กระบวนการเกิดนวัตกรรมการศึกษา


กระบวนการเกิดนวัตกรรมการศึกษา

"นวัตกรรม" คือ กระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการ“ต่อยอด” โดยพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น

การเกิดนวัตกรรม มีกระบวนการที่สำคัญ 3 ขั้นตอนคือ 

1. การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ หรือพัฒนาของเดิมให้ดียิ่งขึ้นเหมาะสมกับสภาพงาน หรือเหมาะสมกับกาลสมัย

2. การพัฒนาที่อาศัยหลักการ ทฤษฎี และมีการทดลองจัดกระทำในลักษณะของการทดลองปฏิบัติ   (Pilot Project) จนเชื่อถือได้ 

3. การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ทำการประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติ

การที่จะพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่ ต้องมีคุณลักษณะผ่านกระบวนการครบทั้ง  3 ขั้นตอนมาตามที่กล่าวมาแล้ว อาทิ เช่น การใช้บทเรียนแบบออนไลน์ (E-Leaning) เป็นนวัตกรรม เพราะ ผ่านกระบวนการครบทั้ง 3 ขั้นตอน กล่าวคือ ขั้นที่หนึ่งมีการประดิษฐ์คิดค้น ขั้นที่สองมีการทดลองใช้ และปรับปรุง

กระบวนการเกิดนวัตกรรมการศึกษาจะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องทราบเป้าหมายของนวัตกรรมจะวัดอะไร เช่น 1) เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น 2) เพื่อทำให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาที่วางไว้ และ3) เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น ส่งผลให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพสูงสุด

นอกจากนี้ กระบวนการเกิดนวัตกรรมการศึกษาต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งองค์ประกอบก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์มี 3 ประการ คือ 

1. ความเชี่ยวชาญ ในที่นี้หมายถึง ความรู้ ด้านเทคนิค กระบวนการ และความฉลาด 

2. ทักษะในการคิดอย่างสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการพัฒนาและแสดงความคิดที่แปลกใหม่เพื่อ แก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการบางอย่าง ทักษะในการคิดอย่างสร้างสรรค์มักเกิดจากบุคลิกภาพและวิธีการของแต่ละบุคคล ยิ่งถ้าวิธีการเป็นแบบที่ไม่ลดละในการหาทางแก้ปัญหาจะยิ่งช่วยให้เกิดทักษะในการคิดอย่างสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นได้

3. 2.3 แรงจูงใจ อาจเกิดจากทั้งภายนอกหรือภายใน แรงจูงใจภายนอกจะได้จากปัจจัยภายนอก เช่น เงินรางวัล หรือการเลื่อนตำแหน่ง ส่วนแรงจูงใจภายในเป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นจากความปรารถนาอันแรงกล้า หรือความสนใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งของบุคคล

ดังนั้น ทุกคนสามารถและมีศักยภาพอยู่แล้วแต่อาจจะมากน้อยแตกต่างกัน ซึ่งหากสิ่งที่มากระตุ้นอย่างเหมาะสม ก็จะสามารถเกิดการคิดสร้างสรรค์ที่เป็นรูปธรรมหรือที่เรียกว่า นวัตกรรม ขึ้นมาได้

ที่มา ฟารีดา หีมอะด้า และและรัตนะ บัวสนธ์ การออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการวัดผลการเรียนรู้

ว.มรม. ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 : มกราคม - เมษายน 2564

วชิรศักดิ์ มัชฌิมาภิโร บทบาทของนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนรู้ วารสารราชพฤกษ์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2557), 1-9

หมายเลขบันทึก: 698370เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2022 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2022 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท