ชาดก ๑๔๒ ฉกนิบาต ๘๕


ชาดก ๑๔๒ ฉกนิบาต ๘๕

ภาษิตของพ่อ

ชาดก ๑๔๒ ฉกนิบาต ๘๕

น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ  ยํ โหติ กฏุกปฺผลํ
ยสฺส อสฺสุมุโข โรทํ  วิปากํ ปฏิเสวติ ฯ

โคลงสี่สุภาพ

ผู้กอปร กรรมย่อมต้อง  ผลกรรม สนองนา
ผลชื่อวิบากบำ - เหน็จให้
ผู้ครวญคร่ำร่ำรำ - พันโศก สลดนา
กรรมแห่งผู้นั้นไซร้  ไป่เพรียกกรรมดี

อธิบายศัพท์

กอปร :  ทำ

กรรม :  การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน

วิบาก :  ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วอันทำไว้แต่ปางก่อน

บำเหน็จ :  รางวัล ค่าเหนื่อย ค่าความชอบเป็นพิเศษ

รำพัน : พร่ำพรรณนาตามอารมณ์

สลด :  เศร้าเสียใจ

เพรียก :  เสียงร้อง

ถอดความ

ผู้ใดกระทำกรรมใดไว้ย่อมได้รับผลแห่งการกระทำนั้น เรียกว่าวิบากกรรมคือกรรมแต่ชาติก่อน ผู้ที่คร่ำครวญถึงแต่ความทุกข์โศกของตน  เป็นกรรมของบุคคลนั้นซึ่งไม่ใช่กรรมดี

ดอกชาอู่หลง 

ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

หมายเลขบันทึก: 696344เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2022 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มกราคม 2022 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท