เมื่อกลุ่ม "กีฬาเพื่อสังคม" ลงพื้นที่ฟื้นฟูโรงเรียนที่ประสบอุทกภัย


โครงการกีฬาเพื่อสังคม  เกิดขึ้นจากนโนบายเชิงรุกขององค์การนิสิต ปีการศึกษา 2564 ที่ว่าด้วยการช่วยเหลือชุมชนที่ประสบสาธารณภัย  ซึ่งองค์การนิสิต ได้ร่วมมือกับกลุ่มงานกิจกรรมนิสิตในการเสาะแสวงหาองค์กรนิสิต หรือแม้แต่กลุ่มอิสระที่มีจิตอาสาในการที่จะช่วยเหลือสังคม โดยจัดสรรงบประมาณให้โครงการละ 10,000 บาท ภายใต้เงื่อนไขหลักคือ การนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อการช่วยเหลือสังคม

ในช่วงปลายปี 2564  เป็นช่วงที่ชุมชนรอบมหาวิทยาลัยมหาสารคามประสบกับอุทกภัยอย่างหนักหน่วง  เรียกได้ว่าท่วมหนักในรอบ 10 ปีก็ว่าได้ ซึ่งโรงเรียนบ้านมะกอก (มะกอกวิทยาสรรค์) เป็นอีกหนึ่งสถานศึกษาที่ได้รับผลกระทบอย่างแสนสาหัส 

 

กล่าวคือ  อาคารเรียน สนามกีฬา ลาน BBL สวนหย่อม หอพระพุทธรูปประจำโรงเรียน ถูกน้ำท่วมขังในราวสองเดือน พอน้ำลดก็อยู่ในสภาพที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้เท่าที่ควร

 

 

ด้วยเหตุนี้ กลุ่มนิสิต “กีฬาเพื่อสังคม” จาก “คณะศึกษาศาสตร์” จึงได้จัดโครงการ “กีฬาเพื่อสังคม” ขึ้นในระหว่างวันที่  29-30 มีนาคม 2565 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ

  • เพื่อส่งเสริมให้นิสิตได้เรียนรู้กระบวนการจัดกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาตนเองและสังคม 
  • เพื่อส่งเสริมให้นิสิตและอาจารย์ได้นำองค์ความรู้ในวิชาชีพ (Hard skills) ไปบริการต่อชุมชนที่ประสบภัยน้ำท่วม 
  • เพื่อส่งเสริมให้นิสิตได้พัฒนาทักษะทางสังคม (Soft skills) ผ่านการบูรณาการระหว่างกิจกรรมในหลักสูตรกับกิจกรรมนอกหลักสูตร

 



โครงการกีฬาเพื่อสังคม  เกิดขึ้นจากนโนบายเชิงรุกขององค์การนิสิต ปีการศึกษา 2564 ที่ว่าด้วยการช่วยเหลือชุมชนที่ประสบสาธารณภัย  ซึ่งองค์การนิสิต ได้ร่วมมือกับกลุ่มงานกิจกรรมนิสิตในการเสาะแสวงหาองค์กรนิสิต หรือแม้แต่กลุ่มอิสระที่มีจิตอาสาในการที่จะช่วยเหลือสังคม โดยจัดสรรงบประมาณให้โครงการละ 10,000 บาท ภายใต้เงื่อนไขหลักคือ การนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อการช่วยเหลือสังคม

และโครงการ “กีฬาเพื่อสังคม” ก็เป็น 1 ใน 5 โครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินการ-

 

ถัดจากนี้ไป คือส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ผมมีโอกาสได้ลงพื้นที่เรียนรู้ร่วมกัน  รวมถึงถอดบทเรียนเล็กๆ ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ  นิสิต  และคณะครูในโรงเรียน  

 



กรอบแนวคิดการจัดกิจกรรม

บูรณาการแนวคิดการเรียนรู้รายวิชา  “ปัจจัยและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการกีฬา”  กับแนวคิดการจัดการเรียนรู้  เช่น 

  • การเรียนรู้คู่บริการ 
  • การเรียนรู้โดยใช้ผู้เรียนและชุมชนเป็นศูนย์กลาง
  • การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ
  • การเรียนรู้เชิงรุก
  • นโยบายการพัฒนานิสิต เช่น ปรัชญา (ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน)  อัตลักษณ์นิสิต (นิสิตกับการช่วยเหลือสังคมและชุมชน)  ค่านิยมนิสิต (MSU FOR ALL : นิสิตพึ่งได้)

 

รูปแบบและลักษณะการจัดกิจกรรม

  1. เรียนรู้บริบท / สภาพทั่วไป / ผลกระทบที่โรงเรียนและชุมชนได้รับจากโควิด-19 และน้ำท่วม 
  2. ปรับปรุงลาน BBL(Brain-based Learning) 
  3. ตีเส้นสนามกีฬา / ลานอเนกประสงค์ 
  4. มอบอุปกรณ์การศึกษา 
  5. ปรับปรุงสวนหย่อม 
  6. การปรับปรุงภูมิทัศน์ทั่วไปของโรงเรียน 


 

ผลลัพธ์การเรียนรู้
 

  1. โรงเรียนและชุมชน

               โรงเรียนได้รับการฟื้นฟูซ่อมแซมสาธารณะประโยชน์ เช่น  ลาน BBLสวนหย่อม สนามกีฬาและได้รับสื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม เช่น หนังสืออ่านนอกเวลา

   2. นิสิตและมหาวิทยาลัย

  • นิสิตได้เรียนรู้กระบวนการจัดกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาตนเองและสังคม เช่น การทำงานบนความต้องการอันแท้จริงของชุมชนกับนิสิต การติดต่อประสานงานระหว่างนิสิตกับอาจารย์ นิสิตกับนิสิตและนิสิตกับชุมชน การทำงานภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วม 
  • นิสิตและอาจารย์ได้นำองค์ความรู้ในวิชาชีพ (Hard skills) ไปบริการโรงเรียนที่ประสบภัยน้ำท่วมและโควิด-19 เช่น รายวิชา “ ปัจจัยและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการกีฬา” 
  • นิสิตได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะทางสังคม (Soft skills) ผ่านการบูรณาการระหว่างกิจกรรมในหลักสูตรกับกิจกรรมนอกหลักสูตร เช่น ด้านภาวะผู้นำ ด้านความคิดสร้างสรรค์ วิธีคิดที่เปิดกว้างยืดหยุ่น การปรับตัว การมีมนุษย์สัมพันธ์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า  
  • ได้เรียนรู้วิถีชีวิตและการงานของคณะครู นักเรียนและชาวบ้านที่ต้องปรับตัวในช่วงที่โรงเรียนและชุมชนถูกน้ำท่วมขังยาวนาน 2-3 เดือน   

 

 

ปัญหาและอุปสรรค
 

  • นักเรียนและชุมชน ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้เต็มที่ เพราะเป็นช่วงแพร่ระบาดของโควิด-19 
  • การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ต้องงดการจัดกิจกรรมอื่นๆ เช่น การเข้าเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนในหมู่บ้าน การให้ความรู้และการบริการเรื่องนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 
  • มีระยะเวลาในการเตรียมงานภาคสนามน้อย เนื่องจากเป็นช่วงต่อเนื่องจากการสอบปลายภาค  
  • งบประมาณมีจำกัด และจำนวนวันในการจัดกิจกรรมมีไม่มากนัก ( 2 วัน)  
  • สภาพดินฟ้าอากาศ เช่น แดดร้อนจัด สลับกับฝนตกปรอยๆ 

 


ปัจจัยความสำเร็จ
 

  • การให้คำปรึกษาและกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงการลงพื้นที่ร่วมดำเนินงานของอาจารย์ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่กลุ่มงานกิจกรรมนิสิต
  • การให้ความร่วมมือของคณะครู เช่น การสะท้อนปัญหาและความต้องการที่แท้จริง การจัดเตรียมอุปกรณ์ทำงาน
  • ความสามัคคี ความมุ่งมั่นตั้งใจของนิสิตที่เข้าร่วมโครงการ 
  • การมอบหมายภาระงานที่ชัดเจนและการรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  
  • การทำงานที่ยืดหยุ่นตามสถานการณ์จริง เช่น รูปแบบกิจกรรมกับงบประมาณ กิจกรรมกับสภาพภูมิอากาศที่มีทั้งฝนตกและแดดร้อน  
  • การทำงานบนฐานความรู้ในวิชาชีพทำให้เกิดความตื่นตัวและสามารถปรับใช้กับงานได้อย่างรวดเร็ว

 



ข้อเสนอแนะ/การดำเนินงานครั้งถัดไป

  • จัดกิจกรรมในลักษณะค่ายอาสาพัฒนาเต็มรูปแบบ เป็นต้นว่า 3 วัน 2 คืน เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้วิถีชุมชนและทำงานร่วมกันได้อย่างลึกซึ้ง  
  • จัดหางบประมาณเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมได้อย่างเต็มที่  
  • มีการปฐมนิเทศกิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรมก่อนออกพื้นที่ ทั้งในเรื่องความรู้ในวิชาชีพและความรู้ในเรื่องการจัดกิจกรรมนอกหลักสูตร  
  • บูรณาการทีมทำงานในลักษณะ “สหทีม” ประกอบด้วยนิสิตที่หลากหลายชั้นปีและหลากหลายวิชาชีพมาทำงานร่วมกัน  
  • เพิ่มกิจกรรมอื่นๆ เช่น การออกกำลังกาย กิจกรรมกีฬาทั้งการแข่งขันและเชื่อมความสัมพันธ์ การถ่ายทอดความรู้ในด้านกีฬาและสุขภาพ 

 




เรื่องและภาพ :  พนัส  ปรีวาสนา
เขียน : วันที่ 24 สิงหาคม 2565

 

หมายเลขบันทึก: 706028เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2022 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2022 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท