ปัตตานีในประวัติศาสตร์สมัยใหม่: ระบอบพิบูลย์สงคราม


ในเดือนมิถุนายน ปี 1932 ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถูกคว่ำโดยนักปฏิวัติที่ชื่อ คณะราษฎร คณะราษฎรประกอบไปด้วย ทหาร, ข้าราชการ, นักธุรกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมุสลิมกรุงเทพฯ ระบอบกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้มีการส่วนร่วมโดยตรงจากมาเลย์มุสลิมในจังหวัดดินแดนภาคใต้ แต่ในไม่ช้า พวกเขาก็ตระหนักว่าการเมืองแบบประชาธิปไตยต้องลงแรงกว่าที่เคยคิดไว้ และลดคุณค่าความเชื่อและวิถีชีวิตของพวกเขาในทางอ้อมอีกด้วย ประชาธิปไตยไม่ใช่การแก้ไขสภาพอันเลวร้ายและความไม่ยุติธรรม เลวร้ายไปกว่านั้นคือการสร้างชาติภายใต้นโยบายของหลวงพิบูลย์สงคราม ที่เข้ามากุมอำนาจในปี 1938 และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นประเทศไทย และให้ใช้วัฒนธรรมไทยไปแทรกซึมกับวัฒนธรรมทุกอย่างของทุกภาค ในฐานะที่เป็นคนไทย คนไทยต้องพูดไทย มีชื่อเป็นไทย และแต่งกายแบบไทย พิบูลย์ประกาศในปี 1941ว่า “ในความพยายามที่จะสร้างชาติ ด้วยพื้นฐานอันแข่งแกร่งและยั่งยืน รัฐบาลจึงบังคับให้มีการปรับรูปแบบและสร้างทุกๆส่วนของชีวิตทางสังคมเสียใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรม ซึ่งจะบ่งชี้ถึงความเจริญเติบโต, ความสวยงาม, ความเป็นระเบียบ, ความก้าวหน้า, และความมีเอกภาพ สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดคือศีลธรรมของชาติ” ยิ่งไปกว่านั้น “คนใต้ภาคใต้” และ”คนไทยเชื่อสายอิสลาม” ล้วนแล้วแต่เป็นคนไทยเหมือนกันทั้งหมด สิ่งนี้สร้างความโกรธเคืองให้กับชาวมาเลย์มุสลิมหลายคน ที่ยืนยันว่าจะต้องมีแค่อิสลามเดียวเท่านั้น การทำโทษ และการให้เสียค่าปรับจะทำกับคนที่แต่งกาย มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม และไม่มีความเป็นผู้ดีในที่สาธารณะ ข้าราชการไทยจะไม่ไปติดต่อกับคนที่แต่งกายเป็นชาวมาเลย์ หรือพูดภาษามาเลย์อีกต่อไป นโยบายดังกล่าวขัดแย้งกับภาษาและการแต่งกายของชาวมาเลย์ กฎหมายที่ทำให้มาเลย์มุสลิมโกรธเคืองที่สุดคือการยกเลิกกฎหมายการสืบทอดมรดกและครอบครัวมุสลิมในปี 1944 กฎหมายนี้ตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลประชาธิปไตยปี 1932 มาเลย์มุสลิมตอบโต้กฎหมายฉบับนี้โดยการเดินทางไปที่ศาลแถวตรังกานู, เคดะห์, กลันตัน, และเปอร์ลิศ เพื่อความยุติธรรม ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลยังบังคับให้วันอาทิตย์ และวันสำคัญทางศาสนาพุทธเป็นวันหยุด แต่มุลิมต้องการที่จะให้วันศุกร์เป็นวันหยุดของโรงเรียนและทั่วไป ยิ่งไปกว่านั้นคนไทยพยายามแยกระหว่างคนไทยพุทธและมุสลิมออกจากกันด้วย

ในปี 1944 สมาชิกรัฐสภาบางคนไม่สามารถหยุดยั้งรัฐบาลในการทำลายวัฒนธรรมได้ เลยออกจากรัฐสภาไทย และหันไปหาที่พักในกลันตัน ซึ่งเป็นรัฐมาเลย์ที่ข้างบ้าน ผู้นำที่สำคัญ 2 คนแห่งปาตานีที่เป็นสาเหตุคือTengku Mahmud Mahyuddin ซึ่งเป็นลูกชายคนสุดท้องของรายาเมืองปาตานี และ Tengku Abdul Jalil bin Tengku Abdul Muthalib ซึ่งเป็นลูกชายของรายาองค์สุดท้ายแห่งสายบุรี ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1944 ผู้นำที่ถูกไล่ออกจากมาเลย์มุสลิมพบกับขบวนการ GAMPAR ที่มีจุดมุ่งหมายในการปลดปล่อยปาตานีใหญ่ (greater Patani) ขบวนการนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มมาเลย์หลายกลุ่ม รวมทั้ง Malay National Party in Malaya ด้วย ผู้นำทางศาสนาของทั้ง 2 เขตแดนเรียกร้องให้มีการทำจีฮัด (Jihad) หรือสงครามศักดิ์สิทธิ์ต่ออำนาจบารมีของรัฐไทยด้วย

ในเวลาเดียวกัน ภายในปาตานี ก็ยังมีขบวนการอื่นๆเกิดขึ้นมากมาย เช่น PMM ภายใต้การนำของฮัจยีสุหลง ซึ่งเขาเป็นคนปาตานีแต่ได้ร่ำเรียนและสอนในตะวันออกกลางถึง 20 ปี ซึ่งรวมทั้งเมกกะด้วย ในปี 1927 เขากลับมาและได้สร้างโรงเรียนอิสลามแผนใหม่ในปาตานีด้วย จุดประสงค์ข้อหนึ่งของ PMM คือการนำเสนออิสลาม และกระตุ้นผู้นำมุสลิมให้เกิดความร่วมมือกันต่อต้านการไม่เคารพวิถีชีวิตแบบอิสลามของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม พิบูลย์ หลุดจากอำนาจในปี 1944 รัฐบาลต่อมา ภายใต้ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นผู้นำคนสำคัญในคณะราษฎร และเป็นคนที่ตั้งขบวนการเสรีไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นมา ปรีดีเป็นคนที่เห็นใจกรณีของมุสลิม รัฐบาลได้ปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาเรื่องการอุปถัมภ์อิสลามในปี 1945 ซึ่งก่อให้เกิดสถาบันอิสลามแห่งชาติและจุฬาราชมนตรี ซึ่งเป็นตำแหน่งหัวหน้าของมุสลิมขึ้นมา นอกจากนี้ ประเพณีแบบอิสลามแต่โบราณ ให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่นครอบครัวอิสลาม และกฎการสืบมรดก สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือเปิดโอกาสให้ผู้นำมุสลิมและรัฐบาลมาทำให้ข้อผิดข้องหมองใจกันมาคลี่คลายซึ่งกันและกัน แต่พัฒนาการในทางบวกเริ่มหยุดเพราะมีการรัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน ปี 1947 ซึ่งทำให้รัฐบาลพลเรือนของปรีดีสิ้นสุดลง และก่อให้เดรัฐบาลทหารภายใต้พิบูลย์ขึ้นมาแทน

การพบกันระหว่างหัวหน้ามุสลิมและรัฐบาลปี 1947 ทำให้เกิดข้อเรียกร้องทางการเมืองขึ้นมา 7 ข้อ เช่นมาเลย์มุสิลมสามารถเลือกมาเลย์มุสลิมที่ทำงานในปาตานี, ภาษีท้องถิ่นจะต้องนำมาใช้ภายในจังหวัดชายแดนภาคใต้, และการศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องใช้ภาษามาเลย์เท่านั้น ภาษามาเลย์และภาษาสยามจะต้องเป็นภาษาราชการในชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะทำให้ประเพณีและกฎอิสลามใช้ได้ในศาลอิสลาม นอกเหนือจากศาลไทย ข้อเรียกร้องนี้ทำให้การปกครองเป็นของมาเลย์มุสลิมภายใต้การกระจายอำนาจของกรุงเทพฯ รัฐบาลยอมรับอิสรภาพทางศาสนา แต่ไม่ยอมรับสิทธิและการปกครองโดยท้องถิ่น ข้อเรียกร้องทั้ง 7 เป็นหลักฐานถึงการแยกตัวของมุสลิม

หมายเลขบันทึก: 704424เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2022 05:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2022 05:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท