จะมีวิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างไร


"อัลไซเมอร์" โรคสมองเสื่อมประเภทหนึ่งที่ปัจจุบันเป็นภาวะที่พบมากขึ้นเรื่อย ๆ รุนแรงและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วผิดปกติ โดยผู้ป่วยจะมีอาการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา การประสานงานของกล้ามเนื้อเสียไป ความจำเสื่อม ซึ่งไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับตัวผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว คนรอบข้าง และสังคมอย่างที่เรานึกไม่ถึงเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนในสังคมก็ควรทำความเข้าใจด้วยว่า ผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจที่จะหลงลืม ก้าวร้าว หรือหงุดหงิดเช่นพฤติกรรมที่แสดงออกมา ธรรมมีอุปการะมาก 2 อย่าง คือ สติ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัวอยู่เสมอ สติ ระลึกนึกได้ก่อนแล้วจึงทำ จึงพูด จึงคิด บุคคลผู้ที่ทำผิด พูดผิด คิดผิด ก็เพราะขาดสติ สติ คิดตกลงใจไว้แล้ว แม้ล่วงกาลเวลาช้านาน ก็ระลึกนึกถึงกิจที่ได้ทำ คำที่ได้พูด เรื่องที่ได้คิดไว้นั้นได้ ไม่ลืมเลือน คนที่พูดแล้ว ลืมง่าย ไม่อาจนำมาเทียบเคียงกับกิจที่จะทำ คำที่จะพูด เรื่องที่จะคิดต่อไป เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายได้ เพราะขาดสติ สัมปชัญญะ ความรู้ตัวขณะที่กำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด คือรู้สึกตัวอยู่เสมอว่ากำลังทำ พูด และคิดอะไรอยู่ กล่าวคือทำ พูด คิดถูกก็รู้ หรือทำ พูด คิดผิดก็รู้ เมื่อรู้ว่ากำลังทำ พูด คิดถูก ก็ให้ทำ พูด คิดอย่างนั้นๆ ต่อไป เมื่อรู้สึกตัวว่ากำลังทำ กำลังพูด กำลังคิดในทางที่ผิด ก็ให้หยุดเสีย ไม่ให้ทำ พูด คิดอย่างนั้นๆ ต่อไปอีก ความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า ตนมีภาวะเป็นอย่างไร มีหน้าที่ มีกิจที่จะต้องทำอะไรบ้าง ก็ให้ปฏิบัติให้สมกับภาวะและหน้าที่ที่ตนเป็นอยู่และมีอยู่นั้นๆ ไม่บกพร่อง ไม่ผิดพลาด บริบูรณ์ดี เพราะมีสัมปชัญญะควบคุมอยู่ บุคคลที่บกพร่องต่อหน้าที่ มีความเสียหายเกิดขึ้นทั้งแก่ตนและคนอื่น เพราะขาดสัมปชัญญะ ไม่มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า กำลังทำ กำลังพูด กำลังคิดอะไรอยู่ จึงทำให้ทำ พูด และคิดไปในทางที่ผิด เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนและคนอื่น สติและสัมปชัญญะนี้จึงมีประโยชน์แก่ทุกคน สติที่เป็นเครื่องระลึก ก่อให้เกิดความนึกคิด ก่อนจะทำ ก่อนจะพูดเป็นเบื้องต้น เป็นเหตุให้รอบคอบ สามารถที่จะประกอบกิจน้อยใหญ่ให้เป็นไปด้วยดี ไม่มีความผิดพลาด ส่วนสัมปชัญญะ รู้ตัวอยู่เสมอขณะทำ ขณะพูด ขณะคิด ไม่ทำอะไรผิดพลาดได้เมื่อมีสติ และสัมปชัญญะ วิธีการป้องกันโรค“อัลไซเมอร์” ด้วยธรรมมีอุปการะมาก 1. ฝึกกำหนดสติอยู่เสมอ ระลึกได้ขณะทำ ขณะพูด ขณะคิด ทุกอิริยาบถ โดยการทำสมาธิจิตขณะออกจากบ้าน ขณะไปทำงาน ขณะทำงาน หรือขณะโดยสารรถ 2. ฝึกให้มีการรู้ตัวอยู่เสมอ รู้ตัวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ทุกอิริยาบถ 3. ฝึกสังเกตตนเองในอิริยาบถต่าง ๆ 4. ฝึกสมองทบทวนความจำในแต่ละวันว่าทำอะไรมาบ้าง มีสิ่งใดที่อาจจะเป็นเหตุตั้งอยู่ในความประมาท ให้ระมัดระวังต่อไป 5.ระลึกได้ขณะกิจกรรมอะไร โดยเฉพาะการนำสิ่งของมีค่าเก็บไว้ ควรฝึกจดจำว่า เราวางไว้ตรงไหน กันลืม และรู้ตัวว่าเราเก็บไว้ตรงไหน 5. ฝึกจนเป็นวิถีชีวิตหรือสุขนิสัย พร้อมทั้งเจริญเมตตาภาวนาไปด้วย ก็จะชินไปเอง

 

จะมีวิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างไร 

จะมีวิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างไร

ดร. ถวิล  อรัญเวศ

          ท่านเคยมีอาการเหล่านี้ไหม คือ หลงลืมง่าย เช่น ลืมนัด จำเหตุการณ์หรือคำพูดที่เพิ่งผ่านมาหยก ๆไม่ได้ มักหลงลืมสิ่งของเป็นประจำ โดยจำไม่ได้ว่าเก็บไว้ที่ไหนและคิดว่ามีคนมาขโมยไป  สับสนเรื่องเวลา สถานที่ กลับบ้านไม่ถูก  ปัญหาเรื่องการพูด ลืมหรือเรียกสิ่งของไม่ถูก พูดคำหรือประโยคซ้ำๆ ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนใจ กิจกรรมประจำวัน งานอดิเรก  จำบุคคลที่เคยรู้จัก เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวไม่ได้ คิดว่าเป็นคนแปลกหน้า  ปัญหาเรื่องการนับหรือทอนเงิน การใช้โทรศัพท์ พฤติกรรมที่อาจเกิดปัญหายุ่งยาก เช่น ออกนอกบ้านเวลากลางคืน พฤติกรรมก้าวร้าว ไม่สนใจดูแลความสะอาดของตัวเอง เช่น แปรงฟันไม่เป็น อาบน้ำไม่เป็น ถ้าท่านเองหรือหากพบว่ามีผู้สูงอายุในครอบครัวมีปัญหาดังกล่าวข้อใดข้อหนึ่ง หรือมากกว่า อาจเป็นไปได้ว่าผู้สูงอายุท่านนั้น กำลังเผชิญกับโรคอัลไซเมอร์หรืออาจมีปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ

 

โรค โรคอัลไซเมอร์ มีอาการอย่างไร

          "อัลไซเมอร์" โรคสมองเสื่อมประเภทหนึ่งที่ปัจจุบันเป็นภาวะที่พบมากขึ้นเรื่อย ๆ รุนแรงและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วผิดปกติ โดยผู้ป่วยจะมีอาการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา
การประสานงานของกล้ามเนื้อเสียไป ความจำเสื่อม ซึ่งไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับตัวผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว คนรอบข้าง และสังคมอย่างที่เรานึกไม่ถึงเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนในสังคมก็ควรทำความเข้าใจด้วยว่า ผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจที่จะหลงลืม ก้าวร้าว หรือหงุดหงิดเช่นพฤติกรรมที่แสดงออกมา

           แพทย์หญิงสิรินทร ฉันศิริกาญจน นายกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลว่า การดูแลคนสมองเสื่อมเป็นเรื่องยาก การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ไม่ใช่หน้าที่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่ทุก ๆ คนต้องร่วมกัน เพียงแค่การพูดคุยกับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ มีการถามข่าวคราวบ้าง หากบางทีเขามีอาการน้อยใจต้องรีบคุย หาทางแก้ปัญหา นั่นก็เป็นวิธีหนึ่งแล้ว หรือจะพาผู้ป่วยออกมาเจอสังคม จะทำให้เขารู้สึกสดชื่นขึ้นเช่นกัน

         อย่างไรก็ตาม คำว่า "กันไว้ย่อมดีกว่าแก้" ยังคงใช้ได้เสมอ การรู้เท่าทันต้นสายปลายเหตุของโรคก็ถือเป็นการป้องกันโรคได้อีกทางหนึ่ง รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมของอาการแรกเริ่มก็เป็นเรื่องที่ควรกระทำเช่นกันโดยระยะแรกจะดูได้จากการหลงลืมในเรื่องง่าย ๆ ต่อมาจะเริ่มเรียกชื่อสิ่งของไม่ค่อยถูก เช่น ไม่รู้ว่าสิ่งนี้เรียกว่า "ปากกา" รู้แต่ว่ามันสามารถใช้ขีดเขียนได้ ต่อมาจะพูดรู้เรื่องน้อยลง และท้ายสุดอาจถึงขั้นที่ว่าจะไม่สามารถพูดได้เลย

 

          นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ป่วยมักจะไม่สามารถแยกแยะทิศทางด้านซ้ายหรือด้านขวาได้ ไม่สามารถเขียนแผนที่ หรืออธิบายเส้นทางอย่างชัดเจนได้ เนื่องจากจินตนาการความคิดจะเริ่มหายไป อีกกรณีหนึ่งคือการเล่าเรื่องซ้ำ ๆ ถามอะไรซ้ำ ๆ ซึ่งผู้อยู่รอบข้างอาจรู้สึกหงุดหงิดและรำคาญกับพฤติกรรมดังกล่าว อาการที่ถือว่าหนักสุด คือการที่ไม่รู้เลยว่าตัวเองเป็นใคร จำชื่อ-นามสกุลไม่ได้ และคนไข้จะรู้สึกว่าตัวเองมีอายุน้อยลง แล้วท้ายสุดจะจำใครไม่ได้เลย แต่จะมีความรู้สึกคุ้น ๆ ว่าเป็นลูกหลานคนใกล้ตัว หรือคนรู้จักกันหรือสามารถเทสต์แบบทดสอบ "อัลไซเมอร์ เช็ก" ง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ www.thaimemorytest.com ที่แนะนำโดยบริษัท เอไซ (ประเทศไทย) มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เป็นแบบทดสอบซึ่งแปลจากบทความใน British Medical Association ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก มีคำถามทั้งหมด 14 ข้อเกี่ยวกับสิ่งที่พบเจอได้บ่อยในกิจวัตรประจำวัน เกณฑ์การให้คะแนนอยู่ที่ความถี่ต่อพฤติกรรมนั้น ๆ เมื่อรวมคะแนนแล้วจะมีคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 56 คะแนน หากทดสอบได้ 40 คะแนนขึ้นไปควรพบแพทย์ เพราะมีแนวโน้มสูงที่จะป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์

 

9 วิธีป้องกัน อัลไซเมอร์ ตามหลักจิตแพทย์

       ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงอาการสมองเสื่อมที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน จิตแพทย์แนะนำ 9 ข้อสำคัญ ดังนี้

       1.ควรงดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะส่งผลต่อสมอง

       2.ควรระมัดระวังเรื่องการใช้ยา ไม่ควรรับประทานยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาทุกครั้งและควรนำยาที่รับประทานเป็นประจำไปให้แพทย์ดูด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงการสั่งยาซ้ำซ้อน

       3.ควรระมัดระวังอุบัติเหตุที่จะส่งผลกระทบกระเทือนศีรษะ

       4.ผู้สูงอายุที่เดินลำบากควรมีคนดูแล เช่น เวลาเข้าห้องน้ำควรมีคนไปเป็นเพื่อน เพราะอาจเกิดการลื่นหกล้มหัวฟาดในห้องน้ำได้

       5.ผู้เข้าสู่วัยสูงอายุควรหมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และไม่ควรลืมเจาะเลือดเพื่อตรวจหาโรคเบาหวานและโรคไขมันในเลือดสูง

       6.ตรวจเช็คความดันเลือดสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด หากพบว่าเป็นความดันโลหิตสูงก็ต้องปฏิบัติตนตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพราะมีผลกระทบต่อภาวะสมองเสื่อมได้

       7.ควรออกกำลังกายเป็นประจำ สำหรับผู้สูงอายุไม่ควรหักโหมจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดโทษได้

       8.ควรหากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ หมั่นเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ตามสมควร

       9.เมื่อสังเกตว่าตนเองเริ่มมีอาการหลงๆ ลืมๆ มากผิดปกติ หรือมีอาการบ่งชี้อื่นๆ ที่น่าสงสัยก็ควรรีบไปพบประสาทแพทย์ หรือแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุทันที

  

ป้องกัน “อัลไซเมอร์” ด้วยธรรมมีอุปการะมาก

       ธรรมมีอุปการะมาก 2 อย่าง คือ สติ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัวอยู่เสมอ

       สติ ระลึกนึกได้ก่อนแล้วจึงทำ จึงพูด จึงคิด บุคคลผู้ที่ทำผิด พูดผิด คิดผิด ก็เพราะขาดสติ

       สติ คิดตกลงใจไว้แล้ว แม้ล่วงกาลเวลาช้านาน ก็ระลึกนึกถึงกิจที่ได้ทำ คำที่ได้พูด เรื่องที่ได้คิดไว้นั้นได้ ไม่ลืมเลือน

      คนที่พูดแล้ว ลืมง่าย ไม่อาจนำมาเทียบเคียงกับกิจที่จะทำ คำที่จะพูด เรื่องที่จะคิดต่อไป เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายได้ เพราะขาดสติ

      สัมปชัญญะ ความรู้ตัวขณะที่กำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด คือรู้สึกตัวอยู่เสมอว่ากำลังทำ พูด และคิดอะไรอยู่ กล่าวคือทำ พูด คิดถูกก็รู้ หรือทำ พูด คิดผิดก็รู้

      เมื่อรู้ว่ากำลังทำ พูด คิดถูก ก็ให้ทำ พูด คิดอย่างนั้นๆ ต่อไป เมื่อรู้สึกตัวว่ากำลังทำ กำลังพูด กำลังคิดในทางที่ผิด ก็ให้หยุดเสีย ไม่ให้ทำ พูด คิดอย่างนั้นๆ ต่อไปอีก

      ความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า ตนมีภาวะเป็นอย่างไร มีหน้าที่ มีกิจที่จะต้องทำอะไรบ้าง ก็ให้ปฏิบัติให้สมกับภาวะและหน้าที่ที่ตนเป็นอยู่และมีอยู่นั้นๆ ไม่บกพร่อง ไม่ผิดพลาด บริบูรณ์ดี เพราะมีสัมปชัญญะควบคุมอยู่

      บุคคลที่บกพร่องต่อหน้าที่ มีความเสียหายเกิดขึ้นทั้งแก่ตนและคนอื่น เพราะขาดสัมปชัญญะ ไม่มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า กำลังทำ กำลังพูด กำลังคิดอะไรอยู่ จึงทำให้ทำ พูด และคิดไปในทางที่ผิด เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนและคนอื่น สติและสัมปชัญญะนี้จึงมีประโยชน์แก่ทุกคน

      สติที่เป็นเครื่องระลึก ก่อให้เกิดความนึกคิด ก่อนจะทำ ก่อนจะพูดเป็นเบื้องต้น เป็นเหตุให้รอบคอบ สามารถที่จะประกอบกิจน้อยใหญ่ให้เป็นไปด้วยดี ไม่มีความผิดพลาด  ส่วนสัมปชัญญะ รู้ตัวอยู่เสมอขณะทำ

ขณะพูด ขณะคิด  ไม่ทำอะไรผิดพลาดได้เมื่อมีสติ และสัมปชัญญะ

    

วิธีการป้องกันโรค“อัลไซเมอร์” ด้วยธรรมมีอุปการะมาก

    1. ฝึกกำหนดสติอยู่เสมอ  ระลึกได้ขณะทำ ขณะพูด ขณะคิด ทุกอิริยาบถ โดยการทำสมาธิจิตขณะออกจากบ้าน ขณะไปทำงาน 
ขณะทำงาน หรือขณะโดยสารรถ

    2. ฝึกให้มีการรู้ตัวอยู่เสมอ รู้ตัวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ทุกอิริยาบถ

    3. ฝึกสังเกตตนเองในอิริยาบถต่าง ๆ  

    4. ฝึกสมองทบทวนความจำในแต่ละวันว่าทำอะไรมาบ้าง มีสิ่งใดที่อาจจะเป็นเหตุตั้งอยู่ในความประมาท

ให้ระมัดระวังต่อไป

    5.ระลึกได้ขณะกิจกรรมอะไร โดยเฉพาะการนำสิ่งของมีค่าเก็บไว้ ควรฝึกจดจำว่า เราวางไว้ตรงไหน กันลืมและรู้ตัวว่าเราเก็บไว้ตรงไหน

     5. ฝึกจนเป็นวิถีชีวิตหรือสุขนิสัย พร้อมทั้งเจริญเมตตาภาวนาไปด้วย ก็จะชินไปเอง

 

แหล่งข้อมูล

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000124043

https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue007/research-focus



 

หมายเลขบันทึก: 696329เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2022 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มกราคม 2022 00:05 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คุณแม่ก็เป็นอัลไซเมอร์เหมือนกันค่ะ ก็ต้องคอยระวังเรื่องความปลอดภัย เช่น ระวังไม่ให้หกล้ม หรือเดินออกจากบ้านไปโดยไม่รู้ว่าจะไปไหน ที่สำคัญต้องดูแลจิตใจของแม่ให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น การที่เราต้องไปทำงานประจำในช่วงเวลากลางวันก็เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งที่ดูแลแม่ได้ไม่ 100 %

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท