เรื่องแค่นี้เอง


 

ลูก  แม่ทำไงดี สิวขึ้นเต็มไปหมดเลยเนี้ย (ลูกเสียงร้อนรนกังวลใจ)

แม่  ไหนๆ ดูซิ โอ๊ย!! สิวเล็กขึ้น 3 ตุ่ม #เรื่องแค่นี้เอง โวยวายจะเป็นจะตาย

ลูก 😤😤😤
=====
ลูก  แม่ๆๆๆ น้องเอาดินสอมาขีดสมุดของหนู😠

แม่  #เรื่องแค่นี้เองลูก น้องเขายังเด็ก ไม่รู้เรื่องอะไร แค่ดินสอ ลูกก็แค่ไปเอายางลบมาลบออกก็จบ อย่าทำให้เป็นเรื่องใหญ่ได้มั้ย

ลูก  😠แม่ไม่เคยเข้าใจหนูหรอก อะไรๆ ก็น้อง เออ คนเป็นพี่แม่ง!!! ทำอะไรก็ผิดหมดแหละ (ภายสีหน้าและท่าทีที่แสดงความโกรธ ลึกลงไปคือความผิดหวัง น้อยใจ เสียใจ😭)

แม่   😠 เป็นบ้าอะไร เรื่องแค่นี้ ต้องมาตะคอกใส่แม่ นี่แม่ก็พูดดีๆนะ ยิ่งโตยิ่งก้าวร้าวไปเอานิสัยเสียแบบนี้มาจากไหน

ลูก 😭😭😭😭
====
ลูก  แม่น้องพอใจ เขาบอกเลิกผมแล้ว แม่ก็รู้ใช่มั้ยว่าผมรักเขามากแค่ไหน อยู่ๆ เขาก็มาบอกเลิกกันเถอะ ผมถามเหตุผลเขาก็ไม่ตอบ ยืนยันอย่างเดียว ว่าจะเลิก จะเลิก แม่ผมต้องทำยังไงดี

แม่  ไม่ต้องเสียใจ ไม่ต้องไปเสียดายหรอกลูก ผู้หญิงคนเดียวเอง บนโลกนี้มีผู้หญิงอีกตั้งมากมาย เขาไม่รักเรา ก็ตัดใจ ปัญหาบนโลกนี้อีกมากมาย แค่อกหัก #เรื่องแค่นี้ ถ้าลูกยังผ่านไปไม่ได้ แล้วเรื่องอื่นๆ ที่หนักกว่านี้ล่ะ ถ้าลูกต้องเจอไม่ตายเลยเหรอ
(คำสอนที่เหมือนจะดี แต่ไม่มีความเข้าใจลูก แม่เพียงเข้าใจความจริงของโลก แต่ลืมเข้าไปรับรู้ความรู้สึกจริงในโลกของลูก😅)

ลูก แม่ก็พูดได้ซิ ก็แม่ไม่ได้รักเขาแบบที่ผมรัก (เศร้าเสียใจจากถูกแฟนบอกเลิกยังไม่พอ เสียใจยกกำลังต่อกับแม่ที่ไม่เข้าใจ😭😭😭)
=====
ค่ะ ประโยคสั้นๆ  "เรื่องแค่นี้เอง" จึงมักบีบคั้นบาดหัวใจ

ชวนทบทวนว่า ตัวเราเคยใช้ประโยคแบบนี้ในชีวิตกับลูก หรือคนอื่นๆ มั้ย
จำได้มั้ย ว่าตอนที่เราพูดออกไป ข้างในใจเรานั้นรู้สึกอย่างไร? เราพูดเพราะอะไร?
หากจำได้ ใช้แล้วส่งผลอย่างไรบ้าง?
======
ส่วนตัว เคยใช้เช่นกันค่ะ
ก็มีหลายครั้งที่ใช้ (กว่าจะคิดได้ กว่าจะรู้ก็ใช้หลายครั้ง😂) หากให้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ ก็จะเป็นประสบการณ์ตอนลูกยังไม่เป็นวัยรุ่น 
เช่น ลูกหกล้ม หัวเข่าถลอกเลือดไหล ซึ่งสำหรับลูกคือเจ็บมาก สิ่งที่แม่มองเห็นและตีความตามประสบการณ์ความอึดถึกของตัวเอง คือ #แผลแค่นี้เอง ลืมไปว่าลูกเขาใจบางกว่าเรามาก เทียบกับตัวเองสมัยเด็กเหมือนกัน คือ แผลแบบนี้ คือปัดๆ และวิ่งเล่นต่อสบายใจ

ลูก  ร้องไห้เสียงดัง "เลือดไหลด้วย แผลลึกเลย" พูดไปก็ร้องไห้ไป

แม่  เดินมาอย่างชิว คือ มั่นคงภายในมาก😂 ก็แค่วิ่งล้ม ลดตัวลงดู "โอ๊ย แผลแค่นี้เอง แค่ถากๆ ป่ะลุก เล่นกันต่อ"

ลูก ร้องดังกว่าเดิม โวยวาย 
"มันเจ็บมาก เลือดไหลเนี่ย แม่ไม่เห็นหรือไง"

แม่  ดูและดู "อิหยังวะ ก็แผลแค่นี้"ในใจคิด และหงุดหงิดกับความอ่อนแอของลูก(ปกติเป็นคนให้ค่า กับความเข้มแข็ง ไม่แบ่งเพศ ไม่แบ่งวัย😂)

พอเห็นว่าเราหงุดหงิด ก็รับรู้ (ตอนนั้นคืออยู่บนวิถีการฝึกสติแล้ว) หายในเข้าลึก หายในออกยาวผ่อนคลายร่างกายและอารมณ์ตัวเอง มองและฟังเสียงลูกใหม่ 
(ทำจิตและทำกิจ)

แม่ เออ ก็เขารู้สึกเจ็บมากจริงๆ นี่นะ แผลที่เข่าเขา ความรู้สึกเป็นของเขา เราจะไปตัดสิน คิดแทน รู้สึกแทนได้ไง เข้าใจและเข้าไปกอด

"ขอโทษนะ ที่แม่ไม่เข้าใจ แม่บอกตามความเป็นแม่แหละ ลืมไปว่า มันเข่าลูกไม่ใช่เข่าแม่ ไหนๆ ดูซิ ออ เจ็บมากเลยเนาะ ตอนนี้เจ็บระดับไหนถ้าเต็ม
10 ลุกขึ้นไหวไหม ไปล้างแผลใส่ยากัน"

ลูกเงียบเสียงร้องโฮ แต่ยังสะอื้น บอกเจ็บมากระดับ 8 พอลุกไหว ล้างน้ำเปล่สอยากใส่ยาที่ไม่แสบ (ค่ะ ลูกเป็นเด็กมีความต้องการชัดเจน😆)

แม่ ได้ๆ แต่แม่ไม่แน่ใจนะ ว่าลูกจะรู้สึกแสบมั้ยกับยาที่จะใส่ ลองดูเนาะ คือแม่ใส่แล้วมันไม่รู้สึกแสบ (คือแม่ถึก) ถ้าลูกแสบก็บอกแม่นะ ป่ะไปทำแผลกัน 
======
สังเกตจากตัวเองที่ใช้กับเพื่อนสมัยก่อน มันเป็นความรู้สึกเป็นห่วงเขา อยากทำหน้าที่เพื่อนที่ดูแลใจ เลยพูดออกไป "ไม่เป็นไรหรอก เรื่องแค่นี้เอง" คำปลอบใจที่อาจกรีดแผลใจให้ลึกไปอีก😭 ความปรารถนาดีที่อาจมีคม ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตีความของผู้รับสารรักจากเราด้วย ว่าข้างในเขาตีีความแบบไหน

ส่วนใหญ่จากที่เคยเปิดใจถาม หลายคนบอก "เข้าใจนะ ว่าหวังดี อยากปลอบใจ แต่ฟังแล้วก็รู้สึกคับข้องใจ ที่เหมือนไม่ได้รับความเข้าใจ" บางคนก็บอกว่า ฟังแล้ว "รู้สึกผิด รู้สึกแย่กับตัวเอง เรื่องแค่นี้เรายังผ่านไม่ได้ทุกข์จะเป็นจะตาย ฉันช่างเป็นคนอ่อนแอ"😭 หลายคนก็บอก "จากเสียใจจากคนอื่นอยู่ เปลี่ยนเป็นขณะนั้นโกรธคนพูดแทน"😠
======
❤หลักที่ใช้
1. มีสติ😆 ดู...แลใจตัวเองก่อน
2.  ไม่ด่วนตัดสิน 
3. รับฟังด้วยใจ(ฟังอย่างลึกซึ้ง)และสะท้อนความรู้สึกลูก 
4. สื่อสารอย่างสันติ สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ หรือจะใช้คำว่า สื่อสารเชิงบวก เลือกเอาคำที่สบายใจ (สำคัญคือ ความรู้สึกตรงกับคำพูดที่ใช้ หากพูดด้วยคำพูดเชิงบวกก็จริง แต่ข้างในพร้อมบวก😂 อีกฝ่ายก็รับรู้ได้ ผลลัพธ์ก็ต่างไปแหละ)

=====
จบค่ะ………เรื่องแค่นี้เอง😊
 

หมายเลขบันทึก: 705263เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2022 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 สิงหาคม 2022 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท