940. วิธีเปลี่ยนงานที่แสนน่าเบื่อให้เป็นอิคิไก


เริ่มเลย เรื่อง Pretty Proofreader ประมาณเป็น Series เกี่ยวกับนักพิสูจน์อักษร ผมเห็นใน Netflix มาสักระยะ ความที่สนใจอิคิไก เลยลองดู เหตุผลที่ดูเรื่องนี้เพราะตอนแรกดูเรื่องย่อแล้วน่าสนใจ เป็นเรื่องของสาวน้อยที่ไปสมัครงานเป็นบรรณาธิการ (Editor) นิตยสารชื่อดัง แต่กลับได้งานเป็นนักพิสูจน์อักษร (Proofreader) ที่เธอก็ทำได้ดีไปเลย ก็ไม่ผิดหวัง เพราะทำให้ผมเห็นอิคิไกอีกมุมชัดเจน โดยเฉพาะเรื่อง Job Crafting หรือการเปลี่ยนงานที่ทำอยู่ให้มีคุณค่ามีความหมายมากกว่าเดิม Job Crafting ปรากฏอยู่ในหนังสืออิคิไกของยูคาริ ผมเลยเริ่มลงมือดู ก็เห็นเรื่องนี้ตั้งแต่แรก  เดี๋ยวมาเจาะเรื่อง Job Crafting ที่หลังอย่างละเอียด

เรื่องราวเริ่มจากมีการสัมภาษณ์งาน สาวน้อยไปสมัครงานเป็นบรรณาธิการ คนนี้ไม่ยอมไปสมัครที่ไหน เลยมาสมัครตำแหน่งเดียวเท่านั้น ผิดหวังมาเจ็ดรอบ แต่ก็มาสมัครอีกที่สุดสำนักพิมพ์ก็รับ แต่รับมาตำแหน่งนักพิสูจน์อักษร ตำแหน่งที่ดูไม่มีสง่าราศรีที่สุด ทำงานอยู่ชั้นใต้ดิน เธอผิดหวังมากๆ เธอบอกว่าจะอยู่ไม่เกินหกเดือน

หัวหน้าสอนงานเธอว่างานนักพิสูจน์อักษรต้องทำสองแบบคือพิสูจน์คำผิด และพิสูจน์ข้อเท็จจริง เธอก็มองอย่างเบื่อๆ ว่าไม่มีอะไรตื่นเต้น เมื่อเริ่มงานวันแรก เธอก็แปลกใจกับรุ่นพี่บางคนที่งานดูไม่น่าสนใจ แต่กลับทำงานที่แสนธรรมดาให้ออกมาได้อย่างน่าน่าตื่นเต้น เช่นคนหนึ่งสร้างแบบจำลองบ้านขึ้น เพื่อดูว่าแบบบ้านตามที่อ้างถึงในฉากอาชญากรรมในหนังสือดูมันเป็นไปได้ไหม เธอแปลกใจมากๆ เพราะนี่ทำขนาดนี้เลยเหรอ มันจริงๆ ก็แค่อ่านก็พอแล้ว รุ่นพี่บอกไม่ใช่ไม่สร้างแบบจำลองก็มองไม่เห็นความผิดปรกติ เมื่อบรรณาธิการตามมารับงานปรากฏว่า มีอะไรผิดปรกติในหนังสือเพียบ ถึงขั้นโมโหว่าละเอียดขนาดนี้เลยเหรอ เดี๋ยวนักเขียนก็โกรธ  นักพิสูจน์อักษรก็ยืนยันว่าไม่ควรถ้าคนอ่านเจอทุกคนเสียหมด นักเขียนก็เสียชื่อไม่ดีเลย

เธอได้แรงบันดาลใจจากรุ่นพี่ก็เริ่มเลย มีงานเข้ามาเธอก็เริ่มต้นเลย วิจารณ์นักเขียนว่าใช้ศัพท์ตกโลกไปแล้ว ให้เขียนศัพท์ใหม่ คือนักเขียนรายนี้มีดังมากๆ เขียนนิยายรักแต่เนื่องจากภาษาตกโลก เธอขีดตัวแดงยับ ให้แก้ นักเขียนเลยอยากเจอตัว เพราะไม่มีใครกล้าแย้งอย่างนี้ ตอนแรกทุกคนกลัว ไปๆมาๆกลับชมนางเอก ว่าแนะนำดีมากๆ คนอื่นไม่กล้าแย้ง  รายนี้เธอเดินทางไปหาสถานที่ที่อ้างถึงในเล่ม ไปเจอของจริง แล้วกลับมาคุยดูว่ามันเป็นจริงไหม ไปเจอบ้านนักเขียนที่ตอนแรกนักเขียนโกรธเพราะเป็นบ้านที่เขากับภรรยาเก่าเคยอยู่ แล้ว 20 ปีก่อนก็พาลูกหนีไป มันไปย้ำความทรงจำที่เจ็บปวด แต่ที่สุดเขากลับขอบคุณเธอเพราะมันกระตุ้นให้เขาตามหาลูกและได้คุยกับลูกที่จากกันไป 20 ปีในที่สุด   เธอทำอะไรแบบนี้กับนักเขียนคนต่อๆมาเช่นนักเขียนที่มาจาก Youtuber ที่เขียนเรื่องวิธีการประหยัด เธอทุ่มเทขนาดลองทำตามเทคนิคทุกตัวตามที่หนังสือพูดและก็เห็นปัญหา ต่อมาทั้งสองได้คุยกันช่วยปรับปรุงหนังสือ ไปมาเห็นลูกสาวนักเขียนไม่มีความสุข ก็ไปถามปรากฏว่าลูกวสาวไม่อยากได้ตุ๊กตาที่มันขาดถึงแม่จะซ่อมให้ก็ไม่ชอบ เธอเลยลองปักกระดุมสวยๆ เข้าไป ลูกสาวชอบเลย นี่ครับความสัมพันธ์ที่เล่งบานกับลูกค้าก็เติบโตขึ้น

กค้าก็มีความสุขถึงขั้นขอให้สำนักพิมพ์ช่วยระบุชื่อนักพิสูจน์อักษรด้วย ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน

เธอเปลี่ยนงานธรรมดาเป็นความมหัศจรรย์ได้ในพริบตา ไปมาเธอกลายเป็นหลงรักในอาชีพนี้ และชีวิตทุกด้านของเธอก็ดีขึ้นเรื่อยๆ มีคนรักคนสนับสนุนเธอมากขึ้นทั้งลูกค้าและเพื่อนร่วมงาน กลายเป็นคนมีชื่อเสียงขึ้นมา นอกจากนี้เธอยังช่วยให้เพื่อนร่วมงานที่เป็นรุ่นพี่ได้มีโอกาสได้พิสูจน์อักษรนักเขียนที่หลงรักชื่นชอบผลงานมานับสิบปีด้วย เพราะไปจับจุดลูกค้าได้ว่ามีคนไม่บอกชื่อแอบวิจารณ์งานเธออย่างสร้างสรรค์มาหลายปีแล้ว เธอเลยกลับไปสืบหาก็จับได้ว่าเป็นรุ่นพี่ท่านนี้ เลยไปจัดการให้เจ้านายส่งงานให้ โดยเมื่อทุกคนรู้ก็เห็นชอบด้วย กลายเป็นได้ใจรุ่นพี่อีก

 

นี่ครับเป็นอิคิไกชัดๆ อิคิไกแปลว่าผลรวมของความสุข นางเอกมีความสุขกับงานในทุกห้วงขณะ และนี่เป็นตัวอย่างของคนที่เปลี่ยนจากสิ่งที่ไม่ชอบมาเป็นอิคิไกได้ เข้าทำอย่างไรครับ อาจารย์ยูคาริเรียกว่า Job Crafting คือการเปลี่ยนงานที่ทำอยู่ให้มีคุณค่า มีความหมายมากกว่าเดิม ปรากฏในหนังสืออิคิไกของอาจารย์ แต่เทคนิคนอาจารย์อ้างตำราฝั่งตะวันตก ผมเลยไปตามต่อว่า Job Crafting ทำยังไง ไปดูหนังสือ Job Crafting เล่มนี้ทำอย่างนี้ครับ

  1. ออกแบบงานที่คุณทำอยู่ให้น่าสนใจ  (Craft your work) ด้วยการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างแม้เพียงเล็กน้อย ให้มันน่าสนุกน่าสนใจกว่าเดิม ในเรื่องนางเอกได้แรงบันดาลใจจากรุ่นพี่ที่พยายามตรวจสอบความเป็นจริงในหนังสือด้วยการสร้างแบบจำลองบ้าน เธอเลยได้แรงบันดาลใจในการทำแบบนี้บ้าง ทำให้เธอเจอเรื่องที่น่าตื่นเต้นตลอดเวลา
  2. ทำงานคุณให้เป็นผลงานชิ้นเอก (Make work as a craft) ตัวนี้คือทำงานธรรมดาของคุณให้ออกมาแบบมืออาชีพ ประมาณเป็นผู้เชี่ยวชาญทำเลย (Expert)  ผมว่าด้วยนางเอกทำแบบข้อแรก ทำให้เธอรู้จริง สามารถให้ข้อมูลกับลูกค้าได้ การค้นพบสิ่งผิดปรกตินำไปสู่การตั้งคำถาม และนำไปสู่การค้นคว้า ทำให้เธอกลายเป็น Expert ไปในไม่นาน
  3. เชื่อมโยงงานของคุณเข้ากับการดูแลลูกค้าหรือคนอื่น (Connect your work to service)  หาโอกาสเอาความรู้ความสามารถคุณไปหาโอกาสดูแลผู้อื่น นางเอกนี่ใช่เลยไม่ว่าจะเป็นลูกค้ารายไหน ชัดมากๆก็คุณแม่ Youtuber ถึงขั้นไปช่วยแก้ปัญหาเรื่องลูกสาวเข้าด้วย
  4. ลงทุนสร้างและรักษาความสัมพันธ์เชิงบวก (Invest in Positive Relationship) เธอเข้ามาในแผนกที่เย็นชาสุด แต่เธอก็หาโอกาสดูแลคนทุกคน เช่นรุ่นพี่ที่เป็น FC นักเขียนชื่อดังเธอก็พยายามหาทางให้รุ่นพี่ได้ทำงานให้กับนักเขียนที่ตัวเองรัก นี่เองทำให้ความสัมพันธ์เติบโต

เรื่องนี้เข้าเงื่อนไข Job  Crafting ที่อาจารย์ยูคาริพูดถึงเลย

ในไทยเห็นว่าสุดคือทีมนักวอลเล่ย์บอลชาวไทยที่เอาชนะทีมระดับโลกอย่างจีนได้ นอกจากจะเป็นเรื่องน่าทึ่งของไทยแล้ว ทีมไทยยังได้รับการยกย่องว่าเล่นสนุก มีความสุข กล้าสู้ไม่ท้อ แม้ถูกนำไปสองเซ็ตก็สู้ไม่ถอยด้วย สู้ด้วยความสุข จนเอาจีนได้ คนดูต่างชื่นชม คนต่างชาติชมมากๆ  มีนักข่าวไปถามอัจฉราพร คงยศ หนึ่งในผู้เล่น เธอตอบว่า "พวกเราทุกคนสนุกกกับเกมมากๆ เราลงเล่นกันอย่างมีความสุข เพราะไม่ได้คิดแค่ว่าเล่นเพื่อตัวเอง แต่เราเล่นเพื่อคนไทยทั้งประเทศ" นี่ครับ Job Crafting ก็เล่นวอลเล่ย์นี่แหละแต่ทำให้ต่างจากเดิมนิดกลายเป็นระดับโลกไปเลย

สำหรับผมเองเคยเกิดความรู้สึกดีๆ กับการมาเป็นครูสอนมหาวิทยาลัย ก็น่าจะเป็นขั้นตอนคล้ายๆ กัน คือพอเริ่มสอนก็รู้สึกว่าอยากดัดแปลงอะไรเล็กน้อย เช่นกระบวนการทางจิตวิทยาเชิงบวก พอเอามาผสมแล้วมันสร้างผลแตกต่าง กลายจากเฉยๆ ในอาชีพช่วงแรกๆ ก็สนุกไปเลย จนมาเรียนเอกก็ทำคล้ายๆกัน หลังจากจบเอกเลยถูกมองเป็นผู้เชี่ยญชาวด้านนี้ก็ทำอีก เอาความรู้ไปแก้ปัญหาชาวบ้านช่วงแรกๆ (ปัจจุบันด้วย) ไม่มีใครจ้างก็สอนฟรีไปเลย กลายเป็นได้มิตรใหม่ๆ โอกาสใหม่ๆตามมามหาศาล ได้ไปทำงานหลายโครงการที่น่าตื่นเต้น รวมทถึงเรื่องอิคิไก นี่ก็เกิดจากการพยายามช่วยคนอื่นเลยหาความรู้เพิ่ม ก็ขยายโอกาสไปอีก นี่ครับ Job Crafting ผมว่าอิคิไกผมมาจากเรื่องนี้ด้วย

สำหรับผมไม่ว่าจะดูหนังหรือของจริง ผมว่าอย่างแรกเลยอยากทำ Job Crafting ก็หาตัวอย่างดีๆ ต้นแบบดีๆ หาครู หารุ่นพี่ดูเป็นตัวอย่างได้จะเร็วมากๆ ผมเองได้ตัวอย่างจากครูเจ๋งๆ ในสาขาผมหลายคน นี่คือทางลัดเลย  ในองค์กรในหนังสือของยูคาริ บอกว่าคนญี่ปุ่นได้แรงบันดาลใจทำให้สร้างงงานที่แตกต่างจากรุ่นพี่หรือครูก็ได้  แล้วมาทำตาม พยายามเรียนรู้ดูของจริง ทำให้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญและพยายามช่วยเหลือลูกค้าให้มากที่สุด ที่สุดความสัมพันธ์ ความสุข ความสำเร็จจะตามมา และนี่คืออิคิไกจากการทำ Job Crafting ครับ

สำหรับวันนนี้ขอบคุณผู้สร้างหนังที่กิ๊บเก๋คาวาอี้แบบนี้ทำให้ผมได้ข้อคิดเอามาเติมเต็มองค์ความรู้อิคิไกในภาคปฏิบัติได้อีกแนว

สำหรับท่านที่ต้องการค้นหาอิคิไกอย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้ อย่าลืมตามหาผมได้ที่ IKIGAI School อยู่ใน FB นะครับ

บทความโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์

Ref:

1.Mitsuhashi, Yukari. Ikigai: Giving every day meaning and joy . Octopus. Kindle Edition.

2.Coleman, John. HBR Guide to Crafting Your Purpose. Harvard Business Review Press. Kindle Edition. https://www.sanook.com/sport/1374487/

3. https://www.sanook.com/sport/1374487/

4. ภาพจาก https://mydramalist.com/19882-jimi-ni-sugoi-koetsu-garu-kono-etsuko

หมายเลขบันทึก: 702951เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2022 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2022 08:00 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท