สหกรณ์องค์กรรูปพิเศษ


คนส่วนใหญ่จะมองว่าสหกรณ์เป็นองค์กรธุรกิจ

หรือสหกรณ์เข้ามาเป็นคนกลางทำธุรกิจเพื่อสมาชิก

ซึ่งความจริงแล้วสหกรณ์เป็นองค์กรรูปแบบพิเศษ

และมีลักษณะเฉพาะของตนในการดำเนินงาน

ที่แตกต่างจาก องค์กรธุรกิจหรือสมาคมทั่วไป

สหกรณ์จะดำเนินการ ภายใต้อุดมการณ์สหกรณ์

มีค่านิยมและหลักการสหกรณ์ เป็นตัวชี้นำ

การดำเนินงานที่เรียกว่า วิธีการสหกรณ์

สหกรณ์เป็นสมาคมเปิด ต่างจากสมาคมทั่วไป

ที่เน้นรวมกลุ่มเฉพาะคนของตนเองเท่านั้น

สหกรณ์เป็นองค์กรที่เน้นการให้การบริการ

ช่วยเหลือกันในหมู่สมาชิกผู้เป็นเจ้าของกิจการ

วิสาหกิจร่วมกัน ไม่ได้เอากำไรเป็นตัวชี้นำ

การทำงานเช่นธุรกิจทั่วไป

สหกรณ์มีภาษาของตนเอง แต่ไม่มีกฎหมาย

ลองรับ นอกจาก พ.ร.บ.สหกรณ์และกฎกระทรวง

ที่ทางราชการออกมารับรอง

เช่นสหกรณ์ไม่มีคำว่า ลูกค้า แต่ใช้ว่า สมาชิก

และคำว่า #สมาชิกสหกรณ์ ก็มีนัยยะแตกต่าง

จากสมาชิกของสมาคม หรือบริษัทห้างร้านทั่วไป

เพราะสมาชิกสหกรณ์มีสิทธิ์ถือหุ้น

คำว่า #หุ้นของสหกรณ์ ก็มีความหมายต่างจาก

หุ้นทั่วไปตามกฎหมายแพ่งพาณิชย์

หุ้นสหกรณ์ไม่ใช่เพื่อการลงทุนเก็งกำไร

แต่เป็นเงินลงขันเพื่อนำมาดำเนินงาน

ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

เงินได้สุทธิจากการดำเนินงาน

โดยทั่วไปสหกรณ์จะเรียนว่า #เงินส่วนเกิน

แต่คนส่วนใหญ่ก็ไปเรียกว่าเงิน

กำไร ตามกฎหมายทั่วไป

#การให้บริการด้านต่าง ๆ เช่นสินเชื่อ

การออม การรวมกันซื้อ การรวมกันขาย

เพื่อช่วยเหลือกันในหมู่สมาชิกเท่านั้น

ไม่ไปบริการคนนอกสหกรณ์

แต่สิ่งเดียวกันนี้ธุรกิจทั่วไปเรียก

ธุรกิจสินเชื่อ ธุรกรรมการเงิน

ธุรกิจการตลาด ธุรกิจขาย

หรือแม้แต่ #การบัญชีสหกรณ์

ก็มีความแตกต่างกับการบัญชี

ของบริษัทห้างร้านทั่วไป

แต่สหกรณ์ก็ต้องอนุโลมใช้

นิยามการบัญชีในกฎหมายแพ่งฯ

ดังนั้นคำที่เป็นภาษาสหกรณ์

เหล่านี้ ไม่มีในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ซึ่งยังมีอีกหลายคำ โปรดอ่านใน

เรื่องภาษาสหกรณ์

เมื่อสหกรณ์เกิดขึ้นตาม พ.ร.บ.สหกรณ์

มีสภาพนิติบุคคล หลายคนมองสหกรณ์

เหมือนธุรกิจทั่วไป และไปใช้นิยามของ

คำต่าง ในภาษาสหกรณ์ ตามกฎหมาย

แพ่งและพาณิชย์

ความขัดแย้งในการดำเนินการสหกรณ์

ตามกฎหมายจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายสหกรณ์

มีอยู่ 2 ฝ่าย คือฝ่ายสหกรณ์ที่เป็นภาคราชการ

กับฝ่ายสหกรณ์ที่เป็นภาคประชาชน

การออกกฎหมาย หากฝ่ายใดเป็นผู้ออก

ก็เหมือนสร้างเกราะป้องกันให้ฝ่ายของตน

เมื่อสภาวการณ์ทุจริต ฉ้อโกง ในวงการสหกรณ์

ซึ่งมีผลด้านลบต่อผู้รับราชการและวงการสหกรณ์

เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

ภาคราชการก็พยายามออกกฎหมาย

เน้นไปในทางควบคุม กำกับ ตรวจสอบ

ตีกรอบ เอาผิด ในการดำเนินงานสหกรณ์

หรือจำกัดสิทธิซึ่งถูกมองในเชิงลบ

ส่วนฝ่ายสหกรณ์ที่เป็นภาคประชาชน

ต้องการให้ออกกฎหมายที่เป็นการกำกับ

ดูแล แนะนำ ส่งเสริม สนับสนุนสหกรณ์

ในด้านบวก และให้สหกรณ์มีความเป็น

ตัวของตัวเอง และอิสระในการออกกฎกติกา

ข้อบังคับและระเบียบเพื่อความสะดวก

คล่องตัวในการดำเนินงานสหกรณ์

พอจะประมวลได้ว่า ทั้งสองฝ่ายก็

รักสหกรณ์ เช่นกัน แต่การทุจริต

นั้นก็เป็นปกติวิสัยของนุด(มนุษย์)

และไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกสหกรณ์

ฝ่ายหนึ่งจึงไม่ยอมให้ออกกฎหมาย

มาควบคุมสหกรณ์ จนทำให้สหกรณ์

ที่ดี เกิดความอึดอัดไม่สะดวกในการ

ดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามอุดมการณ์

ในความคิดเห็นส่วนตัวฉันว่า

ภาคราชการควรส่งเสริมสนับสนุน

แนะนำ ตรวจสอบ ดูแลตาม

พ.ร.บ.สหกรณ์ที่มีอยู่ให้เข้มข้น

ให้เกิดดุลยภาพ และให้อิสระ

ความเป็นตัวของตัวเอง ในการ

ออกกติกาข้อบังคับระเบียบ

ในการทำงาน โดยภาคราชการ

คอยตรวจสอบกติกาข้อบังคับ

และระเบียบให้ เป็นไปตาม พ.ร.บ.

สหกรณ์และอุดมการณ์ ค่านิยม

และหลักการสหกรณ์

พร้อมทั้งให้คำแนะนำ ส่งเสริม

ตรวจสอบ แนะนำ ในเชิงบวก

ไม่ใช่ไปควบคุมสหกรณ์ ให้อยู่

ในกรอบเดียวกัน เพราะสหกรณ์

มีความหลากหลาย ไปตามประเภท

สภาวะแวดล้อม วัฒนธรรมของ

องค์กรและชุมชนที่สหกรณ์ตั้งอยู่

สหกรณ์ไม่ใช่ผู้สร้างความเสียหาย

ให้กับระบบและขบวนการสหกรณ์

คนต่างหากที่สร้างปัญหาให้สังคม

สหกรณ์ และมีส่วนน้อย

ดังนั้นการจัดการกับผู้ทุจริตคิดมิชอบ

ฉ้อโกง ยักยอก ประพฤติมิชอบทำให้

เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์

ระบบสหกรณ์และขบวนการสหกรณ์

ควรได้รับการลงโทษที่สูงสุดและสาสม

ภาคราชการสหกรณ์ควรสนับสนุน

ให้มีการออกกฎหมายเพื่อเล่นงาน

ผู้ทุจริต ให้สามารถดำเนินคดี

กับผู้ทุจริตและเอาความผิดให้ถึงที่สุด

โดยให้ได้รับ การลงโทษสูงสุดและสาสม

ผู้ใดทุจริตต่อสหกรณ์หรือสมาชิกสหกรณ์

ถือเป็นคดีร้ายแรงที่ฉ้อโกงประชาชน

และทำให้สังคมสาธารณะเสียหาย

ทั้งสองฝ่ายควรหันหน้าเข้าหากัน

ในฐานะที่รักในระบบสหกรณ์ด้วยกัน

ขอให้แสดงบทบาทหน้าที่ ในความรับ

ผิดชอบให้สอดคล้องและสมดุลกัน

เพื่อพัฒนาสหกรณ์ให้มีความเจริญ

ก้าวหน้า ตามอุดมการณ์สหกรณ์สืบไป

คำสำคัญ (Tags): #สหกรณ์
หมายเลขบันทึก: 704391เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2022 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กรกฎาคม 2022 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท