สถานการณ์ฝุ่นPM2.5ในประเทศไทย


สถานการณ์ฝุ่นPM2.5ในประเทศไทย

4 เมษายน 2565

ปัญหา “ฝุ่นละออง PM2.5” กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ (National Agenda)

คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อ 17 มีนาคม 2558 มอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นเจ้าภาพหลักบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินการป้องกันและแก้ไข “ปัญหาหมอกควัน” อย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ (มติ ครม.เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2558) ซึ่ง ทส.ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันแห่งชาติ (ศอ.ปกป.ชาติ) และตั้งศูนย์อำนวยการฯ ภาคเหนือ 9 จังหวัด โดยกองทัพภาคที่ 3 เมื่อปลายปี 2560 ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้ “ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” เป็น “วาระแห่งชาติ” (National Agenda) ตาม “แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2562” ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบตั้งแต่ปลายปี 2562 สาเหตุมักมาจากควันท่อไอเสีย ควันบุหรี่ การเผาไหม้สิ่งต่างๆ รวมไปถึงการเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงงานด้วย ส่วนปัญหา “หมอกควันในภาคเหนือ” มีสาเหตุหลักๆ มาจากการเผาในที่โล่ง (พื้นที่เกษตรและในชุมชน) และการเผาป่าทั้งจากในและนอกประเทศ ซึ่งภาคเหนือ ค่าฝุ่นฯ ช่วงต้นปีจะขยับสูงขึ้น จนกระทั่งเกินกว่า 300 ไมโครกรัมต่อ ลบ.เมตร (มคก./ลบ.ม. µg/m3)

โดยเฉพาะในช่วงต้นปี ประเทศไทยมักจะพบปัญหาฝุ่น PM2.5 ระดับรุนแรงที่ภาคเหนือ และภาคกลาง ตั้งแต่เดือนมีนาคม ฤดูฝุ่น PM2.5 จึงกลับมาอีกครั้ง ข่าววิกฤติฝุ่นควันพิษ ฝุ่นพิษ หรือฝุ่นจิ๋ว หรือ “ฝุ่นพิษจิ๋ว” หรือ “ฝุ่นละอองขนาดเล็ก” หรือ “ฝุ่นพิษขนาดเล็ก” แล้วแต่จะเรียก มาจากคำว่า “PM2.5” (Particles Matters) คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบเท่าขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ เล็กมากมองไม่เห็นด้วยตา เล็กจนขนจมูกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองได้ ในที่นี้ขอเรียก “ฝุ่นละอองหรือฝุ่นพิษขนาดเล็ก” นี้ว่า “PM2.5”

ปัญหาฝุ่นพิษขนาดเล็ก (PM2.5) มีมากขึ้น โดยเฉพาะภาคเหนือ 9 จังหวัดภาคเหนือ(ตอนบน) ซึ่งเป็นเขตภูเขา ในช่วงหน้าแล้งจะมีไฟไหม้ป่า เผาป่า เผาไร่ เผาหญ้าแห้งมาก เผาขยะ การเผาในพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตรกรรม และหมอกควันข้ามแดน รวมการเผาในที่โล่งทั้งหมด ฯลฯ เกิดมลพิษทางอากาศมาก เช่น จังหวัดเขียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ส่วนทางภาคใต้ ฝนตกบ่อย เผาไป ผลกระทบจะน้อยกว่าภาคอื่น กทม.สถานการณ์จะหนักมาก เพราะควันพิษจากรถยนต์ เป็นวิกฤติจะหยุดฝุ่นพิษไม่ได้ การแก้ไขเพื่อให้ปริมาณฝุ่นละอองอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจึงเป็นสิ่งจำเป็น 

 

การเพิ่มประสิทธิภาพควบคุมมลพิษ PM2.5 

กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ประกาศขยับมาตรฐานค่าควันดำของรถยนต์เพิ่มขึ้นกว่าเดิม 15% มีผลบังคับใช้ 13 เมษายน 2565 นี้ หวังเพิ่มประสิทธิภาพควบคุมมลพิษ-แก้ปัญหา PM2.5 ในพื้นที่ กทม. สำหรับแผนการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ตัวอย่างไต้หวัน (1 เมษายน 2565) ได้ประกาศยุติการซื้อขายจักรยานยนต์เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างถาวรภายใน ค.ศ.2035 (พ.ศ.2578) เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อลดสภาวะเรือนกระจก (Greenhouse effect) จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (เป็น ก๊าซเรือนกระจก หรือ Greenhouse gases : GHGs) จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลทำให้เกิดฝุ่นพิษ PM2.5 

ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ซึ่งเป็นศูนย์ประสานงานกลางภายใต้รัฐบาลในการบูรณาการดำเนินงานการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ชี้แจงถึงการดำเนินงานของทุกภาคส่วนที่ผ่านมาว่าส่งผลให้สถานการณ์หมอกควัน ไฟป่า และฝุ่นละอองดีขึ้น

ช่วงวิกฤตปี 2565 พบว่าพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 15 มีนาคม 2565 มีจำนวนวันที่ฝุ่นละออง PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน 26 วัน ลดลง 61% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีจำนวน 67 วัน และหากพิจารณาเฉพาะวันที่มีปริมาณฝุ่นละอองอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) พบว่ามีจำนวน 1 วัน ลดลง 86% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งมีจำนวน 7 วัน

ต่อไปคนเมืองคงไม่แคล้ว อย่าลืมใส่หน้ากากเมื่อออกนอกบ้าน และเปิดเครื่องฟอกอากาศเมื่ออยู่ในที่พัก เพราะฝุ่นพิษ PM2.5 ยังไม่หายไปไหน ข่าวเมื่อต้นปี 2564 กรุงปักกิ่ง มีค่าฝุ่นพิษสูงถึง 300 มคก./ลบ.ม. ในช่วงเวลากลางวันซึ่งถือว่าเป็นอันตรายมาก เพราะว่าสถานการณ์ฝุ่นควันพิษ PM2.5 หากทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี จะมีผลต่อสุขภาพในระยะยาว 

 

สถานการณ์ภาคเหนือ 17 จังหวัด

ในส่วนของพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด ระหว่าง 1 มกราคม - 15 มีนาคม 2565 มีจำนวนวันที่ฝุ่นละออง PM2.5 เกินมาตรฐาน 38 วัน ลดลง 45% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีจำนวน 69 วัน และหากพิจารณาเฉพาะวันที่มีปริมาณฝุ่นละอองอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) พบว่ามีจำนวน 8 วัน ลดลง 60% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งมีจำนวน 20 วัน

แต่จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA พบว่า จำนวนจุดความร้อนในภาพรวมของประเทศไทย ระหว่าง 1 มกราคม - 15 มีนาคม 2565 มีจำนวน 31,082 จุด ลดลง 61% เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มี 79,441 จุด ซึ่งจะเห็นว่ามาตรการต่างๆ ประสบความสำเร็จในการลดจำนวนจุดความร้อนในประเทศไทย 

 

เมืองเชียงใหม่ หลังถูกขนานนามว่า 'เมืองจมฝุ่น (PM2.5)' มา10 กว่าปีแล้ว

ข้อมูลปี 2562 พบว่า “จังหวัดเชียงใหม่” ครองแชมป์เมืองมลพิษสูงที่สุดในโลกได้อย่างเหนียวแน่น ที่อยู่ในขั้นมหันตภัย รายงานจาก AirVisual พบว่าค่าฝุ่นละอองในจังหวัดเชียงใหม่วัดได้สูงสุดถึง 499 US AQI ในเขตรอยต่อของ อ.สันป่าตอง-อ.สะเมิง ซึ่งเป็นจุดภูเขาสูง ขณะที่ในเมืองก็เฉลี่ยอยู่ที่ 389 US AQI ซึ่งถึงจะน้อยลงมาเล็กน้อย แต่ก็ยังจัดอยู่ในขั้น “มหันตภัย” อยู่ดี และมากกว่าอันดับสองของโลกอย่างเมืองกาฐมาณฑุ ซึ่งวัดได้ 181 US AQI อยู่ถึง 2 เท่า

มีการเริ่มเรียกร้องว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ พ.ร.บ.อากาศสะอาด จะสามารถปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานการดำรงชีวิตของเราให้ได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ในพื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยของตัวเองสักที

ข่าวเมื่อ 18 มีนาคม 2565 กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ได้รายงานผลการตรวจรายงานค่ามลพิษ “แม่ฮ่องสอน” พุ่งแตะ 146 มคก./ลบ.ม. สูงสุดในห้วงปีนี้ ชี้เกินมาตรฐานต่อเนื่องแล้ว 20 วัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหนัก พบสาเหตุลอบเผาป่าส่งผลให้ควันพิษปกคลุมเมืองหนาทึบไม่หยุด นี่แม้แต่ในเขตเมืองอย่างเช่นในกรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีมลพิษทางอากาศสูงสุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก จากข้อมูลเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2565 พบว่าในเขต กทม.มีปริมาณ PM2.5 ระหว่าง 39-74 มคก./ลบ.ม. ซึ่งเกินมาตรฐานใน 53 พื้นที่

 

ผลกระทบจากฝุ่นพิษ PM 2.5  

ผลกระทบดังกล่าวอาจมีได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ มีอาการอักเสบแฝงในระบบอวัยวะจนเกิดอาการผิดปกติ ซึ่งเกิดได้ทั้งฉับพลันทันทีทันใด และแบบเรื้อรัง โดยผลกระทบตามระยะต่างๆ อาจทำให้เกิดโรคขึ้นใหม่ หรือทำให้โรคเดิมรุนแรงขึ้นทำให้เซลล์ของอวัยวะต่างๆ เสื่อมจนทำให้อวัยวะทำงานเสื่อมเร็วและรุนแรงขึ้นอาจทำให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง ตัวอย่างผลกระทบจาก PM2.5 ต่อระบบอวัยวะสำคัญหลักในการดำรงชีวิต ได้แก่
ระบบการหายใจที่พบได้เร็วและบ่อย (เช่น โพรงจมูกอักเสบทั้งแบบภูมิแพ้ และติดเชื้อหลอดคอ กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบ หอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปอดอักเสบ) ยังทำให้เกิดการติดเชื้อ (เช่น ไวรัสไข้หวัด ไวรัสไข้หวัดใหญ่ แบคทีเรีย)ได้ง่ายและรุนแรงมากขึ้นหลายเท่า
ระบบหัวใจ(กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว)
ระบบหลอดเลือด (หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองเสื่อม โรคstrokeของหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ หลอดเลือดดำอุดตัน)
ระบบสมอง(สมองด้อยประสิทธิภาพ สมองเสื่อม สมาธิสั้นและระบบจิตประสาท (อารมณ์แปรปรวน ความผิดปกติทางจิตแบบซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย) มีส่วนทำให้เกิดมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ (โดยเฉพาะมะเร็งปอด)
(ผู้โพส:นางสาวณัฐนิชา เทียมเทศ, ประธานพันธกิจด้านสังคม, 19 มีนาคม 2565)

 

กฎหมาย

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 37 วันที่ 4 เมษายน 2535 หน้า 1, พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 พ.ศ.2545, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 102 ก วันที่ 8 ตุลาคม 2545 หน้า 66, http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%CA08/%CA08-20-9999-update.pdf  & http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER0/DRAWER052/GENERAL/DATA0000/00000066.PDF 

 

อ้างอิง

หนังสือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด่วนที่สุด ที่ ทส 0306/2367 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2562 เรื่อง แผนปฏิบัติขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ  "การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง"

สงครามต้านฝุ่นในประเทศจีน, PM2.5 ในประเทศจีน, โดย อ.ดร.ลดาวัลย์ ไข่คำ, ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ใน SDG Insights, ส่องเพื่อนบ้าน, 26 มีนาคม 2564, https://www.sdgmove.com/2021/03/26/sdg-insight-neighbour-watch-china-war-against-pollution/ 

รัฐบาลมุ่งมั่น แก้ไข และหยุดยั้งปัญหาฝุ่นละออง (PM2.5) นับแต่กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ สถานการณ์ดีขึ้นโดยลำดับ, โดย ส่วนพัฒนาและบริหารระบบสารสนเทศ, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, 24 มีนาคม 2565, https://www.pcd.go.th/pcd_news/25460/ 

คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จัดทำขึ้น โดยในปี 2564 ได้ต่อยอดการดำเนินงานผ่านการจัดทำและขับเคลื่อนแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง 12 ข้อ และจัดตั้ง "ศกพ." ขึ้น, 25 มีนาคม 2565, 
https://main.healthstation.in.th/news/show/134

 

ข่าว

PM2.5 คืออะไร อันตรายและการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก, ไดกิ้น, 8 มกราคม 2563, https://www.daikin.co.th/service-knowledge/pm-2-5/ 
ตามไปดู จีนเอาจริงเรื่องมลภาวะ ค่า PM 2.5 ปักกิ่ง ลดต่ำเป็นประวัติการณ์, ไทยรัฐออนไลน์, 10 มกราคม 2563, https://www.thairath.co.th/news/society/1743491
ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 วาระแห่งชาติที่รัฐบาลยังแก้ปัญหาไม่ตรงจุด, YouTub, พรีวิว 1:01:53, THE STANDARD, 14 มกราคม 2563, https://www.youtube.com/watch?v=B8G0ZL_a_-w    
วิกฤตหมอก (ฝุ่น) ควันภาคเหนือ ใครรับผิดชอบ, กรุงเทพธุรกิจ, 21 มีนาคม 2563, https://www.bangkokbiznews.com/social/871991  
รัฐบาลกำชับทุกหน่วยงานเข้มข้นแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นวาระแห่งชาติ, workpointtoday, 9 พฤศจิกายน 2563, https://workpointtoday.com/gov-pm25/ 

 

ปักกิ่งลดฝุ่นพิษ PM2.5 ลง 53% ใน 5 ปี เล็งปลูกป่าอีก 6 หมื่นไร่, Xinhuathai, 24 มกราคม 2564, https://www.xinhuathai.com/china/171468_20210124 

‘เชียงใหม่’พุ่งติดอันดับ 1 เมืองมลพิษโลก ‘แม่ฮ่องสอน-เชียงราย’ ยังอ่วม, แนวหน้า, 12 มีนาคม 2564, https://www.naewna.com/local/558635  
กรุงปักกิ่งถูกปกคลุมด้วยฝุ่นควันพิษสีเหลือง, สำนักข่าวไทย, 15 มีนาคม 2564, https://tna.mcot.net/world-654879 
มท.1 สั่งการผู้ว่าฯ ทั่วปท. เตรียมรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน-ฝุ่นPM2.5, กรุงเทพธุรกิจ, 11 พฤศจิกายน 2564, https://www.bangkokbiznews.com/news/971350 

ฝุ่น PM2.5 : ไทยยังไม่ปรับค่ามาตรฐานฝุ่นตามองค์การอนามัยโลก เพราะอะไรและจะเกิดอะไรขึ้น, โดยสมิตานัน หยงสตาร์, บีบีซีไทย, 12 พฤศจิกายน 2564, https://www.bbc.com/thai/thailand-59260334  
“กทม.-ปริมณฑล” วิกฤติ ฝุ่นพิษคลุ้ง, สยามรัฐออนไลน์,  24 ธันวาคม 2564, https://siamrath.co.th/n/308264 

 

ปักกิ่ง มลพิษต่ำสุดรอบ 8 ปี จีนเดินหน้าใช้พลังงานสะอาด, ประชาชาติธุรกิจ, 19 มกราคม 2565, https://www.prachachat.net/world-news/news-845280 
ฝุ่น PM 2.5 กทม.-ปริมณฑล เกินเกณฑ์ 53 พื้นที่ มากสุดลาดพร้าว, ThaiPBS, 8 กุมภาพันธ์ 2565, https://news.thaipbs.or.th/content/312467  
คนไทยรู้จัก “PM 2.5” ดีแค่ไหน เมื่อฝุ่นพิษในกรุงเทพฯ ทะลุอันดับ 6 ของโลก, กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, 17 กุมภาพันธ์ 2565, https://www.bangkokbiznews.com/news/988874 

 

หมายเหตุเพิ่มเติม
ตัวอย่าง แผนป้องกันไฟป่าและหมอกควัน องค์การบริหารส่วนตำบลนานาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559, https://www.nanak.go.th/news/doc_download/a_130616_104845.docx 

ศอ.ปกป. : จัดตั้งตาม คำสั่ง ทส.ที่ 71/2559 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2559 เรื่อง จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ (ศอ.ปกป.) & กองทัพน้อยที่ 3 (ทน.3)/ ศอ.ปกป.ภาค (สน.) : จัดตั้งตาม วิทยุ ทภ.3 ด่วนมาก ที่ กห 0483/2723 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2560, http://www.mnre.go.th/nan/th/view/?file=qTMcMUujpP5gAKp5GQqgBTp4qQIcAatkpQIgZKpgGQugZ2p3qQucBUt1pQMgZKp1GQSgZJpjqQWcZat4pQSgZUplGP1gMJqfqTycMatipTIgoUqcGTMgY2q1qTycZ3t5pQSgY3qxGTSgo2qfqUOcqKti&n=คำสั่งกองทัพภาคที่%203%20เรื่อง%20จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับภาค%20(ศอ&t=GTMgq2qxqS9cMUug 

หมายเลขบันทึก: 700695เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2022 00:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2022 01:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you for this very useful summary. Taiwan’s Move to electric motorcycles is a good example what Thailand can do.

May I add ‘microplastics’ to the list (at least awareness) of PM2.5? Microplastics can already be in our blood and other organs, in air, in ground, and in water (even water supply). Microplastics are, in researches, a cause of many of our illnesses. Microplastics come from breaking-down, burning, wear-and-tear … of plastic gadgets, cloths, and packaging. We can help by reducing use of plastics, recycling, and not rubbishing (spreading plastics in our environment).

Though microplastics are defined as plastics of size less than 5mm. Plastic residuals of smaller than 5 um (micrometer) are quite common.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท