การเมืองกรุงเทพมหานคร : มุมมองในการหาเสียงของผู้สมัครผู้ว่าฯ ฝุ่น PM2.5


การเมืองกรุงเทพมหานคร : มุมมองในการหาเสียงของผู้สมัครผู้ว่าฯ ฝุ่น PM2.5

18 พฤษภาคม 2565,

: ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น)

 

บทบาทของ กทม.ควรเป็นอย่างไร 

จากประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ - ธนบุรี เป็นจังหวัดคู่แฝดที่แยกกันไม่ออก ร.1 ก็ไม่ได้ทรงย้ายวังหลวงออกจากกรุงธนบุรี จังหวัดธนบุรีเป็นนครหลวงในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ระหว่าง พ.ศ.2310 - พ.ศ.2325 ก่อนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจะทรงย้ายพระราชวังมาอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ก็ไม่ได้ย้ายออกจากกรุงธนบุรี ยังอยู่ภายในเขตคูเมืองของกรุงธนบุรี คือ “คลองคูเมืองเดิม” จากปากคลองตลาดมาถึงใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าในปัจจุบัน ซึ่งเป็นคูเมืองของกรุงธนบุรี

จาตุรนต์ ฉายแสง (18 เมษายน 2565) เปิดประเด็นบทบาทนี้ เพื่อกรุงเทพจะเจริญตามความต้องการของคนกรุงเทพและตามความต้องการของคนทั้งประเทศในฐานะที่เป็นเมืองหลวง ต้องช่วยกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ได้

เพราะทรัพยากรการบริหารงานต่างๆ ลงที่ กทม.มากด้วยความเป็น “เมืองโตเดี่ยว” (Primate City) มีฉายาว่าว่าเป็น “เมืองเทพสร้าง” ที่เป็นหัวใจของประเทศ ที่ดูดทรัพยากร จากทั่วประเทศมารวมที่นี่ได้ไม่ยาก เพราะเป็นศูนย์กลางอันดับหนึ่งของความเจริญในหลายด้าน ไม่ว่าการศึกษา การแพทย์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และในฐานะเมืองหลวงของประเทศ ฉะนั้น ในมิติ “การบริหารการพัฒนา” (Administration Development) จึงมีมิติการพัฒนาที่หลากหลายในด้านต่างๆ ที่สำคัญมาก โดยเฉพาะใน “นโยบายการหาเสียงของผู้สมัครผู้ว่า กทม.” ในครั้งนี้ ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีผลสอดคล้องกับโพลที่สำรวจคะแนนนิยมในแต่ละครั้งอย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะถือเป็นหน้าเป็นตาของประเทศไทย เช่น มิติด้านสิ่งแวดล้อม (Green Vision) มิติด้านสุขภาพ การสาธารณสุข มิติเรื่องปากเรื่องท้อง เรื่องสวัสดิการสังคม หรือแม้กระทั่งมิติด้านการคอร์รัปชัน ที่ยังไม่มีใครกล่าวถึงในทางปฏิบัติ เป็นต้น

 

การเลือกตั้งครั้งสำคัญของคนเมืองหลวงในรอบ 9 ปี

22 พฤษภาคม 2565 เป็นการเลือกตั้งครั้งสำคัญในรอบกว่า 9 ปี โดยการเลือกตั้งครั้งล่าสุด คือ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกิดขึ้นในเดือน มีนาคม 2556 ขณะที่การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร หรือ ส.ก. เกิดขึ้นครั้งล่าสุดในเดือน สิงหาคม 2553 หรือเมื่อ 12 ปีที่แล้ว จุดเริ่มต้นของการตัดสิทธิเลือกตั้งของคนกรุงเทพมหานครเกิดขึ้นเมื่อ 8 ปีที่แล้ว เมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ทำการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 หลังจากนั้นเครือข่าย คสช. ก็เริ่มดำเนินการเข้าแทรกแซงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษแห่งนี้ ทั้งงานบริหารและงานนิติบัญญัติเป็นเวลาเกือบหนึ่งทศวรรษ ชวนย้อนอดีต 12 ปี กทม. ผ่านตัวผู้เล่นทั้งพรรคการเมือง องค์กรต่างๆ และตัวบุคคลต่างๆ ที่ส่วนหนึ่งยังคงเป็นผู้เล่น ที่สืบเนื่องมาจนถึงการเลือกตั้ง 22 พฤษภาคม 2565 นี้

ในทางการเมือง การเลือกตั้ง ผู้ว่า กทม. 4 ครั้งหลังสุด คือ นอกจากผู้ว่าฯ ที่ชนะใจคนกรุงเทพฯ จะเป็นตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์มาตลอดแล้ว ส.ก. ตัวแทนเขต “ส่วนใหญ่” ยังเป็นคนของพรรคนี้เช่นกัน เปรียบเสมือนสภาที่เต็มไปด้วยคนของฝ่ายรัฐบาล ไม่มีฝ่ายค้าน การตรวจสอบการใช้อำนาจจึงเกิดขึ้นได้อย่างจำกัด

 

งบประมาณรายได้ กทม.

กทม. มีงบประมาณรายได้ที่ท้องถิ่นทั้งประเทศ 7 พันกว่าแห่งรวมกันก็ยังไม่เท่า งบปี 2565 รวมทั้งสิ้น 79,855,278,450 บาท (7.98 หมื่นล้านบาท) คือ ตั้งเป็นรายจ่ายประจำจำนวน 78,979,446,500 บาท มีรายจ่ายการพาณิชย์ 876 ล้านบาท 5 หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด (ล้านบาท) สำนักการระบายน้ำ 7,044 ล้านบาท สำนักสิ่งแวดล้อม 6,845 ล้านบาท สำนักการโยธา 6,455 ล้านบาท สำนักการแพทย์ 4,439 ล้านบาท สำนักการจราจรและขนส่ง 3,871 ล้านบาท

จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง จะเห็นได้ว่า โดยภาพรวมเฉพาะกรุงเทพมหานครเองก็มีรายได้รวมสูงกว่ารายได้รวมของ อบจ. ทั้ง 76 แห่ง ยกเว้นปีงบประมาณ 2562 ที่ อบจ. 76 แห่งมีรายได้รวมสูงกว่ากรุงเทพมหานครถึง 42,076 ล้านบาท หรือคิดเป็น 50.55% อย่างไรก็ดี ปีงบประมาณอื่นๆ กรุงเทพมหานครล้วนมีรายได้สูงกว่า อบจ. ทั้ง 76 แห่ง ปีงบประมาณ 2560 มีรายได้สูงกว่าถึง 5,158 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2561 มีรายได้สูงกว่าถึง 17,127 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2563 มีรายได้สูงกว่าถึง 16,714 ปีงบประมาณ 2564 มีรายได้สูงกว่าถึง 29,861 ล้านบาท

 

กรณีศึกษา แนวนโยบายในการหาเสียงเรื่อง ฝุ่น PM (Particulate Matter) 

หรือ ฝุ่นจิ๋ว ฝุ่นพิษ เป็น “คาร์บอนไดออกไซด์” ในสถานะหนึ่ง ที่ต้องแยกของแข็งกับก๊าซออกจากกัน มีความเห็น กรณีนำประเด็นเอา PM2.5 มาหาเสียงแบบผิดๆ หนึ่งใน “กระแสสิ่งแวดล้อม” (Green Policy)

(1) ผู้สมัครผู้ว่า กทม.ทุกคนมีสิทธินำประเด็น PM2.5 มาหาเสียงได้ แต่ PM2.5 ไม่ได้แปลว่า ฝุ่น Prime Minister 2.5 เพราะในช่วงหาเสียงผู้สมัครฯ หลายคนต่างชูประเด็นแก้ปัญหา PM2.5 

(2) แต่ “ฝุ่น PM ก็คือคาร์บอนไดออกไซด์แทบทั้งนั้น” อนุภาคพวกนี้เกือบทั้งหมดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นอนุภาคที่เกิดขึ้นง่าย ส่วนใหญ่ตามชนบทเป็นฝีมือของคนรากหญ้าทั้งนั้น ที่เกิดจากการเผาไหม้ทำการเกษตร เผาป่า ในชนบทไม่ผิด รัฐต้องมีมาตรการควบคุม ป้องกัน ลด ขจัด แต่ในเขตเมืองเกิดจากการเผาไหม้ของรถยนต์ ของโรงงาน ซึ่งแตกต่างจากชนบท โดยเฉพาะปัญหาการจราจร รถติด ใน กทม. ไม่ว่าจะเกิดจากการใช้รถโดยสารสาธารณะของคนรากหญ้า หรือการใช้รถของผู้คนในเขตเมืองทุกคน

(3) จากข้อ (2) การโทษคนรากหญ้าในพวก IO หิวแสง โชว์ภูมิความรู้น้อย CO2 = ก๊าซ, PM = อนุภาคขนาดเล็ก ฝุ่นเป็น C คาร์บอน มีสถานะเป็นของแข็งโมเลกุลยึดเหนี่ยวกันแข็งแรง มีโครงสร้างหลายแบบ จะเป็นก้อนๆ มีหลายขนาด เช่น ใน PM2.5 มีโมเลกุลคาร์บอนเป็นล้านๆ เกาะเป็นก้อนแยกออกยาก CO2 เป็นโมเลกุลของ O=C=O มีแรงยึดเหนี่ยวไม่แข็งแรงจึงมีสถานะเป็นแก๊ส ละลายน้ำได้ ทำให้ต้นไม้ดูด คาร์บอนไดออกไซด์ โดยการละลายในน้ำมาสังเคราะห์แสงผ่านทางใบได้กลูโคส และคายออกซิเจนเป็น by product ก้อน PM2.5 ต้นไม้ดูดซึมไม่ได้ หากใครทำได้รับรางวัลโนเบลแน่นอน

(4) การทนอยู่ในสภาวะฝุ่นพิษของคน กทม.มานาน เหมือนจะบอกให้ทนๆ กันไป ความเสียหายเกิดกับชาวบ้านมาตลอดเป็นเวลานาน ผู้คนต้องสั่งหน้ากาก 3M มาใส่กันเต็มไปหมด เป็นกระแสสังคมที่รู้กันมานาน แต่ผู้มีอำนาจ กทม. กลับไม่ตระหนัก ไม่รับรู้ปัญหานี้ 

(5) อย่าสับสนเรื่องค่า AQI ที่ต่างจากค่า PM2.5 คือค่า AQI รวมหลายๆ มลภาวะที่ตรวจจับไปในอากาศ แต่ในหน้าข่าวเมืองไทยจะเรียกกันว่าค่าฝุ่น PM2.5 ต้องแยกแยะสถานะสสารให้ออก แยกคำว่า “สถานะของสสาร” ในระดับเคมีตามที่ชาวบ้านเข้าใจ หรือในระดับฟิสิกส์สถานะของสสาร แบ่งเป็น ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส (หรือก๊าซ) แม้ว่าสสารสามารถเปลี่ยนสถานะได้ เช่น H2O ในจุดเยือกแข็งเป็นของแข็ง ในอุณหภูมิปกติเป็นของเหลว และในจุดเดือดเป็นแก๊ส แต่ PM2.5 หรือ PM10 คือ ของแข็งที่แขวนลอยอยู่ในอากาศ ส่วน CO2 ในอากาศ คือ แก๊ส (จะเป็นผลจากการเผาไหม้หรือการหายใจก็ดี) PM กับ CO2 ย่อมไม่ใช่สิ่งเดียวกันหรือเป็นองค์ประกอบต่อกัน

(6) ผู้มีอำนาจระดับสูงเมื่อพูดอะไรออกมาต่อหน้าผู้ใต้บังคับบัญชา จะไม่มีใครกล้าคัดค้าน หรือบอกว่าผิด จึงเคยตัว อยากพูดอะไรก็พูดไป โดยไม่ต้องตรวจสอบความถูกต้องของถ้อยคำ ฉะนั้น จึงอาจได้ยินว่า ฝุ่น PM2.5 เป็นก๊าซ

(7) ฝุ่น PM2.5 หลักๆ เกิดจาก การเผาพื้นที่ทางการเกษตร ทั่วไปจากรอบๆ กทม. ทั้งจากในไทย และรอบๆ จากประเทศเพื่อนบ้าน เป็นบางช่วงของปี ปัญหาน้อยลงช่วงหน้าฝนเพราะฝนจะดักฝุ่น ให้ตกลงสู่พื้นดิน ส่วนหน้าหนาวปัญหาเยอะกว่า เพราะอากาศไม่ลอยขึ้นแล้วเอาฝุ่นไปด้วย ทำให้ฝุ่นลอยตกค้างที่ระดับพื้นดินมากกว่าปกติ

(8) ฝุ่น PM2.5 ใน กทม.ส่วนใหญ่มาจากเครื่องยนต์ดีเซล เช่น รถยนต์ เครื่องจักร ฝุ่นจะเยอะช่วงหน้าหนาวเพราะอากาศปิด ไม่มีลม และความกดอากาศสูง ทำให้ฝุ่นสะสมหนาแน่น ฝุ่น กทม.แตกต่างจากฝุ่นต่างจังหวัดที่มาจากการเผาไหม้ทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ มีการเก็บข้อมูลและงานวิจัยเรื่องนี้แล้ว ฝนไม่ได้ดักฝุ่น สิ่งที่ทำให้ PM2.5 ลดคือลม

 

ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) 

เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจของประชาชนทั่วไป เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่ (1) PM2.5 (2) PM10 (3) ก๊าซโอโซน (O3) (4) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) (5) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) (6) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ตั้งแต่ 0 ถึง 201 ขึ้นไป ซึ่งแต่ละระดับจะใช้สีเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย (ตารางที่ 1) โดยดัชนีคุณภาพอากาศ 100 จะมีค่าเทียบเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 แสดงว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐานและคุณภาพอากาศในวันนั้นจะเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ความหมายของสี

0 - 25 สีฟ้าดีมาก 26 - 50 สีเขียวดี 51 - 100 สีเหลืองปานกลาง 101 - 200 สีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 201 ขึ้นไป สีแดงมีผลกระทบต่อสุขภาพ (อันตราย)

องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดคือ ค่ามาตรฐานความปลอดภัยของฝุ่น PM 2.5 ให้สูงขึ้น กล่าวคือ ค่าเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ที่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยจะไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) จากเดิมที่ 10 มคก./ลบ.ม. และค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 15 มคก./ลบ.ม. จากเดิม 25 มคก./ลบ.ม. การปรับครั้งนี้ทำให้ค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ของไทยตามหลังเกณฑ์แนะนำของ WHO หลายเท่าตัว โดยปัจจุบันค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ของไทยเฉลี่ยรายปีคือไม่เกิน 25 มคก./ลบ.ม. และเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต้องไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.

สรุปว่าค่าที่ “เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ” (PM2.5 = 51-90 มคก./ลบ.ก.) และหากค่าเกิน 200 “ทุกคน” ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือเป็นค่า “มีผลกระทบต่อสุขภาพ” (PM2.5 = น้อยกว่า 90 มคก./ลบ.ม) 

 

ดัชนีคุณภาพอากาศประเทศไทย

ข้อมูล AirVisual - IQAir สรุปภาพรวมปี 2021 ไทย มีคุณภาพอากาศมลพิษเฉลี่ย ระดับ AQI สหรัฐ = 67 สีเหลืองระดับปานกลาง ซึ่งมีค่าความเข้มข้น PM2.5 ในอากาศของประเทศไทยขณะนี้มีมากกว่าค่าแนวทางคุณภาพอากาศประจำปีขององค์การอนามัยโลก 4 เท่า ประเทศที่มีมลพิษทางอากาศเป็นอันดับหนึ่ง คือ บังคลาเทศ หากนับเป็นเมืองแล้ว เมืองเดลี ประเทศอินเดียอยู่อันดับหนึ่ง (ปี 2562)

จากสถานการณ์วิกฤตฝุ่น PM2.5 จากไฟป่า จากควัน ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน จึงมีผู้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองสาระสำคัญคำฟ้องคดีก็คือ เพื่อให้ กก.วล. ประกาศมาตรฐาน PM2.5 “ให้มีค่าเฉลี่ย 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร” ในระยะเวลา 24 ชม.ตามค่าเฉลี่ยรายปีของไทยคือไม่เกิน 25 มคก./ลบ.ม. และเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต้องไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม. ปัจจุบันมีกระแสเรียกร้องพ.ร.บ.อากาศสะอาด ด้วยหวังว่าจะสามารถปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานการดำรงชีวิตของเราให้ได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ในพื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัย

 

คุณภาพอากาศ กทม.

ดัชนีคุณภาพอากาศ PM2.5 ที่คำนวณโดยใช้โดยการใช้ค่า PM2.5 จากการประมาณค่าด้วยแบบจำลองเทียบกับเกณฑ์ AQI breakpoints ตามมาตรฐานของ US Environmental Protection Agency (เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์ PM2.5 AQI breakpoints)

จากรายงานศึกษาปี 2561 พบว่า เมื่อ 11 มีนาคม 2561 พื้นที่ กทม.ฝุ่นพิษ PM2.5 ที่ปกคลุมกรุงเทพฯ มีค่า 50 มคก./ลบ.ม. AQI 180 (สีส้ม) ซึ่งเป็นสีที่เตือนถึงระดับมลพิษทางอากาศ มีอันตรายต่อสุขภาพ 

 

ฝุ่น PM2.5 กทม.มาจากไหน

เนื่องจากกรุงเทพฯ กระแสลมได้รับอิทธิพลของมรสุมจากทะเลจีนใต้พัดเข้ามา ทำให้กรุงเทพฯ และหลายส่วนของภาคกลางได้รับผลกระทบจากหมอกควัน กทม.มีลมสงบในช่วงเวลากลางวันอยู่ในระดับต่ำไม่เกิน 1 เมตร/วินาที และอากาศมีความชื้นพอสมควร ทำให้เกิดการสะสมตัวของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ และฝุ่นละอองขนาดเล็กใหม่ที่ถูกพัดเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านทั้งกัมพูชา ลาว และพม่า 

 

กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีมลพิษทางอากาศสูงสุด

กรุงเทพฯติดท็อป 5 เมืองอากาศแย่ที่สุดในโลกข้อมูลเมื่อ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2562 เวลา 21.24 น. ข้อมูลจากแอปพลิเคชั่น Air Visual ระบุว่า สภาพอากาศโดยทั่วไปของกรุงเทพมหานคร ตามมาตรฐาน US AQI อยู่ที่ 155 (PM 2.5 อยู่ที่ 57.8 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ติดอันดับที่ 4 เมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก 

จากข้อมูลเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2565 พบว่าในเขต กทม.มีปริมาณ PM2.5 ระหว่าง 39-74 มคก./ลบ.ม. ซึ่งเกินมาตรฐานใน 53 พื้นที่ ถือเป็นอันดับที่ 6 ของโลก จากข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานครเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ตรวจวัดได้ 39-72 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 45 พื้นที่

 

อ้างอิง

กฎหมาย

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/239/T_0040.PDF 

 

ข่าว

ไทย ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) และข้อมูลมลพิษทางอากาศ (real time), AirVisual - IQAir, https://www.iqair.com/th/thailand 

ดัชนี คุณภาพ อากาศ (Air Quality Index : AQI), Air4Thai, กรมควบคุมมลพิษ, 2561, http://air4thai.pcd.go.th/webV2/aqi_info.php

ฝุ่นพิษ PM2.5 ที่ปกคลุมกรุงเทพฯ มาจากไหนได้อีก : มลพิษทางอากาศข้ามพรมแดน โดยธารา บัวคำศรี, Greenpeace Thailand, 12 มีนาคม 2561, https://www.greenpeace.org/thailand/story/1930/pm25-in-bangkok-and-transboundary-haze-pollution/

ประเทศไทยอยู่ตรงไหนในสถานการณ์คุณภาพอากาศโลก, Greenpeace Thailand, 6 มีนาคม 2562, https://www.greenpeace.org/thailand/story/2176/thailand-aqi-rank/

กรุงเทพฯ - ธนบุรี จังหวัดคู่แฝดที่แยกกันไม่ออก ร.1 ก็ไม่ได้ทรงย้ายวังหลวงออกจากกรุงธนบุรี, โดย โรม บุนนาค, ผู้จัดการออนไลน์, 7 มิถุนายน 2562, https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000054236 

กรุงเทพฯติดท็อป 5 เมืองอากาศแย่ที่สุดในโลก, กรุงเทพธุรกิจ, 29 กันยายน 2562, https://www.bangkokbiznews.com/social/849084

คาดประเดิม “ผู้ว่าฯ กทม.” เลือกตั้งท้องถิ่นปลายปี, thaiPBS, 5 กรกฎาคม 2563, 15.25, https://news.thaipbs.or.th/content/294301 

คุณภาพอากาศในกรุงเทพเป็นอย่างไร, Smart Air Thailand, 17 กรกฎาคม 2564, https://smartairfilters.com/th/th/bangkok-air-quality-thailand-2018/

ฝุ่น PM2.5 ฟุ้ง “ กทม.” พบเกินค่ามาตรฐาน 45 พื้นที่ ติดอันดับ 6 โลก, nationtv, 16 กุมภาพันธ์ 2565, https://www.nationtv.tv/news/378864043

ทำไมเลือกตั้ง กทม.จึงเป็นที่สนใจ? “เปิดงบ กทม. ที่ท้องถิ่นทั้งประเทศรวมกันก็สู้ไม่ได้”, โดย iLaw, 1 เมษายน 2565, https://www.ilaw.or.th/node/6117 

เกาะกระแสเลือกตั้ง ผู้ว่า กทม. สิ่งที่ผู้ว่า กทม.ต้องรู้เรื่อง “โกง”, อ้างจาก facebook, ธีรเดช นรัตถรักษา, 1 เมษายน 2565

“รสนา” ท้าพิสูจน์ บำนาญประชาชน 3,000 บาท ยัน ทำได้ ถ้าหยุดโกง, ไทยรัฐออนไลน์, 5 เมษายน 2565, https://www.thairath.co.th/news/politic/2360626 

การเลือกตั้ง ผู้ว่า กทม. 4 ครั้งหลังสุด, โดย iLaw ใน iLawClub, 12 เมษายน 2565, https://pic.twitter.com/R0ToyAG6lE 

Green Vision นโยบายผู้สมัครผู้ว่า กทม. เรื่องต้นไม้ พื้นที่สีเขียว และสิ่งแวดล้อม, Thai PBS ซีรีส์, โดย พรีน พิชญาพร โพธิ์สง่า (พิธีกร) และ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (สัมภาษณ์), สัมภาษณ์ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (ผู้สมัคร), 12 เมษายน 2565, https://www.youtube.com/watch?v=tupqlnZOiIg 

ปัจจัยชี้ขาด เลือกตั้งผู้ว่า กทม. ชัชชาติ มีสิทธิคว้าชัยล้านคะแนน, ประชาชาติธุรกิจ, 13 เมษายน 2565, 15:23 น, https://www.prachachat.net/politics/news-908910 

ม.จ.จุลเจิมโพสต์แชะป้ายหาเสียงผู้ว่า กทม.วิโรจน์ถามกลับเป็นอะไรของคุณ, มติชนทีวี, 14 เมษายน 2565, https://youtu.be/JjFHfj5W2wM 

เปิดนโยบายแก้ปัญหา “น้ำท่วม-รถติด” 5 ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม., ผู้จัดการออนไลน์, 15 เมษายน 2565, https://mgronline.com/specialscoop/detail/9650000036026 

ผลสำรวจนิด้าโพล นโยบายเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ในการชนะเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม., springnews, 16 เมษายน 2565, https://www.springnews.co.th/news/823289 

นิด้าโพลเผย ปชช.44.75% สนใจนโยบายของผู้สมัครในการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. เป็นอันดับแรก, สำนักข่าวอิศรา, 17 เมษายน 2565 เวลา 09:16 น., https://www.isranews.org/article/isranews-other-news/108129-NIDAPoll-16.html 

กทม. ไม่ปราบคอร์รัปชันแล้วจะพัฒนาได้อย่างไร, โดย ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) : ACT, สำนักข่าวอิศรา, 18 เมษายน 2565, https://www.isranews.org/article/isranews-article/108153-mana-18.html 

“รสนา” ชู One Stop Service บริการคนกรุง จดแจ้ง-จัดหาต้นกัญชา เริ่ม 9 มิ.ย.นี้, โดย ผู้จัดการออนไลน์, 24 เมษายน 2565 08:18, https://mgronline.com/politics/detail/9650000038824 

โพล มธ. “ดร.เอ้” ตามเบียด “ชัชชาติ” ไม่ห่าง “อัศวิน” แซง “วิโรจน์” ขึ้นอันดับ 3, สยามรัฐออนไลน์, 26 เมษายน 2565, https://siamrath.co.th/n/342985 

เปรียบตัวเองกับอะไร ในสนามชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. โดย Pongpiphat Banchanont, 27 เมษายน 2565, https://thematter.co/bkk65/bkk-candidate-metaphor-themself/173517 

เตือน 4.4 หมื่นคน ย้ายเขตไม่ถึง 1 ปี แจ้งเพิ่มชื่อใช้สิทธิเลือกส.ก.ถึง 11 พ.ค.นี้, สยามรัฐออนไลน์, 4 พฤษภาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/345118 

“ผู้ว่า กทม. ต้องสนใจเรื่องต้านโกง” ต่อตระกูล และต่อภัสสร์ ยมนาค, บทความในคอลัมน์ประจำ ชุด ’ต่อตระกูล ต่อภัสสร์ ต่อต้านคอร์รัปชัน’ ลงใน นสพ. แนวหน้า ฉบับวันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2565,อ้างจาก ThaiTribune Facebook

ย้อนความจำ 12 ปี กรุงเทพฯ ภายใต้ประชาธิปัตย์ กปปส. และ คสช., โดย iLaw, 12 พฤษภาคม 2565, https://www.ilaw.or.th/node/6138 

ขั้นตอนการเลือกตั้งผู้ว่าและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร, มติชนออนไลน์, 17 พฤษภาคม 2565, https://fb.watch/d3_y39lGFS/ 

เปิดใจ ‘วิโรจน์’ ชูนโยบายล้มระบบส่วย ชนนายทุน และยกเลิกราชการรวมศูนย์, วิโรจน์ลักขณาอดิศร พรรคก้าวไกล, TheStandardCo, 24 มกราคม 2565, https://www.youtube.com/watch?v=Vbly_8jrW9E

 

หมายเหตุ

บทความนี้ต้นฉบับส่วนหนึ่งได้เผยแพร่ในเฟซบุ๊ก เพจสิทธิมนุษยชนและการแรงงาน เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2565



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท