ปัญญาญาณ ปรีชาญาณ และ สัญชาตญาณ ภาค ๒


 

 

 

วันนี้เป็นวันพระ แรม ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีขาล

ช่วงนี้มีความก้าวหน้าทางธรรมอีกก้าวหนึ่งเล็ก ๆ ดังจะได้อรรถาธิบาย ดังนี้

 

 

 

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีโอกาสได้ย่อเพื่อกระโดดทางธรรม 

ด้วยการกลับมาพิจารณาภาพนี้อีกครั้งหนึ่ง

พบว่า ..

 

 

เห็นปฏิจจสมุปบาทชัดขึ้น 

และชัดยิ่งขึ้นอีก เมื่อได้อ่านและฟังพระสูตร “ฮวงโป” หนอ

 

Key word แรก คือ คำว่า “สมมติ”

  • สมมุติ สมมุติบัญญัติ และ วิมุตติ จะช่วยให้เราเห็นภาพ ปฏิจจสมุปบาท ชัดขึ้น 
  • ในตอนแรก ผมเองยังหลงอยู่ในภาพ และหาทางตัดโซ่สังสารวัฏ เพียรฝึกสติปัญญาเพื่อหาทางวิมุตติ โดยคืนนั้นยังติดอยู่กับคำว่า “อนัตตา” อันเกิดจากพิษของการย่อเปิดการ์ดให้กิเลสก่อน เพื่อจะกระโดด
  • เมื่อกลับมาเปิดสารพัดตำรา สารพัดสำนักที่เพียรฝึกมา ก็จะค่อย ๆ บรรเทา ฝั่งทางนี้ให้ค่อย ๆ เข้าสู่ความสงบ
  • และก็มีอยู่คืนหนึ่ง ที่ข้ามไปสู่ฝั่ง “ปรามิตา” ได้ชั่วคราว และเกิดความสงสัยว่า อ้าวอีกไม่กี่เดือนก็ต้องกลับมาฝั่งทางโลกนี้เหมือน ๆ เดิม เอ! มันมีวิธีที่ไม่ต้องกลับมาอีกไหม ?
  • และแล้ว .. เมื่อสองสามวันนี้ จึงเพียรอ่านและฟังพระสูตร “ฮวงโป” อย่างเข้มข้น พบว่า มีความก้าวหน้าที่จะพยายามอรรถาธิบายต่อไปนี้ (ไม่แน่ใจว่า จะอธิบายได้ไหม ?)

 

 

 

ภาพนี้เป็นสมมติบัญญัติ หรือ ความว่าง นั่นเอง หนอ

 

วิมุตติ ←-- สมมุติบัญญัติ ←-- สมมติ

 

การจะไปสู่วิมุตติ ยังต้องอาศัยสมมติ อยู่โดยลดสมมติ ให้เป็นสมมุติบัญญัติ

แต่เมื่อมีสติปัญญา จนใช้ได้แล้ว ก็ต้องปล่อยวาง สมมติบัญญัติ ทั้งหมดด้วย สาธุ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 702402เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2022 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2022 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท