วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

การเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก และการบริหารจัดการโครงการวิจัยให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่แหล่งทุนกำหนด ครั้งที่ 2


การบริหารจัดการโครงการวิจัย

1. ประสบการณ์การบริหารจัดการโครงการวิจัยให้แล้วเสร็จตามระยะเวลา สาขาวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น โดยดร.ชลลดา ติยะวิสุทธิ์ศรี

     1) วางแผนการทำงาน (Plan)

       1.1 ตั้งเป้าหมายว่างานวิจัยจะเสร็จเมื่อไร แล้วนำตารางแผนการทำงานที่เขียนไว้ในโครงการวิจัยมา ทบทวนว่างานแต่ละกิจกรรมจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จช่วงเวลาใด และวางแผนเผื่อระยะเวลาที่อาจไม่ เป็นไปตามเป้าหมาย 

       1.2 ศึกษาเอกสาร แบบฟอร์มที่ต้องกรอก เอกสารที่ต้องจัดเตรียมสำหรับแต่ละกิจกรรม เช่น การขอ IRB การจัดซื้อจัดจ้าง การเบิกค่าตอบแทน บันทึกข้อความ จดหมายต่างๆ 

       1.3 ศึกษาสัญญาที่ลงนามข้อตกลงกับวิทยาลัยฯ ว่าในแต่ละงวดงาน ต้องสำเร็จถึงขั้นตอนใด และ จะต้องเบิก-จ่ายงบประมาณร้อยละเท่าไร 

        1.4 ประชุมทีมงานมอบหมายความรับผิดชอบ ตามความถนัด

      2) การดำเนินงาน (Do) 

        2.1 ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ตามลำดับความสำคัญ ก่อน-หลัง  

        2.2 ออกแบบตารางเปล่าสำหรับกรอกข้อมูลที่ได้มาแต่ละขั้นตอน 

        2.3 ประสานงานขอความช่วยเหลือ หากงานใดที่ไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง 

     3) การกำกับตรวจสอบความก้าวหน้าของงาน (Check) 

        3.1 ตรวจสอบระยะเวลากับผลงานที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ทุกเดือน 

     4) การปรับปรุงแก้ไข (Act)  

      4.1 จัดการปัญหาอุปสรรค โดยปรึกษางานวิจัย หรือผู้ทรงคุณวุฒิ

      4.2 ปรับปรุงผลงานให้มีคุณภาพ ตามเป้าหมายที่กำหนด 

ปัจจัยสนับสนุน คือ ทีมงานวิจัยที่คอยสนับสนุน ติดตาม และเอื้ออำนวยในการประสานงาน ด้านเอกสาร ข้อมูล ตัวอย่างชิ้นงาน และทีมที่ทำวิจัยด้วยกันที่คอยให้กำลังใจกันและกัน 

ปัญหาอุปสรรค คือ การบริหารเวลาไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง เวลามาจับต้องใช้เวลาใน การทบทวนงาน และทำให้ขาดความรอบคอบในการทวนสอบผลงานเมื่อสิ้นสุดการวิจัย และส่งตีพิมพ์ ทำให้ การเขียนผลงานวิชาการไม่มีคุณภาพ

2. การพัฒนาศักยภาพนักวิจัย เขียนโครงร่างและบริหารจัดการโครงการวิจัย สาขาวิชาการพยาบาลสูติศาสตร โดย ดร.เบญจมาภรณ์ นาคามดี

    1) ประสบการณ์ 

        1.1 การขอทุนในการท าวิทยานิพนธ์จากส านักงานการวิจัยแห่งชาติ

        1.2 การขอทุนภายในวิทยาลัยฯ..บูรณาการ การเรียนการสอน & วิจัย & ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

        1.3 การขอทุน ววน. ปีงบประมาณ 2565

    2) การพัฒนาศักยภาพนักวิจัย เขียนโครงร่างและบริหารจัดการโครงการวิจัย

         2.1 ต้นน้ำ 

               2.1.1 นักวิจัย 

                        - มีเป้าหมาย+หน้าที่ในการทำวิจัย ไม่ใช่ถูกถูกบังคับให้ทำวิจัย

                        - มีความกล้า ออกมาจาก safe zone 

                        - ประเด็นวิจัยที่ทำความตรงสาขาหรือความเชี่ยวชาญ

                        - มีทีมที่เข้าใจ + ทำงานแบบเพื่อน พร้อมแบกภาระไปด้วยกัน มีสุข+มีทุกข์+ร่วม Share 

                        - มีที่ปรึกษา

              2.1.2  แหล่งทุน

                        - รู้แหล่งทุน ศึกษานโยบายผู้ให้ทุนมีนโยบาย หรือประเด็นเรื่องที่มีความ เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ท า 

                         - ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อเขียนโครงร่างฯ ให้ได้ทุน ดังนี้

                            (1) ค้นหาตัวอย่าง 

                            (2) ศึกษา+ ดูรีวิววิธีการเขียน ถามประสบการณ์ผู้ที่เคยขอทุนฯ 

                            (3) ศึกษายุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒฯ 

                            (4) ทบทวนวรรณกรรม + ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

                        - ลงมือเขียน 

                          (1) ความเป็นมา สถิติ แนวโน้ม ความรุนแรง เชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงสาธารณสุข นโยบายผู้ให้ทุน เขียนกระชับ สรุปสุดท้าย (มีเอกสารอ้างอิงชัดเจน) 

                          (2) วัตถุประสงค์ชัดเจน ชัดเจน 

                        - ส่งตามเวลาที่กำหนด 

                        - ส่งทุกอย่างที่ทุนกำหนด ผ่านระบบ NRIIS

                        - ติดตามผลการพิจารณาทุน

       2.2 กลางน้ำ

             2.2.1 ประกาศได้รับทุน 

                     - ทำสัญญาทุน เตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ 

                     - ศึกษาละเอียดการเบิกแต่ละงวด 

                     - สอบถามผู้ประสานงาน 

                     - ดูงบประมาณที่ได้รับจริง เตรียมหลักฐานเบิกจ่าย

             2.2.2 ดำเนินการวิจัย

                      - การขอ IRB 

                      - ทำ Time line ให้ชัดเจน ทำงานให้ได้ตามงวดงาน ที่ทุนกำหนดส่ง และหลักฐาน การเงิน 

                      - ประสานงานวิจัย งานการเงินในการ ส่งหลักฐานการเงิน และการลาเพื่อดำเนินการวิจัย

                      -  คุยกับทีมเพื่อบริหารจัดการภาระ งานอื่นๆ

       2.3 ปลายน้ำ (ตีพิมพ์)

             2.3.1 ศึกษา Formatted ของวารสารที่ตีพิมพ์ 

             2.3.2 เขียนร่าง Manuscript เมื่อได้ผลการวิจัย ระยะที่ 1 หรือ 2 ก่อนปิดโครงการ

             2.3.3 สรุป และทำทุกอย่างตามเจ้าของทุนกำหนด โดยเฉพาะในระบบ NRIIS 

             2.3.4 ติดตามงานที่ส่ง พร้อมประสานงานผู้เกี่ยวข้อง ส่งงานให้ได้ตามกำหนด

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ : นักวิจัยและทีม แหล่งทุน องค์กร สายสนับสนุน และภาคีพี่เลี้ยง

ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข: 

      1) ภาระงาน + ภารกิจอื่น...บริหารเวลา + ทีมช่วยเหลือ 

      2) ไม่เข้าใจหลักฐานการเงิน...ศึกษารายละเอียด + ประสาน สายสนับสนุน (การเงิน + งานวิจัย + งานพัสดุ) 

      3) การส่งตีพิมพ์ล่าช้า ประสานงานวิจัยให้คำแนะนำ + ช่องทางการตีพิมพ์

แนวทางการพัฒนา:

      1) ขอทุนตามประเด็นสาขาเกี่ยวข้อง 

      2) เขียนให้ตอบโจทย์เจ้าของทุน งานใหม่ที่ท้าทาย (น้อยแต่มาก ยากแต่ง่าย)

      3) ของบฯ ไม่เกินที่เจ้าของทุนกำหนด

      4) วางแผน Timeline ให้ชัดเจน

3. การบริหารจัดการโครงการวิจัยให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่แหล่นทุนกำหนด สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล โดย อ.ดร.อัศนี  วันชัย 

     “ตั้งเป้าหมาย มีวินัย ให้กำลังใจตัวเอง” 

ทำงานแบบมีการตั้งเป้าหมาย: 

1) เป็นเป้าหมายที่เอื้อมถึง (วันนี้จะเขียนบทนำให้เสร็จ)

2) ทำตามแผนให้ได้ (อย่าพลัดวันเพราะความคิดจะหลุดระหว่างทาง)

3) ลดความกดดันจากภายนอก (ทำงานที่คนอื่นขอก่อนงานตัวเอง)

4) Set Priority ไม่ใช่ตามลำดับงานที่เข้ามา เรียงตามความยากง่ายของงาน เรียงตามความต้องการของคนร้องขอ

5) เครือข่ายช่วยได้

6) แบ่งเวลาสมดุลชีวิต

4. แนวทางการบริหารโครงการวิจัยให้ประสบผลสำเร็จ สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช โดยดร.เกศกาญจน์  ทันประภัสสร

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการทำวิจัยแม้มีภาระงานสอนมาก   ประกอบด้วย

1) การจัดการด้านกระบวนการทำวิจัย   (5 S)

            -Self awareness  รับรู้ในศักยภาพของตนเองในการทำวิจัย เช่น อะไรที่ไม่รู้ต้องศึกษาเพิ่ม หรือ ปรึกษาผู้รู้  หรือ นำศักยภาพที่โดดเด่นมาใช้ในการทำวิจัยอย่างไร

          -Self Control     สามารถควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ เช่น วันนี้ต้องทำงานวิจัยเพื่อให้ได้ปริมาณงานเท่าใด

          -Self Talk     ให้กำลังใจตนเองบ่อยๆว่า  เรามีความสามารถเราทำได้แม้จะต้องมีภาระงานสอนมากเรายังทำวิจัยได้ แสดงว่าเราเจ๋งจริงๆ และการทำวิจัยเป็นการทำบุญเพราะกลุ่มตัวอย่างจะได้รับประโยชน์จากการวิจัยของเรา

          -Self esteem     การทำงานวิจัยสำเร็จทันตามเวลาที่กำหนดทำให้เกิดความภาคภูมิใจ และการ

ได้รับความรู้จากกระบวนการวิจัยถือเป็นความภาคภูมิใจที่มีความรู้เพิ่มมากขึ้นๆ

          -Strategicgoal            การติดต่อผู้เชี่ยวชาญ  การขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ การทำหนังสือขอเก็บข้อมูลการวิจัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2) การจัดการด้านการเบิกงบประมาณการวิจัย (CO)

           -Condition    ทำตามสัญญาของโครงการวิจัยอย่างเคร่งครัด ทำตามแบบฟอร์มการเบิกจ่ายอย่างอดทน(มีการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงบ่อย)

          -On time      ตรงเวลาตามที่กลุ่มงานวิจัยกำหนด

3) การจัดการด้านการเขียนบทความวิจัยเพื่อรับการตีพิมพ์  (2S)

            -Selection    จะตีพิมพ์วารสารอะไรต้องเลือกก่อน  ส่วนใหญ่จะเลือกที่มีระบบการจัดการที่ดี

            -Student      ขณะเขียนบทความผู้เขียนต้องทำเสมือนเป็นนักศึกษา เพื่อลดอัตตาในการแก้ไขตามที่Reviewerให้คำแนะนำ อธิบายเหตุผลประกอบอย่างเป็นเหตุเป็นผลเมื่อไม่แก้ไขตามคำแนะนำของReviewer        4) การติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  (I)

            -Interpersonal Relationship  ความสัมพันธ์ระหวางบุคคล

            Internal   จนท.งานวิจัยฯของวิทยาลัยฯ สื่อสารเชิงบวก ให้เกียรติ รับฟังอย่างเข้าใจ

            External  จนท.วารสารการวิจัยฯ  เจรจาต่อรอง เช่น การออกใบสำคัญรับเงิน

 5. การเขียนโครงร่างวิจัย เพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากภายนอก สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน โดย ดร.วิภาพร  สิทธิสาตร์ 

     1) เริ่มต้นอย่างไร ใจต้องมาก่อน ทบทวนตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก      

           เป้าหมายความสำ เร็จในอาชีพการเป็นอาจารย์ พยาบาล ความสามารถด้านการวิจัย ความเชี่ยวชาญในสาขาของ ตนเอง ปรับ Mindset : กรอบความคิด ความเชื่อหรือทัศนคติ ที่ชี้นำ พฤติกรรมของคน

      2) คิดว่าจะลงมือทำ

          ปัญหาโลกแตกของอาจารย์พยาบาล คือ การจัดการกับภาระงานหลัก ภาระงานรอง ทำอย่างไรถึงจะมีเวลามาเขียนงานวิจัยได้ “เลิกคิดว่างานวิจัยคือยาขม” ซึ่งคำตอบของปัญหา คือ “การบริหารจัดการเวลา”

          2.1 ตั้งเป้าหมายและวางแผนการทำงาน 

          2.2 กำหนด Timeline ของการทำ งานให้ชัดเจน ไม่หลุด 

          2.3 ทำงานสอน งานรอง พร้อมๆ กับการทำ วิจัย 

          2.4 ใช้เวลา 8 ชั่วโมงทำ งานให้คุ้มค่าที่สุด พยายามไม่เสียเวลากับเรื่องที่ไม่สำคัญ 

          2.5 ลงมือทำ เมื่อจัดการกับใจตนเองแล้ว โทรหาเพื่อน/ทีมงาน เพื่อชักชวนกันเขียนงาน

      3) หาแหล่งทุนวิจัยมา สนับสนุน ให้เกิดงาน

           เลือกมา 1 ทุนที่ตรงใจของเรา ถ้าปีนี้เราเลือกเขียนขอ “สวรส.” ให้เข้าไปดูหลักเกณฑ์การพิจารณาทุนอย่างละเอียดเพื่อเริ่มต้นทำงาน เขียนโครงร่างตามแบบฟอร์มของแหล่งทุน มี 2 แบบ คือ Concept paper และ Full paper 

ตัวอย่างการเขียนโครงร่างเพื่อขอสนับสนุนทุนภายนอก (สวรส.)

          - ชื่อเรื่อง ดึ ง ดู ด ค ว า ม ส นใ จ ส อ ด ค ล้ อ ง กั บ ค ว า ม ต้ อ ง ก า ร ข อ ง แ ห ล่ ง ทุ น

          - หลักการและเหตุผล สถานการณ์ปัญหาที่เป็นปัจจุบัน ข้อมูลพื้นที่ดำเนินการวิจัย เขียนถึงว่าปัญหาดังกล่าวมีการแก้ไขอย่างไรไปบ้างแล้ว งานวิจัยของเราจะช่วยปิด GAP อย่างไร “ชัดเจน”

         - ปัญหาการวิจัย คำถามการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย ชัดเจน เชื่อมโยงกับหลักการและเหตุผลการวิจัย 

        - ระเบียบวิธีวิจัย/ขั้นตอนการดำเนินงาน 

           (1) ยีนยันว่าสามารถตอบคำถามของการวิจัยได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน 

           (2) ระบุวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ชัดเจน (สอดคล้องกับการคิดงบประมาณ)

           (3) แผนการดำเนินการที่มี Time line ชัดเจน

         - การคิดงบประมาณ

           (1) ดูตามระเบียบของแหล่งทุน 

                * หมวดเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทน

                * หมวดค่าบริหารจัดการ

                * หมวดค่าดำเนินโครงการ

                * หมวดค่าธรรมเนียมสถาบันต้นสังกัด

           (2) คิดตามขั้นตอนของการดำเนินการวิจัย

       - ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ระบุความคาดหวังหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโ๕รงการ โโยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อมโยงผลงานวิจัยต่อการพัฒนาระบบสุขภาพในประเด็นนั้น ๆ หรือในภาพรวม แสดงความคาดหมายศักยภาพและวิธีการหรือแนวทางที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ได้แก่ ด้านนโยบาย ด้านวิชาการ ด้านพัฒนาสังคม/ชุมชน และด้านเศรษฐกิจ/พาณิชย์

***Trick***

      1) No name การเขียนต้องแสดงให้เห็นว่า เมื่อแหล่งทุนให้เงินสนับสนุนแล้วงานจะดำเนินการสำเร็จแน่นอน 

      2) มีความร่วมมือกับเครือข่ายนักวิจัยพื้นที่เพื่อตอบสนองในการแก้ปัญหาพื้นที่

      3) มีที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในงานที่ขอรับการสนับสนุนทุนวิจัย

      4) มีหน่วยงานที่ขอใช้ประโยชน์งานวิจัยที่ขอรับสนับสนุน

      5) วิจัยที่ขอรับทุนสนับสนุนต้องมีปลลัพธ์ที่ชัดเจน ตอบสนองต่อความต้องการของแหล่งทุน 

      6) 3 Steps ยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยผ่านระบบ NRIIs

          - Step 1 นักวิจัยทำบันทึกแจ้งมหาวิทยาลัยผ่านหน่วยงานต้นสังกัด 

          - Step 2 นักวิจัยเสนอโครงการวิจัยผ่านระบบ NRIIS ให้มหาวิทยาลัยกรอกตรวจสอบ ยืนยัน

          - Step 2 มหาวิทยาลัยรับรองงานวิจัย ส่ง หน่วยงานให้ทุน นักวิจัยได้รับ e-mail ตอบกลับ

       7) ติดตามข่าวสารแหล่งทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องเราไม่พลาดช่วงเวลาสำคัญ 

6. การพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยเขียนโครงร่างและบริหารจัดการโครงการวิจัย สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดย อ.สุรีรัตน์  ณ วิเชียร

   1) ตั้งต้นการเริ่มเป็น “นักวิจัย” ตั้งเป้าหมาย

   หาแรงบันดาลใจ โดยเริ่มเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ ตั้งแต่ปี 2560- 2564 (5ปี) เช่น

  - ทำแล้วจะได้อะไร 

    * ได้ความสุข

    * ได้ค้นหาผลของ Intervention ของเราที่ทำขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และได้เห็นรอยยิ้มของคนที่เอาไปใช้ และยังได้สอนรุ่นน้องที่มาขอความรู้

    * ได้เป็น CV หรือประวัติผลงานของเรา

    * PA

   2) จำนวนวิจัยที่ต้องการสร้างสรรค์ขึ้น

       ตั้งเป้าหมายกับตัวเองว่าจะทำวิจัยไปเรื่อยๆ อย่างน้อยปีละ 1 เรื่อง ไม่ว่าจะมีภาระงานเยอะขนาดไหนก็ตั้งเป้าไว้ก่อน เมื่อผ่านไป 1 ปี ก็มาหาสาเหตุและสิ่งที่บกพร่องของเรา พบว่าปัญหาใหญ่คือ เรื่องกระบวนการทำวิจัย การแชร์ประสบการณ์หรือการนำเสนอผลงานวิจัย และการตีพิมพ์ ทีมในการทำวิจัยให้ราบรื่น และการบริหารเวลาในการสอนให้สอดคล้องกับการทำวิจัย

   3) ปิดรอยรั่วที่เราพบว่าเป็นจุดด้อย

        - ปัญหาข้อที่ 1 กระบวนการทำวิจัย อ่าน Paper เกี่ยวกับกระบวนการวิจัย ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวิจัยขั้นตอนต่าง ๆ  ทั้งการกำหนดหัวข้อการวิจัย การทบทวนแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินการวิจัยทั้งสิ้น  เพราะถ้าหากนักวิจัยไม่สามารถเข้าถึงหลักการที่ถูกต้องดังกล่าวแล้ว การดำเนินการวิจัยคงไม่ประสบผลสำเร็จ

        - ปัญหาข้อที่ 2 การแชร์ประสบการณ์หรือการนำเสนอผลงานวิจัย สมัครเวทีการนำเสนอผลงานวิจัย โดยตนเองลองนำเสนอที่การประชุมวิชาการครั้งที่ 7 ของสภาการพยาบาล 27-28 มค 65 สิ่งที่ได้คือ การใช้โปรแกรมการอัดวิดีโอเพื่อเตรียมนำเสนอ ต้องมีความยาวเท่ากับที่ผู้จัดต้องการเท่านั้น ถ้าเกินจะถูกตัดออกทันที ทำให้ขาดเนื้อหาส่วนสำคัญได้ ทำให้มีความกล้าในการพัฒนาวิจัย และผลงานนวัตกรรมมากขึ้น โดยการจัดงานครั้งนี้เห็นแนวโน้นถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ของหลายสาขาวิชาชีพ

       - ปัญหาข้อที่3 การตีพิมพ์

         * ตั้งเป้าหมายให้สูงไว้ก่อน เช่น ระดับนานาชาติ

         * ถ้าไม่ได้ค่อยลดลง เป็น TCI 1 และตามลำดับ

         * เชื่อมั่นว่าเราจะทำได้  เพื่อป้องกันเกิดคำว่า “รู้อย่างนี้ ทำไปส่งนานแล้ว”

       - ปัญหาข้อที่ 4 ทีมในการทำวิจัยให้ราบรื่น ทีมจะมีส่วนสำคัญในการทำให้วิจัยสำเร็จ  ความเลือกหลากหลายสหวิชาชีพจะทำให้งานเรามีความน่าเชื่อถือ

       - ปัญหาข้อที่ 5 การบริหารเวลาในการสอนให้สอดคล้องกับการทำวิจัย เอา road map ของวิจัยมากางเขียนใส่ปฏิทินเพื่อให้ทันตาม Process พยายามแบ่งเวลาให้วิจัยสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง เช่น เสาร์บ่าย เพื่อทวนเรื่องวิจัยของเราที่ค้าง ช่วงไหนลงชุมชนก็วางแผนเก็บข้อมูล ช่วงไหนขึ้นวอดก็ review

    4) ได้รับการเทรนให้เป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ ควรมี “พี่เลี้ยง” 

         แนวคิดของ Collison และ Parcell เกี่ยวกับลำดับขั้นความพยายามของผู้เชี่ยวชาญ (Expert Effort) 5 ขั้น ดังต่อไปนี้ (เกื้อ วงศ์บุญสิน, 2552; วราภรณ์ คล้ายประยงค์, 2558)

หมายเลขบันทึก: 700867เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2022 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2022 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
สุรีรัตน์ ณ วิเชียร

เป็นแนวทางและทำให้เกิดการตั้งเป้าหมายในการวิจัยให้สำเร็จและเกิดแรงบันดาลใจ

จันทร์จิรา อินจีน

ขอชื่นชมนักวิจัยทุกท่านและขอบคุณสำหรับประสบการณ์และข้อคิดดีๆในการทำงานวิจัย

สิรารักษ์ เจริญศรีเมือง

เนื้อหาเเละการถ่ายทอดประสบการณ์สุดยอดเลยคะ

เนื้อหามีประโยชน์ น่าสนใจทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนางานวิจัย

ทุกท่านเป็นผู้มีประสบการณ์ได้รับทุนวิจัย และมีผลงานตีพิมพ์ อีกทั้งถ่ายทอดประสบการณ์ได้ดีมากๆ สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการขอรับทุนวิจัยต่อไป

ชื่นชมทุกท่านที่ได้รับทุนวิจัย และขอบคุณที่ถ่ายทอดประสบการณ์อันมีค่าของท่าน ประะสบการณ์ที่ท่านนำมาแลกเปลี่ยนเป็นประโยชน์มากๆค่ะ

ดีมีประโยชน์ สามารถนำไปปฏิบัติได้ค่ะ

ได้ทุนว่ายาก บริหารทุนยิ่งยากกว่า ชื่นชมนักวิจัยทุกท่านที่มาแลกเปลี่ยนคะ

ขอชื่นชมผู้ที่แชร์ประสบการณ์ในการขอรับทุนการวิจัย เนื้อหามีประโยชน์มาก สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

ดร.ศุภาณ์นาฏ สุวรรณกิจ

ขอชื่นชมและขอขอบคุณทุกท่านที่มาถ่ายทอดประสบการณ์ในการขอรับทุนวิจัย ยอดเยี่ยมค่ะ

การขอทุนภายนอกและการสร้างเครือข่ายการทำให้ได้ทุนวิจัยเพิ่มมากขึ้น จะทำให้เพิ่มศักยภาพงานวิจัยได้อย่างดีเยี่ยม

เบญจมาภรณ์ นาคามดี

การได้รับฟังประสบการณ์ของแต่ละท่าน ทำให้ได้มุมมอง และแนวทางการขอทุนวิจัยภายนอกค่ะ..ขอเป็นกำลังใจให้คณาจารย์ทุกๆท่านนะคะ

เป็นแนวทางที่ดีและสามารถปฏิบัติได้จริง เกิดประโยชน์มากค่ะ วิทยากรแต่ละท่านมีประสบการณ์ที่สามารถทอดถ่ายออกมาได้ดีมากค่ะ

การมีเป้าหมายที่ชัดเจน และจิตใจที่มุ่งมั่น ตั้งใจ จะส่งผลให้เกิดแรงผลักดันให้เกิดกระบวนการทำงาน และได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ นอกจากนี้การมีเครือข่าย มีพี่เลี้ยงในการเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนวิจัยภายนอกนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ และขอบคุณประสบการณ์ดีๆที่มาร่วมแบ่งปัน

ดร.เกศกาญจน์ ทันประภัสสร

การเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก : ต้องเตรียมโครงการวิจัยให้ตรงกับThemeที่แหล่งทุนต้องการ หาเครือข่ายผู้วิจัยร่วม และงานวิจัยต้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางจึงจะมีโอกาสประสบผลสำเร็จในการขอทุนวิจัยจากภายนอก
การบริหารโครงการวิจัยให้แล้วเสร็จทันเวลา : ผู้วิจัยต้องบริหารจัดการตนเองให้ทำงานตามแผนการดำเนินการวิจัยที่กำหนดให้ได้ และคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับคือ กลุ่มตัวอย่างได้รับTreatment และนักวิจัยได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆทั้ง2ประเด็นนี้จึงสอดคล้องกันและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

จิตติพร ศรีษะเกตุ

ได้รับเกร็ดความรู้สำหรับการทำงานวิจัยและบทความวิชาการให้เสร็จทันเวลา ทำให้เกิดแรงบันดาลใจและสร้างพลังบวกในการเขียนงานวิชาการเพิ่มมากขึ้น อาจารย์ทุกท่านที่มาให้ความรู้ล้วนเป็นบุคคลคุณภาพที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างชัดเจนค่ะ

วิลาวัณย์ สายสุวรรณ

ขอบคุณอาจารย์ทุกท่าน ที่ได้แชร์ความรู้และประสบการณ์ เป็นประโยชน์มากเลยคะ เป็นแนวทางที่ดีให้ได้คิดสร้างผลงานวิชาการและขอทุนภายนอกคะ

ขอบคุณสำหรับการแชร์ประสบการณ์ที่ดี สามารถใช้เป็นแนวทางในการขอทุนวิจัยจากภายนอกได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท