ความสำคัญของประวัติศาสตร์


        คำว่า ประวัติศาสตร์ หรือ History (hih·stree)มาจากรากศัพท์ของคำว่ Historia ( ฮิซโท-เรียน) ในภาษากรีกซึ่งหมายถึง การถัก ทอ หรือการแสวงหา การไต่ถาม

       ประวัติศาสตร์ย่อมต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนของการศึกษาอย่างพิถีพิถันดุจดังการถัก ทอ ผ้าผืนหนึ่งประวัติศาสตร์ หมายถึงเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีต รวมถึงพฤติกรรม วิวัฒนาการ  แนวความคิด และสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ในอดีตเรื่องราวที่นักประวัติศาสตร์ได้ดำเนินการไต่สวนให้รู้ถึงความจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งเวลาใดในอดีต ศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความคิดที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ผลกระทบของการกระทำนั้นๆ ตลอดสภาพการณ์ที่ส่งเสริม หรือขัดขวางวิวัฒนาการทางสังคม

ความสำคัญของประวัติศาสตร์

              1.ประวัติศาสตร์สอนให้มนุษย์รู้จักตนเอง ให้ความสามารถเข้าใจเพื่อนมนุษย์ในสังคมเดียวกัน มีความรอบรู้และเป็นคนทันสมัย ทันเหตุการณ์ มีการตัดสินใจรอบคอบและฉลาดเฉลียวขึ้น

             2. ความเข้าใจในประวัติศาสตร์เป็นรากฐานสำคัญของการเข้าใจปัญหาต่างๆว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใด และมีวิวัฒนาการอย่างไรนำไปสู่การวิเคราะห์ปัญหาเหล่านั้นอย่างมีเหตุมีผล วิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม

             3.ในการศึกษาประวัติศาสตร์มีการวิเคราะห์หลักฐานที่มีความซับซ้อนและขัดแย้ง ดังนั้นผู้ทำการศึกษาจะได้รับการฝึกฝนด้านความอดทน ความสุขุมรอบคอบ ระเบียบวินัย สติปัญญา ความมีเหตุผล จินตนาการสร้างสรรค์ ตลอดจนความสามารถทางวรรณศิลป์

เหตุการณ์ที่นำมาสู่การศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

     ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการเปิดประเทศติดต่อกับชาติตะวันตกทั้งด้านการค้าและศาสนา ผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมในกลุ่มของชนชั้นสูง

       ในสมัยรัชกาลที่ 4 ไทยต้องประสบภัยจากภัยคุกคามจากชาติตะวันตก จนเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย

      ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ และเริ่มมีการจดบันทึกเรื่องราวในอดีตของไทยก่อให้เกิดผลต่อประเทศไทย    หลายประการ เช่น เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต และความคิด 

       เกิดการเปลี่ยนแปลงจากความเป็นรัฐไทย  มาเป็นรัฐชาติ 

      เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางโครงสร้างทางสังคม 

       ประชาชนเริ่มตระหนักในผลประโยชน์ของชาติ 

      เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในฐานะคนชาติเดียวกันที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน

    คำว่าประวัติศาสตร์ได้ถูกบัญญัติขึ้นใช้ในสมัยรัชกาลที่ 6 

มาแทนคำว่า ตำนาน และพงศาวดาร

      ตำนาน หมายถึง เรื่องราวที่มีการถ่ายทอดกันมาปากต่อปากที่มีอยู่ในอดีตนานมาแล้ว

     พงศาวดาร หมายถึง  เรื่องราวของมนุษย์ที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์

  เงื่อนไขสำคัญของเหตุการณ์ที่น่าจะถือได้ว่าควรเป็นประวัติศาสตร์ มี 3 ประการ

  1. เหตุการณ์หรือพฤติกรรมนั้นๆมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนสังคมมนุษย์

2)    เหตุการณ์หรือพฤติกรรมดังกล่าวจะต้องถูกบันทึกและศึกษาอย่างมีวิธีการ

3) มีระบบการตรวจสอบได้ในฐานะ ศาสตร์(Science) และนักประวัติศาสตร์จะเป็นผู้ทำหน้าที่เสนอเรื่องราว

ประวัติศาสตร์แก่สาธารณชน

เฮโรโดตัส[ Herodotus ] เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 500 ปีก่อนศริสต์กาล (484 -425 B.C.)บิดาแห่งประวัติศาสตร์สากล

 

ซือหม่าเชียนบิดาแห่งประวัติศาสตร์เอเชียสมัยราชวงศ์ฮั่นตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ (140-87ก่อนคริสตกาล)

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486)ทรงเป็นพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย

 

หมายเลขบันทึก: 695867เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2022 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มกราคม 2022 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท