CCARC รู้จักตัวเอง เติมเต็มและเติบโตไปข้างหน้า (1)


เราคือใคร เกิดขึ้นมาเพื่ออะไร เกิดมาเพื่อใคร ใครคือลูกค้า หน้าตา “ความสำเร็จของเรา” เป็นอย่างไร เราต้องเก่งเรื่องอะไร ปัจจุบันเราเก่งเรื่องอะไร เก่งระดับไหน และในปี 2023 หรือ 4 ปีข้างหน้า เราจะเก่งเรื่องอะไรและระดับไหน

การอบรมปฏิบัติการผ่านการระดมสมอง เพื่อการเรียนรู้โครงร่างองค์กรของศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ผู้ช่วยอธิการบดี และ อาจารย์เดชนะ สิโรรส  ที่ปรึกษาสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมบรรยายให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการ ก่อนที่จะลงมือเขียนโครงร่างของศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์ร่วมกัน 

วิธีการ ให้ผู้เข้าอบรมทำความเข้าใจก่อนในเรื่องต่างๆ  เพื่อตอบคำถาม 1.เราคือใคร 2.เกิดขึ้นมาเพื่ออะไร 3.เกิดมาเพื่อใคร 4.ใครคือลูกค้า 5.หน้าตา “ความสำเร็จของเรา” เป็นอย่างไร 6.เราต้องเก่งเรื่องอะไร (ปัจจุบันเราเก่งเรื่องอะไร, เก่งระดับไหน และในปี พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2023) หรือ 4 ปีข้างหน้า เราเก่งเรื่องอะไรและระดับไหน) 

สาระสำคัญความรู้ที่ได้รับการเติมเต็ม ดังนี้ 

  1. ความสำคัญของการดำเนินงาน 80/20 โดย 80 คือการลงมือ  20 คือการรายงาน
  2. อายุของ social content คือ 3 ชั่วโมง
  3. ยุทธศาสตร์ที่ศูนย์สื่อสารองค์กรฯ เกี่ยวข้องคือ เรื่อง การสื่อสาร
  4. คนเป็นพลวัตร เข้ามาออกไป แต่องค์กรอยู่ได้ อยู่ได้โดยมีระบบ และการทำ work flow ไม่สำคัญเท่าคนในองค์กรคิดไปในทิศทางเดียวกัน
  5. ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้รอบรู้เรื่องจีน เขียนบทความมองจีนมองไทย กล่าวถึงนโยบายรัฐบาลจีนใช้หลัก สี่เลี่ยงสามเลียน คือ หลีกเลี่ยงไม่ให้ซ้ำรอยความล้มเหลวของประเทศอื่นใน 4 เรื่อง และพยายามลอกเลียนแบบความสำเร็จของประเทศอื่นใน 3 เรื่อง (สามารถศึกษาอ่านเพิ่มเติมผ่านการสืบค้นใน Google) เป็นตัวอย่างการสื่อสารที่กระชับและตรง
  6. ทักษะการสื่อสารที่มี ใช้ได้แต่วิธีการที่จะทำให้สื่อสารออกมาได้ตรงที่ต้องการนั้นยาก
  7. ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง สู่ยุคดิจิทัล ปัจจุบัน AI สั่งงานคน เช่น บริการ Grab
  8. “Alvin Toffler” นักเขียนชื่อดังชาวอเมริกากล่าวว่า “คนที่ไม่รู้หนังสือในศตวรรษที่ 21 จะไม่ได้หมายถึงผู้ที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ แต่จะหมายถึงผู้ที่ไม่สามารถเรียนรู้ ละทิ้งความรู้เดิม แล้วเริ่มเรียนรู้ใหม่ต่างหาก” (อ่านเพิ่มเติม>> https://www.marketingoops.com/news/biz-news/seac-learn-unlearn-relearn/)
  9. หลุมพรางของความล้มเหลว คือ เราใช้ตัวชี้วัดตัวเดิมตลอดเวลา
  10. การสื่อสารที่ใช่ ไปยังคนที่ใช่ ช่องทางที่ใช่  ในเวลาที่เหมาะสม คือ การดีไซน์ อย่างไร อยู่ที่การออกแบบ ถ้าเราทำงานเหมือนเดิม จะไม่มีอะไรใหม่ ความท้าทายอยู่ที่การออกแบบการทำการสื่อสารสู่ปัจเจกบุคคล  personalization System
  11. การปรับ Mindsets ใหม่  วันนี้คิดว่าจะเขียนข่าวให้ใคร ไม่ใช่คิดแบบเดิมว่าจะเขียนข่าวกี่ชิ้น
  12. ภาพลักษณ์ขององค์กร ผู้บริหารกำหนด หน้าที่ของเราคือ facilitator ไม่ใช่คนสร้าง เราต้องทำความเข้าใจภาพลักษณ์ที่ผู้บริหารต้องการให้เป็น แล้วเราสื่อสารออกไปให้คนรับรู้  ผู้บริหาร มีกลยุทธ์อะไรและได้ลงมือทำจริงๆ เช่น การทำวิจัย เราก็นำข่าวสารนั้นๆ มาใส่ในสื่อ/ช่องทางที่เหมาะสม
  13. หลักการเรียนรู้ Learn เรียนรู้มาตั้งแต่เกิด และตลอดชีวิตจากเหตุการณ์ Unlearn คือการไม่ยึดติด ละทิ้งสิ่งที่เคยรู้มา ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ Relearn คือการเรียนรู้สิ่งที่เราเคยรู้แล้วด้วยมุมมองใหม่  เพื่อการอยู่รอดในยุค Disruption world  ตัวอย่าง อาจารย์สอนวิชาการตลาด กับทฤษฎี 4Ps ปัจจุบันใช้ไม่ได้แล้ว ธนาคาร  Unlearn การเก็บค่าธรรมเนียมการโอน (ยอมเสียค่าใช้จ่าย/รายได้ลดลง) คุณสุทธิชัย หยุ่น จากเดิมเรียนรู้การทำข่าวตามปกติมาตลอด มีกระบวนการตามที่เรียนมา จนกระทั่งการทำข่าวมีเครื่องมือแค่โทรศัพท์มือถือก็สามารถวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศได้ แต่ทั้งนี้ผู้ที่ทำได้จะต้องมีความสามารถเฉพาะด้าน เรียก มี Core Competency

กรณีของศูนย์สื่อสารองค์กรฯ การ Learn/Unlearn/Relearn อาจจะหมายถึง 

  • Learn ไปงาน นำข้อมูลกลับมาที่ทำงานแล้วค่อยเขียนข่าว /
  • Unlearn ไม่ทำแบบเดิมต่อไป / Relearn มีรูปแบบการนำเสนอข่าวใหม่ๆ เช่น จัดการรายงานสดสถานการณ์โดยการเตรียมข้อมูลไว้ก่อน เป็นต้น
  • Relearn การออกแบบกระบวนการใหม่ คือการ Relearn การจะไปให้ถึงเป้าหมายการ Relearn ทีมต้องกลับไปทำ Process หมวด 6(เกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence EdPEx) ก่อน  (ย้อนอ่าน>> ได้เวลาทำความรู้จัก EdPEx กันแล้ว )

 

ครึ่งบ่ายทีมงานกลับเข้าห้องอบรมเพื่อมาเรียนรู้ผ่านการทำ Workshop 2 เรื่องราว ๆ แรกกับ 7 ถามวิเคราะห์ตัวตนของเราเอง ที่นึกย้อนดูแล้วเกือบจะเป็นน้อง ๆ ของงานแผนยุทธศาสตร์ของงาน

(ยังมีต่อ)

หมายเลขบันทึก: 692018เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2021 08:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2021 09:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีใจจังเห็นสมาชิกเก่ากลับมาเขียน สบายดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท