Transformational and Change Leadership


ผมจั่วหัวและว่าจะเขียนเรื่องนี้ 4-5 วันที่แล้ว แต่ด้วยภาระกิจสำคัญและเร่งด่วนหลายอย่างมาแทรก เลยจั่วหัวเรื่องค้างไว้หลายวันครับ 

เป็นอีกครั้งที่ผมต้องต้องชื่อบทเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เพราะมีการแปลและใช้สองแนวคิดนี้เสมือนหนึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่ ‘ไม่ใช่’

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนนี้พบแล้วพลอีก ทั้งในหนังสือ และงานวิจัยของบ้านเรา และนี่คือที่มาที่อยากเขียนและแชร์เรื่องนี้ในวันนี้ครับ 

‘การเปลี่ยนแปลง’ เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นและเป็นไปทุกวินาที ไม่ต้องทำอะไรการเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นอยู่แล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นไปอย่างที่เราต้องการ หรือไม่ต้องการก็ได้ แต่สิ่งที่ทุกคนและทุกองค์การอยากได้คือ ​'การเปลี่ยนแปลงที่เราอยากเห็นและอยากได้เป็นสำคัญครับ' จึงเป็นที่มาของคำว่า ‘การเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผน (planned changes)’

 การบริหารที่ดีต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผน ไม่ใช่เปลี่ยนไปตามยถากรรมครับ จึงเกิดทฤษฎีการบริหารที่เรียกว่า ‘การจัดการการเปลี่ยนแปลง หรือ Change management’ แต่ก็พบว่าแม้องค์การจะมีแผนการเปลี่ยนแปลงที่ดี แต่การเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์มักจะไม่เกิดขึ้น หรือเป็นไปตามที่วางแผนไว้ จึงมีนักวิชาการจำนวนหนึ่งเสนอว่าถ้าเราต้องการให้การเปลึ่ยนแปลงเกิดขึ้นในทิศทางที่พึงประสงค์ขององค์การแล้วต้องใช้  ‘ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change leadership)​’ ซึ่งก็มีผู้นำเสนอแนวคิดและวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงไว้มากมาย หาอ่านได้จากหนังสือ หรือใน ​Google 

หนังสือและงานวิจัยเหล่านั้นก็จะเสนอคุณลักษณะหรือวิธีนำของผู้นำที่มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงว่าควรมีอะไรบ้าง และทำอย่างไร จนกระทั่งมีนักวิชาการบ้างคนเสนอรูปแบบของการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา เช่น Transactional Leadership และ Transformational Leadership ตามแนวคิดของ Bass and Avolio (Introduction ในหนังสือ​ Improving Organizational Effectiveness Through Transformational Leadership  บรรณาธิการโดย Bass, B.M & Avolio, B.J. 1994) เป็นต้น 

ดังนั้น​ Transformational Leadership หรือ Transactional Leadership จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของภาวะผู้นำการเปลี่ยน และควรมีชื่อเรียกเฉพาะของแนวคิดนี้ ไม่ใช่เรียกว่า ‘ผู้นำการเปลี่ยนแปลง’ ซึ่งจะหมายถึงผู้นำการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อีกหลายแนวคิด และหลายรูปแบบ 

มีผู้แปลTransaction Leadership ว่า ‘ภาวะผู้นำแบบปริวรรต’ ซึ่งผมก็เห็นว่ายังดีกว่าที่ใช้ ‘ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลวงเล็บคำแปลว่า ’Transformational Leadership' 

ผมแปลว่า ‘ภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยน (Transformational Leadership' ​เพราะเป็นภาวะผู้นำที่มุ่งเปลี่ยนแปลงองค์การโดยการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำและผู้ตาม ซึ่งเชื่อว่าจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนองค์การไปสู่การเปลี่ยนแแปลงที่พึงประสงค์ได้ ครับ 

สมาน อัศวภูมิ 

12 สิงหาคม 2565

หมายเลขบันทึก: 705291เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2022 05:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 สิงหาคม 2022 05:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท