จาก "สหกรณ์โรงเรียน" เป็น "สหกรณ์นักเรียน" เพราะเหตุว่า


เคยไปทำงาน ส่งเสริมสหกรณ์ในโรงเรียนทั้งในถิ่นทุรกันดาร และไม่กันดาร นานมาแล้ว
ยังมีสหกรณ์ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง

ครูก็ย้าย นักเรียนก็จบ สหกรณ์ที่ตั้งขึ้นใครดูแลล่ะ
คำตอบคือ นักการภารโรง เพราะอยู่นานที่สุด

สหกรณ์โรงเรียน เลยเป็นหารายได้เสริมของนักการภารโรงไป
จากนั้นครูคนใหม่ ก็ยึดแนวทางนั้นต่อมา เป็นสถานที่หารายได้เข้าโรงเรียน

สหกรณ์ในโรงเรียนตั้งขึ้นเพื่อการศึกษา เพื่อเป็นห้องทดลองเชิงปฏิบัติการ
ให้นักเรียนได้ศึกษา รุ่นต่อรุ่น จบไปได้มีความรู้ (knowladge)  และทักษะ (skill) ด้านการสหกรณ์


ต้องแก้ไขกันอยู่นาน กว่าจะกลับมาสู่วัตถุประสงค์ที่ถูกต้อง
ของการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ ซึ่งในตอนหลังร่วมใจกัน เรียกว่า “สหกรณ์นักเรียน”

เพื่อคงไว้ซึ่งวัตถุประสงค์ในการพัฒนานักเรียน
ตามแนวทางการเรียน แบบ Child Center การเรียนรู้โดยมีเด็กนักเรียนเป็นศูนย์กลาง

มาถึงสหกรณ์ไทยในปัจจุบัน

สมาชิกสหกรณ์เอาใจใส่สหกรณ์ที่ตนเองเป็นเจ้าของ
เลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการเข้าไปเป็นตัวแทนเพื่อบริหารงานสหกรณ์ของตนเอง

โดนพรบ. สหกรณ์มาตรา 50 กำหนดให้ผู้เสียสละและมีจิตอาสา มาทำหน้าที่แทนสมาชิก(เจ้าของ)สหกรณ์
ทำหน้าที่จิตอาสาได้ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน สมาชิกจะเลือกผู้เสียสละผู้นั้นเป็นกรรมการต่อไปไม่ได้
ผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ก็ด้วย

ผู้ที่อยู่นานที่สุดและมั่นคงที่สุดในสหกรณ์ กลับเป็นผู้จัดการสหกรณ์ และพนักงานสหกรณ์ จะอยู่ตลอดจนเกษียณอายุ
คล้ายกับ นักการภารโรง ในโรงเรียน ในสมัยก่อนนั้น

จะแก้ไขเรื่องนี้ ต้องพัฒนากฏหมาย 
จะพัฒนากฏหมายให้ถูกต้อง ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับหลักการสหกรณ์สากล “หลักสี่”

4th Principle: Autonomy and Independence
Co-operatives are autonomous, self-help organisations controlled by their members. If they enter to agreements with other organisations, including governments, or raise capital from external sources, they do so on terms that ensure democratic control by their members and maintain their co-operative autonomy.

หลักการที่ 4 :การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ
สหกรณ์เป็นองค์การที่พึ่งพาและปกครองตนเอง โดยการควบคุมของสมาชิก ในกรณีที่สหกรณ์จำต้องมีข้อตกลงหรือผูกพันกับองค์การอื่นๆ รวมถึง องค์การของรัฐ หรือต้องแสวงหาทุนจากแหล่งภายนอก สหกรณ์ต้องกระทำภายใต้เงื่อนไขอันเป็นที่มั่นใจว่า มวลสมาชิกจะยังคงไว้ซึ่งอำนาจในการควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย และยังคงดำรงความเป็นอิสระของสหกรณ์

หากไปจากกทม. 1 หรือ กทม. 2 ตามถนนวิภาวดีรังสิต ยังไปไม่ถึงหลักสี่ ก็จะยังไปไม่ถึงดอนเมือง ครับ

พีระพงศ์ วาระเสน บ๊อบบี้
นักการสหกรณ์ไทย ด้วยหัวใจ 💚
วันที่ 28 มีนาคม 2565 

คำสำคัญ (Tags): #สหกรณ์นักเรียน
หมายเลขบันทึก: 699857เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2022 05:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2022 08:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท