กิจกรรมบำบัดปรับหนุ่มสาว Psychosis


อ้างอิงจาก Microsoft Word - OT for Psychosis - Tips and Strategies.docx (easacommunity.org) และ Anxiety Management and Relaxation Techniques (mindrecoverynet.org.uk) และ Untitled-1 (aiota.org)

เมื่อคนไข้จิตเวชมีอาการหลงผิดได้ไลน์นัดหมายและให้คำสัญญากับผมเพื่อฝึก “กิจกรรมบำบัดจิตสังคม” ทางมือถือ เพราะผมติดสอนไม่สามารถรับสายได้ทันที แต่ “ไม่มีการติดต่อใดๆ” ทำให้เรียนรู้ว่า “จิตคิดลบ ถูกครอบงำ จำฝังใจ จนเปราะบาง จงรับฟังทันที”

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อ Distraction & Redirecting คนไข้ให้เบี่ยงเบนความสนใจในการดูแลตนเอง                                      ผ่านการบำบัดด้วยกิจกรรม (Activities Therapy) ก่อนเพื่อเตรียมความพร้อมภายในด้าน Self-Esteem 

สรุป How to คือ 

  • ผู้ปกครอง ผู้ดูแล คุณครู สังเกตและเข้าใจ “ปัญหาการรู้คิด” เช่น จำข้อมูลไม่ละเอียด ไม่มีสมาธิ ทำขั้นตอนซับซ้อนไม่ได้ แล้วช่วยเหลือ บอกขั้นตอนทีละอย่าง เขียน จากง่ายไปยาก แบบชี้นำ และ/หรือ ช่วยนำ ด้วยภาพ สี ท่าทาง สัมผัส คำเขียน คำบอก ออกแรงจับทำ
  • ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการรับรู้ที่พอเหมาะและพอดีกับพื้นฐานอารมณ์และความทนทานต่อสิ่งเร้าการรับความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และความคิดดีของผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจากอาการแสดงของโรคจิต เช่น ม่านกันแสงที่ไม่เร้าอารมณ์หงุดหงิด สีสัมผัสอุปกรณ์ที่ระลึกจำได้ น้ำเสียงสงบเย็นของคนรอบตัว เสียงดนตรีที่ชื่นชอบกับผ่อนคลาย คลิปบันทึกจากครูให้เรียนรู้ได้นอกเวลา ครูให้โอกาสทดสอบในหลากหลายรูปแบบ
  • ปรับเทคนิคการหายใจให้ผ่อนพักตระหนักรู้ ดูมีหลายวิธี ลองฝึกแล้วเลือกตามบริบทความตั้งใจเลือกใช้ในแต่ละรายบุคคล เช่น Square Breathing, Floating Leaves, Alphabet Thoughts, Voice Percussion, Improvisation เป็นต้น
  • สังเกต แยกแยะ และสื่อสารแบบ Operational Conditioning อย่างไว้ใจกันและค่อยเป็นค่อยไป ผ่านการรับฟังสิ่งที่เคสระบายความไม่สบายใจออกมา แม้ว่าจะคิดวน คิดไปเอง คิดหลงผิด มีประสาทหลอน ก็ตั้งการรับฟังไว้สุด ๆ ไม่เกิน 20 นาที แล้วทำการ Reframing & Redirecting ให้ดึงเข้าสู่สิ่งที่เคสทำได้ทันที เช่น การมองภาพ สี ฟังเสียงอา อู โอ ขณะเคาะอวัยวะในร่างกาย การจับเสียงชีพจร การเขียนแบบทวนสิ่งที่ได้ลงมือฝึกอีกครั้ง ฯลฯ
  • ผมลองทบทวนเอกสารประกอบการเรียนสมัยเป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัด ด้วยความเคารพรักท่านอาจารย์ทุกท่านที่สอนผมด้วยความเมตตากรุณา จึงอยากบันทึกไว้กันลืม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
    • ปัญหาประสาทหลอนและหลงผิด ส่งผลต่อทักษะทางสังคม ให้ทดสอบฉายภาพทางจิตพร้อมค้นหาทักษะการดูแลตนเอง-การทำงานตามบทบาทชีวิตนักศึกษา ใช้นันทนาการเบนความสนใจจากอาการและให้ได้รับรู้ความเป็นจริง
    • ปัญหาอารมณ์โกรธซึ้ง ส่งผลต่อทักษะทางจิตสังคม ให้ระวังตัวให้ปลอดภัย ยอมรับและเผชิญหน้าเขาในฐานะบุคคลหนึ่ง สะท้อนกลับระดับอารมณ์โกรธเพื่อรู้สติ ลดพฤติกรรมก้าวร้าวต่อผู้อื่นโดยช่วยระบายอารมณ์ที่เก็บกดไว้ในงานกับนันทนาการที่สร้างสรรค์
    • ปัญหาโอ้อวดหลงผิด ส่งผลต่อทักษะทางสังคมและวัฒนธรรม ให้ทดสอบฉายภาพทางจิตพร้อมค้นหาทักษะการทำงานอย่างมีขั้นตอนและเตรียมความพร้อมต่อการประกอบอาชีพ ด้วยการประเมินตามสภาพจริง
    • ปัญหาปฏิเสธไม่ยอมรับความจริง ส่งผลต่อทักษะทางการรู้คิด จิตสังคม และการทำงาน ให้ประเมินหาสาเหตุของความวิตกกังวลต่างๆ จัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสได้เผชิญปัญหาจริง ๆ ฝึกปรับตัวแก้ปัญหาด้วยการมองปัญหาในแง่มุมต่างๆ อย่างผ่อนคลาย
    • ปัญหาความหวาดกลัวต่างๆ อย่างไร้เหตุผล ส่งผลต่อทักษะทางจิตสังคม ให้ทดสอบฉายภาพทางจิตพร้อมค้นหาทักษะการจัดการความคิด อารมณ์ ความเชื่อ ด้วยการลงมือทำตามลำดับการเรียนรู้ความหวาดกลัว เช่น วางเฉย หลีกเลี่ยง เผชิญหน้า เย้าแหย่ ยอมรับ ผ่อนคลายด้วยโยคะ-เกร็งคลายกล้ามเนื้อตามลำดับส่วน-เขียน/วาดภาพสิ่งที่กลัวน้อยสุดไปมากสุด และใช้วิธี  Systematic Desensitization (Counterconditioning) | Simply Psychology
หมายเลขบันทึก: 692390เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2021 12:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2021 09:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท