๙๔๒. แบบกำหนดหน้าที่งานกับการวางแผนอาชีพ (Career Path)


แบบกำหนดหน้าที่งานกับการวางแผนอาชีพ (Career Path)

แบบกำหนดหน้าที่งานกับการวางแผนอาชีพ (Career Path)

           ส่วนราชการโดยทั่วไป จะดำเนินการวางระบบการเจริญเติบโตของพนักงานในสายงาน เพื่อที่จะวางเป้าหมายให้พนักงานได้ เลื่อนเงินเดือน เลื่อนตำแหน่งในมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กร และอยู่กับมหาวิทยาลัยไปนาน ๆ ทั้งมหาวิทยาลัยก็จะได้รับในสิ่งดี คือ องค์ความรู้ที่ได้ฝึกอบรมและพัฒนาให้กับพนักงาน ถือเป็นการลงทุนไว้ในระยะยาว จะสามารถอยู่ภายในมหาวิทยาลัย สำหรับพนักงานก็จะมีความรู้สึกว่า มหาวิทยาลัยได้เป็นหนี้บุญคุณสำหรับพวกเขา ที่ได้ดำเนินการฝึกอบรม พัฒนาให้พนักงานที่ทำหน้าที่ ปฏิบัติงานที่สูงขึ้น และได้รับการยอมรับภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดีทั้ง ๒ ฝ่าย

           มหาวิทยาลัยจึงมีการวางแผนอาชีพให้กับพนักงานเอาไว้ เพื่อเป็นการบอกพนักงานว่า มหาวิทยาลัยมิได้ทอดทิ้งพนักงาน มีการดูแลพนักงาน เพื่อให้มีการเติบโตภายในมหาวิทยาลัย แนวปฏิบัติ หลักเกณฑ์ กติกา ทั้งหลายจะต้องแจ้งให้พนักงานที่อยู่ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลอยู่ตลอดเวลา พนักงานจะได้มีการวางแผนอาชีพของตนเองได้อย่างถูกต้องขึ้น สำหรับสิ่งใดที่พนักงานยังไม่เข้าใจ และขาดความเข้าใจในส่วนไหน มหาวิทยาลัยหรือผู้บริหารจะได้เข้ามามีส่วนสนับสนุนให้กับพนักงาน เพื่อไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการฝึกอบรม และพัฒนา ในส่วนที่พนักงานยังขาดอยู่ เพื่อเตรียมความพร้อมของพนักงานให้มีการเติบโตในตำแหน่งที่สูงขึ้น

การพัฒนาอาชีพ (Career Development) แบ่งออกเป็น ๒ ระดับ คือ

๑. การวางแผนอาชีพ (Career Planning) บุคคลจะต้องเป็นผู้เลือกทางเดินของตนเอง เป็นกระบวนการส่วนบุคคล ที่จะต้องดำเนินการ ดังนี้

           ๑.๑ เกี่ยวข้องกับการเลือกอาชีพ ส่วนราชการ งานที่ได้รับมอบหมายและการพัฒนาตนเอง

           ๑.๒ การวางแผนอาชีพ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของ Career Development

           ๑.๓ การพัฒนาตนเองในอาชีพที่ตนเองปฏิบัติอยู่

           ๑.๔ มีการวางแผนอาชีพ เป้าหมายการทำงานของตนเอง และการตระหนักในอาชีพที่ตนเองปฏบัติอยู่

           ๑.๕ มีการวิเคราะห์ความสามารถของตนเอง วิเคราะห์คุณค่าในการทำงานของตนเอง

๒. การบริหารอาชีพ (Career Management) เป็นกระบวนการในส่วนของส่วนราชการ ดังนี้

           ๒.๑ การจัดเตรียมโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพให้กับพนักงาน

           ๒.๒ การบริหารอาชีพ เป็นส่วนสำคัญของ Career Development

           ๒.๓ มีการกำหนดหน้าที่งาน การประเมิน เน้นไปที่ด้านทรัพยากรมนุษย์

           ๒.๔ มีการออกแบบผังความก้าวหน้าในอาชีพ การจัดทำแผนทดแทน และศักยภาพของบุคลากร

           ๒.๕ มีการฝึกอบรม และการให้คำปรึกษา

           ๒.๖ เพื่อช่วยให้พนักงานมีโอกาสบรรลุเป้าหมายในอาชีพของตนเอง

           ๒.๗ ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือก การจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ 

           ๒.๘ มีการประเมินและติดตามผล การฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

           ๒.๙ การจัดระบบพี่เลี้ยง เป็นศูนย์รวมของข้อมูลบุคลากร

           ๒.๑๐ ผู้บริหาร ทำหน้าที่ เป็นที่ปรึกษา การวางแผนงานบุคคล การประเมินผล การวางสายอาชีพ การทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง

ที่มา : ศึกษาจาก Job Description การจัดทำแบบกำหนดหน้าที่งานบนพื้นฐาน Competency, ดร.กฤติน กุลเพ็ง และหน้าที่ที่ผู้เขียนได้ทำการปฏิบัติงาน นำมาประยุกต์เพื่อใช้ในการทำงานของภาครัฐ

***********************************

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาในบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ แสงเงิน

๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๔

 

 

หมายเลขบันทึก: 693541เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2021 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2021 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท