กิจกรรมบำบัดในเคสการรับรู้บิดเบือน


กรณีศึกษามี Perceptual Distortion ผสมกันทั้ง 5 แบบ คือ 

  1. Perceptual defense รู้ว่าแม่ทำดี แต่เสียใจที่ตัวเองทำดีไม่ได้เลยก้าวร้าว 
  2. Projection อึดอัดใจในความคิดลบของตนจนต้องโยนความผิดให้คนอื่น 
  3. Stereotypes ยังฝังใจเปรียบเทียบรักกับไม่รักตลอดเวลา 
  4. Pygmalion effect คาดหวังคุณธรรมจากคนอื่นอย่างสมบูรณ์แบบ ผิดไปนิดก็โมโห 
  5. Halo effect ยิ่งถูกชื่นชม ยิ่งพอใจ

เกิดขึ้นจาก Psychotic episodes กระตุ้นจาก hallucinations (false perceptions) เพราะทานยาไม่ต่อเนื่อง กับ delusions (false beliefs) เพราะไม่ได้ฝึกจิตบำบัดต่อเนื่อง

False perception คือ หลอนว่าตนเองไม่มีใครรัก อยากตาย และ False beliefs หลงว่าตนเองเป็น Panic 

การปรับพฤติกรรม ตรงนี้ให้ครอบครัวมองข้อดีคือ เค้าจะพูดออกมา ก็ให้ครอบครัวเฝ้ามองให้เค้านั่งบ่น ไม่พูดตอบโต้ ถ้าเกิน 5 นาที ก็ใช้เสียงดังกว่าเรียกสติ "(เรียกชื่อ) ฟังนะ เดี๋ยว 1 ชม. เรามาคุยกัน พูดสัก 3 รอบ" แล้วใช้ Timeout น่าจะดีครับ ปรับพฤติกรรมด้วย Positive Punishment บ้าง 

เมื่อทบทวนวรรณกรรมทางกิจกรรมบำบัด มี 22 เทคนิค (Therapeutic experience of a corrective environment) ที่ใช้ใน Borderline Personality Disorder ดังนี้

  1. ช่วยคนไข้ให้เห็น “ความคิด ความรู้สึก ที่กระทำออกมา” ผ่านการบันทึกคลิปและเปิดดูซ้ำ
  2. ทำให้คนไข้เห็นเป็นจริงว่า “กำลังบิดเบือนการรับรู้อะไรอยู่” ณ เวลาที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น
  3. ไม่เจ้ากี้เจ้าการหรือตอบโต้ขณะที่คนไข้บ่นถึง “การไม่ได้รับความช่วยเหลือใด ๆ”
  4. เก็บความคิดช่วยเหลือคนไข้ไว้ในใจเสมอว่า “ถ้ามีเหตุการณ์ฉุกเฉิน จะส่งโรงพยาบาลอย่างไร”
  5. ตระหนักรู้ถึง “ความจำเป็นที่จะแก้ปัญหาที่นี่และตอนนี้” ไม่ย้อนคิดเรื่องในอดีตวัยเด็กแต่อย่างใด
  6. ยิ่งต่อต้านอารมณ์คนไข้ ยิ่งทำให้คนไข้ระเบิดความโกรธออกมา
  7. คิดช่วยคนไข้ให้เพิ่มความอดทนต่อการคับข้องใจ และเพิ่มการควบคุมตนเองจากสิ่งกระตุ้นความโกรธ
  8. ชี้ประเด็นในชัดว่า “คนไข้กำลังต้องการอะไร” เปิดเผยออกมาว่า “คนไข้รู้สึกไม่เป็นจริงเรื่องอะไร” และเราต้องเผชิญหน้าด้วยการสื่อสารแบบนี้ให้คงที่ในทุกครั้งที่คนไข้แสดงความเจ้ากี้เจ้าการ/สั่งการใด ๆ 
  9. ทำให้คนไข้ทราบว่า “ในบ้านเรามีข้อจำกัดอะไร วิธีปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันอะไร คาดหวังอะไรบ้าง” 
  10. ค่อย ๆ สนับสนุนรับฟังคนไข้พร้อมให้มีหลายตัวเลือกในการตัดสินใจของคนไข้ เราจะไม่บังคับคนไข้ทำมากเกินไป ด้วยความสนใจจริงไม่แสดงแรงจูงใจออกมาให้คิดบวก
  11. ช่วยคนไข้เท่าที่เป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสบการณ์ดีร่วมกัน
  12. ช่วยคนไข้ในกระบวนการให้เรียนรู้ใหม่ถึงความขัดแย้งภายในใจ เมื่อคนไข้บ่นให้คนหนึ่งฟังถึงเรื่องคนอื่น ให้ถามกลับว่า “อะไรเป็นสาเหตุให้คุณบ่นเรื่องนี้” และแปลผลการโยนความผิดของคนไข้ว่า “คุณลำบากใจที่โกรธแบบรู้สึกสงสัยหรือไม่ และความรู้สึกแย่ ๆ แบบนี้จะปกป้องชีวิตของคุณได้หรือไม่”
  13. กระตุ้นให้คนไข้แสดงคำพูดออกมาในหลากหลายท่าทาง
  14. เผชิญหน้าต่อคนไข้อย่างมั่นคงและข่มใจไว้ไม่ให้โกรธตอบ
  15. อย่าออกคำสั่งกำกับและช่วยคนไข้ในทุกสิ่งที่เค้าต้องการ
  16. เผชิญหน้าคนไข้อย่างสม่ำเสมอถ้าเค้าแสดงท่าทางแปลกประหลาด
  17. เผชิญหน้าคนไข้เสมอเมื่อเค้าตั้งใจโกหก
  18. ให้ใช้วัสดุอุปกรณ์รอบตัวเพื่อเบี่ยงเบนและลดการแสดงท่าทางแปลกประหลาดของคนไข้
  19. ชักชวนสมาชิกในครอบครัวให้เข้าใจซึ่งกันและกันในการสื่อสารกับคนไข้ผู้มีพยาธิสภาพในสมองทำให้เกิดอาการป่วยทางสุขภาพจิต
  20. ให้กระตุ้นจุดดีหรือจุดแข็งของคนไข้ออกมาให้เค้ารู้สึกตัวเสมอ
  21. ฝึกใช้อารมณ์ขันเพื่อช่วยคนไข้เบี่ยงเบนความสนใจจากอารมณ์ที่หมกหมุ่นครุ่นคิดลบ
  22. ให้ตั้งคำถามว่า “อะไรทำให้คนไข้ต้องการทำแบบนี้อย่างเร่งด่วน” แล้วตอบโต้อย่างมีสติว่า “เรายังไม่เข้าใจชัดเจนว่าทำไมคนไข้ถึงอยากคิดทำสิ่งนี้…ขอใช้เวลาคิดตัดสินใจก่อนนะ"  
หมายเลขบันทึก: 693315เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2021 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2021 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท