วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

การเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก และการบริหารจัดการโครงการวิจัยให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่แหล่งทุนกำหนด


การพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก และการบริหารจัดการโครงการวิจัยให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่แหล่งทุนกำหนด

1. เหตุผลที่ต้องทำวิจัย

          1.1 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยต้องก้าวกระโดด (Transformative) ไม่ใช่ค่อยเป็นค่อยไป (Incremental) เป้าหมายเพื่อพลิกโฉมประเทศ (Reinvent the nation) ด้วยมหาวิทยาลัยโดยการ สร้างและพัฒนาคนในศตวรรษที่ 21 สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนประเทศตามแนวทาง Value-based economy และการทำงานแบบจตุรภาคี (Quadruple Helix) ที่ประกอบไปด้วยภาครัฐ เอกชน ชุมชน สังคม มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และเครือข่ายต่างประเทศ โดย 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมบวกเติม 5 อุตสาหกรรมใหม่ 

5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-cure) ประกอบด้วย
1. อุตสาหกรรมยานยนต์ใหม่ (Next-Generation Automotive) 1. หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics)
2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)  2. อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) 
3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism) 3. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) 
4. อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) 

4. อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)

 

5. อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร (Food for the Future)  5. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)

          1.2 กระดาษทด Reinventing มหาวิทยาลัย 5 กลุ่ม มีผลต่อการทำงานของอาจารย์ บุคลากร งบประมาณที่ได้รับตามกลุ่มของมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยแบ่งเป็น 5 กลุ่มดังนี้ 

              1) กลุ่มการพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาบุคลากรตอบโจทย์ตลาดแรงงานระดับโลก สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เป็นทิศทางของประเทศและมีคุณภาพระดับโลก

              2) กลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาบุคลากรตามความต้องการของอุตสาหกรรม สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามทิศทางและจุดเน้นของประเทศ 

              3) กลุ่มการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะสูงตามความต้องการของท้องถิ่น และพัฒนาท้องถิ่นด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม 

              4) กลุ่มการพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักทางศาสนา มุ่งเน้นการนำหลักคำสอนทางศาสนาต่าง ๆ มาผสมผสานกับวิชาการ เพื่อปรับใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัยให้เหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ปลูกฝังจิตสำนึกและคุณธรรมที่ดีงาม 

              5) กลุ่มผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาเฉพาะ มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ ความรู้ เสริมสร้างบุคลากรสู่ความเป็นมืออาชีพเฉพาะทางให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาด

          1.3 นโยบายของมหาวิทยาลัยเปลี่ยน แนวทางการทำงานเปลี่ยน งานวิจัยเป็นตัวหลักในการทำงาน นิสิตนักศึกษาเน้นการเรียนรู้กับอาจารย์จากการตีพิมพ์โจทย์จริง มากกว่าการเรียนในชั้นเรียน การตีพิมพ์ผลงานเน้น Quartile 1 และอาจารย์ต้องแสวงหาแหล่งทุนวิจัยจากภายนอกสถาบัน

 

2. แหล่งทุนวิจัยอยู่ที่ไหนบ้าง 

    2.1 แหล่งทุนวิจัยของประเทศ 

          สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมให้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 17(2) โดยกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

1) ทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) ร้อยละ 56.5 โดยจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานบริหารจัดการโปรแกรม (Program Management Unit: PMU) เพื่อนำไปสนับสนุนทุน (Granting) แก่หน่วยงานระดับปฏิบัติโดยต้องเป็นการทำวิจัยที่เน้นตอบยุทธศาสตร์และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของประเทศ ได้แก่ PMU-A, PMU-B, PMU-C, วช., สกว., สวรส., และNIA ลักษณะโครงการวิจัยที่จะส่งขอควรเป็นการทำงานระดับเครือข่าย และสหสาขาวิชาชีพ 

2) ทุนสนับสนุนงานพื้นฐาน (Fundamental Fund) ร้อยละ 43.5 สามารถส่งโครงการวิจัยที่ไม่ต้องใช้เครือข่ายหรือสหสาขาวิชาชีพได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้     
             - Basic Research Fund & Institutional Capacity Building Fundจัดสรรงบประมาณให้กับ PMU เพื่อนำไปสนับสนุนทุนแก่โครงการงานวิจัยพื้นฐาน และสร้างความเข้มแข็งของงานวิจัยและการบริหารงานวิจัยของสถาบันความรู้และสถาบันวิจัยในหน่วยงาน                                                                                                                                                                        
             - Basic Function Fund จัดสรรงบประมาณตรงไปยังหน่วยงานที่มีภารกิจเฉพาะด้าน ววน. และดำเนินการตามพันธกิจของตนเอง ซึ่งอาจรวมโครงสร้างพื้นฐานด้าน ววน. ระดับชาติ และโครงการริเริ่มสำคัญของประเทศ

2.2 การเตรียมโครงร่างเพื่อขอทุนวิจัย

     1) เข้าไปดูประกาศจากเว็บไซต์ของแหล่ทุน

     2) การมีเครือข่ายภายนอกหน่วยงาน จะส่งเสริมให้อาจารย์ได้รับทุนวิจัย

     3) งาน Fundamental fund ขอได้ตามประกาศเว็บไซต์ และทำงานร่วมกับเครือข่าย เมื่อมีประสบการณ์ขอด้วยตัวเอง / ทราบข้อมูลขอด้วยตัวเอง

      3) งาน Flagship นักวิจัยหลักเป็นที่รู้จักและมีเครือข่ายที่แหล่งทุนเคยเห็นผลงาน จะมีหน่วยงานที่ประสานกับหน่วยงาน function นำผลงานไปใช้ ตามเข็มมุ่งของประเทศ การทำงานในทีมนักวิจัย

      งานที่ส่งมอบมีคุณภาพ และตรงเวลา

 

3. ทำวิจัยอย่างไรให้ทันเวลา

   3.1 ภาระงานของอาจารย์

การสอน – ปรับหลักสูตร OBE ทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.) สอน (หลากหลายวิธี) ประเมินผลผู้เรียน (ออกข้อสอบ วิพากษ์ ฯลฯ) สรุปผลการสอน รายงาน AUNQA ฯลฯ สอน online เตรียมเนื้อหาการสอน เป็นที่ปรึกษา ตรี โท เอก ดูแลนิสิตให้จบทันเวลา ฯลฯ

การวิจัย – หาแหล่งทุน เขียนโครงร่าง ส่งจริยธรรม วิพากษ์โครงร่าง แก้โครงร่าง ทำวิจัย ประสนพื้นที่ เก็บข้อมูล วิเคราะห์ เขียนรายงาน วิพากษ์รายงาน ตีพิมพ์ ฯลฯ

การบริการวิชาการ – เขียนโครงร่าง เข้าร่วมนำเสนอ จังหวัดหรือ อบต. ลงพื้นที่ ประสาน เขียนรายงาน ฯลฯ

ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม – ตามปฏิทินหน่วยงาน ฯลฯ

งานอื่น – ประชุมกลุ่มสาขา ประชุมประจำเดือน ทำ EdPEx อบรม Assessor (ทำการบ้าน) ประชุมผู้บริหาร ทำ guideline โควิด ทำแผนความเสี่ยง รอรับการประเมินหน่วยตรวจสอบภายใน ออกแบบการประเมิน WFH ประเมินบุคลากร เตรียมร่างหาข้อมูล Establish benchmark เตรียมข้อมูลสำหรับเทียบเคียง ปรับแผนกลยุทธ์ ปรับตัวชี้วัด ประสานการวิเคราะห์ระบบงานสำคัญ/กระบวนการหลัก FTEs (allocation) เป็นผู้ประเมิน EdPEX, AUNQA ทำวารสาร นำวารสารเข้ารับการประเมิน ฯลฯ

     3.2 ทำวิจัยอย่างไรให้ทันเวลา

1) วางแผนการทำงาน

2) จัดลำดับความสำคัญ ทำก่อน ทำหลัง – งานด่วน (Reinventing, งบจังหวัด ฯลฯ) – สมดุลกิจกรรมงาน เวลา สุขภาพ ของตนเอง

3) การประชุม กำหนดเวลาในการประชุม มีเนื้อหามานำเสนอ ขอความเห็น แบ่งงานกันทำ แล้วมีคนหลัก (Owner) นำงานมารวมต่อกัน อย่าลืมแบ่งเวลาดูแลสุขภาพด้วย

4) ทำงานที่มีคุณภาพ ส่งต่อกันในทุกขั้นตอน

5) นักวิจัยหลัก ออกแบบ รวบรวมงานภาพรวม เข้าร่วมประชุมทุกครั้งกับผู้ให้ทุน และผู้ประเมิน 

6) การแบ่งงานในทีม ตั้งแต่ การทบทวนวรรณกรรม ทำโครงร่าง แบบสอบถาม งานซับซ้อน ควรเป็นของนักวิจัยหลัก กรอกจริยธรรม; งานซับซ้อนน้อยลงมา แบ่งคนในทีม ตามความถนัดของทีมงาน

ลงพื้นที่ วางแผน วิเคราะห์ข้อมูล – ออกแบบตารางเปล่า (ทีมงานที่ถนัด) หาวารสาร ทำต้นฉบับ

ทำรายงานฉบับสมบูรณ์ (ทีมงานสำคัญ)

 

หมายเลขบันทึก: 693556เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2021 08:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2021 07:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (51)
เกศกาญจน์ ทันประภัสสร

ขอชืนชมวิธีการทำงานวิจัยเพื่อให้ได้ทุนจากภายนอกฟังแล้วทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอกชัดเจนขึ้น

การเขียนขอทุนภายนอก ต้องมีเครือข่ายกว้างขวาง

วิลาวัณย์ สายสุวรรณ

ขอบคุณความรู้และประสบการณ์ที่อาจารย์นำมาถ่ายทอด ได้เห็นถึงความสำคัญของการมีเครือข่ายที่ดี ในการร่วมทำวิจัย ได้เห็นโอกาสในการขอทุนวิจัยจากภายนอก หากมีโอกาสจะพยายาม และกล้าที่จะเขียนขอทุนวิจัย สนับสนุนจากภายนอกคะ

ชื่นชมวิทยากร มีความรู้ความสามารถและสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเราชาวพุทธชินราชนะคะ มาแลกเปลี่ยนทุกครั้งมีอะไรใหม่มาเปิดมุมมองให้พวกเราเสมอ

ฟังแล้วทำให้เกิดพลังในการทำงานวิจัย และอยากจะขอทุนบ้าง ซึ่งต้องใช้พลังของเครือข่ายในการก่อให้เกิดพลังความคิด และแนวทางในการขอทุนวิจัย

จิตตระการ ศุกร์ดี

ได้รับความรู้ดีเยี่ยมเลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

วิทยากรเก่งมากค่ะ

ได้เห็นโอกาสในการขอทุนวิจัยจากภายนอก และการสร้างเครือข่ายที่ทำให้งานวิจัยประสบความสำเร็จ

เป็นสิ่งที่ดีค่ะ การหาแหล่งทุนวิจัยภายนอกนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างหายากค่ะ

ชื่นชมวิทยากร ทำให้มีแรงจูงใจในการขอทุนวิจัยและการสร้างเครือข่ายการทำงานวิจัยค่ะ

วิทยากรทำให้เกิดพลังที่จะเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก หากมีโอกาสคงได้เรียนรู้ และทำงานกับผู้มีประสบการณ์ที่ได้รับทุนภายนอก เพื่อสร้างผลงานวิจัย

การขอทุนวิจัยภายนอกเป็นภารกิจที่สำคัญ และท้าทายสำหรับอาจารย์ ยิ่งได้ฟังประสบการณ์ดีๆ จากท่านวิทยากร ถือเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นแบบอย่างที่ดีมากๆค่ะ ขอชื่นชมทั้งท่านวิทยากร และผู้จัด KM รวมทั้งขอเป็นกำลังใจให้คณาจารย์ทุกๆท่านนะคะ

วิยากรเป็นคนที่มีพลังบวกมากในการทำวิจัยและการขอทุน ทุกครั้งที่ได้ฟังอาจารย์แชร์ประสบการณ์ ช่วยเพิ่มพลังบวกในการอยากขอทุนและทำวิจัยมากค่ะ

เป็นแรงบันดาลใจ และเป็นแบบอย่างที่ดีในการขอทุนวิจัยต่อไปค่ะ

การหาแหล่งทุนวิจัยภายนอกนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างหายากค่ะ

วิทยากรเป็นพลังบวกมากในการพัฒนาตนเองด้านการทำวิจัยคะ

ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งทุนวิจัย และจะนำมาพัฒนาตนเองต่อไปค่ะ

สิรารักษ์ เจริญศรีเมือง

ยอดเยี่ยมมากเลยคะ เเนวทางชัดเจนมากคะ ขอบคุณคะ

เครือข่ายที่ดีมีส่วนสำคัญในการร่วมทำวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ได้เห็นโอกาสในการขอทุนวิจัยจากภายนอก ขอบคุณค่ะ

เครือข่ายที่ดีมีส่วนสำคัญในการร่วมทำวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ได้เห็นโอกาสในการขอทุนวิจัยจากภายนอก ขอบคุณค่ะ

มีโอกาสได้เข้ามาเรียนรู้และได้เห็นถึงความสำคัญของการทำวิจัยเพื่อขอทุนจากภายนอกเพิ่มมากขึ้น

วิทยากรมีความสามารถมาก ช่วยให้มีความเข้าใจและมีแนวทางในการเขียนงานเพื่อขอรับทุนได้มากขึ้น

ได้แนวทางในการขอทุนวิจัยจากภายนอก และความสำคัญของการสร้างเครือข่ายที่ดี

กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์

ขอชื่นชมวิทยากรที่มอบประสบการณ์ในการขอทุนภายนอกและบริหารจัดการโครงการวิจัย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างองค์ความรู้เพื่อนำมาพัฒนาการจัดการเรียนให้กับนักศึกษาพยาบาล

ได้แนวทางในการทำวิจัยมากค่ะ รวมถึงได้ไอเดียในการทำด้วยค่ะ

เป็นแนวทางที่ดีในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก และการบริหารจัดการโครงการวิจัยให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่แหล่งทุนกำหนด

ขอบพระคุณแนวปฎิบัติที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้การวิจัยง่ายขึ้นแต่ถึงอย่างไรการขอทุนภายนอกก็ยังเป็นเรื่องที่ท้าทายพอๆกับการวน้างงานวิจัย/นวัตกรรมที่สามารถขายได้ใช้งานได้จริง สำหรับตนเองยังคงต้องพยายามต่อไปครับ

ขอชื่นชมวิทยากรที่เป็นแบบอย่างของนักวิจัยที่ดี และแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีเครือข่ายวิจัยภายนอกวิทยาลัยฯ ที่จะช่วยผลักดันและเป็นแรงเสริมให้สามารถทำวิจัยได้

ได้รับแรงบันดาลใจในการทำวิจัย และได้เรียนรู้วิธีการจัดการในการทำวิจัยให้สำเร็จได้ด้วยดีค่ะ

ชื่นชมวิทยากรมาก ได้แนวทางการเขียนโครงการวิจัยขอทุนภายนอกและแนวทางการทำวิจัยให้สำเร็จ ได้ประโยชน์มากค่ะ

ดร.จินดาวรรณ เงารัศมี

การขอทุนภายนอก ควรมีเครือข่ายในการร่วมทำวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ได้เห็นพลังขับเคลื่อนขององค์ความรู้จากงานวิจัย ขอบคุณที่สร้างแรงบันดาลใจค่ะ

จารุกิตติ์ จันทร์งาม

ดีมากครับ

มีประโยชน์มากเลย ควรจะมีการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม และขยายเครือข่ายมากขึ้น

การขอทุนภายนอก จำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายอย่างมาก การ MOU กับหน่วยงานภายนอกน่าจะเป็นอีกช่องทางของการได้รับทุนภายนอกอีกช่องทางหนึ่ง

มีประโยชน์มากค่ะ

กระบวนการวิจัยไม่ง่าย ขอทุนภายนอกก้อไม่ง่าย แต่อยู่ในพิสัยที่ทำได้หากเวลาเพียงพอ

การเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อการขอทุนวิจัยภายนอกเป็นสิ่งสำคัญและการจัดการความรู้เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ดี

เป็นกระบวนการที่มีหลายขั้นตอน และมีหลายปัจจัย แต่ถ้าได้ก็น่าจะทำให้งานวิจัยนั้น strong มากค่ะ

ขอบพระคุณท่านวิทยากรและทีมวิจัย ที่ได้นำมุมมองใหม่ๆๆ ในการผลิตงานวิจัย ครับ

ชื่นชมวิทยากรมากค่ะ ฟังแล้วเกิดแรงบันดาลใจในการจะขอทุนวิจัยภายนอก ฟังแล้วทำให้ต้องกลับมาบริหารจัดการเวลาของตัวเองค่ะ

ขอบคุณความรู้และประสบการณ์ที่ท่านวิทยากรมาถ่ายทอดให้กับพวกเราชาววพบ.พุทธฯได้เห็นถึงความสำคัญของการมีเครือข่ายที่ดี ในการร่วมทำวิจัย ได้เห็นโอกาสในการขอทุนวิจัยจากภายนอก หากมีโอกาสจะพยายาม และกล้าที่จะเขียนขอทุนวิจัย สนับสนุนจากภายนอกคะ

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการบรรยาย ช่วยทำให้เห็นแนวทางการขอทุนภายนอกได้อย่างชัดเจน ปลุกความคิด ความมุ่งมั่นได้เป็นอย่างดี ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ค่ะ

ดร.ศุภาณ์นาฏ สุวรรณกิจ

ได้ความรู้และประสบการณ์จากวิทยากรดีมาก วิทยากรสามารถจดประกายให้พวกเราได้ให้เกิดแรงบันดาลใจหลายประการ ขอบคุณท่านวิทยากรมากค่ะ

วิทยากร บรรยายได้ดีมาก ทำให้เห็นวิธีการทำงานและการขอทุนจากแหล่งภายนอกได้ชัดเจน สามารถนำไปใช้ได้จริง อาจารย์มีพลังเยอะมากๆ ขอชื่นชมคะ

ขอชื่นชมวิทยากรค่ะ ทำให้มีแรงบันดาลใจในการทำวิจัย

ขอบคุณวิทยากรที่มาให้ความรู้และนำประสบการณ์มาถ่ายทอดให้กับพวกเราชาว วพบ.พุทธฯทำให้มีความรู้แนวทางการขอทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอก รวมทั้งเห็นความสำคัญของการมีเครือข่ายในการร่วมทำวิจัย เห็นโอกาสในการขอทุนวิจัยจากภายนอก หากมีโอกาสจะพยายามเขียนโครงการเพื่อขอทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอก โดยเฉพาะหน่วยงานระดับประเทศ

การมีเครือข่ายในทีมสหสาขาจะช่วยให้มีโอกาสขอทุนวิจัยจากภายนอกได้เพิ่มขึ้น จึงควรสร้างเครือข่ายร่วมมือกันทำวิจัย

การได้รับทุนวิจัยภายนอกท้าทายแนวคิดใหม่่ของผู้วิจัย

มีประโยชน์มากค่ะ ได้รับข้อมูลทำให้มีแนวทางในการขอทุนวิจัยภายนอกต่อไปค่ะ

ทำให้มีไฟในการทำวิจัย

ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการขอทุนวิจัยเพิ่มขึ้น ขอขอบคุณมากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท