รายงานการสร้างกิจกรรมการดำเนินชีวิตของกรณีศึกษา น้อง ก. (นามสมมติ) Occupational Formulation Report กลุ่มที่ 2 ‘Anxiety Feeding’


       รายงานการสร้างกิจกรรมการดำเนินชีวิตของกรณีศึกษา  น้อง ก. (นามสมมติ) Occupational Formulation Report กลุ่มที่ 2 ‘Anxiety Feeding’

 

ขั้นตอนการให้การรักษาจากที่เห็นในคลิปวิดีโอ

   1. ให้กิจกรรมการเล่นแบบ Sensory ในห้อง Snoezelen ที่มีบรรยากาศผ่อนคลาย

        เทคนิคที่ใช้ : Environmental modification, Sensory Play activity, Therapeutic use of self

        พฤติกรรมของน้อง : น้องสามารถเล่นในห้อง Snoezelen ได้ ในขณะที่นั่งอยู่ในบ่อบอล ผู้บำบัดกระตุ้นให้น้องมีการเล่นร่วมกับผู้อื่นมากขึ้น และกระตุ้นให้มองไฟหรือสิ่งเร้าต่าง ๆ ภายในห้อง

   2. กิจกรรมดื่มเครื่องดื่มผ่านขวดนมขณะที่นั่งอยู่ในบ่อบอล

        เทคนิคที่ใช้ : Environmental modification

        พฤติกรรมของน้อง : โยนบอลให้คนอื่น 

   3. กิจกรรมการรับประทานอาหารในห้องเบาะ มีการกินอาหารอ่อนด้วยช้อนเล็ก โดยนั่งบนตักคุณแม่ คุณแม่เป็นคนป้อน ผู้บำบัดมีการกระตุ้นด้วยคำพูดให้ปรับท่านั่งแต่ยังไม่ได้ผล

        เทคนิคที่ใช้ :  Verbal prompt

        พฤติกรรมของน้อง : อยู่ในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน เอาตัวพิงคุณแม่ ปฏิเสธอาหารด้วยการปิดปากไว้

        *พฤติกรรมของคุณแม่ : สีหน้ามีความกังวลเล็กน้อย น้ำเสียงค่อนข้างกดดัน และมีความคาดหวังในการให้น้องรับประทานอาหารได้มากเกินไป

   4. กิจกรรมการเล่นอาหารหลากหลาย Texture มีนมกล่องใส่หลอด ขวดนมใส่เครื่องดื่ม น้ำในแก้ว และขนมชิ้นเล็ก ๆ ร่วมกับคุณแม่ โดยให้น้องไปป้อนคุณพ่อคุณแม่ (แต่น้องยังไม่ทำ) ผู้บำบัดแนะนำให้ปรับความหลากหลายของขนมที่นำมาเล่น

        เทคนิคที่ใช้ : Therapeutic use of self, Sensory play activity 

        พฤติกรรมของน้อง : มีการเดินไปหยิบอาหารจากคุณแม่

        *พฤติกรรมของคุณแม่ : ร่วมเล่นกับน้องแต่มีการใช้น้ำเสียงที่ราบเรียบ

   Follow up

   1. ทำกิจกรรมการเล่นลูกปัดขนาดใหญ่เรียงใส่แท่งเหล็ก 

        เทคนิคที่ใช้ : Therapeutic use of self, Physical patterning (Teaching and learning process)

        พฤติกรรมของน้อง : ในตอนแรกจะดึงลูกปัดขนาดใหญ่ออกจากแท่งเหล็ก แต่ผู้บำบัดจับมือน้องให้กำลูกปัดแล้วพาไปใส่แท่งเหล็ก จากนั้นให้น้องดึงลูกปัดลงเอง

   2. ขณะกำลังจะเดินไปที่ห้องฝึก 

        เทคนิคที่ใช้ : Therapeutic use of self

        พฤติกรรมของน้อง : นิ่ง มีการมองซ้ายขวาเล็กน้อยเหมือนกำลังสับสนเมื่อ ผู้บำบัด ยื่นมือเพื่อจูงน้อง น้องสะบัดแขนแล้วเดินตาม จากนั้นหยุด

   3. กิจกรรมการเล่นหยิบลูกบอลใส่ตะกร้าในห้อง Snoezelen 

        เทคนิคที่ใช้ : Verbal prompt

        พฤติกรรมของน้อง : ไม่สามารถโยนลูกบอลใส่ตะกร้าได้ตามคำสั่งของผู้บำบัด น้องใช้การกลิ้งแทนการโยน

   4. กิจกรรมการรับประทานอาหารอ่อนผ่านช้อนพลาสติกขนาดเล็ก

        เทคนิคที่ใช้ : Therapeutic use of self

        พฤติกรรมของน้อง : คลานหนี ปฏิเสธอาหาร มีการกำและแบมือตลอด มองซ้ายมองขวา สีหน้ามีความกังวล

   5. ก่อนกลับบ้าน

        พฤติกรรมของน้อง : ร้องไห้ก่อนเดินทางกลับ



 

1. Occupational Influences (Identity)

1.1 Volitional Anticipation :  สัมภาษณ์ผู้ปกครองเพิ่มเติมถึงสิ่งที่คุณแม่ให้ความสำคัญกับทั้งในอดีตและปัจจุบัน จากนั้นให้คุณแม่ลองหลับตาแล้วลองนึกถึงภาพคุณแม่กับน้องในอนาคตอีก 5 ปีข้างหน้าว่าทั้ง 2 คนเป็นอย่างไรบ้าง และกำลังทำอะไรกันอยู่

1.2 Role Identity : เป็นลูก

1.3 Preferences & Choices : น้องชอบกินยาคูลท์ (สอบถามผู้ปกครองเพิ่มเติมถึงอาหาร/เครื่องดื่ม ของเล่น และกิจกรรมที่น้องชอบหรือสนใจ)

1.4 Personal Causation : การใส่สายให้อาหารทางจมูกเป็นเวลานานอาจทำให้ไม่คุ้นชินกับการรับประทานอาหารทางปาก (ใส่สายให้อาหารก่อนหรือหลังมีอาการ Anxiety feeding)น้องกลัวขั้นตอนการนำอาหารเข้าปาก สาเหตุของการปฏิเสธอาหารทางปากอาจมาจากประสบการณ์

1.5 Meaningful Interest : คุณแม่มีความสนใจในการรักษาภาวะวิตกกังวลจากการนำอาหารเข้าปากของน้อง




 

2. Occupational Presentation (Competence)

   2.1 Objective Viewpoint to Lifestyle Habits : มีการปฏิเสธการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มทางปากโดยการแสดงพฤติกรรมปิดปาก หันหน้าหนี และท่าทางในการนั่งรับประทานไม่เหมาะสม และปัจจุบันรับประทานอาหารผ่านทางสายให้อาหารทางจมูก

   2.2 Activities Needed, Wanted or Expected : ผู้ปกครองมีความต้องการให้น้องรับประทานอาหารทางปากได้ (สอบถามสาเหตุที่อยากให้น้องสามารถรับประทานอาหารทางปากได้ว่าคืออะไร)

   2.3 Environmental impact on skills & performance : จากคลิปวิดีโอ น้องได้มีการทำกิจกรรมการเล่นและการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในห้องคลินิก มี Physical environment เป็นห้องคลินิกมีสิ่งแวดล้อม 2 แบบคือ 

        1. ห้อง Snoezelen เป็นห้องที่อุณหภูมิเย็น มีอุปกรณ์ที่มีแสงหลากสีสัน กระตุ้นความสนใจของน้องให้สนุกกับการเล่น และยังเป็นห้องมืดที่ช่วยสร้างความผ่อนคลายเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรมการรับประทานอาหาร 

        2. ห้องเบาะ เป็นห้องที่มีแสงสว่าง ไม่มีคนพลุกพล่าน ไม่มีสิ่งเร้าทางกายภาพที่ขัดขวางความสนใจขณะทำกิจกรรม

        นอกจากนี้ก็ยังมี Social environment ที่มีความเกี่ยวข้อง คือ คุณพ่อ คุณแม่ ญาติ และผู้บำบัด

        *ต้องใช้เวลาในการปรับตัวเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมและบุคคลที่ไม่คุ้นเคย


 

3. Occupational Focus (Adaptation)

   3.1 SMART goal setting (น้องสามารถรับประทานอาหารผ่านทางปากได้โดยไม่มีอาการวิตกกังวล ภายในระยะเวลา 7 สัปดาห์)

        - Specific components : รับประทานอาหารทางปาก

        - Measuring Process of learning : ลดความวิตกกังวลที่มีต่ออาหารโดยการใช้เทคนิค Exposure therapy 

        - Aspirational Goals : ลดความวิตกกังวลในขณะรับประทานอาหารโดยไม่พบพฤติกรรมหลีกหนี ปฏิเสธอาหาร หรืออาการทางกายที่เกิดมาจากความวิตกกังวล

        - Relevant to the Key Issues : ให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับวิธีการเข้าหา วิธีการสื่อสาร และการให้แรงเสริมในขณะที่ฝึกน้อง, Exposure therapy, การปรับสิ่งแวดล้อม, การใช้กิจกรรมการเล่นเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากความวิตกกังวล ซึ่งจะช่วยลดความวิตกกังวล และทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคมใหม่ ๆ ได้, สร้างความคุ้นเคยกับผู้บำบัด

        - Timed in Occupational Goals : 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30-45 นาที 

   3.2 TICKS : ภายใน 3 สัปดาห์แรกใช้เวลาฝึก session ละ 45 นาที โดยจะแบ่งกิจกรรมที่ฝึกกับน้องออกเป็นดังนี้

        1. กิจกรรมการเล่นในห้อง Snoezelen ใช้เวลาประมาณ 10 นาทีเพื่อให้น้องผ่อนคลายและสามารถปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ได้ (ค่อย ๆ ลดเวลาจนถึง 5 นาที)

        2. ใช้ Exposure therapy โดยผ่านกิจกรรมการเล่นอาหารที่มีเนื้อสัมผัสแตกต่างกัน 5 นาที (ค่อย ๆ เพิ่มเวลาจนถึง 10 นาที)

        3. ให้กิจกรรมการเล่นแบบ Free play ให้น้องเลือกเล่นตามความสนใจ เป็นการให้ positive reinforcement เป็นเวลา 5 นาที

        4. กิจกรรมการรับประทานอาหาร 10 นาที โดยใช้อาหารที่น้องชอบหรือคุ้นเคย

        5. ให้ความรู้ คำแนะนำ กับผู้ปกครองเกี่ยวกับวิธีการเข้าหา วิธีการสื่อสาร วิธีการฝึก การให้คำชม แรงเสริมสำหรับน้อง โดยจะใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีต่อครั้ง และให้ Home program (ฝึกที่บ้านตามโปรแกรมที่ฝึกกับที่คลีนิก โดยฝึกอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 วันต่อสัปดาห์ และวันละ 1 มือก่อนรับประทานอาหาร)

 

              หลังจากนั้น จะฝึกอีก 4 สัปดาห์ ใช้เวลาฝึก session ละ 35 นาที โดยจะแบ่งกิจกรรมที่ฝึกกับน้องออกเป็นดังนี้

        1. กิจกรรมการเล่นในห้อง Snoezelen ใช้เวลาประมาณ 5 นาทีเพื่อให้น้องผ่อนคลายและสามารถปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ได้

        2. ใช้ Exposure therapy โดยผ่านกิจกรรมการรับประทานอาหาร 10 นาที  โดยปรับชนิดของอาหารให้หลากหลายมากขึ้นจากครั้งก่อน

        3. ให้กิจกรรมการเล่นแบบ Free play ให้น้องเลือกเล่นตามความสนใจ เป็นการให้ positive reinforcement เป็นเวลา 5 นาที

        4. ให้ความรู้ คำแนะนำ กับผู้ปกครองเกี่ยวกับวิธีการเข้าหา วิธีการสื่อสาร วิธีการฝึก การให้คำชม แรงเสริมสำหรับน้อง โดยจะใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีต่อครั้ง และให้ Home program (ฝึกที่บ้านตามโปรแกรมที่ฝึกกับที่คลีนิก โดยฝึกอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 วันต่อสัปดาห์ และวันละ 1 มือก่อนรับประทานอาหาร และให้ผู้ปกครอง feedback กลับมาที่ผู้บำบัดว่าในแต่ละวันที่ฝึกน้องทำอะไรบ้างและน้องมีการตอบสนองอย่างไรบ้าง)

        

       หลังจากนั้น ฝึกอีก 4 สัปดาห์ โดยจะให้น้องรับประทานอาหารเป็นมื้อที่มีอาหารหลากหลายรูปแบบ โดยแบ่งโปรแกรมที่ฝึกออกเป็นดังนี้

 

        1. ฝึกรับประทานอาหารในบริบทจำลองที่คลินิก 2 ครั้ง ครั้งละ 15 - 20 นาที 

        2. ให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมในช่วงอายุและพัฒนาการของน้อง 10 - 15 นาที

        3. ฝึกรับประทานอาหารในบริบทจริงที่บ้าน โดยฝึกทั้งหมด 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ครั้ง ครั้งละ 15 - 20 นาที Follow up ทุกครั้งหลังฝึกรับประทานอาหาร โดยจะ Follow up ผ่านทางออนไลน์หรือวิดีโอ

 

รายชื่อสมาชิก

นางสาวขวัญดาว คำเหลา        รหัสนักศึกษา 6223006 

นางสาวชาลิสา สวรรค์พร        รหัสนักศึกษา 6223007

นางสาวญาตาวี วชิรกิจโกศล  รหัสนักศึกษา 6223021

นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3


 


 

หมายเลขบันทึก: 695709เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2022 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มกราคม 2022 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท