูล feed forward สู่การวางยุทธศาสตร์พัฒนาตนเอง   นี่คือกลไกสำหรับสร้างวัฒนธรรมพัฒนาตนเองต่อเนื่องของโรงเรียน   

ผศ. ดร. เลขา ปิยะอัจฉริยะ แนะนำให้ทีมโค้ชทั้งสองทีม ดำเนินการให้โรงเรียน accredit ตนเองได้    โดยทีมโค้ชช่วยตรวจสอบว่า การ accredit ของโรงเรียนมีความแม่นยำ เชื่อถือได้    นี่คือแนวทางที่ระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ใช้    และทำให้ฟินแลนด์มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาทุกสำนัก อยู่ในแนวหน้าของโลกเสมอ               

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ก.ค. ๖๕

  

                 

หมายเลขบันทึก: 706594เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2022 19:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2022 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท