การช่วยเหลือผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิต


ขอสวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน กับบทความบล็อกการประเมินทางกิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิต ไหนๆข่าวผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า โรคซึมเศร้า อารมณ์สองขั้ว และจิตเภทเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีคำถามที่ว่า “นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะมีหน้าที่ Hopeful Empowerment + Skilled Life Design + Supportive Engagement อย่างไร ในนักศึกษากฎหมาย ซึมเศร้า วิตกกังวล ติดพนัน มีหูแว่วเล็กน้อย และสอบตกทุกวิชา”

https://adaa.org/learn-from-us/from-the-experts/blog-posts/consumer/what-depression-how-can-we-overcome-it

 

เป้าหมายของนักกิจกรรมบำบัด

เป้าหมายหลักของนักกิจกรรมบำบัดในการบำบัดผู้ที่มีความบกพร่องทางสุขภาพจิต คือ การทำให้ผู้รับบริการนั้นสามารถกลับไปใช้ชีวิตและดำเนินกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ โดยการเพิ่มความหวัง(Hope) และทักษะสังคม(Social Skill) ให้แก่ผู้รับบริการ

ความสัมพันธ์แรก

การสร้างความสัมพันธ์เริ่มแรกกับผู้รับบริการนั้นสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่ง Therapeutic relationship เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ เพื่อจะได้รับรู้เป้าหมาย ความรู้สึก คาดการณ์สิ่งต่างๆได้ 

โดยนักกิจกรรมบำบัด(OT) จะตั้งคำถามตามหลักจิตวิทยาเชิงบวก “PERMA” (Positive Emotion, Engagement, Positive Relationship, Meaning or Purpose, Achievements or Accomplishments) เพื่อให้ผู้รับบริการมีความผ่อนคลายและสามารถรับรู้เป้าหมายของผู้รับบริการ ด้วยการรับฟังผู้รับบริการอย่างตั้งใจ มี empathy สะท้อนความรู้สึกของผู้รับบริการ แต่หากผู้รับบริการมีท่าทีที่เปลี่ยนไป อาจจะใช้ความเงียบนั้นเป็นการบำบัด เพื่อให้ผู้รับบริการได้ทบทวนตนเอง รวมทั้ง OT ทบทวนสิ่งที่ตนเองได้รับมา เพื่อนำเหตุและผลที่ได้ไปวางแผนในการบำบัดต่อไป

https://tuemaster.com/blog/

ก้าวเดินที่สอง

การใช้ Therapeutic use of self ในการบำบัดพูดคุยเพื่อเสริมแรงพฤติกรรมที่ดีของผู้รับบริการ รวมทั้งแนะนำวิธีรับมือกับอาการของผู้รับบริการที่เกิดขึ้น พยายามลดการพูดถึงความเจ็บปวด ซึ่งจะทำให้ผู้รับบริการคิดแต่แง่ลบ ไม่สามารถมองโลกในแง่ดีได้ และวางแผนการรักษาร่วมกันในแต่ละครั้งจะช่วยให้ผู้รับบริการมีความรู้สึกประสบความสำเร็จ ซึ่งจะส่งผลต่อแรงกายและแรงใจให้พร้อมที่จะก้าวไปสู้เป้าหมายต่อไป

รวมทั้งการให้คำปรึกษาและแนะนำวิธีการดูแลแก่ครอบครัว ก็จะส่งผลแรงเสริมที่ดีต่อผู้รับบริการมากขึ้น

 

บทเรียนที่สาม

การฝึก coping skill แก่ผู้รับบริการจะสามารถช่วยเหลือให้ผู้รับบริการรับมือกับปัญหาความเครียดและความกังวลที่เกิดขึ้น โดยอาจให้กิจกรรมที่เป็น unstructured activity เพื่อดูการตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้น อาจแนะนำการใช้ planner เพื่อส่งเสริมการจัดการตารางชีวิต (work-life balance) เช่น การนอน การเรียน หรือการผ่อนคลาย เป็นต้น เพื่อลดความเครียดจากการทำงาน และสามารถปรับความคิดให้รับรู้ถึงความคาดหวังที่ตนต้องการอย่างแท้จริง

และOT สามารถสอนวิธีลดความเครียดหรือวิตกกังวล 

สุดท้าย

การเข้าร่วมกลุ่มจิตบำบัด (Cognitive behavioral therapy: CBT) จะช่วยลดอาการหูแว่ว ซึ่งมีสาเหตุจากความเครียด ความกดดัน และความกลัวที่สะสมมานาน  Cognitive behavioral therapy: CBT นั้นจะปรับความคิด ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาที่ผู้รับบริการเผชิญอยู่

ต้องขอบพระคุณผู้อ่านทุกๆท่าน ที่เสียสละเวลาเข้ามาอ่านบทความบล๊อกนี้

การบำบัดรักษาทั้งหมดที่กล่าวไปข้างต้นนั้นเป็นเพียงหนึ่งในแนวทางการรักษาให้กับผู้รับบริการที่มีความบกพร่องทางจิตเท่านั้น เพื่อปรับทัศนคติ อารมณ์และความรู้สึก ผู้อ่านสามารถนำความรู้ตรงนี้ไปสืบค้นหรือต่อยอดกับแนวทางการรักษาอื่นๆได้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการและช่วยให้การรักษานั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

นางสาวรพีพร พันธุ์ศรี 6323028 OT student 2nd year of Mahidol University 

Reference: https://blog.coremedicalgroup.com/7-tips-reduce-ot-patient-anxiety

https://www.scarymommy.com/coping-skills-teens/
 

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 695799เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2022 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2022 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท