ชีวิตที่พอเพียง  4236. Annecy : 7. PMAC 2023 – การประชุมเตรียมการณ์วันที่สอง


 

๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๕

นี่คือการประชุมเตรียมการณ์ครั้งที่ ๓ ของ PMAC 2023    การประชุมวันที่สอง ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ที่โรงแรม Imperial Palace, Annecy 

ตามกำหนดการเดิม ครึ่งวันเช้าจะเป็นการประชุมกลุ่มต่อจากเมื่อวาน    โดยผมเลือกเข้ากลุ่ม ๓ (Subtheme 3)   แต่เมื่อถึงเวลา YY Teo ก็ขอเวลาครึ่ง ชม. ให้ David Harper  และ Dennis Carroll เสนอรูปแบบการประชุมแบบผสมทั้ง onsite  และ online  ให้ที่ประชุมใหญ่อภิปราย    ต่อด้วย นพ. วิโรจน์ เสนอไดอะแกรม เส้นทางร้ายที่ climate crisis   ส่งผลต่อ human health    ที่ทุกคนเห็นด้วย    ขอปรับปรุงเพียงเล็กน้อย    ที่ผมเข้าใจมากขึ้นว่า พฤติกรรมเพื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เองเป็นปัจจัยปัญหาสำคัญ     โดยเฉพาะ food production systems      

นพ. วิโรจน์อธิบายวิธีมองภาพใหญ่ ในสามมิติ   มิติแรกเป็นภาพระบบ    มิติที่สองเป็นภาพปฏิสัมพันธ์   มิติที่สามเป็นภาพเพื่อตัดเส้นทางก่อผลร้าย    การประชุมกลุ่ม ๓ เน้นหาตัวอย่างดีๆ ระดับประเทศ   ที่ผมทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย   ส่วนที่เห็นด้วยคือ อยากรู้ตัวอย่างดีๆ   ที่ไม่เห็นด้วยคือวิธีมองและจัดการประชุมแบบเส้นตรง     ผมอยากเห็นการเสนอแบบ learning loop   และอยากเห็นการเตรียม learning loop เอามาเสนอ   

เวลาที่ขอประชุมในห้องใหญ่ครึ่งชั่วโมง กลายเป็นชั่วโมงครึ่ง   การประชุมกลุ่มย่อยจึงไปจบเวลา ๑๒.๓๐ ไม่ใช่ ๑๒.๐๐ ตามกำหนดการ   

 ในการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มในตอนบ่าย    ผมได้รู้จัก Nature-Based Solution ต่อ climate change เป็นครั้งแรก    และได้ฟังการถกเถียงลงรายละเอียด   ว่าต้องระวัง อย่าคิดว่าแนวทางธรรมชาติจะเป็นยาครอบจักรวาล   และยังมีการเอ่ยถึง integration of health in nature-based solution    

การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วย nature-based solution หมายถึงการฟื้นระบบนิเวศ  ได้แก่ป่า ป่าพรุ  ป่าชายเลน  พื้นที่ชุ่มน้ำ  ทุ่งหญ้า แนวปะการัง และภูมิประเทศอื่นๆ    นพ. วิโรจน์อ้างผลงานวิจัยว่า การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วย nature-based solution จะให้ผลเพียงร้อยละ ๓๐ ของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเท่านั้น   ต้องแก้ด้วยการเปลี่ยนแหล่งพลังงานร่วมด้วยจึงจะก่อผลลดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้ผลดีจริง   

การนำเสนอผลการประชุมกลุ่ม ตามด้วยการอภิปราย    ของกลุ่มที่ ๑  และกลุ่มที่ ๒ ใช้เวลาเลยกำหนดการ ๑๖ น. ไปเกือบชั่วโมง     กลุ่มที่ ๓ ขอนำเสนอเช้าวันพรุ่งนี้   

เนื่องจากการประชุมนี้ เป็นการรวบการประชุมที่โตเกียวในเดือนเมษายน กับการประชุมในยุโรปเดือนพฤษภาคม    จนถึงตอนนี้ ก็ยังไม่ได้กำหนด Opening Plenary  และ Plenary 0  การทำงานดูจะล่าช้ากว่าที่คาด   

อย่างไรก็ตาม มีการทำความเข้าใจรูปแบบใหม่ของ PMAC   ว่าจะต้องมีการตกลงกันว่า Plenary 1, 2, 3 จะให้เป็น introductory plenary   หรือ wrap-up plenary   

ผมยังไม่ค่อยพอใจนักกับการนำเสนอของแต่ละ subtheme   เพราะเขาเสนอแบบผู้รู้มากกว่าผู้ตั้งข้อสงสัย    ผมอยากให้การประชุมเน้นการตั้งข้อสงสัย และกระตุ้นให้ประเทศต่างๆ รวมทั้งองค์กรระหว่าประเทศที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการพิสูจน์ผลกระทบมากกว่า 

อย่างไรก็ตาม ผมได้เรียนรู้ว่า ในเรื่องการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ปัญหาหลักอยู่ที่ political economy   เขาใช้คำว่า political economy of lack of progress 

ข้อเห็นพ้องในที่ประชุมคือ youth engagement ในทุก subtheme, inter-generational dialogue   

ผมเองมีความเห็นว่า  ทีมไทยควรเรียนรู้จากการประชุมเตรียมการนี้   เอาไปตั้งโจทย์หมุนวงจรการเรียนรู้เล็กๆ ในบริบทไทย    เอาไปนำเสนอใน PMAC 2023 side meeting   เพื่อหาโจทย์ที่ยากและซับซ้อนขึ้น    เอาไปดำเนินการหมุนวงจรการเรียนรู้ต่อเนื่องทุกปี    เป็นเวลา ๕ - ๑๐ ปี    

วิจารณ์ พานิช

๑๘ พ.ค. ๖๕

ห้อง ๖๒๔   โรงแรมอิมพีเรียล   อ๊านซี 

  

หมายเลขบันทึก: 703019เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2022 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2022 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท