การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (KAEW Model) เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


             

            การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย  ได้แก่  1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน  (KAEW  Model)  เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  2)  เพื่อศึกษาประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน  (KAEW  Model)  เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6 3)  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน  (KAEW  Model)  เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  การวิจัยแบ่งเป็น  4  ระยะตามความมุ่งหมายของการวิจัย ได้แก่  ระยะที่  1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่  ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  จำนวน  20 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ  ได้แก่  ผู้อำนวยการสถานศึกษา  รองผู้อำนวยการสถานศึกษา  ผู้นิเทศภายในสถานศึกษา  ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ที่เข้าร่วมการสนทนากลุ่มผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  (PLC) รวมจำนวน 6  คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู  และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม  ระยะที่ 2  กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ  ได้แก่ อาจารย์ระดับอุดมศึกษา  ศึกษานิเทศก์  และผู้บริหารสถานศึกษา  จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลได้แก่ แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้  ระยะที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย  ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6/1  โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม  จำนวนนักเรียน  22  คน  เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล  ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้  (KAEW  Model)  ที่พัฒนาขึ้น  จำนวน 7 แผน รวม 17 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  มีค่าอำนาจจำแนก  (B) ตั้งแต่  0.25-0.75  มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  0.83  แบบประเมินทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล  มีค่าความสอดคล้อง (IOC)  เท่ากับ  1.00  และแบบสอบถามความพึงพอใจ  มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง  0.45-0.76 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  0.83  ระยะที่  4  กลุ่มเป้าหมาย  ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  จำนวน  20 คน จากโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม  เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล  ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นที่ต่อมีรูปแบบการเรียนรู้   สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ  t-test (dependent  system)

                  ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

                1.  รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน  (KAEW  Model)  เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6 มี  6 องค์ประกอบ  คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนรู้ 3)  ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้  4)  ระบบสังคม  5) หลักการตอบสนอง  และ 6)  ระบบสนับสนุน  มีขั้นตอนในการดำเนินการจัดกิจกรรม  4  ขั้นตอน  คือ ขั้นที่  1  K : Key  Question (การนำเข้าสู่บทเรียนด้วยคำถามสำคัญ) ขั้นที่  2  A : Activity  (กิจกรรมการเรียนรู้)  ขั้นที่ 3  E : Explain  (การอธิบายความรู้)  ขั้นที่ 4   W : Writing  presentation  (การเขียนสรุปความรู้และนำเสนอ)  ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบมีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมาก         

                2. การประเมินประสิทธิผลการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ตามห้องเรียนกลับด้าน  (KAEW  Model)  เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล  ของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่  6 ผลที่ปรากฏดังนี้

                    2.1  ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน  (KAEW  Model)  เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  82.74/84.89  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด  80/80

                    2.2  นักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน  (KAEW  Model)  มีคะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ  .05  โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

                    2.3  นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนการประเมินทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล คิดเป็นร้อยละ  86.87  อยู่ในระดับดีมาก  ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์ร้อยละ  80  ตามที่ได้กำหนดไว้ 

                    2.4  นักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่เรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน  (KAEW  Model)  มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก 

                3. ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน  (KAEW  Model)  เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่  6  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

หมายเลขบันทึก: 706012เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2022 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2022 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท