ชีวิตที่พอเพียง  4287. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  ๑๕๒. บทบาทของหน่วยงานกลางด้านการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้


 

ช่วงปลายเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ ผมมีโอกาสใคร่ครวญเรื่องบทบาทของหน่วยงานกลางด้านการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้   จากการออกไปเยี่ยมโรงเรียนและฟังบทบาทของโรงเรียนแกนนำพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนแบบพัฒนาครบด้าน (holistic learning)    และฟัง online PLC ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) ที่โรงเรียนในโครงการ TSQP ร่วมกันจัดขึ้น   

ผมได้ข้อสรุปว่า โรงเรียนพัฒนาตนเองได้    และรวมตัวกันเป็นเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเองได้     หากได้รับการสนับสนุนที่ถูกต้อง   

กสศ. น่าจะบอกชื่อโรงเรียนที่ทำหน้าที่เป็นโรงเรียนแกนนำได้   

บ่ายวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๕ ทีมงานก่อตั้ง สถาบันพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ (สพลร.) ของ สสวท. เชิญผมเข้าร่วมหารือ แนวทางทำงานของโครงการ     ที่เขาเน้น double loop learning    ที่ผมเพิ่งทราบว่า มาจาก Action Science ที่เสนอโดย Chris Argyris    เปิดโอกาสให้ผมได้เสนอแนวคิดว่า    สถาบันนี้น่าจะทำหน้าที่ขับเคลื่อน double-loop learning ในวงการศึกษาไทย   ไม่ใช่เฉพาะเอามาใช้ในสถาบันเท่านั้น   

สถาบันพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ จึงควรทำหน้าที่ส่งเสริมการหมุน “วงจรการเรียนรู้สองเด้ง” (double-loop learning - DLL) ในระบบการศึกษาไทย    ซึ่งหมายความว่า ทุกหน่วยงานในระบบการศึกษา มีกลไก และมีทักษะในการหมุน  “วงจรการเรียนรู้สองเด้ง” ของตน    และนำออกแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานอื่น ผ่านกลไกต่างๆ รวมทั้งกลไก online PLC  ที่ตอนนี้มีหน่วยงานในระบบการศึกษาคือ กสศ.   และภาคีในโครงการ “โรงเรียนพัฒนาตนเอง” (TSQP) จำนวนหนึ่ง มีทักษะ (และฉันทะ) สูงยิ่ง 

ตัวอย่างเช่น โรงเรียนบ้านตะเคียนราม สพป. ศรีสะเกษ เขต ๓  โดยเรียนรู้มาจากมูลนิธิสยามกัมมาจล   

ย้ำว่า สพลร. ควรฝึกใช้ DLL ในสองบทบาท   คือในบทบาทหมุนวงจร DLL ภายใน สพลร. เอง    และบทบาทหนุนการหมุนวงจร DLL ในโรงเรียนและหน่วยงานอื่นๆ ในระบบการศึกษาไทย   

เพราะเรื่องหลักสูตรและการเรียนรู้ เป็นเรื่องที่หยุดนิ่งไม่ได้   ต้องมีการพัฒนาต่อเนื่อง ไม่จบสิ้น   โดยต้องเรียนรู้ทั้งจากความรู้ระดับโลก   และเรียนรู้จากการปฏิบัติของตนเอง 

ที่ผ่านมา วงการศึกษาไทยเน้นเรียนรู้จากต่างประเทศ   ขาดกระบวนทัศน์เรียนรู้จากการทำงานหรือปฏิบัติการของตนเอง    เพราะเราสมาทาน theoretical science   ไม่ศรัทธาหรือไม่รู้จัก action science    ต่อ ไปนี้เราควรให้น้ำหนักการเรียนรู้ ๒ แนวทางนี้ในสัดส่วน ๒๐ : ๘๐    คือให้น้ำหนักการเรียนรู้จากทฤษฎีตะวันตกร้อยละ ๒๐    จากการปฏิบัติของตนเองร้อยละ ๘๐    ซึ่งจะช่วยให้หลักการและวิธีการ lifelong learning เป็นอุดมการณ์ของการศึกษาไทย     ไม่เฉพาะในกลุ่มผู้เรียน    แต่ปฏิบัติในกลุ่มนักวิชาการ และนักปฏิบัติ ในระบบการศึกษาด้วย           

วิจารณ์ พานิช

๒๗ มิ.ย. ๖๕

 

หมายเลขบันทึก: 705393เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2022 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2022 16:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท