สงครามครูเสด (The Crusades War)


สงครามครูเสด (The Crusades War)ค.ศ. 1096-1291 

        สงครามครูเสด (The Crusades) คือ สงครามระหว่างศาสนา ซึ่งอาจหมายถึง สงครามระหว่างชาวคริสต์ต่างนิกายด้วยกันเองหรือชาวคริสต์กับผู้นับถือศาสนาอื่นก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักหมายถึงสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ ในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13 

         สาเหตุของสงคราม

1.ความศรัทธาต่อศาสนาคริสต์ สาเหตุจาก ชาวคริสต์ที่เดินทางไปยังนครเยรูซาเล็มได้ถูกพวกเซลจุกเตริ์ก ขัดขวางหรือทำร้ายสังหารชาวคริสต์ ทำให้สำนักวาติกันได้เรียกร้องให้ชาวคริสต์ไปทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ เพื่อชิงเยรูซาเล็มคืนมา  นักรบที่ไปรบจะเย็บเครื่องหมายกางเขนที่ทำด้วยผ้าติดไว้บนเสื้อผ้าของตน เรียกว่า Crusader  พวกที่ไปสงครามครูเสดเชื่อว่าจะเป็นการไถ่บาปที่ยิ่งใหญ่ พวกที่มีหนี้สิน มีคดีความจะได้รับการยกเว้นหนี้สินและโทษ    

2. เหตุผลทางการเมือง

           ในสมัยกลาง สถาบันศาสนามีอิทธิพลทางการเมืองเหนือกษัตริย์และประมุขของดินแดนต่างๆ สันตะปาปาเป็นผู้ประกอบพิธีถวายมงกุฎแก่กษัตริย์และจักรพรรดิ แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อแสดงถึงการมอบอำนาจทางโลกให้แก่กษัตริย์หรือจักรพรรดิในนามของพระเจ้า การชักนำให้กษัตริย์และประมุขของดินแดนต่างๆ ส่งกองทัพไปรบกับพวกมุสลิมในสงครามครูเสดหลายครั้ง

3.การแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

           สงครามครูเสดได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะพ่อค้าในแหลมอิตาลีซึ่งได้รับผลประโยชน์จากการขนส่งทหารและเสบียง อาหารให้กับกองทัพครูเสดไปยังปาเลสไตน์ ขณะเดียวกันพ่อค้าเหล่านั้นก็แสวงหาประโยชน์อื่นจากนักรบครูเสดด้วย ดังกรณีที่พ่อค้าเมืองเวนิส (Venice) เสนอจะลดค่าขนส่งที่มีมูลค่าสูงให้กับกองทัพครูเสดหากยินดียกทัพไปตีเมือง ซารา (Zare)  ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญบนฝั่งทะเลเอเดรียติก (Adriatic Sea)และเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของเวนิส

สงครามครูเสดขึ้นหลายครั้ง ครั้งใหญ่ๆทั้งหมด 9 ครั้ง

สงครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1095-1101)   จักรพรรดิอเล็กเซียส คอมเมนุส ของจักรวรรดิไบเซนไทน์หรือโรมันตะวันออกได้ถูกพวกเติร์กปิดล้อมเมืองคอนสแตติโนเบิลเอาไว้ พระองค์เลยมีสาส์นไปถึงสมเด็จ พระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 แห่งกรุงโรม เพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาก็เห็นด้วยที่จะให้ความช่วยเหลือและจะได้ยกทัพไปเยรูซาเล็มด้วย ซึ่งพระองค์ได้ใช้การประชุมพระระดับสูงที่เกลอมองต์ ในฝรังเศสในการประกาศเข้าร่วมสงคราม โดยสมเด็จพระสันตะปาปาประกาศให้สงครามครั้งนี้เป็น “สงครามตามปราถนาของพระเจ้า”(God Wills It)หรือ“สงครามศักดิ์สิทธิ์”(Holy War)โดยกองทัพชาวคริสต์ประกอบไปด้วยกองทัพของปีเตอร์นักพรต กองทัพจากฝรังเศส อังกฤษ บุยยอง ซึ่งทั้งหมดเดินทางมาถึงและลอมเยรูซาเล็มในวันที่ 15    กรกฏาคม ค.ศ. 1099 ซึ่งกองทัพของมุสลิมก็พยายามต่อต้านอย่างหนักแต่ก็ต้านทานกองทัพของฝ่ายคริสต์ไว้ไม่ได้จึงพ่ายแพ้ไป แต่ก็เป็นครั้งเดียวที่ฝ่ายคริสต์สามารถเอาชนะมุสลิมได้

 


                                                   จักรพรรดิอเล็กเซียส คอมเมนุส

                                                                   สันตะปาปา เออร์แบนที่ 2

สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1147-1149)
           หลังจากที่ปล่อยให้ฝ่ายคริสต์ครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ไปได้ระยะเวลาหนึ่ง ทางฝ่ายมุสลิมก็เริ่มสะสมกำลังพล                นำโดย นูรุดดีน มะฮ์มูด บุตรของ อิมาดุดดิน ซังกี เป็นกำลังสำคัญในการยึดเมืองอาเลปโป เมื่องเอเดสสา และอีกหลายเมือง   แต่ไม่ได้เยรูซาเล็ม ส่วนทางฝ่ายคริสต์พวกขุนนางและอัศวินต่างๆ ไม่ค่อยให้ความร่วมมือมากนัก  จะมีก็แต่พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าคอนราดที่ 3แห่งเยอรมันนี พระมเหสีเอเลเนอร์แห่งอังกฤษ ที่เข้าร่วมไปกับกองทัพ แต่สงครามครั้งนี้ฝ่ายคริสต์แพ้อย่างย้อยยับและต้องกลับบ้านด้วยความผิดหวัง

                                                                           นูรุดดีน มะฮ์มูด

สงครามครูเสดครั้งที่ 3 (ค.ศ. 1187-1192)
       ต่อมาเกิดปัญหาภายในดามัสกัส นูรุดดีนได้ยกทัพไปยึดดามัสกัสเอาไว้ ซึ่งทำให้ คอลีฟะฮ์แห่งกรุงแบกแดด ประทานตำแหน่งให้เป็น อัล มาลิก อัล อาดีล (กษัตริย์ผู้ทรงธรรม)  ต่อมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1164 กองทัพของพวกแฟรงค์และกรีก  ซึ่งเป็นชาวคริสต์ได้โจมตีนูรุดดีนอย่างหนัก แต่นูรุดดีนก็สามารถเอาชนะและยึดเมืองมาได้อีกหลายเมืองและพยายามเข้ายึดเยรูซาเล็ม  ในปี ค.ศ. 1169 ซาลาดีน ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นอุปราชแห่งกรุงไคโร แห่งอียิปต์    ต่อมาปี ค.ศ. 1174 นูรุดดีนเสียชีวิตทำให้ซาลาดีนมีอำนาจเด็ดขาดเหนืออียิปต์ หิจญาซและยะมัน  ต่อมาในปี 1191 กองทัพฝ่ายคริสต์นำโดยพระเจ้าฟิลิปป์  ออกุสต์ แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าริชาร์ด ใจสิงห์ แห่งอังกฤษ ได้นำทัพมาต้านการรุกคืบของซาลาดิน สงครามครั้งนี้มีความพยายามในการเจรจาสงบศึกกันหลายครั้งจนในที่สุด 2 กันยายน 1192 ทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาสงบศึกถาวรและพระเจ้าริชาร์ดได้ยกทัพกลับ แต่พระองค์กลับถูกพวกคริสต์ด้วยกันจับกุมตัวไว้และให้ทางอังกฤษส่งเงินจำนวนมาก เพื่อไถ่ตัวกลับไปและเยรูซาเล็มก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิมอีกครั้ง

สงครามครูเสดครั้งที่ 4 (ค.ศ. 1202-1204)
         หลังจากความล้มเหลวของสงครามครูเสดครั้งที่ 3 ทางยุโรปก็หมดความสนใจที่จะต่อต้านมุสลิมในสงครามครูเสดครั้งใหม่สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 มีพระประสงค์จะให้ทำสงครามครั้งใหม่ แต่ไม่มีกษัตริย์ในยุโรปพระองค์ใดสนพระทัย เพราะต่างก็ติดพันสงครามภายในอาณาจักรของตัวเองอยู่ แต่แล้วในเดือนเมษายน 1024 ก็มีกองทัพครูเสดจากยุโรปตะวันตกได้เข้าไปบุกยึด กรุงคอนสแตนติโนเปิล อันเป็นเมืองหลวงของจักวรรดิไบเซนไทน์

สงครามครูเสดครั้งที่ 5 (ค.ศ. 1217-1221)
        สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 ทรงรวบรวมกองทัพนำโดย เลฌอโปลด์ที่ 4 แห่งออสเตรีย สมเด็จพระเจ้าแอนดรูว์ที่ 2 แห่งฮังการี กองทัพเยอรมันนีนำโดยโอลิเวอร์ แห่งโคโลญ ได้นำทัพไปบุกอียิปต์ แต่ก็พ้ายแพ้กลับมา                         

สงครามครูเสดครั้งที่ 6 (ค.ศ. 1228-1229)                                                                                                                        สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ทรงเสกสมรสกับโยลันเดอแห่งเยรูซาเล็ม พระธิดาของจอร์น  แห่งบริแอนน์ ทำให้พระองค์อ้างสิทธิ์โดยชอบธรรมในการบุกยึดเยรูซาเล็มแต่ระหว่างเดินทางเกินโรคระบาดเสียก่อนจึงต้องยกทัพกลับ

 สงครามครูเสดครั้งที่ 7 (ค.ศ. 1248-1254)                                                                                                                        พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส ได้พยายามทำการโจมตีอียิปต์ แต่พระองค์ถูกฝ่ายมุสลิมจับตัวไว้ได้และต้องให้ทางฝรังเศสส่งเงินจำนวนมากเพื่อไถ่ตัวกลับไป

 สงครามครูเสดครั้งที่ 8 (ค.ศ. 1270)                                                                                                                                เดือนกรกฏาคม 1270 พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส ได้ยกทัพไปโจมตีตูนิสเพื่อจะใช้เป็นที่มั่นในการโจมตีอียิปต์ต่อไป  แต่การยกทัพไปแอฟริกาในครั้งนั้น ต้องเจอกับโรคภัยต่างๆ พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 เองก็ทรงสวรรคตด้วยโรค  ท้องร่วง ส่วนทหารที่เหลือก็เจอกับโรคภัยต่างๆเช่นกัน ทำให้ต้องยุติสงครามกับตูนิสและไปไม่ถึงอียิปต์อย่างที่ตั้งใจ

สงครามครูเสดครั้งที่ 9 (ค.ศ. 1271-1272)
         สงครามครั้งนี้ทางฝ่ายคริสต์มีผู้นำทัพหลายคนเช่น สมเด็จพระเจ้าชาร์ลที่ 1 แห่งเนเปิลส์ อบาคา ข่านแห่งมองโกเลีย และสมเด็จพระเจ้าชาร์ลที่ 2 แห่งอาร์เมเนีย  ส่วนทางฝ่ายมุสลิมนำทัพโดย ไบบาร์ โดยสงครามครั้งนี้ยุติลงเมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 2 สวรรคตลงในปี 1464

ผลกระทบของสงครามครูเสดต่อพัฒนาการของยุโรป

ด้านการเมือง

         สงครามครูเสดทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและโลกมุสลิมเสื่อมลง   เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างมีอคติต่อกันจากการทำสงครามต่อกัน  นักรบครูเสดได้บุกยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลในสงครามครูเสดครั้งที่ 4 ได้ทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์อ่อนแออย่างมาก และต่อมาจึงไม่อาจต้านทานการรุกรานของพวกออตโตมันเติร์กและล่มสลายไปในที่สุด

ด้านเศรษฐกิจ

       เมื่อสงครามยุติลงพ่อค้ายุโรปโดยเฉพาะในแหลมอิตาลีประสบปัญหาการเดินเรือในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพราะเมืองท่าบางแห่งอยู่ใต้อำนาจของพวกมุสลิมซึ่งมีคติต่อชาวยุโรปและยังประสบปัญหาการขยายการค้ากับดินแดน ทางตะวันออกทางบกที่ต้องผ่านดินแดนมุสลิม ทำให้ชาวยุโรปต้องพัฒนาเส้นทางทางทะเลโดยเฉพาะการเดินเรืออ้อมแอฟริกาไปยังเอเซีย สามารถประสบความสำเร็จปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติในเวลาต่อมา               การติดต่อกับตะวันออกกลางในช่วงสงครามครูเสด  ทำให้ชาวยุโรปรู้จักบริโภคสินค้าและผลิตภัณฑ์จากตะวันออกกลาง เช่น ข้าว น้ำตาล มะนาว ผลแอปริคอต และผ้าป่านมัสลิน ซึ่งกลายเป็นสินค้าที่ยุโรปนำเข้าเป็นประจำ

ด้านสังคม

       สงครามครูเสดได้เปิดโลกทัศน์ของชาวยุโรปเกี่ยวกับ “โลกตะวันออก” โดยเฉพาะความก้าวหน้าและเทคโนโลยีของชาวตะวันออก เช่น การใช้ดินปืนในการทำสงคราม ต่อมาชาวยุโรปได้นำความรู้นี้ไปพัฒนาเป็นอาวุธปืนและสามารถทำสงครามชนะชาวเอเชีย ทำให้ยุโรปกลายเป็นมหาอำนาจของโลก   

        นักรบครูเสดมาจากดินแดนต่างๆ ในสังคมของระบบฟิวดัลที่ไม่มีโอกาสรู้จักโลกภายนอกมากนัก เมื่อได้พบปะเพื่อนนักรบดินแดนอื่นๆ จึงได้แลกเปลี่ยนทัศนคติและองค์ ความรู้ต่อกัน ทำให้เกิดการหล่อหลอมทางด้านวัฒนธรรมและความคิดของชาวยุโรป โดยเฉพาะในการแสดงออกทางความคิดการวิพากษ์วิจารณ์ และการเปิดรับแนวคิดใหม่ๆ  ซึ่งเป็นรากฐานของขบวนการมนุษย์นิยมที่เติบโต ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุดมการณ์เสรีนิยมของยุโรปสมัยใหม่   

        สงครามครูเสดเปิดโอกาสให้สตรีได้พัฒนาสถานะของภาวะผู้นำในสังคมและชุมชน เนื่องจากสามีไปรบในสงคราม สตรีต้องบริหารจัดการและดูแลทรัพย์รวมทั้งข้าทาสบริวารและผลประโยชน์ต่างๆ ส่งผลให้สังคมยอมรับศักยภาพและความสามารถของสตรี ซึ่งเป็นพลังสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคม


 

 

 

 

 



                                                                                                                                                                        

หมายเลขบันทึก: 697041เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2022 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2022 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท