การขนส่งกับโลจิสติกส์ต่างกันตรงไหน (What is the difference between transportation and logistics)


เมื่อวานได้มีโอกาสไปนั่งฟังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการวิจัยที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ซึ่งมีงานวิจัยที่น่าสนใจหลายเรื่องทีเดียว แต่มีงานวิจัยเรื่องหนึ่งที่อยากนำมาคุยกันในวันนี้ในแง่ของสังกัป หรือ concept ของเรื่องที่วิจัย 

งานวิจัยเรื่องนั้นมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ​ commercial logistics ในภาคอีสาน แต่สังกัปที่นำมาใช้ในการวิจัยกลายเป็นการขนส่งสินค้า (commercial transportation) ไม่ใช่ โลจิสติกส์ (​logistics) ซึ่งเป็นการนำใช้สังกัปโลจิสติกส์ที่คลาดเคลื่อนไปจากหลักคิด วิธีการ และวัตถุประสงค์ของ​รูปแบบการขนส่งตามฐานคิดแบบโลจิสติกส์ครับ และเป็นการนำใช้แนวคิดที่คลาดเคลื่อนในประเทศเราครับ โดยการเปลี่ยนคำว่า ‘ขนส่ง เป็นโลจิสติกส์’ แต่ระบบและวิธีการขนส่งยังเหมือนเดิม 

ใคร หรือบริษัทใดจะใช้คำไหน และทำอย่างไรก็ไมเป็นปัญหา หรือมีปัญหาอะไรกับผมครับ เพราะผมไม่ได้เป็นที่ปรึกษาหน่วยงาน หรือบริษัทเหล่านั้น แต่งานวิจัยเป็นเรื่องของวิชาการ แม้ว่าผมจะไม่เป็นที่ปรึกษางานเหล่านั้น แต่งานวิชาการที่เผยแพร่ก็ควรเข้าใจและนำใช้สังกัปที่เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยให้ถูกต้องครับ เพราะงานวิชาการที่ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนก็จะทำให้ผู้นำใช้เข้าใจและนำใช้ไม่ถูกต้องไปด้วย 

โลจิสติกส์เป็นหลักคิดและวิธีการขนส่งแบบใหม่ที่นำเสนอและนำใช้ในการขนส่งสินค้าในยุคปัจจุบัน โดยมุ่งประสิทธิภาพในการขนส่งมากขึ้น กล่าวคือมีประสิทธิภาพทั้งด้านเวลา ค่าใช้จ่าย และการให้บริการแก่ลูกค้า โดยการทำงานแบบเครือข่าย และมุ่งเน้นการใช้บริการในพื้นที่ 

ตัวอย่างการขนส่งโดยใช้หลักคิดและวิธีการโลจิสติกส์เพื่อให้บริการขายหนังสือของบริษัทขายหนังสือบริษัทหนึ่ง ซึ่งเปิดช่องขายหนังสือออนไลน์ หรือทางโทรศัพท์ ดังนั้นเพื่อให้ระบบขนส่งแบบโลจิสติกส์ของบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทต้องสร้างเครือข่ายหน้งสือทั่วประเทศ (หรือถ้าขายข้ามประเทศ ก็ต้องมีเครือข่ายในประเทศอื่นด้วย) เช่น เปินศูนย์ หรือร้านขายหนังสือของตนเองในพื้่นที่ต่าง ไ ของประเทศ หรือ/และต่างประเทศ หรือประสานกับร้านหนังสือที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ หรือสำนักพิมพ์ที่พิมพ์หน้งสือในพื้นที่ต่าง ๆ ที่บริษัทเปิดให้บริการ และบริษัทต้องมีบัญชีหนังสือของตนเองและเครือข่ายทั้งหมดว่ามีรายการอะไรบ้าง อยู่ที่ใด เมื่อมีคำสั่งซื้อหนังสือเข้ามาที่บริษัท ทางบริษัทก็จะดูดว่าหนังสือที่ลูกค้าสั่งซื้อนั้นอยู ณ เครือข่ายใดที่ใกล้ลูกค้ามากที่สุด ก็จะประสานการส่งหนังสือดังกล่าวไปย้งลูกค้า แทนที่าจะส่งจากบริษัทกลาง ซึ่งอาจะใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่าการให้เครือข่ายบริการสินค้าดังกล่าว ทุกรายได้ที่เกิดขึ้นก็จะมีการจัดสรรให้กับบริษัทและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกันต่อไป 

นี่คือแนวคึดและวิธีการขนส่งแบบโลจิสติกส์ครับ 

ถ้าเป็นสิ้นค้าอื่น หรือบริการอื่น ๆ ก็ออกแบบและสร้างเครือข่ายในการบริหารขนส่งตามลักษณะและความเหมาะสมของการให้บริการต่อไป 

โลจิสติกส์จึงไม่ใช่ขนส่งธรรมดาที่เพียงแต่เปลี่ยนชื่อใหม่ให้โก้และทันสมัยเท่านั้น แต่เป็นหลักคิดและวิธีการในการบริการขนส่งและการให้บริการลูกค้าที่ประหยัดและรวดเร็วขึ้น ดังกล่าวมาแล้วครับ 

หวังว่าข้อเสนอข้างต้นจะเปลี่ยนวิธีขนส่งของไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนะครับ 

สมาน อัศวภูมิ

16 สิงหาคม 2565

 

หมายเลขบันทึก: 705420เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2022 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2023 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท