การปฏิรูปศาสนา (Religious Reformation)


   การปฏิรูปศาสนา เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีสาเหตุ สำคัญมาจากความเสื่อมความนิยมในผู้นำทางศาสนาและการเกิด

แนวคิดใหม่เกี่ยวกับศาสนา เนื่องจากมีการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและแปลออกเป็นภาษาต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน

 ทำให้คริสต์ศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจใหม่ การปฏิรูปศาสนาจึงเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศ โดยมีผู้นำการปฏิรูปหลายคนและ

ใช้ชื่อแตกต่างกัน  

    การปฏิรูปคริสต์ศาสนา หมายถึง ขบวนการในยุโรปตะวันตกที่ปัจเจกชนและสถาบันต่างๆ แสดงความเห็นคัดค้านการปฏิบัติ

ที่ไม่ถูกต้องตามหลักในคัมภีร์ไบเบิล การปฏิรูปเป็นไปอย่าง ต่อเนื่อง จนในที่สุดคริสต์ศาสนาในยุโรปได้แตกแยกเป็น 2 นิกาย คือ

โรมันคาทอลิกและ โปรเตสแตนต์

   สาเหตุการปฏิรูปศาสนา มีดังนี้                                                                                                                                   1.ประชาชนไม่พอใจสันตะปาปาที่กรุงโรม พระและบาทหลวงที่มีความเป็นอยู่อย่าง ฟุ่มเฟือย หรูหรา ทั้งยังเรียกเก็บภาษี

บำรุงศาสนาสูงขึ้น เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในคริสตจักรใน กรุงโรม รวมทั้งการซื้อขายตำแหน่งของพวกบาทหลวงและความเสื่อมเสีย

ในจริยวัตรของ สันตะปาปาที่ครองอำนาจในคริสต์ศตวรรษที่ 15-16       

           2.เจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ ในยุโรปต้องการเป็นอิสระจากคริสตจักรที่มีสันตะปาปาเป็น ผู้ปกครอง และจากจักรพรรดิแห่ง

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากสันตะปาปาเข้าไปยุ่งเกี่ยว และใช้อำนาจทางการเมือง 

           3.การศึกษาในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ทำให้ชาวยุโรปเห็นว่ามนุษย์สามารถทำความ เข้าใจคัมภีร์ไบเบิลได้ด้วยตนเอง

มากกว่าที่จะผ่านพิธีกรรมของศาสนจักร        

          4.สันตะปาปาจูเลียสที่ 2 (Julius II) และสันตะปาปาลีโอที่ 1 ต้องการหาเงินในการ ก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่

กรุงโรม จึงส่งคณะสมณทูตมาขาย “ใบไถ่บาป” ในดินแดน เยอรมนี เนื่องจากเป็นแนวคิดของชาวคริสต์ว่า พระเป็นเจ้า 

ส่งพระเยซูคริสต์มาช่วยมนุษย์ให้พ้นจากบาปเรียกว่า การไถ่บาป (Redemption) ด้วยการเสียสละพระชนม์ชีพ การไถ่บาป

จะเป็นการเปิดทางให้มนุษย์ได้รับการอภัยโทษ และกลับมามีความสัมพันธ์กับพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ได้ อย่างถูกต้อง

   การเริ่มต้นปฏิรูปศาสนา        

         การปฏิรูปศาสนาเริ่มต้นในดินแดนเยอรมนีใน ค.ศ. 1517 เมื่อมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther : ค.ศ. 14831546)

 นักบวชชาวเยอรมันและเป็นผู้สอนเทววิทยาสายคัมภีร์ (Biblical Theology) แห่งมหาวิทยาลัยวิทเทนบูร์ก (Wittenburg)

       ในเยอรมนีได้เขียนญัตติ 95 ข้อ(Ninety-Five Theses)คัดค้าน การขายใบไถ่บาปติดไว้หน้ามหาวิหารแห่งเมืองวิทเทนบูร์ก

 ญัตติของเขาได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในเยอรมนี แต่ผู้นำของคริสตจักรได้ลงโทษเขา โดยประกาศให้เขาเป็นบุคคล

 นอกศาสนา(การบัพพาชนียกรรม : Excommunicaion) แต่เจ้าชายเฟรเดอริก (Friederick The Wise) ผู้ครองแคว้น

แซกโซนีได้ให้ความอุปถัมภ์เขาไว้และให้เขาแปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษา เยอรมัน ทำให้ความรู้ด้านศาสนาแพร่หลายไปทั่ว

 นอกจากนี้เขา ได้ก่อตั้งนิกายลูเธอร์ (Lutherantism) ซึ่งได้แพร่ขยายไปทั่วเยอรมนีและสแกนดิเนเวีย    

         ในสวิตเซอร์แลนด์ได้เกิดการปฏิรูปศาสนาเช่นกัน โดยเริ่มจากอุลริค ชวิงลี (Ulrich   Zwingli : ค.ศ. 1484-1531)

     ชาวเยอรมัน ไฮริช บูลลิงเจอร์ (Heinrich Bullinger) และจอห์น คาลวิน หรือกัลแวง (John Calvin : ค.ศ. 1509-1564)

     ชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งลัทธิคาลวินส์ (นิกายกัลแวง : Calvinism) ที่แพร่หลายในสวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และสกอตแลนด์             

      ในอังกฤษ พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงขัดแย้งกับสันตะปาปา เรื่องการหย่าขาดกับพระมเหสี องค์เดิมของพระองค์ คือ    

 พระนางแคเธอรีนแห่งอารากอน (Catherine of Aragon) เพื่ออภิเษกสมรสใหม่ พระองค์จึงให้อังกฤษแยกตัวทางศาสนา

 ออกจากศาสนจักรที่กรุงโรม โดยแต่งตั้ง สังฆราชแห่งแคนเทอร์บิวรี (Archbishop of Canterburt) ขึ้นใหม่ 

ต่อมาในค.ศ. 1563 กษัตริย์อังกฤษ (สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบทที่ 1)ทรงประกาศตั้งนิกายอังกฤษหรือนิกายแองกลิคัน

 (Anglican Church)โดยกษัตริย์อังกฤษเป็นประมุขของศาสนา นิกายนี้มีลักษณะเด่นคือ การยอมรับและรักษาพิธีกรรมต่างๆ

ของนิกายโรมันคาทอลิก แต่ไม่ยอมรับนับถือสันตะปาปาที่กรุงโรม

         ในฝรั่งเศส ลัทธิคาลวินได้แพร่หลายในฝรั่งเศสในกลุ่มที่เรียกว่า พวกอูเกอโนต์ (Huguenot) ซึ่งถูกรัฐบาลปราบปราม

อย่างหนักในคริสต์ศตวรรษที่16 การปฏิรูปได้แพร่ขยายจากเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ ฮอลแลนด์ และกลุ่มสแกน- ดิเนเวีย

 ไปยังประเทศอื่นๆในยุโรปและมีการต่อต้านทุกแห่ง การต่อต้านอย่างรุนแรงเกิดขึ้นใน ฝรั่งเศสและสเปน จนกลายเป็นสงคราม

ศาสนา   

       นิกายทางศาสนาที่เกิดขึ้นใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นี้ คือ นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) ซึ่งหมายถึงผู้คัดค้าน

 ซึ่งต่อมาได้แยกเป็นนิกายต่างๆ มากมาย เช่น นิกาย ลูเธอร์แรน นิกายรีฟอร์ม นิกายเพรสไบทีเรียน นิกายแองกลิคัน เป็นต้น

 การปฏิรูปศาสนาของคริสตจักร    

      เมื่อมีการปฏิรูปศาสนาในดินแดนต่างๆ นักบวชและชาวคริสต์บางคนได้รวมตัวกันต่อต้าน และปฏิรูปตนเอง รวมทั้งชักชวนให้

คริสต์ศาสนิกชนอื่นๆ ทำตาม บางท่านมีผู้เลื่อมใสและยกย่อง ให้เป็นนักบุญ เช่น บริจิตต์แห่งสวีเดน (Brigitt of Sweden)   

ฟรังซีสแห่งปาโอลา (Francis of  Paola)

     ในอิตาลี และพวกปัญญาชนพยายามศึกษาเรื่องศาสนาและเผยแพร่สู่ประชาชน ซึ่งการ ปฏิรูปดังกล่าวเป็นการปฏิรูปจาก

คริสต์ศาสนิกชนเบื้องล่าง แต่เมื่อการปฏิรูปศาสนาลุกลามไป อย่างรวดเร็ว คริสตจักรจึงได้หาทางยับยั้ง ดังนี้  

    1. การประชุมสังคายนาแห่งเทรนต์ (Council of Trent) ในระหว่าง ค.ศ. 1545-1547 และ ค.ศ. 1562-1563 เพื่อกำหนด

ระเบียบวินัยภายในคริสตจักร ยกเลิกการขายใบไถ่บาป และ ให้ใช้ภาษาพื้นเมืองในการสอนศาสนา   

    2.การปรับปรุงระเบียบวินัยของนักบวชและตั้งคณะนักบวชเพื่อการปฏิรูป เช่น คณะเยซูอิต ตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1534 เพื่อจัดตั้ง

โรงเรียนสอนศาสนาและเผยแผ่ศาสนาไปยังประเทศ ต่างๆ การปฏิรูปศาสนาของคริสตจักรทำให้เกิดมิชชันนารีจำนวนมาก 

เพื่อเผยแผ่คำสอนของ โรมันคาทอลิกไปทั่วโลก

 ผลของการปฏิรูปการศาสนา ก่อให้เกิด      

       1.คริสตศาสนาแบ่งออกเป็น 2 นิกาย คือ โรมันคาทอลิก มีศูนย์กลางที่กรุงโรม มี สันตะปาปาเป็นประมุข และนิกาย

โปรเตสแตนต์ ซึ่งแยกเป็นนิกายต่างๆ ได้แก่ นิกายลูเธอร์แรน นิกายคาลวิน นิกายแองกลิคัน เป็นต้น (ส่วนนิกายออร์ทอดอกซ์

แยกตัวไม่ขึ้นกับสันตะปาปา ใน ค.ศ. 1045 โดยมีสังฆราช ที่เรียกว่า PatriarchA เป็นประมุข ซึ่งแพร่หลายในกรีซ รัสเซีย 

เซอร์เบีย โรมาเนีย บัลแกเรีย) ทำให้ความเป็นเอกภาพทางศาสนาสิ้นสุดลง     

       2.เกิดการกระตุ้นให้ศึกษาหลักธรรมทางคริสต์ศาสนามากยิ่งขึ้นในหมู่สามัญชน มีการ เผยแผ่คริสต์ศาสนาไปยังดินแดนต่างๆ    

      3.เกิดกระแสชาตินิยมในประเทศต่างๆ เนื่องจากนิกายโปรเตสแตนต์ส่งเสริมวัฒนธรรม ท้องถิ่น และส่งเสริมให้อำนาจแก่ผู้

ปกครองในท้องถิ่นเป็นตัวแทนของพระเจ้าในการปกครอง ประเทศ   

    4.เกิดสงครามศาสนาในยุโรปหลายครั้ง ส่งผลให้สถาบันกษัตริย์มีอำนาจเหนือคริสตจักรในที่สุด

การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ (Protestant Reformation)     

   คือขบวนการการปฏิรูปศาสนาที่เริ่มโดย มาร์ติน ลูเทอร์ เมื่อปี ค.ศ. 1517 เพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของคริสตจักร

โรมันคาทอลิกและสถาบันสันตะปาปา มาเสร็จสิ้นลงด้วยสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ค.ศ. 1648 ผลจากการปฏิรูปคือ

   การแยกตัวจากนิกายคาทอลิกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ 

เหตุการณ์ก่อนการปฏิรูป     

  มีเหตุการณ์หลายประการที่เป็นต้นเหตุเกิดการเปลี่ยนแปลง และปฏิรูปศาสนาคริสต์ครั้งใหญ่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16

     1.สถาบันสันตะปาปาตกอยู่ใต้อำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 1305-1375 ที่เรียกว่า “การคุมขัง

แห่งบาบิโลเนีย”หรืออาวีญง ทำให้สถาบันฯเสื่อมอำนาจและความศักดิ์สิทธิ์และเป็นชนวนให้ผู้ใฝ่ในศาสนาดิ้นรนที่   จะศึกษาถึง

แก่นแท้ของคำสอน เกิดเป็นขบวนการการศึกษาภาษาฮีบรูและกรีก  โดยมีศูนย์ที่เมืองฟลอเรนซ์และมีการค้นคว้าศึกษาวิจัยคัมภีร์

ไบเบิลอย่างมากมายเพื่อให้ได้มาซึ่งสัจจะในคำสอน การได้ศึกษาพระคัมภีร์ด้วยตัวเองทำให้นักคิดชั้นนำสามารถวิจารณ์โจมตี

สถาบันศาสนาได้อย่างเต็มที่ 

    2.การพัฒนาของเทคโนโลยีการพิมพ์ แบบเรียงพิมพ์ทำให้มีการแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาต่าง ๆ และตีพิมพ์อย่างแพร่หลาย 

ซึ่งทำให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสศึกษาคัมภีร์ไบเบิลได้ด้วยตัวเอง และไม่จำเป็นต้องเชื่อฟังบาทหลวง บิชอป หรือสภาสังคายนา

ที่จะวินิจฉัยวางหลักการอย่างไรก็ต้องยอม  

              1.อีราสมัส (Desiderius Erasmus ค.ศ. 1466-1563) แปลพระคัมภีร์ฉบับกรีกเพื่อเผยแพร่ทั่วไป 

              2.บิชอปซิเมเนส (Ximenes) เป็นผู้ควบคุมจัดทำคัมภีร์ไบเบิลฉบับสมรวม (The Polyglot Bible)    

    3.ในช่วงศตวรรษที่ 14 เรื่อยมา มีการดึงอำนาจที่กระจัดกระจายในหมู่ขุนนางศักดินา กลับคืนสู่ราชบัลลังก์ โดยได้รับความ

ช่วยเหลือของกลุ่มชนใหม่ที่มีภูมิกำเนิดนอกสังคมขุนนางศักดินา คือกลุ่มชนที่มีพลังเศรษฐกิจและมีความรู้ความสามารถอันเป็น

ผลจากความสำเร็จของครอบครัวทางการค้า หรืออุตสาหกรรม กลายเป็นสังคมรัฐประชาชาติ มีการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจทางการ

เมืองภายในรัฐ ระหว่างรัฐในยุโรปกับสถาบันสันตะปาปา กลุ่มชนใหม่เหล่านี้ให้การสนับสนุนต่อประมุขการเมืองของรัฐปราบปราม

บรรดาขุนนางศักดินาภายในรัฐ และต่อต้านสถาบันสันตะปาปาจากภายนอก กลุ่มชนใหม่นี้เรียกว่าชนชั้นกลางซึ่งประกอบด้วย

กลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจ นายธนาคาร และกลุ่มผู้มีการศึกษา  

       4.สันตะปาปาในระยะศตวรรษที่ 15-16 ให้ความสำคัญในการประกอบภารกิจทางศาสนาน้อยมาก มีการหมกมุ่นในทางโลก

และละเลยหน้าที่รับผิดชอบทางธรรมและพระวินัย มีการขายใบไถ่บาป (Sale of Indulgence) และการบูชาเรลิกของนักบุญ

 อย่างงมงาย มีการซื้อขายตำแหน่งสมณศักดิ์ มีการอุดหนุนบุคคลในครอบครัวให้ได้รับตำแหน่งสำคัญในศาสนา เช่น 

        สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 (ค.ศ. 1492-1503) แห่งสกุลเบอร์เจีย พยายามจะสร้างฐานะมั่นคงทางโลก 

และทรัพย์สินแก่ลูกชายลูกสาวอย่างลับ ๆ โดยลูกชายคนสำคัญคือ ซีซาเร เบอร์เจีย (ค.ศ. 1476-1507) และให้เมียลับแต่งตัว

เป็นชายร่วมขบวนแห่เฉลิมพระเกียรติของพระองค์  

      5.ในสภาสังคายนาแห่งคอนสแตนซ์ (The Constance Council) ค.ศ. 1417 ภายในการนำของจักรพรรดิซิกิสมุนด์

 (Sigismund ค.ศ. 1410-1437) เปิดเผยหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าเอกสาร “บรรณาการของคอนสแตนติน”เป็นเอกสารปลอมที่

สถาบันสันตะปาปาจัดทำขึ้นในศตวรรษที่ 8 ทำให้อำนาจของคริสตจักรยิ่งเสื่อมและสูญเสียความนิยม มีกลุ่มคนเช่น    

       จอห์น วิคลิฟฟ์ (John Wyclyffe ค.ศ. 1320-1384) ยาน ฮุส (Jan Hus ค.ศ. 1369-1415) และเวสเซล (Wessl 

ค.ศ. 1420-1489) โจมตีคริสตจักรจากภายในเพื่อรื้อฟื้นให้คริสตจักรกลับเป็นผู้เผยแพร่คำสอนที่แท้จริง ซึ่งถึงแม้จะไม่ประสบ

ความสำเร็จ   แต่มีผลที่ทำให้คนในยุโรปในศตวรรษที่ 15 กล้าก้าวออกมาจากความงมงายของคำสอนที่แหลกเหลว และเคร่งครัด

ในยุคกลาง ตลอดจนการทำลายบทบาทของคริสตจักร ในฐานะอุปสรรคสำคัญของความก้าวหน้าทางด้านศิลปะวิทยาการ และ

ความคิดที่มีเหตุผล   

      การปฏิรูปศาสนา เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และเสร็จสิ้นลงด้วยสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ค.ศ. 1648 ซึ่งแบ่ง

ออกเป็น 2 กระแสใหญ่ ๆ คือ  

     1.การปฏิรูปภายนอกที่แบ่งศาสนาคริสต์ออกเป็น 2 นิกายคือ โรมันคาทอลิก และโปรเตสแตนต์ 

     2.การปฏิรูปภายใน ที่แก้ไขความเสื่อมโทรมของศาสนา และสถาบันสันตะปาปา เพื่อต่อสู้ไม่ให้ชาวยุโรปหันไปนิยม

นิกายโปแตสแตนต์ที่เกิดขึ้นใหม่

      โดยการปฏิรูปนั้นเริ่มต้นจากหลายๆทาง  จุดเริ่มต้นขบวนการปฏิรูปศาสนา    

     1.ผลงานวิทยานิพนธ์ “เทวนคร” (City of God) ของออกัสตินแห่งฮิปโป ที่เป็นแรงบันดาลใจในหมู่นักปฏิรูป   

      2.ขบวนการฮุสไซต์ (The Hussites) กลุ่มผู้ติดตามยัน ฮุส (Jan Hus) ชื่อหลักการ Utraquism คือ ฆราวาสมีสิทธิ     

เช่นเดียวกับสงฆ์ในพิธีรับศีลมหาสนิท ที่จะรับทั้งขนมปังและเหล้า โดยในสมัยนั้นฆราวาสจะรับได้เพียงขนมปังและน้ำเท่านั้น

       ซึ่งเบื้องหลังคือการกดดันให้สถาบันสันตะปาปา และคณะกรรมาธิการศาสนา (Council Authority) ยอมรับว่าทั้งบรรพชิต

และฆราวาสนั้นเท่าเทียมกัน และพระคัมภีร์เท่านั้นที่มีอำนาจสูงสุดในศาสนกิจ โดยภายหลังการปฏิรูปศาสนากลุ่มฮุสไซต์ได้เข้า

รวมกับพวกติดตามลูเทอร์  

     3.ขบวนการลอล์ลาร์ด (The Lollard Movement) ของจอห์น วิคลิฟฟ์ (John Wycliffe) ที่เน้นการปรับปรุงศาสนาให้ 

เข้ากับความต้องการของสามัญชน เน้นการเทศนาสั่งสอนมากกว่าการรับศีล ต่อต้านการสารภาพบาป การสวดมนต์ให้แก่ผู้สิ้น

ชีวิตแล้ว การเดินทางไปจาริกแสวงบุญ การเชื่อเครื่องรางของขลัง และเริ่มการใช้คัมภีร์ไบเบิลที่แปลเป็นภาษาพื้นเมือง เพื่อให้ 

ชาวบ้านได้ศึกษาพระคัมภีร์ด้วยตนเองแทนการพึ่งพิงพระที่ใช้พระคัมภีร์ภาษาละติน โดยขบวนการลอล์ลาร์ดนี้มีความสัมพันธ์

ใกล้ชิดกับการปฏิรูปศาสนาระยะแรกภายใต้มาร์ติน ลูเทอร์

     พบว่าขบวนการปฏิรูปศาสนานั้นได้มีการเริ่มมาจากความไม่พอใจของสงฆ์ที่มีธรรมะ และสามัญชนที่ผิดหวังในสถาบันศาสนา

 ประกอบกับมีการผันแปรทางการเมือง ทัศนคติทำให้ผู้ที่ปรารถนาจะแก้ไขความเสื่อมในศาสนากล้าที่จะประกาศตนออกจาก

สถาบันศาสนา โดยไม่ต้องหวาดกลัวต่อชะตากรรมแบบ “ลอยแพ” ของสังคมในยุคกลางอีกต่อไป

ผลของการปฏิรูปศาสนา  

 ทางการเมือง         

     การปฏิรูปศาสนาได้ทำให้พวกที่ไม่ต้องการระเบียบแบบแผน และพวกที่มีความคิดเห็นรุนแรงทางศาสนาก่อการจลาจลวุ่นวาย

ขึ้นเรียกว่า ”กบฏชาวนา” ในปี ค.ศ. 1525 ที่โบฮีเมีย มีทั้งกลุ่มอัศวินต่อสู้กับเจ้านายของตน และพวกชาวนาที่ก่อการปฏิวัติต่อ

เจ้าของที่ดินโดยต่างยื่นข้อเสนอเรียกร้องสิทธิของตน และกำหนดกฎเกณฑ์เอาตามใจชอบ บ้างก็ขอเสรีภาพในการถือศาสนา 

ดังนั้นลูเทอร์จึงได้ลุกขึ้นมาสอนให้ประชาชนเคารพประมุข และกฎหมายของรัฐ และต่อต้านการจลาจล โดยถือว่าประมุขของรัฐมี

อำนาจอันชอบธรรมในสายตาของศาสนา ที่จะดำเนินการเด็ดขาดกับขบวนการเหล่านี้ เพราะฉะนั้นคำสอนของ           

ลักธิลูเทอรันส่งเสริมอำนาจชนชั้นปกครอง     

ทางศาสนา               

      เกิดการปฏิรูปศาสนาไปทั่วยุโรปโดยแบ่งออกเป็นแยกนิกายเป็น โปรเตสแตนต์และโรมันคาทอลิก

      การปฏิรูปภายในนิกายโรมันคาทอลิกเอง เช่น เกิดคณะเยสุอิต (The Jesuits) ที่เน้นการศึกษาวิทยาการใหม่เพื่อปรับตัวให้

เข้ากับสภาพแวดล้อม สภาสังคายนาแห่งเทรนต์ (1545-1563) ซึ่งต้องการแก้ไขข้อติดเตียนของขบวนการปฏิรูปศาสนา

โปรเตสแตนต์ทั้งหมด แต่ยังเชื่อว่าสิทธิอำนาจมาจากพระคัมภีร์และขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ที่คริสตจักรได้รับสืบทอดมาจากเปโตร

 และยอมรับอำนาจของสันตะปาปาว่ายังมีอยู่ ผลการปฏิรูปนิกายโรมันคาทอลิก ทำให้สามารถป้องการการขยายตัวของความ

นิยมในนิกายโปรเตสแตนต์อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าสันตะปาปาต้องเสียอำนาจในยุโรปไปมาก แต่ก็ยังสามารถรักษาอิทธิพลทาง

จิตใจเหนือประชากรจำนวนมากของโลกตะวันตกไว้ได้ และสามารถฟื้นฟูความศักดิ์สิทธิของโรมได้จนถึงปัจจุบัน                               

หมายเลขบันทึก: 697985เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2022 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2022 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท