การสำรวจทางทะเลของชาติตะวันตก


      ประเทศในยุโรปได้แข่งขันกันสำรวจทางทะเล และทำให้มีการจับจองดินแดนต่างๆ เป็นอาณานิคม ดังนี้

     โปรตุเกส เป็นชนชาติแรกที่เริ่มสำรวจทางทะเลอย่างจริงจัง ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยเจ้าชายเฮนรีหรือ Henry the Navigator เป็นผู้ส่งเสริมการพัฒนาการเดินเรือและฝึกฝนนักเดินเรือของโปรตุเกส ทำให้โปรตุเกสเริ่มยึดครองดินแดน เพื่อตั้งสถานีการค้าแถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก

       ต่อมาใน ค.ศ. 1498 วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) นักเดินเรือชาวโปรตุเกสประสบความสำเร็จในการเดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปและแล่นเรือตัดมหาสมุทรอินเดียไปยังประเทศอินเดีย                 หลังจากนั้นโปรตุเกสได้ขยายไปจับจองอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ (ประเทศบราซิลปัจจุบัน) เกาะลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมาเก๊า

                                                                     Vasco da Gama

                                                            แผนที่เดินของวาสโก ดา กามา

    สเปน   เริ่มต้นสำรวจโดยคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) นักเดินชาวอิตาเลียนที่ได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์ คือพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 และพระนางอิสซาเบลลาที่ 1   โคลัมบัสและลูกเรือ 90 คนและเรือ 3 ลำโดยแล่นเรือไปทางทิศตะวันตกข้ามมหาสมุทรแอตแลนติคไปถึงเกาะบาฮามาส์ (Bahamas) ทางตะวันออกของฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน และตั้งชื่อว่า "ซาน ซัลวาดอร์" (San Salvador) เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ 1492 ซึ่งเขาคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียเขาเดินเรือต่อไปจนถึงคิวบา 

                                                                Christopher Columbus

อเมริโก เวสปุซซี (Americao Vespucci) ชาวยุโรป จึงทราบว่าดินแดนที่โคลัมบัสค้นพบนั้นเป็น “โลกใหม่”หรือดินแดนใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักในยุโรปและเรียกว่า “อเมริกา” ตามชื่อของ  อเมริโก เวสปุซซี 

  

                                                                     Americao Vespucci

     เอร์นัน กอร์เตส เด มอนรอย อี ปีซาร์โร หรือ เอร์นันโด กอร์เตส (Hernando Cortés) เป็นนักทำแผนที่ นักสำรวจ  กอร์เตสเป็นผู้พิชิตจักรวรรดิแอซเท็กซึ่งอยู่บริเวณประเทศเม็กซิโกในปัจจุบัน

                                                                          Hernando Cortés

        ฟรานซิสโก ปีซาร์โร (Francisco Pizarro)  ได้เดินทางจากปานามาเพื่อสำรวจดินแดนทางใต้และค้นพบจักรวรรดิอินคาในปี ค.ศ. 1526 ในปี ค.ศ. 1535 ปีซาโรต์ได้ตั้งกรุงลิมาขึ้นเป็น เมืองหลวงของเปรูแทนนครคุซกู (Cuzco)ของอินคา ซึ่งทำให้เปรูตกเป็นอาณานิคมของสเปนโดยสมบูรณ์

                                                                                  Francisco Pizarro

             เฟอร์ดินานด์ มาเจลแลน (Ferdinand Magellan) ได้แล่นเรือรอบโลก ในระหว่างปีค.ศ. 1519-1522 ผ่านมหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific)มาจากภาษาละตินแปลว่า“ความสงบ-สันติ” ช่องแคบแมกเจลแลน (Straits of Magellan)  ซึ่งอยู่ระหว่างปลายสุดแผ่นดินใหญ่อเมริกาใต้กับหมู่เกาะเตียรร์รา เดล ฟูเอล โก (Tierra del Fuego) ประเทศชิลี

                                                                 Ferdinand Magellan

การค้นพบทวีปอเมริกา ทำให้สเปนครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกา (ทั้งเหนือและใต้) รวมทั้งหมู่เกาะจำนวนมากในทะเลแคริเบียน นอกจากนี้สเปนยังยึดครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมด้วย ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สเปนเป็นจักรววรดิที่ยิ่งใหญ่และมั่งคั่งที่สุด

        อังกฤษ    ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 คณะนักสำรวจของอังกฤษได้พบดินแดนชายฝั่งหมู่เกาะนิวฟาวแลนด์ (New Foundland)และโนวาสโกเทีย (Novascotia) ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาเหนือ แต่ยังไม่ได้จัดตั้งอาณานิคมใดๆ   ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 16 อังกฤษเริ่มพัฒนากองเรือเพื่อทำลายความเข้มแข็งทางการค้าทางทะเล ของโปรตุเกสและสเปน ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 รัฐบาลอังกฤษออกประทานบัตรให้จัดตั้งบริษัทเอเชียตะวันออกของอังกฤษ  ซึ่งได้จัดตั้งสถานีการค้าในอินเดียและคาบสมุทรทลายู   ต่อมาดินแดนเหล่านั้นกลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษส่วนในทวีปอเมริกาเหนือนั้น  ชาวอังกฤษเข้าไปตั้งถิ่นฐนตั้งแต่ ค.ศ. 1607 และขยายต่อไปจนมีอาณานิคมรวม  13 แห่ง นอกจากนี้ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักสำรวจชาวอังกฤษชื่อ กัปตันเจมส์ คุก (James Cook) เดินเรือไปถึงทวีปออสเตรเลียและอ้างสิทธิของอังกฤษเหนือดินแดนดังกล่าว

   กัปตันเจมส์คุก (Captain James Cook) นักเดินเรือ นักสำรวจ นักเดินเรือและนักทำแผนที่ กัปตันเจมส์คุกเดินทางไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก 3 ครั้งและได้ทำแผนที่แนวชายฝั่งและหมู่เกาะต่างๆกัปตันเจมส์คุกได้เข้ามาสำรวจประเทศออสเตรเลีย หมู่เกาะฮาวาย นิวฟาวด์แลนด์ นิวซีแลนด์ เขาเป็นนักเดินเรือคนแรกที่เดินเรือรอบโลกสำเร็จ 

 

                                                                   Captain James Cook

      เซอร์ฟรานซิส เดรก (Sir Francis Drake)  นักสำรวจและเดินเรือชาวอังกฤษ สามารถแล่นเรือ เดินทางข้ามหาสมุทรแปซิฟิกและเดินทางกลับอังกฤษโดยผ่านแหลมกู๊ดโฮป เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1577  ต่อมาในปี 1585 สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ทรงแต่งตั้งให้เขาเป็นอัศวิน หรือ เซอร์ (Sir)

                                                                       Sir Francis Drake

         เนเธอร์แลนด์     ชาวดัตช์เริ่มสำรวจและขยายการค้าทางทะเลตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และก่อตั้งสถานีการค้าในทวีปต่างๆ เช่น บริเวณแหลมกู๊ดโฮปทางใต้สุดของทวีแอฟริกา หมู่เกาะชวา สุมาตรา มะละกา และเกาะลังกาในทวีปเอเชีย นอกจากนี้ยังมีสถานีการค้าที่เกาะแมนฮัตตัน (Manhattan) ในทวีปอเมริกาเหนือ รวมทั้งในหมู่เกาะเวสต์อินดีสและทวีปอเมริกาใต้

         อาเบิล ยันส์โซน ตัสมัน (Abel Janszoon Tasman)  ค.ศ. 1603-1659  นักสำรวจ นักเดินเรือ และพ่อค้าชาวดัตซ์ เป็นนักเดินเรือยุโรปคนแรกที่ออกสำรวจไปจนถึงเกาะฟัน ดีเมิน (Van Diemen's Land) (ปัจจุบันคือเกาะแทสเมเนีย) และนิวซีแลนด์ และมองเห็นทัศนียภาพของเกาะฟิจิ  เมื่อ ปี ค.ศ. 1643คนเดินเรือของเขา ฟร็องซัว ฟิสเซอร์และพ่อค้าของเขาอีช้าก คิลเซอมันส์ ได้ทำแผนที่บางส่วนของออสเตรเลียนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะแปซิฟิกไว้ด้วย

                                                                   Abel Janszoon Tasman

          ฝรั่งเศส    เริ่มสำรวจทวีปอเมริกาเหนือในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และยึดครองอาณานิคม  ในแคนาดาและอเมริกาเหนือนอกจากนี้ยังมีอาณานิคมอีกหลายแห่งในหมู่เกาะเวสต์อินดีสและอินเดีย นักสำรวจคนสำคัญ เช่น

           คาร์ติเย่ร์ (Cartier) ปีค.ศ.1534-1535 สำรวจแม่น้ำเซนต์ลอเร็นซ์   ชองแปลง (Champlain) ปีค.ศ.1608             เป็นผู้ตั้งเมืองควีเบค   มาร์เก็ต และโชลิเย่ต์ (Marquette and Joliet) สำรวจสายลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ในปี ค.ศ.1673     ลาซาล (La Salle) สำรวจลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ตั้งแต่ปากแม่น้ำไปจนสุดสายในระหว่างปี ค.ศ.1668-1682

                                                                                   La Salle

    ผลของการสำรวจทางทะเลต่อพัฒนาการของยุโรป

         ทางด้านการเมือง   การสำรวจทางทะเลทำให้เกิดผลกระทบต่อพัฒนาการทางการเมืองยุโรปที่สำคัญ  3 ประการคือ             ประการแรก   ทำให้ยุโรปกลายเป็นศูนย์กลางอำนาจของโลก เพราะประเทศในยุโรปเป็นเจ้าของอาณานิคมในทวีปต่างๆทั่วโลก       ประการที่สอง ทำให้ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการสำรวจทางทะเลสามารถยึดครองอาณานิคมจำนวนมาก เช่น สเปนและอังกฤษกลายเป็นชาติมหาอำนาจที่มีแสนยานุภาพทางทะเล ซึ่งส่งผลให้ประเทศอื่นๆ พยายามถ่วงดุลและกลายเป็น ปัญหาทางการเมืองของยุโรป                                                                                                                                               ประการที่สาม  ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองในยุโรป เนื่องจากประเทศต่างๆ แข่งขันกันขยายอิทธิพลทางการค้าและจับจองอาณานิคม กระทั่งกลายเป็นสงครามที่ส่งผลกระทบต่อประเทศคู่กรณีและพันธมิตร

ทางสังคม

      ประการแรก   สถานะและวิถีชีวิตของพ่อค้าซึ่งเป็นชนชั้นกลาในสังคม มีการเปลี่ยนแปลงและได้รับการยอมรับจากชนชั้นสูงมากขึ้น พ่อค้าที่ร่ำรวยมั่งคั่งมักใช้ชีวิตอย่างหรูหราในคฤหาสน์ราคาแพง และสะสมผลงานศิลปะและอัญมณีล้ำค่า  นอกจากนี้พ่อค้าบางคนยังมีบทบาทสำคัญทางดารเมือง เพราะเป็นผู้ให้เงินสนับสนุนกษัตริย์และสถาบันศาสนา สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในสังคมยุโรปที่ให้ความสำคัญกับวัตถูนิยมเพิ่มมากขึ้น

      ประการที่สอง    ความรุ่งเรืองของการค้าทางทะเลทำให้การบริโภคสินค้าจากเอเชีย เช่น เครื่องเทศ เครื่องปั้นดินเผา พบชา ผ้า ไหม ผ้าฝ้ายไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในแวดวงชนชั้นสูงหรือชนชั้นกลางระดับสูงอีกต่อไป เพราะมีการนำเข้าสินค้าเหล่านี้ จำนวนมากและราคาก็ถูกลง ทำให้คนทั่วไปสามารถบริโภคได้ นอกจากนี้พืชผลบางอย่างที่นำเข้ามาจากทวีปแอฟริกา เช่น มันฝรั่ง ถั่วต่างๆ มะเขือเทศ ฟักทอง ฯลฯ ก็กลายเป็นอาหารที่ชาวยุโรปบริโภคในชีวิตประจำวันด้วย

      ประการที่สาม  ชาวยุโรปมีโอกาสเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของชาวตะวันออก ของอินเดียและจีน ศิลปวัตถุของจีน โดยเฉพาะเครื่องลายครามกลายเป็นของสะสมราคาแพงที่นิยมกันในหมู่ชนชั้นสูงและเศรษฐียุโรป และยังบ่งชี้ถึงฐานะและรสนิยมของผู้ครอบครองด้วย

      ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 กษัตริย์บางประเทศ เช่น สเปน โปรตุเกส ฝรั่งเศส และอังกฤษ สามารถรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางและต้องการอำนาจรวมทั้งความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น   ส่วนใหญ่เห็นว่าการค้าและการยึดครองอาณานิคมนอกดินแดนยุโรปจะช่วยสร้างความร่ำรวยให้กับรัฐบาลและประชาชน  นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นความคิดแบบชาตินิยมและสร้างความภูมิใจในหมู่ประชาชนของตนด้วยผู้นำของประเทศเหล่านั้นจึงออกเงินสนับสนุนการสำรวจทะเลในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 และต้นคริสต์ศตวรรษ

 

หมายเลขบันทึก: 697251เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2022 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2022 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท