รายงานการสร้างกิจกรรมการดำเนินชีวิตของกรณีศึกษา คุณ A (นามสมมติ) Occupational Formulation Report กลุ่มที่ 8 "Involuntary"


                                                     Case Formulation 

                                                    กลุ่ม 8: Involuntary

         รายงานการสร้างกิจกรรมการดำเนินชีวิตของกรณีศึกษา คุณ A (นามสมมติ) 

                         Occupational Formulation Report กลุ่มที่ 8 “Involuntary”

 

ขั้นตอนการให้การรักษาจากที่เห็นในคลิปวีดีโอ

    1. กิจกรรมทานข้าวด้วยช้อนส้อม 

เทคนิคที่ใช้: Therapeutic use of self

พฤติกรรมของผู้รับบริการ: ผู้รับบริการสามารถทานอาหารด้วยช้อนส้อมได้ด้วยตนเอง โดยมีการโน้มคอไปข้างหน้า เมื่อตักอาหารเข้าปาก


 

    2. กิจกรรมทานข้าวด้วยช้อนส้อม โดยผู้บำบัดจัดท่าสำหรับการรับประทานที่ถูกต้อง

เทคนิคที่ใช้: Positioning, Education(ขณะนำอาหารเข้าปากให้นั่งตัวตรง คอตรงมองไม่ข้างหน้า และเมื่ออาหารอยู่ในปากพร้อมที่จะกลืนให้คลายกล้ามเนื้อลง)

พฤติกรรมของผู้รับบริการ: ผู้รับบริการสามารถนั่งทรงท่าได้โดยอาศัยการประคองเล็กน้อยจากผู้บำบัดทางด้านหลังเล็กน้อย (Contact guard assist)


 

    3. ประเมินการกระตุกของดวงตา

เทคนิคที่ใช้: Rotation test โดยการให้ผู้รับบริการนั่งบนเก้าอี้ หมุนเก้าอี้ 10 ครั้ง จากนั้นจับเวลา 1 นาทีเพื่อดูการกระตุกของดวงตา

พฤติกรรมของผู้รับบริการ: ผู้รับบริการมีดวงตากระตุก 4 ครั้ง และลูกตานิ่งภายใน 1 นาที และมีการกระตุกที่บริเวณแขน

 

  • Occupational Influence

เนื่องจากในคลิปวิดีโอ ไม่มีข้อมูลในส่วนหัวข้อนี้ จึงใช้การสัมภาษณ์จากคำถามต่อไปนี้เพื่อหาข้อมูล ตัวอย่างคำถามดังนี้

1.1 Volitional Anticipation : สัมภาษณ์ผู้รับบริการและผู้ปกครองถึงสิ่งที่ให้ความสำคัญและพอใจในสิ่งใดทั้งในอดีตและปัจจุบัน สามารถประเมินเพิ่มโดยใช้แบบประเมิน COPM

1.2 Role Identity : บทบาทเป็นลูก, ผู้รับบริการ และมีการสัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงบทบาทปัจจุบันว่ามีบทบาทอื่นหรือไม่ เช่น นักศึกษา, เพื่ือน, แฟน

1.3 Preference & Choices : สัมภาษณ์ผู้รับบริการถึงกิจกรรมที่ชื่นชอบ/ชอบทำในเวลาว่าง(Leisure) หากผู้รับบริการไม่สามารถตอบได้ สามารถประเมินเพิ่มโดยใช้ Interest Checklist

1.4 Personal Causation : สัมภาษณ์ผู้รับบริการและผู้ปกครองโดยใช้ MOHO (ในส่วนหัวข้อ Volition -> Personal causation) ว่าผู้รับบริการรู้สึกว่าตนเองสามารถทำอะไรได้ หรือไม่สามารถทำอะไรได้บ้าง รวมถึงสัมภาษณ์เกี่ยวกับประวัติการรักษา เหตุผลที่ต้องการใช้ผู้บำบัดช่วยเหลือ

1.5 Meaningful Interest : สัมภาษณ์ผู้รับบริการและผู้ปกครองโดยใช้ MOHO (ในส่วนหัวข้อ volition -> interest) ว่าผู้รับบริการให้ความสนใจกับสิ่งไหน

 

  • Occupational Presentation

2.1 Objective Viewpoint to Lifestyle Habits : ประเมินเพิ่มเติม เช่น ประเมิน Involuntary movement, Muscle strength, Muscle tone, Endurance, ประเมินสภาพจิตใจ เช่น ความเครียด, ความกังวล, ซึมเศร้า และประเมินการกลืนเพิ่มเติม

2.2 Activities Needed, Wanted, or Expected : สัมภาษณ์ผู้รับบริการและผู้ปกครองมีความต้องการที่จะทำกิจกรรมอะไรและคาดหวังสิ่งที่ได้จากการบำบัดหรืออยากได้รับการช่วยเหลืออย่างไร

2.3 Environmental Impact on Skills & Performance : สัมภาษณ์ผู้รับบริการเเละผู้ดูเเลเกี่ยวกับสภาพเเวดล้อมภายในบ้าน อุปกรณที่ใช้ในการรับประทานอาหาร โต๊ะกินข้าว เก้าอี้ เป็นต้น, สัมภาษณ์ผู้ดูเเลเกี่ยวกับสิ่งเเวดล้อมภายในบ้านที่คิดว่าเป็นอุปสรรคเเละอยากปรับ

 

  • Occupational Focus

3.1 SMART Goal Setting : ผู้รับบริการสามารถรับประทานอาหารด้วยการใช้ช้อน-ส้อม โดยอาหารไม่หกเลอะเทอะ ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ (อิงตามความสามารถของผู้รับบริการในคลิปวิดีโอ)

          - Specific Components : Eating : รับประทานอาหารด้วยการใช้ช้อน-ส้อม และอาหารไม่หกเลอะเทอะ

          - Measuring Process of Learning : ฝึกการทรงท่าขณะรับประทานอาหาร(Positioning) เพื่อให้รับประทานได้ง่ายขึ้นและถูกวิธี รวมถึงป้องกันการสำลักอาหาร

          - Aspirational Goal : ลดความกังวลขณะรับประทานอาหาร(ความกังวลอาจนำไปสู่การกระตุ้นให้กล้ามเนื้อกระตุกหรือไม่สามารถควบคุมได้อย่างราบเรียบ)

          - Relevant to the Key Issues : อาการ Involuntary movement ที่ส่งผลต่อการรับประทานอาหารหมดไป, มี Muscle strength, Endurance เพิ่มมากขึ้น,  มีสภาพจิตใจที่ดี คือไม่เครียด กังวล จนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า, มี Self-esteem, Self-confident, กำลังใจในการฟื้นฟู, มี Muscle tone ในระดับปกติ

          - Timed in Occupational Goals : ใช้เวลา 1 ชั่วโมงต่อ 1 session และเข้าพบนักกิจกรรมบำบัด 3-5 ครั้งต่อ 1 สัปดาห์ 

3.2 TICKS : ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ โดยฝึก 1ชม./1 session โดยมีการให้ Intervention และ Home program ดังนี้

          - ให้ผู้รับบริการรับประทานอาหารในท่าที่ผู้บำบัดเเนะนำ(Positioning) โดยการนั่งเก้าอี้มีพนักพิง หลังตรง คอตรง และขณะมีอาหารในปากพร้อมกลืนให้คลายกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ให้ผู้รับบริการทำทุกมื้ออาหารเพื่อให้เกิดความเคยชิน 

          - ฝึก Muscle strength ผ่านกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อให้หลังแข็งแรง เช่น ท่า PullUp, ท่า Dumbbell Upright Row

          - ปรับ Muscle tone โดย NDT FoR. เช่น Prolong stretch เพื่อลด Muscle tone, Light joint approximation บริเวณข้อนิ้วต่างๆเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย

          - เเนะนำเทคนิคการคลายความเครียด ได้เเก่ การฝึกหายใจ เช่น Box Breathing (4-4-4) เเละการทำงาน อดิเรกตามความสนใจของผู้รับบริการ

          - ให้คำแนะนำผู้ปกครอง โดยขณะที่ผู้รับบริการรับประทานอาหาร ไม่ควรเร่งเร้าให้รีบกินหรือกดดัน เนื่องจาก อาจทำให้กังวลนำไปสู่อาการกระตุก

          - ปรับสิ่งแวดล้อมโดยปรับเปลี่ยนความสูง-ความกว้างของโต๊ะและเก้าอี้ และอาจให้ผู้รับบริการใช้ช้อนที่มีน้ำหนักมาก เพื่อให้ผู้รับบริการจับช้อนได้มั่นคง

 

Follow up

          - สังเกตผู้รับบริการขณะรับประทานอาหารในบริบทจริง หรือมีการถ่ายคลิปวิดีโอมาให้ดู

          - ให้ผู้รับบริการรับประทานให้ดูเเละสังเกตความสั่น/กระตุกของเเขนขณะรับประทานอาหาร

          - สอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้ปกครอง

          - มีการประเมินซ้ำ ได้เเก่ การประเมิน Involuntary movement, Muscle strength, Muscle tone, Endurance, ประเมินสภาพจิตใจ เช่น ความเครียด, ความกังวล, ซึมเศร้า และประเมินการกลืน

 

สมาชิกกลุ่ม

นางสาวฐิดาพร อินทรปาน  รหัสนักศึกษา 6223008

นางสาวภัสสร   บัณฑุกุล    รหัสนักศึกษา 6223012

นางสาวจงรัก    อังศุวิรุฬห์  รหัสนักศึกษา 6223017

นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล


 

หมายเลขบันทึก: 695715เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2022 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มกราคม 2022 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท