ชีวิตที่พอเพียง  4252. นาครกฤตาคมและปาราราตอน (วรรณกรรมอินโดนีเซียโบราณ) 


 

ช่วงบ่ายวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร ชวนผมไปฟังงานเสวนาวิชาการสาธารณะ เรื่อง “จากนาครกฤตาคมและปาราราตอน สู่นูษานตระ: อินโดนีเซียกับการหวนหาอดีตอันรุ่งโรจน์” (From Nagarkretagama and the Pararaton to Nusantara: Indonesia’s Search for its Glorious Past)  ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์จากวรรณกรรมโบราณที่เขียนเป็นร้อยกรองเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรมัชปาหิต (เมืองหลวงอยู่ที่เกาะชวาตะวันออก)   ในอดีตช่วงสุโขทัยตอนปลายต่ออยุธยาตอนต้น    ที่ตอนนั้นศาสนาอิสลามยังมาไม่ถึง    โดยที่อิทธิพลของมัชปาหิตขึ้นมาถึงภาคใต้ของไทยคือ ลังกาสุกะ (ปัตตานี)   สิงหนครี (สงขลา)  และธรรมนครี (นครศรีธรรมราช)       และดินแดนเหล่านั้นเวลานี้รวมกันเป็นอินโดนีเซีย  ประเทศ ๑๗.๐๐๐ เกาะ      

ได้เรียนรู้ว่าสมัยนั้นผู้คนในบริเวณอาณาจักรทะเลใต้นี้นับถือพุทธ + ฮินดู + ความเชื่อท้องถิ่น    ใช้ภาษาสันสกฤต   และมีเรื่องราวของการแย่งชิงราชสมบัติไม่ต่างจากประวัติศาสตร์ไทย และราชวงศ์อื่นๆ    

ดร. เตช บุนนาค บอกว่า ตอนตกเป็นเมืองขึ้นของเนเธอร์แลนด์ ได้ชื่อว่า Netherland’s Indies   มีเมืองหลวงที่เนเธอร์แลนด์สร้างขึ้นให้เป็นเมืองท่า ชื่อ Batavia   เมื่อได้เอกราชจึงคิดชื่อประเทศใหม่  ตอนแรกจะใช้ชื่อ Nusantara (Nusa = เกาะ, Antara = ระหว่าง)    แต่ในที่สุดก็ใช้ชื่อ Indonesia  และเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงเป็น Jakarta   ตอนนี้ตัดสินใจย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เกาะบอร์เนียวตะวันออก ตรงจุดที่อยู่กลางประเทศ และให้ชื่อเมืองหลวงใหม่ว่า Nusantara   

เท่ากับว่า อินโดนีเซียกำลังหาทางใช้จุดแข็งของประเทศ   เพื่อการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด     

ก่อนถึงภาควิชาการมีวงดนตรี การแสดงดนตรีกาเมลันชวา โดยวงดนตรีการาวิตันประสานมิตรสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทยและเอเชีย คณะศิลปกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร   กำกับโดย ผศ. ดร. สุรศักดิ์ จำนงค์สาร   ผมนำคลิปดนตรีมาให้ชม เพลงที่ ๑ ,   เพลงที่ ๒ 

วิจารณ์ พานิช

๓๑ พ.ค. ๖๕

 

 

หมายเลขบันทึก: 703419เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2022 19:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2022 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท