ทฤษฎี Mckinsey’s 7s Framework


             ทฤษฎี Mckinsy’s 7s Framework เป็นกรอบแนวคิดนี้ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1980 โดยสองนักคิด Robert Waterman , Tom Peter and Julien Phillips ซึ่งทำงานอยู่บริษัทที่ปรึกษา บริษัท Mckincy & Company ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ Mckinsey’s 7s Framework   แนวคิดนี้ต้องการนำเสนอว่าประสิทธิภาพขององค์กรธุรกิจเกิดจากความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ  7 ประการ ของธุรกิจว่ามีลักษณะและมีสภาพอย่างไร  จึงเป็นที่มาของศัพท์คำหนึ่งว่า Mckansey’s 7 S แบบจำลอง 7-S  นี้เป็นกรอบการพิจารณาและการวางแผนเพื่อการกำหนดกลยุทธ์ในองค์การโดยการประสานองค์ประกอบทั้ง 7  ตัว ให้สอดคล้องประสานกัน ตัวแปรแต่ละตัวมีความสำคัญต่อการบริหารองค์การเริ่มตั้งแต่การกำหนดกลยุทธ์องค์การเกี่ยวข้องกับการพิจารณาโครงสร้างองค์การ  เป้าหมายขององค์การ  ระบบการดำเนินงาน  ทักษะที่ใช้ในการทำงาน  บุคลากร รูปแบบพฤติกรรมของพนักงานและเป้าหมายที่ต้องการ เราลองมาจำแนกกันว่า ตามทฤษฎีดังกล่าว มีอะไรบ้างและมีความสำคัญอย่างไรบ้างต่อการกำหนดกลยุทธในองค์การ

         แนวคิดของทฤษฎี McKinsey’s  7’s Framework ได้ถูกนำมาใช้ในการบริหารเป็นหลักสากล  ประกอบไปด้วย

        1.  Structure (โครงสร้างองค์กร)   หมายถึง ลักษณะโครงสร้างขององค์การที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ  รวมถึงขนาดการควบคุม การรวมอำนาจ และการกระจายอำนาจของผู้บริหาร  การแบ่งโครงสร้างงานตามหน้าที่ ตามผลิตภัณฑ์ ตามลูกค้าตามภูมิภาคได้อย่างเหมาะสม  โครงสร้างองค์กรมีความยืดหยุ่นมากน้อยเพียงไร ถ้าไม่ยืดหยุ่นหรือมีความยืดหยุ่นน้อย โอกาสความสำเร็จก็มีน้อย   

        2.  Strategy  (กลยุทธ์)  หมายถึง การวางแผนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมการพิจารณา จุดแข็ง จุดอ่อนของกิจการ โดยพิจารณาว่าองค์กรมีการกำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจนหรือไม่ และกลยุทธ์นั้นกระจายออกไปใน  sector  ต่างๆ หรือไม่ โดยส่วนนี้หลายองค์การมักใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ องค์กร เช่น SWOT Analysis  หรือเอา strategy กระจายออกมาเป็น  BSC เลย เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์

       3.  Staff บุคลากร (การจัดการบุคคลเข้าทำงาน) หมายถึง การคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ การพัฒนาบุคคลากรอย่างต่อเนื่อง พนักงานมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน การเข้ามาหรือการเติบโตในองค์การโดยใช้ระบบเส้นสายพรรคพวกหรือไม่การวางงานให้เหมาะสมกับบุคคลเป็นอย่างไร

      4.  (Managerial) style   (รูปแบบ)    หมายถึง การจัดการที่มีรูปแบบวิธีที่เหมาะสมกับลักษณะองค์การ เช่น การสั่งการ  การควบคุม การจูงใจ สะท้อนถึงวัฒนธรรมองค์การ  สไตล์การบริหารเป็นอย่างไร โดยสไตล์ในการบริหารมักจะเป็นไปในรูปแบบเฉพาะของแต่ละองค์กร ซึ่งสไตล์ในการทำงานของผู้บริหารนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง จะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของพนักงานในองค์กรมากกว่าคำพูดของผู้บริหาร

       5.  System (ระบบ) หมายถึง กระบวนการและลำดับขั้นการปฏิบัติงานทุกอย่าง ที่เป็นระบบที่ต่อเนื่องสอดคล้องประสานกันทุกระดับ  การวางระบบงาน ระบบสายงานการผลิต รวมถึงระบบการควบคุมบังคับบัญชา  ระบบเป็นการวิเคราะห์ถึงระบบงานขององค์กรในทุก ๆ เรื่อง ทั้งเรื่องระบบการบริหารจัดการ ระบบการปฏิบัติงาน เช่น ระบบสารสนเทศ ระบบการวางแผน ระบบงบประมาณ ระบบการควบคุมภายใน ระบบจัดซื้อ ระบบในการสรรหาและคัดเลือกพนักงาน ระบบในการฝึกอบรม ตลอดจนระบบในการจ่ายผลตอบแทน เป็นต้น

        6.  Skill (ทักษะ)  หมายถึง ความโดดเด่น ความเชี่ยวชาญในการผลิต การขาย  การให้บริการ  พนักงานมีทักษะในการทำงานหรือไม่ (อะไรความแตกต่างระหว่าง knowledge (รู้เฉยๆ) กับ skill (รู้แล้วทำให้คนอื่นเชื่อด้วย และนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานได้ด้วย) เป็นการพิจารณาถึงทักษะหรือความเชี่ยวชาญขององค์กรโดยรวม ว่ามีความเชี่ยวชาญหรือมีความชำนาญในด้านใดบ้าง มีการพัฒนาฝีมือให้กับพนักงานอย่างไร มีแบบแผนอย่างไร

        7.  Shared value  (ค่านิยมร่วม)  หมายถึง ค่านิยมร่วมกันระหว่างคนในองค์การ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ความเชื่อร่วมกันในหน่วยงาน ซึ่งส่วนนี้ถือเป็นส่วนที่สำคัญและมักจะเป็นใจกลางของรูปแบบการวางกลยุทธ เป็นเรื่องที่ในทุก ๆ องค์กรต้องมี เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายไปพร้อม ๆ กัน

    

 

คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎี Mckinsey's 7s Framework
หมายเลขบันทึก: 693215เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2021 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2021 09:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท