วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

สรุปองค์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2564 ทั้ง 3 กลุ่มงาน


การจัดการความรู้

             ในปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ได้มีการจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้ง 3 กลุ่มงาน ได้แก่ 1) กลุ่มงานวิชาการและกิจการนักศึกษา เรื่อง “การจัดเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)” 2) กลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก และการบริหารจัดการโครงการวิจัยให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่แหล่งทุนกำหนด” และ3) กลุ่มงานอำนวยการและยุทธศาสตร์ เรื่อง “การเป็นเลขานุการอย่างมืออาชีพ” และ “การคำนวณหาต้นทุนต่อหน่วยการผลิต” โดยมีผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง และในทุกครั้งของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้ลงในเวปไซด์ KM ชุมชนของวิทยาลัย ฯ จากนั้นประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่เข้าไปแสดงความคิดเห็น ทำให้สามารถสรุปองค์ความรู้เป็นแนวปฏิบัติของวิทยาลัยใน 3 ประเด็น ดังนี้

1. การจัดเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)

    1) การเตรียมผู้สอน ให้มีความเข้าใจในวิธีการสอน ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการให้นักศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลง

     2) การเตรียมสื่อการสอน เช่น แผนการสอนในคลินิก VDO Clip สถานการณ์ที่จะใช้กับหุ่น Simulation หรือเป็นสถานการณ์จริงในหอผู้ป่วยหรือในชุมชน ที่จะช่วยให้นักศึกษาการเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ 

     3) การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้วัดผลลัพธ์การเรียนรู้ ควรเป็นเครื่องมือที่สามารถวัดผลการเรียนรู้ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง เช่น ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นักศึกษามีการไตร่ตรองสะท้อนคิด นักศึกษามีความเอื้ออาทรกัน (Caring) ปฏิบัติการพยาบาลโดยคำนึงถึงหัวใจความเป็นมนุษย์ พฤติกรรมจริยธรรม พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา และการเปลี่ยนแปลงของวัยผู้สูงอายุ

     4) การสอนตามที่ได้วางแผนไว้ ต้องมีขั้นตอนวิธีการที่ชัดเจน ปฏิบัติได้ง่าย นักศึกษาเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามที่ครูวางแผนไว้ได้

     5) ประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่ได้ออกแบบไว้ ด้วยเครื่องมือที่กำหนดไว้ และถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำไปพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป

 

2. การพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก และการบริหารจัดการโครงการวิจัยให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่แหล่งทุนกำหนด

    2.1 การพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก

1) มีเป้าหมายที่จะเป็นนักวิจัย อยากพัฒนาความสามารถของตนเองด้านการวิจัย และพัฒนาความเชี่ยวชาญของตนเอง 

          2) กล้าที่จะออกจาก safe zone ของตนเอง ด้วยการปรับ Mind set ความเชื่อหรือทัศนคติ ให้ชี้นำ พฤติกรรมของตนเอง

          3) ลงมือปฏิบัติ ด้วยการหาเพื่อนหรือทีมที่มีความหลากหลายสหวิชาชีพ มาพัฒนาโครงร่างวิจัยร่วมกัน

          4) เลือกแหล่งทุนที่ตรงใจของทีมอย่างน้อย 1 แหล่งทุน 

          5) เข้าไปศึกษาหลักเกณฑ์การพิจารณาทุนอย่างละเอียดเพื่อเริ่มต้นทำงาน เขียนโครงร่างตามแบบฟอร์มของแหล่งทุน

          6) โครงการวิจัยที่ขอรับทุนสนับสนุนต้องมีผลลัพธ์ที่ชัดเจน ตอบสนองต่อความต้องการของแหล่งทุน

          7) เขียนขั้นตอนวิธีการดำเนินการวิจัยที่ชัดเจน เพื่อให้แหล่งทุนมั่นใจว่าเมื่อให้เงินสนับสนุนแล้วงานจะดำเนินการสำเร็จแน่นอน

8) การคิดงบประมาณให้ดูตามระเบียบของแหล่งทุนแต่ละแหล่ง

9) ติดตามข่าวสารแหล่งทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่พลาดช่วงเวลาสำคัญ

          10) หาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในงานที่ขอรับการสนับสนุนทุนวิจัย

    2.2 การบริหารจัดการโครงการวิจัยให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่แหล่งทุนกำหนด

          1) วางแผนการทำงาน (Plan) 

              - ศึกษาสัญญาที่ลงนามข้อตกลง แต่ละงวดงาน ต้องสำเร็จถึงขั้นตอนใด และจะต้องเบิก-จ่ายงบประมาณร้อยละเท่าไร

              - ตั้งเป้าหมายที่เอื้อมถึง ทบทวนว่างานแต่ละกิจกรรมจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จช่วงเวลาใด และวางแผนเผื่อระยะเวลาที่อาจไม่ เป็นไปตามเป้าหมาย

              - ประชุมทีมงานมอบหมายความรับผิดชอบ ตามความถนัด

          2) การดำเนินงาน (Do)

              - ทำตามแผนให้ได้ (On time) อย่าพลัดวันเพราะความคิดจะหลุดระหว่างทาง

              - Set Priority ไม่ใช่ตามลำดับงานที่เข้ามา เรียงตามความยากง่ายของงาน เรียงตามความต้องการของคนร้องขอ

              - ประสานงานขอความช่วยเหลือ หากงานใดที่ไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง

          3) การกำกับตรวจสอบความก้าวหน้าของงาน (Check)

              - ตรวจสอบระยะเวลากับผลงานที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ทุกเดือน

          4) การปรับปรุงแก้ไข (Act) 

              - จัดการปัญหาอุปสรรค โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือเครือข่าย

              - ปรับปรุงผลงานให้มีคุณภาพ ลดอัตตาในการแก้ไขตามที่ Reviewer ให้คำแนะนำ อธิบายเหตุผลประกอบอย่างเป็นเหตุเป็นผลเมื่อไม่แก้ไขตามคำแนะนำของ Reviewer

 

3. การเป็นเลขานุการอย่างมืออาชีพ

    1) มีแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การบริหารจัดการที่ดี

    2) รับผิดชอบทุกงานที่ได้รับมอบหมายและทำให้เต็มกำลังความสามารถของตนเอง

    3) สามารถแยกแยะ ลำดับความสำคัญก่อนหลังของงานในความรับผิดชอบได้ดี

    4) มีความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ

    5) เต็มใจและยินดีเป็นผู้สนับสนุนจนกว่างานต่าง ๆ ในกลุ่มงานจะสำเร็จ ลุล่วงไปได้ด้วยดี 

    6) พัฒนางานของตัวเองอยู่เสมอ เป็นผู้รักความดีเลิศ 

    7) สะสมความเชี่ยวชาญในงานที่ตัวเองรับผิดชอบ จนสามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้มาติดต่อราชการได้

    8) ถ่อมใจ ยินดีรับฟังคำตักเตือน เปิดใจรับฟังข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาปรับปรุงงานให้ดียิ่งขึ้น

    9) บำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบให้พร้อมใช้อยู่เสมอ 

    10) เสียสละเริ่มงานก่อน เพื่อเตรียมการต่าง ๆ ให้พร้อมก่อนการใช้งานจริง  

   ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เป็นเลขามืออาชีพ ได้แก่

   1) เข้าใจ  เข้าใจในงานในความรับผิดชอบ มีงานอะไรบ้าง อะไรสามารถทำในเวลา อะไรสามารถทำนอกเวลาได้  นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน รับรู้ว่างานมีปัญหาอะไร และจะพัฒนาการงานให้ดีขึ้นแบบก้าวกระโดได้อย่างไร 

   2) มีใจ บุคลากรทุกคนที่อยู่ในวิทยาลัย ไม่ว่าจะอายุน้อยที่สุดหรืออายุมากที่สุด ทุกคนมีใจที่อยากพัฒนาวิทยาลัยของเราให้เจริญก้าวหน้าต่อไป 

   

หมายเลขบันทึก: 702871เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2022 07:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2022 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท