กลุ่มตัวอย่าง


การเลือกกลุ่มตัวอย่าง

                พอดีวันนี้มีนิสิตหลักสูตรและการสอน จากมหาวิทยาราชภัฏ มาปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผมก็เลยอ่านวิทยานิพนธ์ ผมไปสะดุดหัวข้อประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เพราะเลือกวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างไม่ถูกต้อง และงานวิจัยหลายเรื่องมักจะมีข้อบกพร่องตรงนี้มาก  นิสิต นักศึกษามักจะสับสนเรื่องการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างมาก เพื่อคลายข้อสงสัยผมเลยอย่างเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับประชากรและกลุ่มตัวอย่างให้ชัดเจนขึ้น การเลือกตัวอย่าง เป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการเลือกหน่วยตัวอย่างมาจากประชากรที่สนใจศึกษา ถ้าเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ จะเป็นการเลือกบุคคลเพื่อตอบแบบสอบถาม ถ้าเป็นการวิจัยเอกสาร จะเป็นการเลือกเอกสารหรือเนื้อหามาวิเคราะห์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง  กลุ่มคน สัตว์ สิ่งของ ที่เป็นตัวแทนประชากรที่ทำการวิจัย เพื่อนำผลสรุปจากหลักฐานเชิงตัวเลขจากกลุ่มตัวอย่างไปบรรยายลักษณะของสิ่งที่ได้วิจัย หรือสรุปอ้างอิงไปถึงลักษณะเชิงตัวเลขประชากร 

ความสัมพันธ์ระหว่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

การวิจัยที่มีการเลือกกลุ่มตัวอย่างนั้น  นักวิจัยจะต้องการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประชากรโดยใช้การอ้างอิง (Inference) จากการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์จากกลุ่มตัวอย่าง วิธีการอ้างอิงนั้นจะใช้สถิติอนุมาน (Inference Statistic) ซึ่งเป็นการอ้างจากกลุ่มตัวอย่างไปยังประชากรที่ทำการวิจัยเท่านั้น ซึ่งแสดงได้ดังแผนภาพต่อไปนี้ 

     

              จากแผนภูมิ  ในการวิจัยสิ่งที่ต้องการศึกษา คือ  คุณลักษณะของประชากร  ซึ่งในการวิจัยอาจจะศึกษาจากประชากร หรือเพียงบางส่วนของประชากรทีเรียกว่า  กลุ่มตัวอย่าง  ส่วนสถิติที่นำมาวิเคราะห์คือ สถิติพรรณนาหรือบรรยาย (Descriptive Statistics) ถ้านำมาบรรยายคุณสมบัติของประชากร เรียกว่า ค่าพารามิเตอร์ (Parameter)  เช่น   ถ้านำมาบรรยายคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างเรียกว่าค่าสถิติ (Statistics) เช่น  , S.D.   สำหรับงานวิจัยที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแล้วอ้างอิงไปยังประชากร กรณีนี้จะใช้สถิติอ้างอิงหรืออนุมาน  (Inference Statistics) ซึ่งได้แก่  สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing)  เช่น t-test,  F-test  เป็นต้น   

การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง

         การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง สามารถดำเนินได้ 3 วิธี ได้แก่ การกำหนดโดยใช้สูตรคำนวณ  การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie และMorgan และการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยนักวิจัยเอง  ดังแผนภาพแสดง    

วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง

            การเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากระทำได้ 2 วิธี คือ การเลือกแบบอาศัยความน่าจะเป็นและการเลือกแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น มีรายละเอียดดังนี้

        1.  การเลือกแบบอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling) บางทีเรียกว่า การสุ่ม (Random) เป็นการเลือกหน่วยตัวอย่างจากประชากร โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้              

             1. รู้จำนวนประชากรทั้งหมด

             2. ประชากรทั้งหมดมีโอกาสที่จะถูกเลือกมาเป็นกลุ่มตัวอย่างเท่าเทียมกัน       

              3. ใช้วิธีการเลือกที่เหมาะสม เพื่อให้หน่วยตัวอย่างมีโอกาสถูกเลือกเท่าเทียมกัน

              4. ใช้วิธีประมาณค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม

          2.  การเลือกแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (No probability Sampling) เป็นการสุ่มหน่วยตัวอย่างที่บางครั้งอาจไม่ทราบจำนวนประชากรที่แท้จริง ทำให้ไม่สามารถใช้การเลือกแบบอาศัยความน่าจะเป็นได้ และการเลือกแต่ละครั้งนั้น ทุก ๆ หน่วยของประชากรมีโอกาสถูกเลือกมาเป็นกลุ่มตัวอย่างไม่เท่าเทียมกัน รายละเอียดวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง สรุปย่อดังภาพประกอบ

                    การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการเลือกหน่วยตัวอย่างมาจากประชากรที่สนใจศึกษา ไม่ยากอย่างที่คิดเพียงแต่เราเข้าใจข้อตกลงการเลือกแต่ละวิธีครับ

ทองสง่า ผ่องแผ้ว

27 ธ.ค. 2549

หมายเลขบันทึก: 69609เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2006 08:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท