ภาวะผู้นำพลังบวก : เสริมพลังบวกเพื่อพัฒนางาน คนสำราญ งานสำเร็จ


ภาวะผู้นำพลังบวก : เสริมพลังบวกเพื่อพัฒนางาน คนสำราญ งานสำเร็จ

          แนวคิดภาวะผู้นำพลังบวก (Appreciative leadership) นั้น อัจฉริยะ อุปการกุล ได้ให้นิยามของภาวะผู้นำพลังบวกว่า เป็นระดับทักษะและขีดความสามารถในการเป็นผู้นำทางด้านประสบการณ์เชิงบวก โดยใช้ทักษะผู้นำในการสร้างสรรค์ผลงาน บรรยากาศการทำงาน ทีมงาน จากจุดแข็งของสมาชิกทุกคน หรือจากจุดแข็งและความสำเร็จที่มีอยู่แล้วขององค์การ เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยมีการนำทฤษฎีความต้องการมาจำกัดความหมายของผู้นำพลังบวกว่า ภาวะผู้นำพลังบวกเป็นความสามารถในการหล่อเลี้ยงความต้องการซึ่งเชื่อมโยงกัน สำหรับการเจริญเติบโต สำหรับความพอดี สำหรับการบรรลุผลสำเร็จ และการใช้ระดับที่สูงขึ้นของศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้ โดย ดร.อัจฉริยะ อุปการกุล ได้เสนอแนวความคิดของภาวะผู้นำพลังบวก ว่าเป็นแนวคิดใหม่ที่เหมาะกับองค์การในปัจจุบัน โดยการสร้างนวัตกรรมทางความคิด การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนในองค์การและการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเชิงบวก สำหรับภาวะผู้นำพลังบวกประกอบด้วย 4 ประเด็น คือ 1) การใช้หลักการด้านสุนทรียสาธก (Appreciative Inquiry) 2) การปฏิบัติการมีภาวะผู้นำร่วม (Shared leadership practice) 3) การคิดเชิงบวก (Positive thinking) และ 4) การยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม (Integrity) Positivechange กล่าวถึงความเป็นผู้นำอย่างเห็นคุณค่าและพลังเชิงบวก (Appreciative Leadership and positive power)  กลยุทธ์ 5 ประการ (5I) ของความเป็นผู้นำที่ชื่นชมหรือผู้นำพลังบวก คือ Inquiry - เชาว์ปัญญาแห่งการสืบเสาะ: การถามคำถามที่มีพลังบวก Illumination การจุดประกายความคิด การสร้างความกระจ่าง Inclusions การรวบรวม  มีส่วนร่วมกับผู้คน Inspiration การสร้างแรงบันดาลใจ ปลุกจิตวิญญาณแห่งการสร้างสรรค์ และ Integrity ความซื่อตรง การเลือกเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ส่วนงานวิจัยเรื่องภาวะผู้นำพลังบวกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนในอินเดีย โดยใช้โมเดลคุณค่าภาวะผู้นำ'VALUE Leadership Model' 5 ระยะ ของ Verma (2011) ที่ประกอบด้วย 1) การให้คุณค่ากับผลงานและการมองเห็นความเป็นจริง (Value a contribution and enVision) 2) การวางบุคคลผู้มีส่วนได้เสียให้เหมาะสมกับการทำหน้าที่อย่างมีเป้าประสงค์และมีรูปธรรม (Align and act) 3) การแสดงพลังและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Leverage and leap) 4) ความเป็นสากลและการนำสู่ยุคใหม่ด้วยการจัดระเบียบ (Universalize & Usher) และ 5) การสร้างและเผยแพร่ให้เป็นที่ยอมรับ (Establish and extend) 

         จากที่กล่าวมาภายใต้ข้อมูลที่จำกัดที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีก อาจกล่าวได้ว่า ภาวะผู้นำพลังบวก คือ การชื่นชมยินดีเห็นคุณค่าของผลงาน โดยการเสริมพลังบวก เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรในองค์กรได้พัฒนางานให้สำเร็จบรรลุเป้าหมายองค์กร โดยยึดความถูกต้องชอบธรรม ภายใต้กรอบแนวคิดคนสำราญ งานสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วย 1) การคิดเชิงบวก (Positive thinking) 2) การสืบเสาะแสวงหาข้อมูลเพื่อรวบรวมข้อมูล (Inquiry) 3) การสร้างแรงบันดาลใจแลด้วยการชื่นชมเห็นคุณค่าของผลงาน ( Inspiration and Value a contribution) และ  4) ความซื่อตรงถูกต้องชอบธรรม (Integrity)  

เอกสารอ้างอิง

อัจฉริยะ อุปการกุล. (มปป.) การสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในองค์กร. เข้าถึงได้จาก https://www.deonetraining. com/th/blog/550

อัจฉริยะ อุปการกุล. (2555) เครื่องมือนำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำพลังบวก (Appreciative 
Leadership) ตอนที่ 1  เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/443871

Positivechange. Five Strategies of Appreciative Leadership. (online)
https://positivechange.org/five-strategies-of-appreciative-leadership/

Verma, N. (2011). Appreciative leadership for sustainable development in India.
International journal of appreciative inquiry: AI Practitioner, 13(1), 11-16.
 


 

หมายเลขบันทึก: 692119เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2021 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2021 13:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท